เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ  

 
  อิทธิบาท๔ ฉันท วิริย จิตต วิมังสา 981
   
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

อิทธิบาท ๔
ฉันท วิริย จิตต วิมังสา

กระทำอิทธิบาท ๔ ภิกษุพึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการ
๑) จะได้ชม อรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑
๒) ถ้าไม่ได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน จะได้ชมเวลาใกล้ตาย ๑
๓) ถ้าใน ปัจจุบันไม่ได้ชม ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้ชมไซร้ เพราะสังโยชน์อันเป็น ส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
     จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปริ นิพพายี ๑
๔) ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
๕) ผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
๖) ผู้สสังขารปรินิพพายี ๑
๗) ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑


 
 


 
เจริญอิทธิบาท ๔ เพื่อความสิ้นทุกข์

[๑๑๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก แล้ว เป็นอริยะ นำออกจากทุกข์ ย่อมนำผู้บำเพ็ญอิทธิบาทนั้นไป เพื่อความสิ้ ทุกข์ โดยชอบ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วย ฉันทสมาธิและปธานสังขาร ... วิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิ และ ปธานสังขาร

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มาก แล้ว เป็นอริยะ นำออกจากทุกข์ ย่อมนำผู้บำเพ็ญอิทธิบาทนั้นไป เพื่อความ สิ้นทุกข์โดยชอบ.

จบ สูตรที่ ๓

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎกไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๒๙๖ ข้อที่ ๑๑๑๐

ผลสูตรที่ ๒ ว่าด้วยผลานิสงส์ ๗

[๑๒๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน?
ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย
ฉันทสมาธิและปธานสังขาร ...
วิริยสมาธิ ...
จิตต สมาธิ ...
วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.

[๑๒๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ แล ภิกษุพึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการ ผลานิสงส์ ๗ ประการ เป็นไฉน? คือ
๑) จะได้ชม อรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑
๒) ถ้าไม่ได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน จะได้ชมเวลาใกล้ตาย ๑
๓) ถ้าใน ปัจจุบันไม่ได้ชม ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้ชมไซร้ เพราะสังโยชน์อันเป็น ส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปริ นิพพายี ๑
๔) ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
๕) ผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
๖) ผู้สสังขารปรินิพพายี ๑
๗) ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำ ให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล ภิกษุพึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎกไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๒๙๕ ข้อที่ ๑๒๑๙ - ๑๒๒๐

๙. อิทธิปาทวิภังค์

[๕๐๕] อิทธิบาท ๔ คือ

๑. ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย
ฉันทสมาธิ ปธานสังขาร
๒. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย
วิริยสมาธิ ปธานสังขาร
๓. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย
จิตตสมาธิ ปธานสังขาร
๔. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย
วิมังสาสมาธิ ปธานสังขาร
[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร]

[๕๐๖] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย

ฉันทสมาธิ ปธานสังขารเป็นอย่างไร
ถ้าภิกษุทำฉันทะให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิต สมาธินี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ

ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียรเพื่อละบาปอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อสร้างกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ปธานสังขาร

ฉันทสมาธิและปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ประมวลย่อ ๒ อย่างนั้นเข้าเป็นอัน เดียวกัน ย่อมถึงซึ่งอันนับว่า ฉันทสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้

[๕๐๗] ในบทเหล่านั้น ฉันทะ เป็นไฉน
ความพอใจ การทำความพอใจ ความใคร่เพื่อจะทำ ความฉลาด ความพอใจในธรรม นี้เรียกว่า

ฉันทะสมาธิเป็นไฉน

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์สมาธิพละ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า

สมาธิ ปธานสังขาร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่นความก้าวไปอย่างไม่ ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระไว้ด้วยดี วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ อันใดนี้เรียกว่า ปธานสังขาร

ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยฉันทะ สมาธิ และปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้

การอธิบายตามธรรมในกรอบอริยสัจสี่

[๕๐๘] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การสำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์วิญญาณขันธ์ ของบุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรมเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท [เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร]

[๕๐๙] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วย วิริยสมาธิปธานสังขาร เป็นอย่างไร
ถ้าภิกษุทำความเพียรให้เป็นอธิบดีแล้วจึงได้สมาธิ ได้เอกัคคตาแห่งจิตสมาธินี้เรียกว่า วิริยสมาธิ ภิกษุนั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาป อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียรประคองจิตไว้ทำความเพียร เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่งความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว สภาวธรรมเหล่านี้ เรียกว่าปธานสังขาร




 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์