เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ  

 
  เรื่องการบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ 978
 
เพจชุดการบำเพ็ญบารมี 977 978 979 980  
 
 

การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ

977

คำชี้แจงเฉพาะภาคนี้
ต้องท่องเที่ยวมาแล้ว เพราะไม่รู้อริยสัจจ์
ตลอดวัฏฏสงสารของพระองค์ ไม่เคยทรงบังเกิด ในชั้นสุทธาวาส
ในวัฏฏสงสารที่ล่วงมาแล้ว เคยทรงบูชายัญญ์และบำเรอไฟแล้วอย่างมาก
ทิฏฐานุคติแห่งความดี ที่ทรงสั่งสมไว้แต่ภพก่อน ๆ
ชาติที่ ๑ ครั้งมีพระชาติเป็นโชติปาลมาณพ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

978 ชาติที่ ๒ ครั้งมีพระชาติเป็นพระเจ้ามหาสุทัศน์
ชาติที่ ๓ ครั้งมีพระชาติเป็นปุโรหิต สอนการบูชายัญญ์
ชาติที่ ๔ ครั้งมีพระชาติเป็นพระเจ้ามฆเทวราช
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
979 ชาติที่ ๕ ครั้งมีพระชาติเป็นมหาโควินทพราหมณ์
ชาติที่ ๖ ครั้งมีพระชาติเป็นรถการ ช่างทำรถ
ชาติที่ ๗ ครั้งมีพระชาติเป็นอกิตติดาบส
ชาติที่ ๘ ครั้งมีพระชาติเป็นพระจันทกุมาร
ชาติที่ ๙ ครั้งมีพระชาติเป็นสังขพราหมณ์
ชาติที่ ๑๐ ครั้งมีพระชาติเป็นเวลามพราหมณ์
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
980 ชาติที่ ๑๑ ครั้งมีพระชาติเป็นพระเวสสันดร ***
ชาติที่ ๑๒ ครั้งมีพระชาติเป็นมาตังคชฎิล
ชาติที่ ๑๓ ครั้งมีพระชาติเป็นจูฬโพธิ์์
ชาติที่ ๑๔ ครั้งมีพระชาติเป็นเจ้าชายยุธัญชยะ
ที่สุดแห่งการท่องเที่ยวของพระองค์
 
 


พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๕๘๑ - หน้าที่ ๖๑๔ ภาค ๖

เรื่องการบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ


ชาติที่ ๒
ครั้งมีพระชาติเป็นพระเจ้ามหาสุทัศน์

 พระเจ้ามหาสุทัศน์ (พระพุทธเจ้าในอดีต)


ในกาลใด เราเป็นพระเจ้าแผ่นดินในนครชื่อ กุสาวดี มีนามว่า มหาสุทัศน์ ผู้เป็นจักรพรรดิ มีกำลังมาก. ในกาลนั้น เราจัดให้มีการป่าวร้องในที่ทั่วไป วันละสามครั้ง. ใครปรารถนาอะไร ใครประสงค์สิ่งใด ใครควรได้ทรัพย์เช่นไร ใครหิว ใครกระวน กระวาย ใครต้องการมาลา ใครต้องการเครื่องลูบทา. ผ้าย้อมแล้ว ด้วยสี ต่างๆ กัน ใครไร้ผ้าจงนุ่งห่ม. ใครจะเดินทางจงเอาร่มไป เอารองเท้า งาม ๆ นิ่ม ๆ ไป.
๑.  บาลี มหาสุทัสสนจริยา จริยา. ขุ. ๓๓/๕๕๔/๔.

เราให้ป่าวร้องเช่นนี้ ทั้งเช้าและเย็นทุก ๆ แห่ง. ทรัพย์ที่เตรียมไว้สำหรับยาจก ไม่ใช่สิบแห่ง หรือร้อยแห่ง แต่ตั้งหลายร้อยแห่ง. จะเป็นกลางวันหรือกลางคืนก็ตาม ถ้ายาจกมาเมื่อใด เป็นได้สิ่งของ ตามที่เขาปรารถนาเต็มมือกลับไปเสมอ.

เราให้ทานอันใหญ่หลวงเช่นนี้ จนตลอดชีวิต และใช่ว่าจะให้ทาน ด้วยทรัพย์ ส่วนที่เราเกลียดไม่ชอบ ก็หาไม่ การสะสมทรัพย์ จะมีในเราก็หาไม่.

ผู้ป่วยกระสับกระส่าย ใคร่จะพ้นไปจากโรค ให้ขวัญข้าวแก่หมอจนเป็น ที่พอใจแล้ว ย่อมหายจากโรคได้ฉันใด เราก็ฉันนั้น เรามุ่งแต่จะทำให้เต็มเปี่ยม ให้ทานแก่ยาจก ก็เพื่อทำใจที่ยังพร่องอยู่ให้เต็ม ไม่อาลัยทรัพย์ไม่เกาะเกี่ยวในทรัพย์ ก็เพื่อการลุถึงโดย ลำดับ ซึ่งปัญญาอันเป็นเครื่องรู้พร้อม.

          อานนท์ !  ความคิดอาจมีแก่เธอว่า ผู้อื่นต่างหาก ที่เป็นพระเจ้ามหาสุทัศน์ ในสมัยโน้น. 

อานนท์ !  เธอไม่ควรเห็นเช่นนั้น เรานี่เองเป็นพระเจ้ามหาสุทัศน์แล้วในสมัยนั้น.

นครจำนวนแปดหมื่นสี่พัน มีราชธานีกุสาวดีเป็นประมุข เหล่านั้นของเรา.

ปราสาท จำนวนแปดหมื่นสี่พัน มีปราสาทชื่อธรรมปราสาทเป็นประมุข เหล่านั้น เป็นของเรา.

เรือนยอดจำนวนแปดหมื่นสี่พัน มีเรือนยอด ชื่อมหาวิยูหะเป็นประมุข เหล่านั้น เป็นของเรา.

บัลลังก์จำนวนแปดหมื่นสี่พัน ทำด้วยทอง ทำด้วยเงิน ทำด้วยงา ทำด้วยแก้ว ลาย ลาดด้วยขนเจียมลาดด้วยสักหลาด ฯลฯ เหล่านั้นเป็นของเรา.

ช้างจำนวนแปดหมื่นสี่พัน ประดับด้วยเครื่องทอง ฯลฯ มีพญาช้างตระกูลอุโบสถ เป็นประมุข เหล่านั้นเป็นของเรา.

ม้าจำนวนแปดหมื่นสี่พันประดับด้วยเครื่องทอง ฯลฯ มีพญาม้าตระกูลวลาหกเป็น ประมุข เหล่านั้นเป็นของเรา.

รถจำนวนแปดหมื่นสี่พัน หุ้มบุด้วยหนังราชสีห์หนังเสือโคร่ง ฯลฯ มีเวชยันตรถเป็น ประมุข เหล่านั้นเป็นของเรา.

มณีแปดหมื่นสี่พันมีแก้วมณีรัตนะเป็นประมุข เหล่านั้นเป็นของเรา.

หญิงแปดหมื่นสี่พันมีนางสุภัททาเทวีเป็นประมุข เหล่านั้นเป็นของเรา.

คหบดีแปดหมื่นสี่พัน มีคหปติรัตนะเป็นประมุข เหล่านั้นเป็นของเรา.

กษัตริย์แปดหมื่นสี่พัน ผู้คอยแวดล้อมประดับเกียรติ มีปริณายกรัตนะเป็นประมุข เหล่านั้น เป็นของเรา.

โคนมแปดหมื่นสี่พัน กำลังมีนมไหลรูดรองได้ เหล่านั้นเป็นของเรา.

ผ้าแปดหมื่นสี่พันโกฎิคือผ้าป่านอันละเอียดอ่อน ผ้าฝ้ายอันละเอียดอ่อน ฯลฯ เหล่านั้น เป็นของเรา.

ถาดตกแต่งอาหารแปดหมื่นสี่พัน อันคนเชิญเครื่องเชิญทั้งเช้าและเย็น เหล่านั้น เป็นของเรา.
(ข้อความต่อไปจากนี้ มีการกล่าวระบุสิ่งเลิศ เพียงสิ่งเดียวตัวเดียว หลังเดียว นครเดียว ...ฯลฯ... ถาดเดียว ที่ทรงบริโภคใช้สอยอยู่เป็นประจำ ในบรรดาแต่ละ สิ่งซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนถึงแปดหมื่นสี่พัน. รายละเอียดมีอยู่มากเกินไป จึงไม่ยกมาใส่ ไว้ในที่นี้ ตามตัวอักษรที่มีอยู่).

          อานนท์ ! จงดูเถิด สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ทั้งหมดได้ล่วงไปแล้ว ดับหาย ไป แล้ว แปรปรวนไป สิ้นแล้ว. อานนท์ ! สังขารทั้งหลาย เป็นของไม่เที่ยง เช่นนี้เอง เป็นของไม่ยั่งยืน เช่นนี้เอง เป็นของไม่มีเจ้าของ อย่างนี้เอง.

อานนท์ !  เพียงเท่านี้ ก็พอแล้ว พอเพื่อจะหน่ายในสังขารทั้งหลาย พอเพื่อ คลายกำหนัด พอเพื่อหลุดพ้นไปจาก.

อานนท์ ! เรารู้ที่ที่เป็นหลุมฝังเรา เขาฝังสรีระ ของเราไว้ ณ ที่นี้ การทอดทิ้ง ร่างเหนือแผ่นดินครั้งนี้ เป็นครั้งที่ ๗ ของเราในชาติ ที่เป็น พระราชาชั้นจักรพรรดิ.

          ๑.  มหาสุทัสสนสูตร มหา. ที. ๑๐/๒๒๕/๑๘๕ ตรัสแก่พระอานนท์ที่ป่าสาละ ใกล้นครกุสินารา อันเป็นที่ พระอานนท์ทูลว่า เป็นเมืองกิ่งเมืองดอน ไม่ควรปรินิพพาน.
         
๒.  คำว่าแปดหมื่นสี่พัน เป็นสำนวนภาษาบาลีที่ใช้กับของที่มากที่สุด ที่คนเรายกย่องกัน.



ชาติที่ ๓
ครั้งมีพระชาติเป็นปุโรหิต
สอนการบูชายัญญ์

(สมัยพระพุทธเจ้าเป็นพราหมณ์)

  
  พราหมณ์ผู้ปุโรหิต
(พระพุทธเจ้าในอดีต)
  สอนการบูชายัญญ์ แก่ พระเจ้ามหาวิชิตราช เป็นราชาผู้มั่งคั่ง โดยไม่ทำให้
  สัตว์ล้มตาย

          พราหมณ์ !  ในสมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ผู้ปุโรหิต ผู้สั่งงานบูชายัญญ์ ของพระเจ้า มหาวิชิตราช.

          พราหมณ์ !  เรื่องมีแล้วในกาลก่อน. พระเจ้ามหาวิชิตราช เป็นราชาผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์ สมบัติมาก มีทองและเงินเหลือเฟือ มีอุปกรณ์ของทรัพย์เหลือเฟือ มีทรัพย์ และข้าวเปลือก เหลือเฟือ มียุ้งฉางเต็มล้น.

วันหนึ่งประทับอยู่ ณ ที่สงัด เกิดพระดำริ ว่า เราได้เสวยมนุษย์ สมบัติอันวิบูล ครอบครองปฐพีมณฑลอันใหญ่ยิ่ง ถ้ากระไรเราควรบูชา มหายัญญ์อันจะเป็นประโยชน์ เกื้อกูล และความสุขแก่เราสิ้นกาลนาน รับสั่งให้หาพราหมณ์ ปุโรหิตมาบอก พระดำรินี้แล้ว ขอให้บอกสอนวิธีการ บูชายัญญ์.

          พราหมณ์ !  ปุโรหิตได้ทูลสนองพระดำรัสนั้นว่า แว่นแคว้นของพระองค์ ยังมี เสี้ยนหนามหลักตอ การปล้นฆ่าในหมู่บ้านก็ยังปรากฏ การปล้นฆ่าในจังหวัด ก็ยังปรากฏ.

การปล้นฆ่าในนครก็ยังปรากฏ การแย่งชิงตามระยะหนทางก็ยังปรากฏ. และ ถ้าพระองค์จะให้เลิกเก็บส่วย ในขณะที่แว่นแคว้นเป็นไปด้วยเสี้ยนหนามหลักตอเช่นนี้ ก็จะได้ชื่อว่าทำกิจไม่ควรทำ.

อีกประการหนึ่ง พระองค์อาจทรงพระดำริว่า เราจักถอน หลักตอ คือโจร ผู้ร้ายเสียได้ด้วยการประหาร การจองจำ การริบ การประจาน หรือ การเนรเทศ ดังนี้ ข้อนี้ ก็ไม่ชื่อว่าเป็นการกำจัดได้ราบคาบด้วยดี เพราะผู้ที่ยังเหลือ จากการถูกประหาร ก็ยังมีชน พวกนี้ จะเบียดเบียนชนบทของพระองค์ในภายหลัง. แต่ว่ามีอุบายที่จะ ถอน หลักตอเหล่านั้น ให้ราบคาบ ด้วยดีได้ คือ ชนเหล่าใดบากบั่น เลี้ยงโค เพื่อกสิกรรม พระองค์จงประทานพืช พันธุ์ข้าว แก่ชนเหล่านั้น.

ชนเหล่าใดบากบั่นในวาณิชยกรรม พระองค์จงประทานเงินเพิ่มให้ ชนเหล่า นั้น. ชนเหล่าใด เป็นข้าราชการ ขอพระองค์จงประทานเบี้ยเลี้ยง แก่ชนพวกนั้น. มนุษย์เหล่านั้น ต่างจะ ขวนขวายในการงานของตน ไม่เบียนเบียนแว่นแคว้นของ พระองค์ และพระคลัง หลวง ก็จะเพิ่มพูนมากมาย. แว่นแคว้นจะตั้งอยู่ด้วยความเกษม ปราศจากเสี้ยนหนาม หลักตอ. พวกมนุษย์จะร่าเริงบันเทิง นอนชูบุตรให้เต้นฟ้อน อยู่บนอก แม้จักไม่ปิดประตูเรือน ในเวลาค่ำคืน ก็เป็นอยู่ได้. ...ฯลฯ... ...ฯลฯ...

          พราหมณ์ !  ครั้นชนบทนั้นสงบจากเสี้ยนหนามหลักตอแล้ว ปุโรหิต จึงกราบทูล วิธีแห่ง มหายัญญ์ (อันประกอบด้วยบริกขารสิบหก คือได้รับความยินยอม เห็นพ้องจาก กษัตริย์เมืองออก จากอมาตยบริษัท จากพราหมณ์มหาศาล และจาก คหบดีมหาศาล นี้จัดเป็นบริกขารสี่ พระเจ้ามหาวิชิตประกอบด้วยองคคุณ ๘ มี พระชาติอันดี มีพระรูปสง่างามเป็นต้น นี้เป็นบริกขาร อีกแปด และปุโรหิต ประกอบ ด้วยองคคุณ ๔ มีความเป็นผู้มีชาติบริสุทธิ์ และจบเวทเป็นต้น นี่เป็นบริกขารอีกสี่ รวมเป็นสิบหก; และกราบทูลประการสามแห่งยัญญ์ คือผู้บูชาต้องไม่เกิด วิปฏิสาร ด้วยความตระหนี่ ทั้งในขณะจะบูชา บูชาอยู่ และบูชาเสร็จแล้ว แล้วกราบทูลเหตุ ไม่ควร วิปฏิสารเพราะ ปฏิคาหก ผู้มารับทาน ๑๐ จำพวก เช่นเป็นคนทำปาณาติบาต อทินนาทาน ฯลฯ เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดเสียพระทัยว่าคนเลว ๆ มารับทาน.) ๓ ...ฯลฯ...

          พราหมณ์ !  ในการบูชายัญญ์นั้น โค แพะ แกะ ไก่ สุกร ไม่ได้ถูกฆ่า สัตว์อื่น ๆ ก็ไม่ต้องได้รับความวิบัติพลัดพราก ต้นไม้ก็ไม่ถูกตัดมาเพื่อหลักยัญญ์ เชื้อเพลิง ก็ไม่ถูกเกี่ยว ตัดมาเพื่อการเบียดเบียนสัตว์ใดให้ลำบาก พวกที่เป็นทาส เป็นคนใช้ และกรรมกร ก็ไม่ต้องถูกคุกคามด้วยอาชญา และความกลัว ไม่ต้องร้องไห้น้ำตา นองหน้าพลาง ทำการงานพลาง. ใครปรารถนาจะทำก็ทำ ไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องทำ ปรารถนาทำสิ่งใด ก็ทำเฉพาะสิ่งนั้น ไม่ปรารถนาทำสิ่งใด ก็ไม่ต้องทำสิ่งนั้น. ยัญญ์นั้น สำเร็จไปแล้วด้วยเนยใส น้ำมัน เนยข้น นมส้ม น้ำผึ้ง น้ำอ้อย. ...ฯลฯ...

          พราหมณ์ !  เรารู้ชัดเจนอยู่ ซึ่งหมู่ชนเหล่านั้น ๆ ผู้บูชายัญญ์อย่างนี้แล้ว ภายหลัง แต่การตาย เพราะกายแตก ย่อมบังเกิด ณ สุคติโลกสวรรค์. พราหมณ์ !  ในสมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ผู้ปุโรหิต ผู้สั่งงานบูชายัญญ์ของ พระเจ้ามหาวิชิตราช นั้น.
          ๑.  บาลี กูฏทันตสูตร สี. ที. ๙/๑๗๑/๒๐๕. ตรัสแก่กูฏทันตพราหมณ์ ที่ราชอุทยาน อัมพลัฏฐิกา บ้านขานุมัตร แคว้นมคธ.
         
๒.  เฉพาะเนื้อความตอนนี้ อยู่ที่หน้า ๑๘๕ บรรพ ๒๓๐.
         
๓.  ผู้ปรารถนาทราบรายละเอียด พลิกดูที่มาเดิม ๙/๑๗๓/๒๐๗.



ชาติที่ ๔

ครั้งมีพระชาติเป็นพระเจ้ามฆเทวราช

   พระเจ้ามฆเทวะ (พระพุทธเจ้าในอดีต)
   มีอายุ 336,000 ปีแบ่งตามช่วงเวลาดังนี้
     1. ทรงเป็นพระกุมาร 84,000 ปี
     2. ทรงดำรงความเป็นอุปราช 84,000 ปี
     3. ทรงเสวยราชสมบัติ 84,000 ปี
(สังเกตุผมหงอก)
     4. ทรงผนวชเป็นบรรพชิต 84,000 ปี
    (อ่านพระสูตรเต็ม
)

          อานนท์ !  ความคิดอาจมีแก่เธอว่า ผู้อื่นต่างหากที่เป็นพระเจ้ามฆเทวราช ในสมัยโน้น. อานนท์ ! เธอไม่ควรเห็นเช่นนั้น เรานี่เองได้เป็น พระเจ้ามฆเทวราชแล้ว ในสมัยนั้น...

อานนท์ !  เรื่องดึกดำบรรพ์ที่เมืองมิถิลานี้ มีพระราชานามว่า พระเจ้ามฆเทวะ เป็นธรรมราชา ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ประพฤติราชธรรม ในพราหมณ์และคหบดี ทั้งในเมืองหลวง และชนบท ย่อมเข้าอยู่อุโบสถในวันที่ ๑๔ หรือ ๑๕ และวันที่ ๘ แห่งปักษ์. พระเจ้ามฆเทวะ นั้น เรียกช่างกัลบกมาแล้วสั่งว่า เพื่อน !  ท่านเห็นผมหงอกเกิดขึ้น ที่ศีรษะเราเมื่อใดก็จงบอกเรานั้น.
          ๑.  บาลี มฆเทวสูตร ม. ม. ๑๓/๔๑๕/๔๕๓. ตรัสแก่พระอานนท์ ที่มฆเทวัมพวัน ใกล้กรุงมิถิลา.

อานนท์ !  ล่วงมานับด้วยปีเป็นอันมาก ช่างกัลบกนั้นได้เห็นผมหงอก แล้ว กราบทูล ให้ทรงทราบ. พระเจ้ามฆเทวะ รับสั่งให้ถอนหงอกด้วยแหนบ แล้ววางใส่ฝ่าพระหัตถ์ ให้ ทอดพระเนตร.

ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว พระราชทานบ้านส่วยเป็นบำเหน็จแก่ช่างกัลบก นั้น. รับสั่งให้หาพระราชบุตรองค์ใหญ่ มาเฝ้าแล้วตรัสว่า แน่ะพ่อกุมาร ! เทวทูต ปรากฏแก่เรา แล้ว : หงอกเกิดบนศีรษะแล้ว. กามอันเป็นวิสัยของมนุษย์ เราได้บริโภค เสร็จแล้ว เดี๋ยวนี้ถึงสมัยอันควร เพื่อการแสวงกามอันเป็นทิพย์สืบไป.

มาเถอะพ่อผู้กุมาร !  เจ้าจงครองตำแหน่งพระราชานี้. ส่วนเราจะปลงผมและ หนวด นุ่งห่มผ้า ย้อมฝาดออกบวช จากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนไป. อนึ่ง ถ้าเจ้า เห็นหงอก เกิดขึ้น ที่ศีรษะของเจ้าเมื่อใด เมื่อนั้นจงประทานบ้านส่วย เป็นบำเหน็จ แก่ช่างกัลบกแล้ว ชี้แจงมอบหมายตำแหน่ง พระราชา แก่ราชบุตรองค์ใหญ่ให้ดี แล้วจงปลงผม และหนวด ครองผ้าย้อมฝาดออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยเรือนไปเถิด.  เจ้าจงประพฤติตาม กัลยาณวัตรอันนี้ ตามที่เราได้บัญญัติไว้แล้ว จ้าอย่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายของเรา.

กัลยาณวัตรอันนี้ ขาดตอนลงในยุคของผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าเป็นคนสุดท้าย แห่งบุรุษทั้งหลาย ผู้ประพฤติตามกัลยาณวัตร ของเรา. แน่ะพ่อผู้กุมาร ! เราขอกล่าว ถึงวัตร นั้น กะเจ้าในบัดนี้ อย่างนี้ว่า เจ้าจงประพฤติตามกัลยาณวัตรนี้ ตามที่เรา ได้บัญญัติไว้แล้ว ขอเจ้าจงอย่าเป็นบุรุษคนสุดท้าย ของเราเลย.

          อานนท์ ! ครั้นพระเจ้ามฆเทวะ ประทานบ้านส่วยแก่ช่างกัลบก มอบหมาย รัชชสมบัติ แก่พระราชบุตรองค์ใหญ่ เป็นอย่างดีแล้ว ก็ปลงผมและหนวดครอง ผ้า ย้อมฝาด บวชแล้วจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน ในป่ามฆเทวัมพวัน นี้เอง.

เธอผู้บวชแล้วนั้น แผ่ความรู้สึกด้วยจิตอันประกอบด้วยเมตตา ไปยังทิศ ที่หนึ่ง และทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ โดยอาการอย่างเดียวกัน.

ด้วยเหตุนี้เป็นอันว่าเธอมีจิตประกอบด้วยเมตตา อย่างไพบูลย์เยี่ยมยอด หาที่ เปรียบมิได้ปราศจากเวรและพยาบาท แผ่ไปทั่วโลกทั้งปวง เพราะแผ่ทั่วไปทั้งใน เบื้องบน เบื้องล่าง และเบื้องขวางโดยรอบ.

เธอนั้น มีจิตประกอบด้วยกรุณา ...มุทิตา ...อุเบกขา ฯลฯ แผ่ไปทั่งโลก ทั้งปวง เพราะแผ่ทั่วไป ทั้งใน เบื้องบน เบื้องล่างและเบื้องขวางโดยรอบ แล้วแล อยู่แล้ว. ...เธอบวชแล้วประพฤติพรหมจรรย์ อยู่ในป่ามฆเทวัมพวันนี้เอง.

ครั้นทำพรหมวิหารธรรม ทั้งสี่ให้เจริญแล้ว ก็เข้าถึงพรหมโลก ภายหลังจาก การตาย เพราะการทำลายแห่งกาย. ...ฯลฯ...

          อานนท์ !  เราแล ได้เป็นพระเจ้ามฆเทวะแล้วในสมัยนั้น. อนุชนที่เกิดใน ภายหลัง ได้ประพฤติตาม กัลยาณวัตร ที่เราตั้งไว้แล้ว แต่ว่า กัลยาณวัตรนั้นจะเป็นไป พร้อม เพื่อ ความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับสนิท ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และ นิพพาน ก็หาไม่ เป็นไปเพียงเพื่อเข้าถึงพรหมโลกเท่านั้น.

          อานนท์ !  ก็แต่ว่า กัลยาณวัตรที่เราบัญญัติไว้แล้วในกาลนี้แล ย่อมเป็นไป พร้อม เพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับสนิท ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน ได้โดยท่าเดียว. กัลยาณวัตรนั้นคือ อริยมรรค มีองค์แปด ได้แก่ความเห็นชอบ ดำริชอบ พูดชอบ การงานชอบ  ดำรงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจมั่นชอบ ดังนี้

(กัลยานวัตร สมัยที่พระองค์เป็นพระเจ้า มฆเทวะ คือให้สืบทอด เช่น เข้าอยู่อุโบสถในวันที่ ๑๔ หรือ ๑๕ และวันที่ ๘ แห่งปักษ์ และให้ออกบวชเมื่อผมหงอก... ส่วนกัลยานุวัตรของตถาคต ณ ขณะนี้ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ )

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์