เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ  

 
  พุทธเจ้าแรกตรัสรู้ ทรงแสดง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ 976
 
พุทธเจ้าแรกตรัสรู้
ออกไปหน้าแรก รวมพระสูตร
เรื่องสำคัญ ของพระพุทธเจ้า
 
1 973
  1) โพธิกถาปฏิจจสมุปบาทมนสิการ : ทรงพิจารณาปฏิจจตลอด ๗ วัน เป็นอนุโลมและปฏิโลม(ทบทวน) ตลอดปฐมยาม
  2) พุทธอุทานคาถาที่ ๑ : ทรงพิจารณาปฏิจจ (สายเกิด-ดับ) ตลอด ๗ วัน เป็นอนุโลมและปฏิโลม(ทบทวน) ตลอดมัชฌิมยาม
  3) พุทธอุทานคาถาที่ ๒ : (ทบทวนปฏิจ)เมื่อธรรมทั้งหลายปรากฎ ความสงสัยย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความสิ้นแห่งปัจจัย ทั้งหลาย
  4) พุทธอุทานคาถาที่ ๓ : (ทบทวน)เมื่อธรรมทั้งหลายปรากฏ เมื่อนั้นย่อมกำจัดมาร เสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัย ทำอากาศให้สว่าง
  5) เรื่องพราหมณ์หุหุกชาติ : พราหมณ์ทูลถามว่า คำว่าพราหมณ์ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ธรรมเหล่าไหนทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์
  6) พุทธอุทานคาถา : พราหมณ์ใดมีบาปอันลอยเสียแล้ว ไม่มีกิเลสในอารมณ์ มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้วควรกล่าวว่า ตนเป็นพราหมณ์
  7) เรื่องมุจจลินทนาคราช : นาคราชพันล้อมกายพระพุทธเจ้า ๗ รอบ แผ่แม่เบี้ยเหนือพระเศียร ครบ ๗ วันแปลงร่างเป็นคน ก้มกราบ
  8) พุทธอุทานคาถา : ความสงัดเป็นสุขของผู้สันโดษ.. ความไม่พยาบาทเป็นสุขในโลก.. การกำจัดอัสมิมานะเสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง
2 974
  1) เรื่องตปุสสะภัลลิกะ ๒ พ่อค้า : ล่วง ๗ วัน พ่อค้าอตปุสสะ และ ภัลลิก ถวายสัตตุผง(ข้าวผง)และสัตตุก้อน ตามที่เทวดาแนะนำ
  2) ทรงปริวิตก : ว่าธรรมที่บรรลุแล้ว เห็นได้ยาก รู้ได้เฉพาะบัณฑิต หมู่สัตว์ยังเริงรมย์ด้วยยินดี-อาลัย ในอวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขาร
  3) อนัจฉริยคาถา : เรายังไม่ควรจะประกาศธรรมที่ได้บรรลุ พระทัยก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม
  4) พรหมยาจนกถา : ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบพระปริวิตกของพระผู้มีพระภาค เกิดปริวิตกว่า ชาวเราผู้เจริญ โลกจักฉิบหายหนอ
  5) สัตว์โลกเปรียบด้วยดอกบัว ๓ เหล่า : ทรงตรวจดูสัตว์โลก เห็นสัตว์ที่มีธุลีคือกิเลส อุปมาเหมือน บัวกออุบล กอปทุม กอบุณฑริก
  6) พุทธปริวิตกกถา : ทรงดำริว่าจะแสดงธรรม แก่อาฬารดาบส - อุทกดาบส แต่เทวดาบอกเสียชีวิตแล้ว จึงไปหาปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิ
  7) เรื่องอุปกาชีวก : อาชีวก เห็นผิวพรรณของ ภ.ผุดผ่องยิ่งนัก ถาม..ใครเป็นศาสดาของท่าน ท่านชอบธรรมของใคร..แล้วส่ายหน้า
3 975
  1) เรื่องพระปัญจวัคคีย์ : พระองค์ยังไม่บรรลุ อุตตริมนุสสธรรม.. เป็นผู้มักมาก.. ตถาคตตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ
  2) ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา : ส่วนสุดสองอย่างนี้ไม่ควรเสพ คือกามสุข-ทำความลำบากแก่ตน ทางสายกลางคือมรรค๘
  3) ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง : ทุกข์-ควรกำหนดรู้..สมุทัย-ควรละ..นิโรธ-ควรทำให้แจ้ง..ปฏิปทา..ควรให้เจริญ
  4) ญาณทัศนะมี ๓ รอบ ๑๒ อาการ : โกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม เหล่าเทวดา บันลือธรรมจักรอันยอดเยี่ยม จนถึงพรหมโลก
4 976
  1) ปัญจวัคคีย์ทูลขอบรรพชาอุปสมบท : พระโกณฑัญญะ บรรลุธรรมแล้ว จากนั้น วัปปะ ภัททิยะ มหานาทะ อัสสชิ ก็ตามมาขอบวช
  2) ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร : รูปเป็นอนัตตา เวทนา.. สัญญา.. สังขารทั้งหลาย เป็นอนัตตา ขันธ์ทั้ง ๕ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
  3) ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์ : รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
  4) ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ : เธอพึงเห็นรูปด้วยปัญญาอันชอบว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา
 
 
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ หน้าที่ ๑๙

1
ปัญจวัคคีย์ทูลขอบรรพชาอุปสมบท

          [๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุ ธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัย ได้แล้ว ปราศจาก ถ้อยคำ แสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในคำสอนของ พระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์พึงได้ บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วตรัสต่อไปว่าธรรม อันเรา กล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด. พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุนั้น.

          [๑๙] ครั้นต่อมา พระผู้มีพระภาคได้ทรงประทานโอวาท สั่งสอน ภิกษุทั้งหลาย ที่เหลือจากนั้นด้วย ธรรมีกถา. เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาท สั่งสอนด้วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ ท่านพระวัปปะ และท่านพระภัททิยะ ว่าสิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา.

          ท่านทั้งสองนั้น ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อ พระผู้มี พระภาคว่า ขอข้าพระองค์ทั้งสองพึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบท ในสำนัก พระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอทั้งสองจงเป็นภิกษุ มาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัส ต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติ พรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์ โดยชอบเถิด. พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของ ท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น.

          ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสวยพระกระยาหารที่ท่านทั้งสามนำมาถวาย ได้ทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุที่เหลือจากนั้นด้วยธรรมีกถา.

          ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตนำบิณฑบาตใดมาทั้ง ๖ รูปก็เลี้ยงชีพด้วยบิณฑบาตนั้น วันต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตา เห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นแก่ ท่านพระมหานามะ และ ท่าน พระอัสสชิ ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับ เป็นธรรมดา.

          ท่านทั้งสองได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรม อันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความ เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดาได้ทูลคำนี้ ต่อพระผู้มี พระภาคว่า ขอข้าพระองค์ทั้งสอง พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนัก พระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอทั้งสองจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไป ว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์ โดยชอบเถิด.พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น.

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

2
ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร

          [๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่อ อาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็น อย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่อ อาพาธ และบุคคลย่อม ไม่ได้ในรูป ว่ารูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้เป็น อย่างนั้นเลย.

          เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้น เลย.

          สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

          สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้ จักได้เป็น อัตตา แล้วสังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ ในสังขารทั้งหลาย ว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเรา อย่าได้เป็น อย่างนั้นเลย.

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลาย จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเรา อย่าได้เป็น อย่างนั้นเลย.

          วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิดวิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ วิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้นวิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ใน วิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิดวิญญาณของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

3
ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์

          [๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอสำคัญความนั้น เป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

4
ตรัสให้พิจารณาโดย ยถาภูตญาณทัสสนะ


          [๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใด อย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

          เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือ ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่า เวทนา เธอทั้งหลาย พึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตนของเรา.

          สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือ ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่า เวทนา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

          สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน หรือ ภายนอกหยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่า สังขาร เธอทั้งหลายพึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตนของเรา.

          วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือ ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ าวิญญาณ เธอทั้งหลาย พึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตนของเรา.

          [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้นเมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า  ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี.

          [๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน ภาษิตของผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของ พระปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

อนัตตลักขณสูตร จบ

ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์.


ปฐมภาณวาร จบ



                                                     Back  ออกไปหน้าแรก



 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์