เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ  

 
  พุทธเจ้าแรกตรัสรู้ ทรงแสดง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ 973
 
พุทธเจ้าแรกตรัสรู้
ออกไปหน้าแรก รวมพระสูตร
เรื่องสำคัญ ของพระพุทธเจ้า
 
1 973
  1) โพธิกถาปฏิจจสมุปบาทมนสิการ : ทรงพิจารณาปฏิจจตลอด ๗ วัน เป็นอนุโลมและปฏิโลม(ทบทวน) ตลอดปฐมยาม
  2) พุทธอุทานคาถาที่ ๑ : ทรงพิจารณาปฏิจจ (สายเกิด-ดับ) ตลอด ๗ วัน เป็นอนุโลมและปฏิโลม(ทบทวน) ตลอดมัชฌิมยาม
  3) พุทธอุทานคาถาที่ ๒ : (ทบทวนปฏิจ)เมื่อธรรมทั้งหลายปรากฎ ความสงสัยย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความสิ้นแห่งปัจจัย ทั้งหลาย
  4) พุทธอุทานคาถาที่ ๓ : (ทบทวน)เมื่อธรรมทั้งหลายปรากฏ เมื่อนั้นย่อมกำจัดมาร เสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัย ทำอากาศให้สว่าง
  5) เรื่องพราหมณ์หุหุกชาติ : พราหมณ์ทูลถามว่า คำว่าพราหมณ์ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ธรรมเหล่าไหนทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์
  6) พุทธอุทานคาถา : พราหมณ์ใดมีบาปอันลอยเสียแล้ว ไม่มีกิเลสในอารมณ์ มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้วควรกล่าวว่า ตนเป็นพราหมณ์
  7) เรื่องมุจจลินทนาคราช : นาคราชพันล้อมกายพระพุทธเจ้า ๗ รอบ แผ่แม่เบี้ยเหนือพระเศียร ครบ ๗ วันแปลงร่างเป็นคน ก้มกราบ
  8) พุทธอุทานคาถา : ความสงัดเป็นสุขของผู้สันโดษ.. ความไม่พยาบาทเป็นสุขในโลก.. การกำจัดอัสมิมานะเสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง
2 974
  1) เรื่องตปุสสะภัลลิกะ ๒ พ่อค้า : ล่วง ๗ วัน พ่อค้าอตปุสสะ และ ภัลลิก ถวายสัตตุผง(ข้าวผง)และสัตตุก้อน ตามที่เทวดาแนะนำ
  2) ทรงปริวิตก : ว่าธรรมที่บรรลุแล้ว เห็นได้ยาก รู้ได้เฉพาะบัณฑิต หมู่สัตว์ยังเริงรมย์ด้วยยินดี-อาลัย ในอวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขาร
  3) อนัจฉริยคาถา : เรายังไม่ควรจะประกาศธรรมที่ได้บรรลุ พระทัยก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม
  4) พรหมยาจนกถา : ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบพระปริวิตกของพระผู้มีพระภาค เกิดปริวิตกว่า ชาวเราผู้เจริญ โลกจักฉิบหายหนอ
  5) สัตว์โลกเปรียบด้วยดอกบัว ๓ เหล่า : ทรงตรวจดูสัตว์โลก เห็นสัตว์ที่มีธุลีคือกิเลส อุปมาเหมือน บัวกออุบล กอปทุม กอบุณฑริก
  6) พุทธปริวิตกกถา : ทรงดำริว่าจะแสดงธรรม แก่อาฬารดาบส - อุทกดาบส แต่เทวดาบอกเสียชีวิตแล้ว จึงไปหาปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิ
  7) เรื่องอุปกาชีวก : อาชีวก เห็นผิวพรรณของ ภ.ผุดผ่องยิ่งนัก ถาม..ใครเป็นศาสดาของท่าน ท่านชอบธรรมของใคร..แล้วส่ายหน้า
3 975
  1) เรื่องพระปัญจวัคคีย์ : พระองค์ยังไม่บรรลุ อุตตริมนุสสธรรม.. เป็นผู้มักมาก.. ตถาคตตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ
  2) ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา : ส่วนสุดสองอย่างนี้ไม่ควรเสพ คือกามสุข-ทำความลำบากแก่ตน ทางสายกลางคือมรรค๘
  3) ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง : ทุกข์-ควรกำหนดรู้..สมุทัย-ควรละ..นิโรธ-ควรทำให้แจ้ง..ปฏิปทา..ควรให้เจริญ
  4) ญาณทัศนะมี ๓ รอบ ๑๒ อาการ : โกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม เหล่าเทวดา บันลือธรรมจักรอันยอดเยี่ยม จนถึงพรหมโลก
4 976
  1) ปัญจวัคคีย์ทูลขอบรรพชาอุปสมบท : พระโกณฑัญญะ บรรลุธรรมแล้ว จากนั้น วัปปะ ภัททิยะ มหานาทะ อัสสชิ ก็ตามมาขอบวช
  2) ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร : รูปเป็นอนัตตา เวทนา.. สัญญา.. สังขารทั้งหลาย เป็นอนัตตา ขันธ์ทั้ง ๕ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
  3) ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์ : รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
  4) ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ : เธอพึงเห็นรูปด้วยปัญญาอันชอบว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา

 
 

  คืนหนึ่ง แบ่งเป็น ๓ ยาม ยามละ ๔ ชั่วโมง (ตั้งแต่ ๖โมงเย็น - ๖ โมงเช้า) ย่ำค่ำ- ย่ำรุ่ง
     1. ปฐมยาม (ยามต้น) ตั้งแต่ย่ำค่ำ (๑๘ นาฬิกา- ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา)
     2. มัจฉิมยาม (ยามหลัง) ตั้งแต่ ๒๒ นาฬิกา-ตี ๒
     3. ปัจฉิมยาม (ยามสุดท้าย) ตั้งแต่ตี  ๒ ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา
  หรือ (จากย่ำค่ำ- ย่ำรุ่ง)
    ยาม ๑ (ปฐมญาณ) ๖ โมงเย็น - ๔ ทุ่ม
    ยาม ๒ (มัจฉิมยาม) ๔ ทุ่ม -ตี ๒
    ยาม ๓ (ปัจฉิมยาม) ตี ๒ – ๖ โมงเช้า



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ หน้าที่ ๑


พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑
มหาขันธกะ


1
โพธิกถา ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ
(ช่วงเวลาหลังตรัสรู้แล้ว ทรงทบทวนปฏิจจสมุปบาทต่ออีก ๗วัน )


           [๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า แรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงไม้ โพธิพฤกษ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลา ประเทศ.

           ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ ตลอด ๗ วัน และทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลม (ตามลำดับ,ตามๆกันมา) และ ปฏิโลม(ทบทวน,ย้อนกลับ) ตลอดปฐมยามแห่งราตรี(๑๘.๐๐-๒๒.๐๐) ว่าดังนี้
ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส 
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.

ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือ วิราคะสังขาร* จึงดับ
(* วิราคะสังขาร แปลว่า ปราศจากสังขาร)
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้น ว่าดังนี้:-

2
พุทธอุทานคาถาที่ ๑
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัย ทั้งปวง ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ธรรม พร้อมทั้งเหตุ.

           [๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลม และปฏิโลม ตลอด มัชฌิมยามแห่งราตรี (๒๒ นาฬิกา-ตี ๒) ว่าดังนี้

ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส       เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.

ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ   เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่าดังนี้:-

3
พุทธอุทานคาถาที่ ๒
           เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัย ทั้งปวง ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้ความ สิ้นแห่งปัจจัย ทั้งหลาย.

           [๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลม และ ปฏิโลม ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี (๒๒ นาฬิกา-ตี ๒) ว่าดังนี้

ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส       เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.

ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ   เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.

           ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้น ว่าดังนี้:-

4
พุทธอุทานคาถาที่ ๓
           เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้น ย่อมกำจัดมาร และเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัย ทำอากาศให้สว่าง ฉะนั้น.
โพธิกถา จบ


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


5
อชปาลนิโครธกถา
เรื่องพราหมณ์หุหุกชาติ


           [๔] ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากควงไม้ โพธิพฤกษ์ เข้าไปยังต้นไม้อชปาลนิโครธ แล้วประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวย วิมุตติสุข ณ ควงไม้ อชปาลนิโครธ ตลอด ๗ วัน.

          ครั้งนั้น พราหมณ์หุหุกชาติ* คนหนึ่ง ได้ไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้ว ได้ทูล ปราศรัย กับ พระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการทูลปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึก ถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
(*พราหมณ์ ที่มีนิสัยชอบตวาดคนอื่นว่า หึ หึ)

         พราหมณ์นั้นได้ยืนอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลคำนี้แด่ผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ก็แล ธรรมเหล่าไหน ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์?

          ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้น ว่าดังนี้:-

6
พุทธอุทานคาถา

           พราหมณ์ใด มีบาปธรรมอันลอยเสียแล้ว ไม่ตวาดผู้อื่นว่า หึ หึ ไม่มี กิเลส ดุจน้ำฝาด มีตน สำรวมแล้ว ถึงที่สุดแห่งเวท มีพรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว พราหมณ์นั้น ไม่มีกิเลส เครื่องฟูขึ้น ในอารมณ์ไหนๆในโลก ควรกล่าวถ้อยคำว่า ตนเป็นพราหมณ์ โดยธรรม.
(นัยยะนี้ คำว่าพราหมณ์ หมายถึงอรหันต์ ผู้มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว)
อชปาลนิโครธกถา จบ

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

7
มุจจลินทกถา
เรื่องมุจจลินทนาคราช


          [๕] ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากควงไม้ อชปาลนิโครธเข้าไปยังต้นไม้มุจจลินท์ แล้วประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวย วิมุตติสุข ณ ควงไม้มุจจลินท์ ตลอด ๗ วัน.

          ครั้งนั้น เมฆใหญ่ในสมัยมิใช่ฤดูกาลตั้งขึ้นแล้ว ฝนตกพรำเจือด้วยลมหนาว ตลอด ๗ วัน. ครั้งนั้น มุจจลินทนาคราชออกจากที่อยู่ของตน ได้แวดวงพระกาย พระผู้มีพระภาคด้วยขนด ๗ รอบ ได้แผ่พังพานใหญ่(แผ่แม่เบี้ย)เหนือพระเศียรสถิตอยู่ ด้วยหวังใจว่า ความหนาว ความร้อน อย่าเบียดเบียนพระผู้มีพระภาค สัมผัส แห่ง เหลือบ ยุง ลม แดด และ สัตว์เลื้อยคลาน อย่าเบียดเบียนพระผู้มีพระภาค.

         ครั้นล่วง ๗ วัน มุจจลินทนาคราชรู้ว่า อากาศปลอดโปร่งปราศ จากฝนแล้ว จึงคลายขนด จากพระกาย ของพระผู้มีพระภาค จำแลงรูปของตน เป็นเพศมาณพ (คน)ได้ยืนประคอง อัญชลีถวาย มนัสการพระผู้มีพระภาค ทางเบื้องพระพักตร์ พระผู้มีพระภาค.

          ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้น ว่าดังนี้:-

8
พุทธอุทานคาถา
           ความสงัด เป็นสุขของบุคคลผู้สันโดษ มีธรรม ปรากฏแล้ว เห็นอยู่ ความไม่ พยาบาท คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก ความปราศจากกำหนัด คือความล่วงกามทั้งหลายเสียได้ เป็นสุขในโลก การกำจัด อัสมิมาน* เสียได้ นั่นแล เป็นสุขอย่างยิ่ง.
(*การถือเขาถือเรา ความยึดมั่นในตัวตน)

 - ความสงัด เป็นสุขของผู้สันโดษ ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว
 - ความไม่พยาบาท คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก
 - ความปราศจากกำหนัด ล่วงกามทั้งหลายเสียได้ เป็นสุขในโลก
 - การกำจัด อัสมิมานะ (ความยึดในตัวตน)เสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง

มุจจลินทกถา จบ



                                                     Next  หน้าถัดไป



 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์