เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ทรงติเตียนอริฏฐภิกษุ เธอกล่าวตู่เรา ขุดตนเอง และประสพบาป มิใช่บุญ เป็นอันมาก 890
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

อลคัททูปมสูตร


3. ทรงติเตียนอริฏฐภิกษุ
ดูกรบุรุษเปล่า ...จะประสพบาป มิใช่บุญ เป็นอันมาก ด้วยทิฏฐิอันลามก อันตนถือเอาชั่วแล้ว กรรมนั้นแลจักมี แก่เธอ เพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริฏฐภิกษุผู้เป็น เหล่ากอของคนฆ่าแร้งนี้ แม้จะกระทำญาณให้สูงขึ้นในพระธรรมวินัยนี้ได้หรือ ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความสูง แห่งญาณอะไรเล่าจะพึงมีได้ ก็ความสูงขึ้น แห่งญาณนั้น จักมีไม่ได้เลย. เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลอย่างนี้แล้ว อริฏฐภิกษุเป็นผู้นิ่ง เก้อเขิน นั่งคอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ.

พระผู้มีพระภาคตรัส กามทั้งหลาย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่ โดยยิ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วย ร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกาม เหล่านั้นมีอยู่ โดยยิ่ง ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้น มาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่โดยยิ่ง.


อลคัททูปมสูตร

1-888 ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยอสรพิษ  [๒๗๔]
2-889 อริฏฐภิกษุค้านพระธรรมเทศนา [๒๗๕]
3-890 ทรงติเตียนอริฏฐภิกษุ ๒๗๖]
4-891 บุรุษเปล่าเรียนธรรม [๒๗๘]
5-892 กุลบุตรเรียนธรรม [๒๗๙
6-893 ธรรมเปรียบเหมือนแพ [๒๘๐]
7-894 เหตุแห่งทิฏฐิ ๖ [๒๘๑]
8-895 ความสะดุ้ง ๒ [๒๘๒]
9-896 พาลธรรม [๒๘๔]
10-897 สมัญญาผู้หมดกิเลส [๒๘๕]
11-898 การวางใจเป็นกลางในลาภสักการะ [๒๘๖]
12-899 ผลแห่งการละกิเลส [๒๘๘]

 

 
 

 

ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้าที่ ๑๘๓

3
ทรงติเตียนอริฏฐภิกษุ

                [๒๗๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาว่า มาเถิดภิกษุ เธอจงเรียก อริฏฐภิกษุ ผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งมาตามคำ ของเราว่า

ดูกรอริฏฐ ผู้มีอายุ พระศาสดาย่อมเรียกท่าน.

ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงเข้าไปหาอริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอ ของคนฆ่าแร้ง ถึงที่อยู่ แล้วกล่าว กะอริฏฐภิกษุว่า ดูกรอริฏฐผู้มีอายุ พระศาสดาย่อมตรัสเรียกท่าน.

อริฏฐภิกษุรับต่อภิกษุนั้นว่าอย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะอริฏฐภิกษ ุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งว่า

ดูกรอริฏฐ ได้ยินว่า ทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้ บังเกิดขึ้นแก่เธอว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรม ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลาย ที่พระผู้มีพระภาค ตรัสแล้วว่า เป็นธรรม กระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้น ไม่สามารถทำอันตราย แก่ผู้ซ่องเสพได้จริง ดังนี้ จริงหรือ?

อริฏฐภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วว่า เป็นธรรม กระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้น ไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรบุรุษเปล่า เธอรู้ถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ต่อใครแล.

ดูกรบุรุษเปล่า ธรรมทั้งหลายเรากล่าวว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย โดยอเนกปริยาย มิใช่หรือ? ก็แหละ ธรรมเหล่านั้น สามารถทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง เรากล่าว กามทั้งหลายซึ่งมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแคบมาก โทษในกามเหล่านั้น มีอยู่โดยยิ่ง เรากล่าวกามทั้งหลายมีอุปมา ด้วยร่างกระดูก ... มีอุปมาด้วยชิ้นเนื้อ ... มีอุปมาด้วยคบหญ้า ... มีอุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง ... มีอุปมาด้วยความฝัน ... มีอุปมาด้วยของขอยืม ... มีอุปมาด้วยผลไม้ ... มีอุปมาด้วยเขียงหั่นเนื้อ ... มีอุปมาด้วยหอกและหลาว ... มีอุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีโดยยิ่ง

ดูกรบุรุษเปล่า เออก็แล เธอกล่าวตู่เรา ขุดตนเอง และประสพบาป มิใช่บุญ เป็นอันมาก ด้วยทิฏฐิอันลามก อันตนถือเอาชั่วแล้ว กรรมนั้นแลจักมีแก่เธอ เพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายจงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เออก็ อริฏฐภิกษุผู้เป็น เหล่ากอของคนฆ่าแร้งนี้ แม้จะกระทำญาณให้สูงขึ้นในพระธรรมวินัยนี้ได้หรือ ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความสูงแห่งญาณอะไรเล่าจะพึงมีได้ ก็ความสูงขึ้น แห่งญาณนั้น จักมีไม่ได้เลย.

เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลอย่างนี้แล้ว อริฏฐภิกษุเป็นผู้นิ่ง เก้อเขิน นั่งคอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ.

                [๒๗๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทราบว่า อริฏฐภิกษุเป็นผู้นิ่ง เก้อเขิน คอตกก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงได้ตรัสกะอริฏฐภิกษุว่า ดูกรบุรุษเปล่า เธอจัก ปรากฏด้วยทิฏฐิอันลามก ของตนนั้นเองแล เราจักสอบถามภิกษุทั้งหลายในที่นี้.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เธอ ทั้งหลายรู้ถึงธรรม ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ โดยประการที่อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอ ของคนฆ่าแร้งนี้ กล่าวตู่เรา ขุดตนเอง และประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยทิฏฐิ อันลามก อันตนถือเอาชั่วแล้วดังนี้หรือ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นมีไม่ได้เลยพระเจ้าข้า ด้วยว่าธรรมทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค ตรัสแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย โดย อเนกปริยายว่า เป็นธรรมกระทำ ซึ่งอันตราย ก็แหละธรรมเหล่านั้น สามารถทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง
พระผู้มีพระภาคตรัส กามทั้งหลาย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่โดยยิ่ง
พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วย ร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่ โดยยิ่ง ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้น มาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่โดยยิ่ง.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย รู้ถึงธรรมที่เราแสดงแล้ว
อย่างนี้ โดยประการ ที่ธรรมทั้งหลายที่เรากล่าวแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย แก่ท่านทั้งหลายโดยอเนกปริยาย ก็แหละ ธรรมเหล่านั้น สามารถทำอันตรายแก่ผู้ ซ่องเสพได้จริง เรากล่าวกามทั้งหลาย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่โดยยิ่งเรากล่าวกามทั้งหลาย มีอุปมา ด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้น มีอยู่โดยยิ่ง ฯลฯ เรากล่าวกาม ทั้งหลาย มีอุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมากเออ ก็แล

อริฏฐ ภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งนี้ กล่าวตู่เรา ขุดตนเอง และประสพบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยทิฏฐิอันลามก อันตนถือเอาชั่วแล้ว กรรมนั้นแลจักมีแก่เธอ ผู้เป็นบุรุษเปล่าเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอจักเสพกามทั้งหลาย นอกจากกาม นอกจากกามสัญญา นอกจากกามวิตก ข้อนั้นไม่เป็นฐานะจะมีได้.

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์