เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ปฏิจจสมุปบาท ชุด 4 หน้า 394- 538 876
 
 ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ ชุด
 
1 ญาณวัตถุ ๔๔ ในปฏิจจสมุปบาท เพื่อความเป็นโสดาบัน
2 ญาณวัตถุ ๗๗ ในปฏิจจสมุปบาท เพื่อความเป็นโสดาบัน
3 การรู้ปฏิจจสมุปบาทไม่เกี่ยวกับการบรรลุอภิญญาเลยก็ได้
4 พ.ตรัสถามสุสิมะว่า เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ (ปฏิจจ) ยังจำเป็นหรือไม่ ที่ต้องบรรลุอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ... สุสิมะปฏิเสธว่า ไม่เลย
5 ปฏิจจสมุปบาทรอบสุดท้ายของคนเรา (ขันธ์5+เวทนา)
6 ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท โดยอาการแห่งอริยสัจสี่ ไม่สามารถก้าวล่วงปฏิจจสมุปปันนธรรม
7 สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าใจปฏิจจสมุปบาท ยึดถือกายเป็นตัวตน ยังดีกว่ายึดถือจิตเป็นตัวตน
8 ไม่ควบคุมรากฐาน(อายตนะ๖) แห่งปฏิจจสมุปบาทจึงเกิดทุกข์
9 9-1 ย่อมรู้สึกซึ่ง ดิน โดยความเป็นดิน (แบบปุถชน)
  9-2 ย่อมรู้สึกซึ่ง ดิน โดยความเป็นดิน (แบบเสขะ)
  9-3 ย่อมรู้สึกซึ่ง ดิน โดยความเป็นดิน (แบบอรหันต์)
  9-4 ย่อมรู้สึกซึ่ง ดิน โดยความเป็นดิน (แบบตถาคต)
10 พอรู้ปฏิจจสมุปบาท ก็ หายตาบอดอย่างกะทันหัน
11 ผลอานิสงส์ พิเศษ ๘ ประการของการเห็นปฏิจจสมุปบาท
12 ผู้เสร็จกิจในปฏิจจสมุปบาทชื่อว่าผู้บรรลุนิพพาน ในปัจจุบัน
13 การสนทนาของพระมหาสาวก (เรื่องปฏิจจสมุปบาท)
14 14-1 เวทนาของปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับ ต่างจากของอริยสาวก (ในแง่ของปฏิจจสมุปบาท)
  14-2 เวทนาของ อริยสาวก ผู้ได้สดับ (ในแง่ของปฏิจจสมุปบาท)
15 อริยสาวกรู้ความเกิดและความดับของโลกอย่างไม่มีที่สงสัย
16 โสตาปัตติยังคะ ขึ้นอยู่กับการรู้ปฏิจจสมุปบาทของอริยสาวก
   
 
 



1
หน้า 349

ญาณวัตถุ ๔๔ ในปฏิจจสมุปบาท เพื่อความเป็นโสดาบัน


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ญาณวัตถุ ๔๔ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า?

ญาณวัตถุ ๔๔ อย่างคือ
(ปฏิจจ+อริยสัจจสี่)

(หมวด ๑)
๑. ญาณ คือความรู้ใน ชรามรณะ (ว่าชรามรณะคืออะไร)
๒. ญาณ คือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ (เพราะมีชาติเป็นปัจจัย)
๓. ญาณ คือความรู้ ในความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ (เพราะชาติไม่มี)
๔. ญาณ คือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ (มรรค๘)

(หมวด ๒)
๑. ญาณ คือความรู้ ใน ชาติ (ว่าชาติคืออะไร)
๒. ญาณคือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ
๓.ญาณ คือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งชาติ
๔. ญาณคือความรู้ ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ

(หมวด ๓)
๑. ญาณ คือความรู้ใน ภพ 
๒. ญาณ คือความรู้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพ
๓. ญาณ คือความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งภพ
๔. ญาณ คือความรู้ในข้อปฏิบัติเครื่องสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ

หมวดอ่านก็ทรงกล่าวทำนองเดียวกัน
(หมวด ๔) ญาณ คือความรู้ใน อุปาทาน
(หมวด ๕) ญาณ คือความรู้ใน ตัณหา
(หมวด ๖) ญาณ คือความรู้ใน เวทนา
(หมวด ๗) ญาณ คือความรู้ใน ผัสสะ
(หมวด ๘) ญาณ คือความรู้ใน สฬายตนะ
(หมวด ๙) ญาณ คือความรู้ใน นามรูป
(หมวด ๑๐) ญาณ คือความรู้ใน วิญญาณ
(หมวด ๑๑) ญาณ คือความรู้ใน สังขารทั้งหลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๔๔ อย่าง



2
หน้า 357
ญาณวัตถุ ๗๗ ในปฏิจจสมุปบาท เพื่อความเป็นโสดาบัน
ปฏิจจ+(กฎอิทัป ปัจจุบัน อดีต อนาคต)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดง ซึ่งญาณวัตถุ๗๗อย่างแก่พวกเธอ ทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น จงทำ ในใจให้สำเร็จประโยชน์, เราจัก กล่าวบัดนี้. ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัสนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัส ถ้อยคำเหล่านี้ว่า:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ ญาณวัตถุ ๗๗ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า?

ญาณ วัตถุ ๗๗ อย่างนั้นคือ

(หมวด ๑) ชาติ -ชรามรณะ
๑. ญาณ คือความรู้ว่า เพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ (ปัจจุบัน)
๒. ญาณ คือความรู้ว่า เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะย่อมไม่มี (ปัจจุบัน)
๓.ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีชาติเป็จปัจจัย จึงมีชรามรณะ
๔. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะย่อมไม่มี
๕. ญาณ คือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ
๖. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่อชาติไม่มี ชรามรณะย่อม ไม่มี
๗. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มี ความสิ้นไปเลื่อมไปจางไปดับไป เป็น ธรรมดา

(หมวด ๒) ภพ-ชาติ
๑. ญาณ คือความรู้ว่า เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ (ปัจจุบัน)
๒. ญาณ คือความรู้ว่า เมื่อภพไม่มี ชาติย่อมไม่มี (ปัจจุบัน)
๓. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ
๔. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่อภพไม่มีชาติย่อมไม่มี
๕. ญาณ คือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนายฝ่ายอนาคตเพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ
๖. ญาณคือความรู้ว่า แม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่อภพไม่มีชาติย่อมไม่มี
๗. ญาณ คือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไปดับไป เป็นธรรมดา

(หมวด ๓) อุปาทาน-ภพ
๑. ญาณ คือความรู้ว่าเพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ (ปัจจุบัน)
๒. ญาณ คือความรู้ว่าเมื่ออุปาทานไม่มี ภพย่อมไม่มี (ปัจจุบัน)
๓. ญาณ คือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีตเพราะมีอุปาทานเป็นปัจัยจึงมีภพ
๔. ญาณ คือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เมื่ออุปาทานไม่มีภพย่อมไม่มี
๕. ญาณ คือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคตเพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ
๖. ญาณ คือความรู้ว่าแม้ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เมื่ออุปาทานไม่มีภพย่อมไม่มี
๗. ญาณ คือความรู้ว่าแม้ธัมมัฏฐิติญาณในกรณีนี้ ก็มีความสิ้นไปเสื่อมไปจางไป ดับไปเป็นธรรมดา

(หมวดที่เหลือ ทำนองเดียวกัน)
(หมวด ๔) ตัณหา-อุปาทาน
(หมวด ๕) เวทนา-ตัณหา
(หมวด ๖) ผัสสะ-เวทนา
(หมวด ๗) สฬายตนะ-ผัสะ
(หมวด ๘) นามรูป-สฬสยจนะ
(หมวด ๙) วิญญาณ-นามรูป
(หมวด ๑๐) สังขาร-วิญญาณ
(หมวดที่ ๑๑) อวิชชา-สังขารทั้งหลาย


โดยสรุปปัจจุบัน2(มี-ไม่มี) อดีต2 อนาคต2 และทั้งหมดนี้มีความเสื่อมไปสิ้นไป
(หมวดละ7 ทั้งหมด 11 อาการ รวมเป็นญาณวัตถุ 77 )


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้ เรียกว่า ญาณวัตถุ ๗๗ อย่าง ดังนี้ แล.



3
หน้า 362
การรู้ปฏิจจสมุปบาทไม่เกี่ยวกับการบรรลุอภิญญาเลยก็ได้

ปริพพาชกผู้หนึ่งชื่อ สุสิมะ ได้รับคำแนะนำจากศิษย์ให้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อเรียนธรรม มาสอนประชาชนโดยหวัง จะให้พวกตน มีประชาชนเคารพนับถือ และสมบูรณ์ด้วยลาภ สักการะบ้าง. สุสิมปริพพาชกนั้น จึงเข้าไปขอบวชกะพระอานนท์ พระอานนท์ได้พาไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคเจ้า ๆ ทรงรับสั่งให้บวชให้แล้ว.

สมัยนั้นภิกษุจำนวนมาก พากันพยากรณ์อรหัตตผลในสำนักพระพุทธเจ้า.

พระสุสิมาะได้ยินข่าว จึงเข้า ไปถามพวกภิกษุเหล่านั้น ถึงเรื่องการพยากรณ์ความเป็น พระอรหันต์ เมื่อภิกษุเหล่านั้นรับแล้ว จึงได้ถามภิกษุเหล่านั้นต่อไป ถึงการบรรลุ อภิญญาต่าง ๆ คือ อิทธิวิธี ทิพพโสต เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติ ทิพพจักขุ และอารุปปวิโมกข์ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ไม่ต้องบรรลุ อภิญญา เหล่านี้ด้วย ก็บรรลุความเป็นพระอรหันต์ได้ ด้วยปัญญาวิมุตติ พระสุสิมะ จึงเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลเล่าเรื่อง ที่ตนสนทนากับภิกษุทั้งหลายให้ทรงสดับ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสว่า:-

"ดูก่อนสุสิมะ! ธัมมัฏฐิติญาณ*เป็นสิ่งที่เกิดก่อน ญาณในนิพพาน เป็นสิ่งที่เกิด ภายหลัง"
*
(ญาณรู้ปฏิจจ-ทั้ง11 อาการ ว่ามีการเสื่อมไป ดับไปเป็นธรรมดา อธิบายไว้ใน ญาณวัตถุ77)

พระสุสิมะกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ข้าพระองค์ยังไม่รู้อย่างทั่วถึง ซึ่งเนื้อความแห่งภาษิตที่พระผู้มี พระภาคตรัสแล้ว โดยย่อนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ข้าพระองค์ขอประทานโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงตรัสซึ่ง เนื้อความนั้น โดยประการที่ข้าพระองค์ จะพึงรู้อย่างทั่วถึง ซึ่งเนื้อความแห่งภาษิต ที่พระผู้มีพระภาคตรัส โดยย่อนี้เถิด พระเจ้าข้า! "

ดูก่อนสุสิมา! เธอจะรู้อย่างทั่วถึงหรือไม่ก็ตาม ธัมมัฏฐิติญาณก็ยังเป็นสิ่งที่เกิด ก่อน และญาณใน นิพพานเป็นสิ่งที่เกิดภายหลัง อยู่นั่นเอง.

ดูก่อนสุสิมะ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร

รูป เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
"ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า!"

ก็สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า?
"เป็นทุกข์พระเจ้าข้า!"

ก็สิ่งใด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรแลหรือที่จะตามเห็น สิ่งนั้นว่า "นั่น เป็นของเรา.. นั่น เป็นเรา.. นั่น เป็นตัวตนของเรา"
"
ข้อนั้นไม่สมควรเห็นเช่นนั้นพระเจ้าข้า!"

(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ ก็มีการถามและตอบอย่าง เดียวกัน)

ดูก่อนสุสิมะ! เพราะเหตุนั้นแหละ ในเรื่องนี้ รูปชนิดใดชนิดหนึ่งมีอยู่จะเป็น อดีต อนาคต หรือ ปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอก ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีอยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้น อันเธอพึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า "นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ ตัวตนของเรา" ดังนี้.

(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ ก็ได้ตรัสทำนองเดียวกันกับ กรณีแห่งรูปนี้ ต่างกันเพียงชื่อเท่านั้น.)

ดูก่อนสุสิมะ! อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน สังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายหนัด เพราะความ คลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า "หลุดพ้นแล้ว" ดังนี้.

อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อันเราอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เธอเห็นว่า "เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ" ดังนี้ใช่ไหม?
"อย่างนั้นพระเจ้าข้า!"

ดูก่อนสุสิมะ! เธอเห็นว่า "เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ" ดังนี้ใช่ไหม?
"อย่างนั้นพระเจ้าข้า!"

(ในกรณีแห่งอาการต่อ ๆ ไป ก็ได้ตรัสถามเช่นเดียวกันนี้ จนตลอดปฏิจจสมุปบาท ทั้งฝ่าย สมุทยวารและ นิโรธวาร ล้วนแต่ได้รับคำตอบว่า "อย่างนั้น พระเจ้าข้า!" จนตลอดทั้งยี่สิบสอง)

  ลำดับการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า
   ธัมมัฏฐิติญาณ* เป็นสิ่งที่เกิดก่อน ญาณในนิพพานเกิดภายหลัง  
1.รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า
2.สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข เป็นทุกข์พระเจ้าข้า
3.ก็สิ่งใดไม่เที่ยง มีการแปรปรวน ควรแล้วหรือ ที่พึงเห็นว่า
   นั่นเป็นของเรา.. เป็นเรา.. เป็นตัวตนของเรา
ไม่สมควรเห็นเช่นนั้น
4.เพราะเหตุนั้นแหละ รูปที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายใน
   หรือภายนอกก็ตาม..พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบว่านั่นไม่ใช่ของเรา
 
5.อริยสาวกได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายคลายกำหนัด  
6.เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น  
7.เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว  
8.อริยสาวกย่อมรู้ว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
   ได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอิ่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก
 
9.เธอเห็นว่า "เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ อย่างนั้นพระเจ้าข้า
10.เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ" ดังนี้ใช่ไหม? อย่างนั้นพระเจ้าข้า
* ญาณรู้ทั่วถึง ในสายปฏิจจ+กฏอิทัป ว่ามีการเสื่อมไป ดับไปเป็นธรรมดา

..............................................................................................

4
(พระศาสดาถามสุสิมะแต่ละเรื่องๆ ว่า เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ (รู้กระแสปฏิจจ) ยังจำเป็นหรือไม่ ที่ต้องบรรลุอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ... สุสิมะปฏิเสธว่าไม่เลย)

ดูก่อนสุสิมะ! เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม บรรลุอิทธิวิธีมีประการต่างเหล่านี้บ้างหรือ คือผู้เดียวแปลงรูปเป็น หลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ทำที่กำบัง ให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้ง ให้เป็นที่กำบัง ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพงทะลุ ภูเขา ดุจไปในอากาศว่าง ๆ ผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ เดินได้เหนือน้ำ เหมือนเดินบนแผ่นดิน ไปได้ใน อากาศ เหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่ง ขัดสมาธิ คู้บัลลังก์ ลูบคลำพระจันทร์และพระอาทิตย์ อันมีฤทธิ์อนุภาพมากอย่างนี้ได้ ด้วยฝ่ามือ และแสดงอำนาจทางกาย เป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้?
"ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!"

ดูก่อนสุสิมะ ! เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม ได้ยินเสียงสองชนิด คือ เสียงทิพย์ และ เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ ด้วยทิพพโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ เกินกว่าโสต ของมนุษย์บ้าง หรือ?
"ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!"

ดูก่อนสุสิมะ! เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม กำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่น ได้ด้วยใจว่า "จิตของเขามีราคะ หรือว่าไม่มีราคะ ...ฯลฯ...จิตพ้นวิเศษ หรือไม่พ้นวิเศษ" ดังนี้ บ้างหรือ?
"
ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!"

ดูก่อนสุสิมะ! เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่ ในภพ ก่อน มีอย่างต่าง ๆ คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ...ฯลฯ... คือระลึกถึงขันธ์ ที่เคยอยู่ในภพ ก่อน มีอย่างต่าง ๆ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ บ้างหรือ?
"ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!"

ดูก่อนสุสิมะ! เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติอยู่...ฯลฯ... ซึ่งกำลัง เป็นไปตามกรรม ด้วยจักษุอันเป็น ทิพย์อันบริสุทธิ์ เกินกว่าจักษุ ของมนุษย์ บ้างหรือ?
"ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!"

ดูก่อนสุสิมะ! เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เธอย่อม ถูกต้องด้วยนามกายซึ่งอารุปปวิโมกข์ อันสงบ อันก้าวล่วงซึ่งรูป ทั้งหลายเสียได้ บ้างหรือ? (หายตัว)
"ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!"

..........................................................................................................

สรุปย่อและลำดับความเข้าใจของสุสิมะ
1. พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเรื่องปฏิจ ทั้งสายเกิด-สายดับ จนสุสิมะเข้าใจ
2. รู้ว่านั่นไม่ใช่ ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา

3. เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในเวทนา
4. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายหนัด
5. เพราะความคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
6. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า "หลุดพ้นแล้ว"

7. ย่อมรู้ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อันเราอยู่จบแล้ว
8. กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก


จากนั้นพระพุทธเจ้าถามสุสิมิว่า เมื่อรู้ชัดอย่างนี้ (รู้ตามลำดับจนจบกิจที่ควรทำ แล้วยัง ต้องการอภิญญาอีกหรือไม่)
เธอยังต้องการ ได้อิทธิฤทธิ์อีกหรือไม่ ... สุสิมะปฏิเสธว่า ไม่ต้องการอีกแล้ว(ข้อนั้นหามิได้)
เธอยังต้องการ เสียงทิพย์อีกหรือไม่ ... สุสิมะปฏิเสธว่า ไม่ต้องการอีกแล้ว
เธอยังต้องการ รู้ใจสัตว์อีกหรือไม่ ... สุสิมะปฏิเสธว่า ไม่ต้องการอีกแล้ว
เธอยังต้องการ ระลึกชาติได้อีกหรือไม่
... สุสิมะปฏิเสธว่า ไม่ต้องการอีกแล้ว
เธอถูกต้องการ หายตัวได้อีกหรือไม่... สุสิมะปฏิเสธว่า ไม่ต้องการอีกแล้ว
..........................................................................................................

ดูก่อนสุสิมะ! คราวนี้ คำพูดอยางโน้นของเธอกับการที่ (เธอกล่าวบัดนี้ว่า) ไม่ต้องมี การบรรลุถึง อภิญญาธรรม ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้ ในกรณีนี้ นี้เราจะว่าอย่างไรกัน.

ลำดับนั้นเอง ท่านสุสิมะ หมอบลงแทบพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วย เศียรเกล้าแล้ว ...

5
หน้า 367

ปฏิจจสมุปบาทรอบสุดท้ายของคนเรา

(ขันธ์5+เวทนา)

(ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถึงการที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดขึ้นในโลก ได้ทรงแสดงธรรม ประกาศ พรหมจรรย์ งามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลาย คหบดีหรือคหบดีบุตรเป็นต้น ได้ฟังธรรมแล้วเกิดสัทธา พิจารณา เห็นว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นโอกาสว่าง จะประพฤติ พรหมจรรย์ ให้บริสุทธิ์ในเพศฆราวาสนั้นยากเกินไป จึงละจึงละฆราวาสวิสัย ออกบวช แล้วกระทำ เต็มที่ ในศีลอันเป็นสิกขาสาชีพของภิกษุ เป็นผู้สันโดษ มีความประพฤติ เบาพร้อมเหมือนนกมีภาระแต่ปีกสำหรับบินไป สำรวมอินทรีย์ทั้งหก ในลักษณะ ที่อภิชฌา และ โทมนัสไม่เกิดขึ้นครอบงำจิต มีสติสัมป ชัญญะสมบูรณ์ ในทุกอิริยาบถ เสพเสนาสนะ อันสงัด บำเพ็ญความเพียรในอธิจิต กำจัดนิวรณ์ทั้งห้าเสียได้แล้ว บรรลุรูปฌาน ในอันดับ ที่สี่ อยู่เป็นปรกติ แล้วกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ถึงความดับซึ่งกระแส แห่งปฏิจจสมุปบาท อันเป็นรอบ สุดท้าย ในชีวิตแห่งตนได้ตามข้อความที่กล่าวไว้ ในตอนต่อไปข้างล่างนี้)

(๑) ภิกษุนั้น เห็นรูปด้วยตาแล้ว
ย่อมไม่กำหนัดยินดีในรูป 
อันลักษณะเป็นที่ตั้ง แห่งความรู้ 
ย่อมไม่ขัดเคืองในรูป
 อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง
เป็นผู้อยู่ด้วยสติ
เป็นไปในกายอันตนเข้าไปตั้งไว้แล้วมีจิตหาประมาณมิได้ด้วย 
ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ 
อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ แห่งธรรม อันเป็นบาปอกุศลทั้งหลายด้วย

ภิกษุนั้น เป็น ผู้ละเสียได้แล้วซึ่งความยินดีและความยินร้าย อย่างนี้แล้ว เสวย เวทนาใดๆอันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ในเวทนานั้น ๆ เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ในเวทนานั้น ๆ
นันทิ ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดับไป

เพราะความดับแห่งนันทิ ของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความ ดับแห่ง อุปทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล
ชรามรณะ โสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

(๒) ภิกษุนั้น ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว ย่อมไม่กำหนัดยินดีในเสียง อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ...ฯลฯ๑ ... นินทิ ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดับไป ...ฯลฯ... ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้

(๓) ภิกษุนั้น รู้สึกกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อมไม่กำหนัดยินดีในกลิ่น อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ...ฯลฯ... นันทิ ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดับไป...ฯลฯ... ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้

(๔) ภิกษุนั้น ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมไม่กำหนัดยินดีในรส อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ...ฯลฯ... นันทิ ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดับไป…ฯลฯ... ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้

(๕) ภิกษุนั้น ถูกต้องสัมผัสทางผิวหนังด้วยผิวกายแล้ว ย่อมไม่กำหนัดยินดีในสัมผัส ทางผิวหนัง อันมีลักษณะเป็นที่ตั้ง แห่งความรัก...ฯลฯ... นันทิในเวทนาทั้งหลาย เหล่านั้น ย่อมดับไป ...ฯลฯ... ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้น นี้ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้

(๖) ภิกษุนั้น รู้แจ้งธัมมารมณ์ด้วยใจแล้ว
ย่อมไม่กำหนัดยินดีในธัมมารมณ์ อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก 
ย่อมไม่ขัดเคืองในธัมมารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความเกลียดชัง
เป็นผู้อยู่ด้วยสติ เป็นไปในกายอันตนเข้าไปตั้งไว้แล้วมีจิตหาประมาณ มิได้ด้วย 
ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ
อันเป็นที่ดับโดย ไม่เหลือแห่งธรรม อันเป็นบาปอกุศลทั้งหลาย ด้วย

ภิกษุนั้น เป็นผู้ละเสียได้แล้ว ซึ่งความยินดีและความยินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาใดๆ อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำ สรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ในเวทนานั้น ๆ
เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่เมาหมกอยู่ในเวทนานั้นๆ นันทิ (ความกำหนัดยินดี เพราะได้ตามใจอยาก) ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้นย่อมดับไป
เพราะความดับแห่งนันทิของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้นความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ แล

หมายเหตุผู้รวบรวมผู้ศึกษาพึงสังเกตในข้อที่ว่า ผู้ที่ประพฤติพรหมจรรย์จบ โดยแท้จริงนั้น คือผู้ที่หยุดกระแสแห่ง ปฏิจจสมุปบาท เสียได้เป็นครั้งสุดท้าย หรือรอบสุดท้าย ต่อจากนั้นจะรับอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ชนิดใดอีกก็ตาม ย่อมไม่มี ทางที่จะเกิด กระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท เช่นนั้นอีกได้

ขอให้พิจารณาดูลักษณะอาการและเหตุผลต่าง ๆ ที่แสดงอยู่ในข้อความ เหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อที่ว่า "ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ มิได้ด้วยอาการ อย่างนี้" นี้นั้น มิได้หมายความว่าผู้นั้น จะต้องตาย (อย่างเข้าโลง) ไปเสียก่อน จึงจะ ดับทุกข์ได้ การดับของนันทิ ในเวทนาทั้งหลายนั้น ดับกันที่นี่ เดี๋ยวนี้ ด้วยอำนาจ เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ซึ่งดับอวิชชาที่นี่ เดี๋ยวนี้ ด้วยเหมือนกัน

ปฏิจจสมุปบาทรอบสุดท้ายของคนมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ ทั้งๆที่ในตอนต้นๆ แห่งชีวิตของเขานั้น เต็มไปด้วยปฏิจจสมุปบาท นับสาย หรือนับรอบไม่ถ้วน ศึกษากันให้ชัดเจนในข้อเท็จจริงอันนี้ ก็จะได้รับ ประโยชน์จากความรู้เรื่องนี้ โดยสมบูรณ์ และไม่เหลือวิสัย.



6

หน้า 378
ผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท
 โดยอาการแห่งอริยสัจสี่
ไม่สามารถก้าวล่วงปฏิจจสมุปปันนธรรม


(ผู้ไม่รู้ทั่วถึง)
1) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งชรามรณะ (ทุกข์)
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ (สมุทัย)
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ (สมุทัย)
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งชรามรณะ (มรรค)
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นหนา จักก้าวล่วงชรามรณะเสียได้แล้ว ดำรงอยู่ดังนั้นหรือ
นั่น ไม่ใช่ ฐานะที่จักมีได้

2) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง 
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งชาติ 
(ทุกข์)
ไม่รู้ ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้ เกิดขึ้นแห่งชาติ (สมุทัย)
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ (สมุทัย)
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งชาติ (มรรค) สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นหนา จักก้าวล่วงชาติเสียได้ แล้วดำรงอยู่ดังนั้นหรือ
นั่น ไม่ใช่ ฐานะที่จักมีได้


3) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง 
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งภพ
 ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่งภพ
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งภพ
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งภพ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นหนา จักก้าวล่วงภพเสียได้แล้วดำรงอยู่ ดังนั้นหรือ 
นั่น ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้


4) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง 
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งอุปาทาน
 
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่งอุปาทาน
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทาน
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นหนา จักก้าวล่วงอุปาทานเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนั้นหรือ 
นั่นไม่ใช่ฐานะ ที่จักมีได้


5) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง 
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งตัณหา
 
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง ตัณหา
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งตัณหา
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งตัณหา
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นหนา จักก้าวล่วงตัณหาเสียได้แล้วดำรงอยู่ ดังนั้นหรือ 
นั่น ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้


6) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง 
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งเวทนา
 
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง เวทนา
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่ง เวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นหนา จักก้าวล่วงเวทนาเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนั้นหรือ 
นั่น ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้


7) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง 
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งผัสสะ
 
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง ผัสสะ
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ
ไม่รู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นหนา จักก้าวล่วงผัสสะเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนั้นหรือ 
นั่นไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้

8) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งสฬายตนะ
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง สฬายตนะ
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งสฬายตนะ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นหนา จักก้าวล่วงสฬายตนะเสียได้ แล้วดำรงอยู่ดังนั้นหรือ 
นั่นไม่ใช่ฐานะ ที่จักมีได้


9) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง 
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งนามรูป 
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง นามรูป
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูป
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่ง นามรูป
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นหนา จักก้าวล่วงนามรูปเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนั้นหรือ
นั่นไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้

10) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง 
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งวิญญาณ
ไม่รู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง วิญญาณ
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งวิญญาณ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นหนา จักก้าวล่วงวิญญาณเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนั้นหรือ
นั่นไม่ใช่ฐานะ ที่จักมีได้


11) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง 
ย่อมไม่รู้ทั่วถึงซึ่งสังขาร
ทั้งหลาย
ไม่รู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้ เกิดขึ้นแห่งสังขาร
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งสังขาร
ไม่รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งสังขาร สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นหนา จักก้าวล่วงสังขารเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนั้นหรือ 
นั่นไม่ใช่ฐานะ ที่จักมีได้


..................................................................................................

(ผู้รู้ทั่วถึง)
ในทางตรงกันข้าม ผู้รู้ปฏิจจสมุปบาท โดยอาการแห่งอริยสัจทั้งสี่ ย่อมสามารถก้าว ล่วงปฏิจจสมุปปันนธรรม (หน้า 422)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ชรามรณะ 
รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่งชรามรณะ
รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ
รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งชรามรณะ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นหนอ จักก้าวล่วงชรามรณะเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จัก มีได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งชาติ
รู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ
รู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชาติ
รู้ทั่วถึง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ
สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นหนอ จักก้าวล่วงชาติเสียได้ แล้วดำรงอยู่ ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จักมีได้

(ในกรณีปฏิจจ-ข้ออื่น ได้ตรัสทำนองเดียวกัน ไปจนถึง สังขาร)
..................................................................................................

7
หน้า 381

สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าใจปฏิจจสมุปบาท
ยึดถือกายเป็นตัวตน
 ยังดีกว่ายึดถือจิตเป็นตัวตน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะพึงเบื่อหน่ายได้บ้าง พึงคลายกำหนัด ได้บ้าง  พึงปล่อยวางได้บ้างในกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า การก่อขึ้นก็ดี การสลายลงก็ดี การถูกยึดครองก็ดี การทอดทิ้งซากไว้ก็ดี แห่งกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ย่อมปรากฎอยู่. เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จึงเบื่อหน่ายได้บ้างจึงคลาย กำหนัดได้บ้าง จึงปล่อยวางได้บ้าง ในกายนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า "จิต" ก็ดี ว่า "มโน" ก็ดี ว่า "วิญญาณ" ก็ดี ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อย วาง ซึ่งจิตนั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า สิ่งที่เรียกว่าจิตเป็นต้นนี้เป็นสิ่งที่ปุถุชน ผู้มิได้สดับแล้ว ได้ถึงทับแล้ว ตัณหา ได้ยึดถือแล้วด้วยทิฏฐิโดยความเป็นตัวตน มาตลอดกาลช้านานว่า "นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตน ของเรา" ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งสิ่งที่เรียกว่าจิต เป็นต้นนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะพึงเข้าไปยึดถือเอากาย อันเป็นที่ ประชุม แห่งมหาภูตทั้งสี่นี้โดยความเป็นตัวตนยังดีกว่า. แต่จะเข้าไปยึดถือ เอาจิตโดยความเป็นตัวตนไม่ดีเลย 

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า กายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้างสี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง เกินกว่าร้อยปี บ้าง ปรากฏอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!ส่วน สิ่งที่เรียกกันว่า "จิตก็ดี ว่า "มโน" ก็ดี ว่า "วิญญาณ" ก็ดี นั้น ดวงอื่นเกิดขึ้นดวงอื่นดับไปตลอดวัน ตลอดคืน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือน วานร เมื่อเที่ยวไปอยู่ในป่าใหญ่ ย่อมจับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น จับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่ง ที่จับเดิม เหนียวกิ่งอื่น เช่นนี้เรื่อยๆไป ข้อนี้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สิ่งที่เรียกกันว่า "จิต" ก็ดี ว่า "มโน" ก็ดีว่า "วิญญาณ" ก็ดี นั้น ดวงอื่นเกิดขึ้น ดวงอื่นดับ ไป ตลอดวัน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในเรื่องที่กล่าวนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมกระทำในใจโดย แยบคาย เป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจ สมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า "เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น. เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึง ไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ...ฯลฯ... ...ฯลฯ... เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ-

ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้. เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่ง อวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่ง สังขาร เพราะมีความ ดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ...ฯลฯ......ฯลฯ... เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริ เทวะทุกขะโทมนัส -อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้"

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะความคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น

เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า "หลุดพ้น แล้ว" ดังนี้.

เธอย่อมรู้ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อันเราอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ ทำเสร็จ แล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก" ดังนี้ แล.



8
หน้า 390
ไม่ควบคุมรากฐาน(อายตนะ๖) แห่งปฏิจจสมุปบาทจึงเกิดทุกข์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ผัสสายตนะทั้งหลาย ๖ อย่างเหล่านี้ อันบุคคล ไม่ฝึกแล้วไม่คุ้มครองแล้วไม่รักษาแล้ว ไม่สำรวม ระวังแล้ว ย่อม เป็นสิ่งนำมาอย่างยิ่ง ซึ่งทุกข์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ผัสสายตนะทั้งหลาย ๖ อย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า?
หกอย่าง นั้นคือ
ผัสสายตนะคือ จักษุ (ตา) …ฯลฯ… … นำมาอย่างยิ่งซึ่งความทุกข์;
ผัสสายตนะคือ โสตะ (หู) …ฯลฯ… … นำมาอย่างยิ่งซึ่งความทุกข์;
ผัสสายตนะคือ ฆานะ (จมูก) …ฯลฯ… … นำมาอย่างยิ่งซึ่งความทุกข์;
ผัสสายตนะคือ ชิวหา (ลิ้น) …ฯลฯ… … นำมาอย่างยิ่งซึ่งความทุกข์;
ผัสสายตนะคือ กายะ (กาย) …ฯลฯ… … นำมาอย่างยิ่งซึ่งความทุกข์;
ผัสสายตนะคือ มนะ (ใจ) …ฯลฯ… … นำมาอย่างยิ่งซึ่งความทุกข์;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ผัสสายตนะทั้งหลาย ๖ อย่างเหล่านี้แล อันบุคคลไม่ฝึกแล้ว ไม่คุ้มครองแล้ว ไม่รักษาแล้ว ไม่สำรวม ระวังแล้ว ย่อมเป็นสิ่งนำมาอย่างยิ่งซึ่งทุกข์
……………………………………………………………………………………………………


หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ผัสสายตนะทั้งหลายเหล่านี้ เป็นรากฐาน หรือต้นเงื่อนของ ปฏิจจสมุปบาททางฝ่ายการปฏิบัติ ดังบาลีว่า “เพราะอาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ประการนั้น คือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี เวทนา …ฯลฯ…” ดังนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น การไม่ควบคุมผัสสายตนะ ก็คือการไม่ควบคุมการเกิดแห่งปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง จึงเกิดทุกข์.



9_1

หน้า 410
ย่อมรู้สึกซึ่ง ดิน โดยความเป็นดิน
(แบบปุถชน-แบบเสขะ-แบบอรหันต์-แบบตถาคต)


1 (ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ)
ย่อมรู้สึกซึ่ง ดิน โดยความเป็นดิน (แบบปุถชนผู้ไม่ได้สดับ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในโลกนี้ ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้ รับการแนะนำในธรรมของ พระอริยเจ้า ไม่เห็นสัปบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการ แนะนำในธรรม ของสัปบุรุษ. บุถุชน นั้น :-

(ย่อมรู้สึกซึ่ง ดินโดยความเป็นดิน ครั้นรู้สึกซึ่งดินโดยความเป็นดินแล้ว
ย่อม
สำคัญมั่นหมาย ซึ่งดิน 
ย่อม
สำคัญมั่นหมาย ในดิน 
ย่อม
สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นดิน 
ย่อม
สำคัญมั่นหมาย ว่าดินของเรา 
ย่อม
เพลินอย่างยิ่งซึ่งดิน 

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?

ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะดินเป็นสิ่งที่ ปุถุชนนั้น มิได้รู้โดยรอบแล้ว
...................................................................................................

9_2

2 (พระเสขะ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ส่วนว่า ภิกษุใดยังเป็นเสขะอยู่ มีความประสงค์แห่งใจ (อรหัตตผล) อันตนยังไม่บรรลุแล้ว ปรารถนา อยู่ซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ภิกษุนั้น

ย่อม
จะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่งดินโดยความเป็นดิน ครั้นจะรู้โดยยิ่งขึ้นไปซึ่งดินโดยความ เป็นดินแล้ว
ย่อมจะไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งดิน
ย่อม
จะไม่สำคัญมั่นหมาย ในดิน 
ย่อม
จะไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นดิน 
ย่อม
จะไม่สำคัญมั่นหมาย ว่าดินของเรา
ย่อม
จะไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่งดิน 

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?

ข้อนั้นเรา กล่าวว่า 
เพราะดิน เป็นสิ่งที่ พระเสขะนั้น จะพึงรู้ได้โดยรอบ
...................................................................................................


9_3

3
(พระอรหันต์ขีณาสพ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ฝ่ายภิกษุใด เป็น พระอรหันต์ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระ อันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอัน ตามบรรลุถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุแม้นั้น

(๑) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งดินโดยความเป็นดิน ครั้นรู้ชัดแจ้งซึ่งดินโดยความเป็นดินแล้ว ย่อมไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งดิน 
ย่อม
ไม่สำคัญมั่นหมาย ในดิน 
ย่อม
ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นดิน 
ย่อม
ไม่สำคัญมั่นหมาย ว่าดินของเรา 
ย่อม
ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่งดิน

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะดินเป็นสิ่งที่พระขีณาสพนั้นได้รู้โดยรอบแล้ว ...
และเพราะว่า ความเป็นผู้มีราคะไปปราศแล้ว ย่อมมีแก่พระขีณาสพนั้น
เพราะความ สิ้นไปแห่ง ราคะ 
...ความเป็นผู้มีโทสะไปปราศแล้ว ย่อมมีแก่พระขีณาสพนั้น 
เพราะความ สิ้นไปแห่ง โทสะ
 
...ความเป็นผู้มีโมหะไปปราศแล้ว ย่อมมีแก่พระขีณาสพนั้น 
เพราะความ สิ้นไปแห่ง โมหะ

...................................................................................................


9_4

4 (ตถาคต)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! แม้ ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก็

(๑) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งดินโดยความเป็นดิน ครั้งรู้ชัดแจ้งซึ่งดินโดยความเป็นดินแล้ว
ย่อมไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งดิน 
ย่อม
ไม่สำคัญมั่นหมาย ในดิน 
ย่อม
ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นดิน 
ย่อม
ไม่สำคัญมั่นหมาย ว่าดินของเรา 
ย่อม
ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่งดิน

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?

ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะดินนั้นเป็นสิ่ง ที่ ตถาคตได้รู้โดยรอบแล้ว ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! และข้อนั้นเรากล่าวว่าเพราะรู้แจ้ง (โดยนัยแห่งปฏิจจ-ข้อนี้)ว่า
นันทิเป็นมูลแห่ง ความทุกข์
 
เพราะมีภพจึงมีชาติ ชรา มรณะ ย่อมมีแก่ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ดังนี้
เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ตถาคตจึงชื่อว่าผู้ตรัสพร้อมเฉพาะแล้ว
ซึ่งอนุตตรสัมมสัมโพธิญาณ
เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลาย
เพราะความสำรอกไม่เหลือ
เพราะความดับไม่เหลือ
เพราะความสลัดทิ้ง
เพราะความสลัดคืน

โดยประการทั้งปวง ดังนี้.

(๒) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งน้ำ...ฯลฯ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๓) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งไฟ...ฯลฯ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๔) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งลม...ฯลฯ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๕) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งภูตสัตว์ทั้งหลาย ..ฯลฯ..สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๖) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งเทพทั้งหลาย ..ฯลฯ..สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๗) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งปชาบดี...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๘) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งพรหม...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๙) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งอาภัสสรพรหมทั้งหลาย..ฯลฯ..สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๑๐) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งสุภกิณหพรหมทั้งหลาย..ฯลฯ..สลัดคืนโดยประการทั้งปวงดังนี้
(๑๑) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งเวปัปผลพรหมทั้งหลาย..ฯลฯ..สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๑๒) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งอภิภู...ฯลฯ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๑๓) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งอากาสานัญจายตนะ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวง ดังนี้
(๑๔) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งวิญญณัญจายตนะ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๑๕) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งอากิญจัญญยตนะ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๑๖) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ..สลัดคืนโดยประการทั้งปวงดังนี้
(๑๗) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งรูปที่เห็นแล้ว ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๑๘) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งเสียงที่ได้ฟังแล้ว ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๑๙) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งสิ่งที่รู้สึกแล้ว (ทางจมูก ลิ้น ผิวกาย)สลัดคืนโดยประการทั้งปวง
(๒๐) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งสิ่งที่รู้แจ้งแล้ว(ทางมโนวิญญาณ)สลัดคืนโดยประการทั้งปวง
(๒๑) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งเอกภาวะ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๒๒) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งนานาภาวะ ...ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๒๓) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งสรรพภาวะ..ฯลฯ...สลัดคืน โดยประการทั้งปวงดังนี้
(๒๔) ย่อมรู้ชัดแจ้งซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน

ครั้นรู้ชัดแจ้งซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว
ย่อมไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญมั่นหมาย ในนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นนิพพาน
ย่อมไม่สำคัญมั่นหมาย ว่านิพพานของเรา
ย่อมไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่งนิพพาน


ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะนิพพานนั้นเป็นสิ่งที่ตถาคตได้รู้โดยรอบแล้ว

ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย! และข้อนั้นเรากล่าวว่าเพราะรู้แจ้ง (โดยนัยแห่งปฏิจจ-ข้อนี้)ว่า 
นันทิเป็นมูลแห่งความทูกข์ เพราะมีภพจึงมีชาติ ชรามรณะย่อมมีแก่สัตว์ผู้เกิดแล้ว ดังนี้ เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ตถาคตจึง ชื่อว่าผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณ
เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลาย
เพราะความ สำรอก ไม่เหลือ
เพราะความดับไม่เหลือ
เพราะความสลัดทิ้ง
เพราะความสลัดคืนโดยประการทั้งปวง ดังนี้



10

หน้า 422
พอรู้ปฏิจจสมุปบาท
 ก็ หายตาบอดอย่างกะทันหัน

ดูก่อน มาคัณฑิยะ ! เปรียบเหมือน บุรุษตามืดบอดมาแต่กำเนิด เขาจะมองเห็น รูปทั้งหลาย ที่มีสีดำหรือขาว เขียวหรือ เหลือง แดงหรือขาว ก็หาไม่ จะได้เห็น ที่อันเสมอหรือขรุขระ ก็หาไม่ จะได้เห็นดวงดาว หรือดวงจันทร์และ ดวงอาทิตย์ ก็หาไม่ เขาได้ฟังคำบอกเล่าจากบุรุษผู้มีตาดีว่า

"ดูก่อนท่านผู้เจริญ! ผ้าขาวเนื้อดีนั้นเป็นของงดงาม ปราศจากมลทิน เป็นผ้าสะอาด มีอยู่(ในโลก)" ดังนี้. บุรุษตาบอด นั้นจะพึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวอยู่ ยังมีบุรุษผู้หนึ่ง ลวงเขาด้วยผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่าว่า "

ดูก่อนท่านผู้เจริญ! นี่! เป็นผ้าขาวเนื้อดี เป็นของงดงาม ปราศจากมลทิน เป็นผ้า สะอาดสำหรับท่าน" ดังนี้ บุรุษตาบอด ก็จะพึงรับผ้านั้น ครั้นรับแล้วก็จะห่ม

ในกาลต่อมา มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิตของเขา เชิญแพทย์ผ่าตัดผู้ชำนาญมารักษา แพทย์นั้น พึงประกอบซึ่งเภสัช อัน ถ่ายโทษในเบื้องบน ถ่ายโทษในเบื้องต่ำยาหยอด ยากัดและยานัตถุ์ เพราะอาศัยยานั้นเอง เขากลายเป็นผู้มี จักษุดี  พร้อมกับการมี จักษุดี ขึ้นนั้น เขาย่อมละความรักใคร่พอใจในผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่าเสียได้ เขาจะพึง เป็น อมิตร เป็นข้าศึก ผู้หมายมั่น ต่อบุรุษผู้ลวงเขานั้น หรือถึงกับ เข้าใจ เลยไปว่าควรจะปลงชีวิตเสียด้วยความแค้น โดยกล่าวว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเอ๋ย! เราถูกบุรุษผู้นี้คดโกง หลอกลวง ปลิ้นปล้อน ด้วยผ้า เนื้อเลว เปื้อนเขม่า มานานหนักหนาแล้ว โดยหลอกเราว่า เป็นผ้าขาว เนื้อดี เป็นของงดงามปราศจากมลทิน เป็นผ้าสะอาด สำหรับท่าน ดังนี้ อุปมานี้ฉันใด

ดูก่อนมาคัณฑิยะ! อุปไมยก็ฉันนั้น เราแสดงธรรมแก่ท่านว่า "อย่างนี้เป็นความ ไม่มีโรค อย่างนี้เป็นนิพพาน" ดังนี้ ท่านจะรู้จักความไม่มีโรค จะพึงเห็นนิพพาน ได้ ก็ต่อเมื่อท่านละความเพลิดเพลิน และความกำหนัดในอุปาทานขันธ์ห้า เสียได้ พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งธรรม จักษุของท่านนั้น

อนึ่ง ความรู้สึกจะพึงเกิดขึ้นแก่ท่านว่า" ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายเอ๋ย! นานจริงหนอ ที่เราถูกจิตนี้คดโกง หลอกลวง ปลิ้นปลอก จึงเราเมื่อยึดถือก็ยึดถือเอาแล้วซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร และซึ่งวิญญาณนั่นเทียว เพราะความยึดถือ (อุปาทาน) ของเรานั้น เป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะมีภพ เป็นปัจจัยจึงมีชาติ

เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้น พร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.
…………………………………………………………………………………………………..

หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตว่า ปฏิจจสมุปบาทในกรณีนี้แสดงอวิชชา ด้วยโวหารว่า "เราถูกจิตคดโกง หลอกลวง" จนยึดถือรูป เวทนา สัญญาสังขาร และวิญญาณ

การที่จะเกิดการยึดถือในขันธ์เหล่านี้ได้ จะต้องมีอารมณ์ มากระทบทางตาหรือหูเป็นต้นก่อน และมี "อวิชชาสัมผัส"ในอารมณ์นั้น จนมีเวทนา ตัณหาอุปาทานเกิดขึ้นยึดมั่น ต่อความรู้สึก ต่าง ๆ ภายในใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยึดมั่นในอัสสาทะแห่งเวทนานั้น จึงกลายเป็นยึดมั่นครบ ทั้งห้าอย่าง คือทั้งรูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณดังที่กล่าวแล้ว หลังจากมีการยึดมั่น (อุปทาน) แล้ว ก็มีภพ ชาติ จนถึงที่สุด นี้เป็นปฏิจจสมุปบาท ตลอดทั้งสาย แต่ตัวอักษร แสดงไว้เพียงสองสามอาการ ผู้ไม่มีความเข้าใจ อันถูกต้องในเรื่องนี้ จะไม่รู้สึกว่า เป็นปฏิจจ-ทั้งสาย ได้อย่างไร.

ครั้นละอุปาทานได้ ทุกข์ดับไป จึงรู้สึกเหมือนกับหายตาบอด ในทันใด นั้นเพราะวิชชาเกิดขึ้น รู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็คือรู้ปฏิจจ-ทั้งฝ่ายสมุทยวาระ และ นิโรธวาระ ด้วยยถาภูตสัมมัปปัญญา ของตนในขณะนั้น นั่นเอง



11

หน้า 428
ผลอานิสงส์ พิเศษ ๘ ประการของการเห็นปฏิจจสมุปบาท

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถูกแล้ว! เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็เป็นอันว่า พวกเธอทั้งหลายก็กล่าว อย่างนั้น แม้เราตถาคต ก็กล่าวอย่างนั้น ว่า เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ กล่าวคือ
เพราะความดับแห่งอวิชชา จึงมีความดับแห่งสังขาร
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับ แห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้"

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จึงพึงแล่นไปสู่ ทิฏฐิอันปรารภที่สุด ในเบื้องต้น ว่า" ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต เราได้มีแล้วหรือหนอ เราไม่ได้มีแล้วหรือหนอ เราได้เป็นอะไรแล้วหนอ เราได้เป็น อย่าไรแล้วหนอ เราเป็นอะไรแล้วจึงได้เป็นอะไรอีกแล้วหนอ" ดังนี้?
"ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า"

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! หรือว่า จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จะพึงแล่นไปสู่ ทิฏฐิอัน ปรารภที่สุดในเบื้องปลาย ว่า "ในกาล ยืดยาวนานฝ่ายอนาคต เราจักมีหรือหนอ เราจักไม่มีหรือหนอเราจักเป็น อะไรหนอ เราจักเป็นอย่างไรหนอ เราเป็นอะไรแล้วจักเป็นอะไรต่อไปหนอ" ดังนี้?
"
ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!"

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! หรือว่า จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จะพึงเป็นผู้ มีความสงสัย เกี่ยวกับตนปรารภกาลอันเป็นปัจจุบันใน กาล นี้ว่า "เรามีอยู่หรือหนอ เราไม่มีอยู่หรือหนอ เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไร หนอ สัตว์นี้มาจากที่ไหน แล้วจักเป็นผู้ไปสู่ที่ไหนอีกหนอ" ดังนี้?
"ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!"

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอ เมื่อรู้อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ แล้วจะพึงกล่าวว่า "พระศาสดา เป็นครูของพวกเรา ดังนั้น พวกเราต้องกล่าว อย่างที่ท่านกล่าว เพราะความเคารพในพระศาสดานั่นเทียว" ดังนี้?
"
ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า!"

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ แล้วจะพึงกล่าวว่า "พระสมณะ (พระพุทธองค์) กล่าวแล้วอย่างนี้ แต่สมณะทั้งหลาย และพวกเราจะกล่าวอย่างอื่น" ดังนี้?
"
ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า!"

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จะ พึงประกาศการนับถือศาสดา อื่น?
"ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า!"


(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! จะเป็นไปได้ไหมว่า พวกเธอ เมื่อรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จะพึงเวียนกลับไปสู่การประพฤติ ซึ่ง วัตตโกตูหลมงคล ทั้งหลาย ตามแบบของ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เหล่าอื่นเป็นอันมาก โดยความเป็นสาระ?
"ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า!"

(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอจะกล่าวแต่สิ่งที่พวกเธอรู้เอง เห็นเองรู้สึกเองแล้ว เท่านั้น มิใช่หรือ?
"
อย่างนั้น พระเจ้าข้า!"

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถูกแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานำ ไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็น ธรรมที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นธรรมให้ผล ไม่จำกัดกาล  เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว  อันวิญญูชน จะพึงรู้ได้เฉพาะตน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! คำนี้เรากล่าวแล้ว หมายถึงคำที่เราได้เคยกล่าวไว้แล้วว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เป็นธรรม ที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นธรรม ให้ผลไม่จำกัดกาล เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ ตน อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน" ดังนี้.


12

หน้า 441
ผู้เสร็จกิจในปฏิจจสมุปบาทชื่อว่าผู้บรรลุนิพพาน
 ในปัจจุบัน

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ แห่งชราและมรณะ ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า
ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่ง นิพพานใน ทิฏฐธรรม 

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่ายเพราะความคลาย กำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ แห่งชาติ ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่ง นิพพาน ในทิฏฐรรม

(กรณี แห่งภพ แห่งอุปทาน แห่งตัณหา แห่งเวทนา แห่งผัสสะ แห่งสฬายตนะ แห่งนามรูป แห่งวิญญาณ แห่งสังขารทั้งหลาย แห่งอวิชชา ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่น ถือมั่อยู่แล้วไซร้ ก็เป็นการสมควรจะเรียก ภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้บรรลุแล้วซึ่ง นิพพาน ในทิฏฐรรม" ดังนี้ แล )



13

หน้า514
การสนทนาของพระมหาสาวก (เรื่องปฏิจจสมุปบาท)


ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร กับท่าน พระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่าอิสะปตนมฤคทายวัน ใกล้เมือง พาราณสี. ครั้งนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาพระสารีบุตร ถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสารีบุตรว่า

ดูก่อนท่านสารีบุตร!
ชรามรณะเป็นสิ่งที่บุคคล กระทำเองหรือหนอ?
หรือว่าชรามรณะเป็นสิ่งที่ บุคคลอื่นกระทำ?
ชรามรณะเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำ เองด้วยบุคคลอื่นกระทำด้วยหรือ? หรือว่าชรามรณะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำ เองหรือบุคคลอื่น กระทำก็เกิดขึ้นได้เล่า?

ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ!
ชรามรณะเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองก็ไม่ใช่
ชรามรณะเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำก็ไม่ใช่
ชรามรณะเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ด้วยบุคคลอื่นกระทำด้วยก็ไม่ใช่ ทั้งชรามรณะจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ก็ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ
..................................................................................................

ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้ถามอีกว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร!
ชาติเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง หรือ หนอ?
หรือว่าชาติเป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ?
ชาติเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระทำ ด้วยหรือ? หรือว่าชาติเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเองหรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้เล่า?"

ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ!
ชาติเป็นสิ่งที่บุคคลกระทำ เอง ก็ไม่ใช่
ชาติ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ก็ไม่ใช่
ชาติ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วย บุคคลอื่นกระทำด้วย ก็ไม่ใช่
ทั้งชาติ จะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่บุคคลกระทำเอง หรือบุคคลอื่นกระทำก็เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ใช่ แต่ว่า เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ
..................................................................................................

ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้ถาม
ภพ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง หรือว่าเป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ....
ส. ตอบว่า เพราะมีอุปทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ"

อุปาทาน เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง หรือหรือว่าเป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ...
ส. ตอบว่า เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน"

ตัณหา เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ...
ส. ตอบว่า  เพราะมี เวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา"

เวทนา เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ...
ส. ตอบว่า เพราะมี ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี เวทนา"

ผัสสะ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ...
ส. ตอบว่า เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ"

สฬายตนะ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ...
ส. ตอบว่า เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ"

นามรูป เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ...
ส. ตอบว่าเพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป"

วิญญาณ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองหรือ? หรือว่าเป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำ ...
ส. ตอบว่า  เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ"


ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวว่า "ดูก่อนท่านผู้มีอายุ! ถ้าอย่างนั้นผมจักกระทำอุปมาให้ท่านฟัง. วิญญูชนทั้งหลายบางพวกในโลกนี้ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความ แห่งภาษิตได้แม้ด้วยอุปมา. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ! เปรียบเหมือนไม้อ้อสองกำจะพึงตั้งอยู่ได้ก็เพราะอาศัยซึ่งกันและกัน....
ดูก่อนท่านผู้มีอายุ! ไม้อ้อสองกำนั้นถ้าบุคคลดึงเอาออกเสียกำหนึ่งไซร้ อีกกำหนึ่งก็พึงล้มไป ถ้าบุคคลดึงเอากำอื่นอีกออกไปไซร้กำอื่นอีกก็พึงล้มไป....

ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้กล่าวว่า "น่าอัศจรรย์ท่านสารีบุตร! ไม่เคยมีแล้วท่านสารีบุตร ! เท่าที่ท่านสารีบุตรกล่าวมานี้นับว่าเป็นการกล่าวดีแล้ว



14-1

เวทนาของปุถุชน ต่างจากของอริยสาวก
(ในแง่ของปฏิจจสมุปบาท)


(ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับแล้ว ย่อมเสวยซึ่งเวทนา อันเป็นสุขบ้าง อันเป็น ทุกข์บ้าง อันมิใช่ทุกข์มิใช่สุข บ้าง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! แม้อริยสาวก ผู้มีการสดับแล้ว ก็ย่อมเสวยซึ่งเวทนา อันเป็นสุขบ้าง อันเป็นทุกข์บ้าง อันมิใช่ทุกข์มิใช่ สุขบ้าง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อเป็นเช่นนั้น ในระหว่างอริยสาวกผู้มีการสดับ กับปุถุชน ผู้ไม่มีการสดับดังที่กล่าวมานี้  อะไรเป็น ความผิดแผกแตกต่างกันอะไรเป็นความ มุ่งหมาย ที่แตกต่างกัน อะไรเป็นเหตุที่แตกต่างกัน  ระหว่างอริยสาวก ผู้มี การสดับ จากปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ?

ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ธรรมทั้งหลายของ พวกข้า พระองค์ มีพระผู้มีพระภาค เป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำมีพระผู้มีพระภาค เป็นที่พึง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เป็นการชอบแล้วหนอ ขอให้อรรถ แห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาค เองเถิดภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้" ดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับแล้ว อันทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ย่อม เศร้าโศก ย่อมกระวนกระวาย ย่อมร่ำไรรำพัน เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ถึงความมีสติฟั่นเฟือน เขาย่อมเสวยซึ่งเวทนาทั้ง เวทนาทั้ง ๒ ฝ่าย คือ เวทนาทั้งทางกายและทางจิต

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนบุรุษพึงยิงบุรุษด้วยลูกศร แล้วพึงยิงซ้ำซึ่ง บุรุษนั้น ด้วยลูกศรที่สองอีก บุรุษผู้ถูกยิงด้วยลูกศรสองลูกอย่างนี้ ย่อมเสวย เวทนาทางกาย ด้วยทางจิต ด้วย แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ปุถุชนผู้ไม่มีการ สดับแล้ว ก็เป็น ฉันนั้น คือเมื่อทุกขเวทนา ถูกต้องอยู่ ย่อมเศร้าโศกย่อมกระวน กระวายย่อมร่ำไรรำพัน เป็นผู้ทุกอกร่ำไห้ถึงความ มีสติ ฟั่นเฟือนอยู่ ชื่อว่าเขาย่อม เสวยซึ่งเวทนาทั้งสอง อย่าง คือทั้งทางกายและทางจิต

เขาเป็นผู้มีปฏิฆะ เพราะทุกขเวทนานั้นนั่นเอง ปฏิฆานุสัย อันใด อันเกิดจาก ทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัยอันนั้น ก็ย่อม นอนตาม ซึ่งบุคคลนั้นผู้มีปฏิฆะด้วยทุกขเวทนา บุคคลนั้นอัน ทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ย่อมจะพอใจซึ่งกามสุข ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ปุถุชนผู้ไม่มีการ สดับแล้ว ย่อม ไม่รู้ชัด อุบายเครื่องปลด เปลื้องซึ่งทุกขเวทนา เว้นแต่กามสุขเท่านั้น (ที่เขาคิดว่าจะระงับ ทุกขเวทนาได้)

เมื่อปุถุชนนั้นพอใจยิ่งอยู่ซึ่งความสุข ราคานุสัย อันใด อันเกิดจากสุขเวทนาราคานุสัย อันนั้นย่อม นอนตาม ซึ่งปุถุชนนั้น ปุถุชนนั้น ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่งเวทนา ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม และซึ่งอุบายเป็น เครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ตามที่เป็นจริง

เมื่อปุถุชนนั้นไม่รู้ชัดอยู่ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอัน ต่ำทราม และซี่งอุบายเป็นเครื่อง ออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ตามที่เป็น จริง ดังนี้แล้ว อวิชชานุสัย อันใด อันเกิดจาก อทุกขมสุขเวทนา วิชชานุสัย อันนั้น ย่อม นอนตาม ซึ่งปุถุชนนั้น ปุถุชนนั้น ถ้าเสวยสุขเวทนาย่อมเป็นผู้ติดพัน (ในเวทนา) เสวย เวทนานั้น ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ติดพันเสวยเวทนานั้น ถ้าเสวยอทุกขม สุขเวทนา ก็ยังเป็นผู้ติดพัน เสวยเวทนานั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้ติดพันแล้วด้วยชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย เรากล่าวว่า  เป็นผู้ติดพันแล้ว ด้วย ทุกข์ ดังนี้

.......................................................................................................

14-2


(อริยสาวกผู้ได้สดับ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ส่วนอริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว อันทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ ย่อมไม่ เศร้าโศก ย่อมไม่กระวนกระวาย ย่อมไม่ร่ำไรรำพัน ไม่เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ไม่ถึงความมี สติ ฟั่นเฟือน ย่อม เสวยเวทนาเพียงอย่างเดียวคือเวทนาทางกายหามีเวทนา ทางจิตไม่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนบุรุษพึงยิงบุรุษด้วยลูกศรแล้ว ไม่พึงยิงซ้ำ ซึ่งบุรุษ นั้นด้วย ลูกศรที่สอง เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาจากลูกศร เพียงลูกเดียว แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว ก็ฉันนั้นคือ  เมื่อทุกข เวทนาถูกต้องอยู่ ย่อมไม่เศร้าโศกไม่กระวนกระวาย ไม่ร่ำไรรำพัน ไม่เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ไม่ถึงซึ่งความมีสติฟั่นเฟือน  อริยสาวกนั้น ชื่อว่า ย่อมเสวย เวทนาเพียงอย่างเดียว คือเวทนา ทางกาย หามีเวทนา ทางจิตไม่ อริยสาวกนั้น หาเป็นผู้มีปฏิฆะราะทุกขเวทนานั้นไม่ ปฏิฆานุสัย อันใด อันเกิดจาก ทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัยอันนั้น ก็ย่อม ไม่นอนตาม ซึ่งอริยสาวกนั้น ผู้ไม่มี ปฏิฆะเพราะทุกขเวทนา.

อริยสาวกนั้นอันทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ก็ไม่(นึก)พอใจซึ่งกามสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า อริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว ย่อมรู้ชัดอุบาย เครื่องปลดเปลื้อง ซึ่งทุกขเวทนาซึ่งเป็นอุบายอื่นนอกจากกามสุข. เมื่ออริยสาวกนั้น มิได้พอใจ ซึ่งกามสุขอยู่ ราคานุสัยอันใด อันเกิดจากสุขเวทนา ราคานุสัยอันนั้นก็ ไม่นอนตาม ซึ่งอริยสาวกนั้น.

อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่ง รสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม และซึ่งอุบาย เป็นเครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลาย เหล่านั้น ตามที่เป็นจริง.

เมื่ออริยสาวกนั้น รู้ชัดอยู่ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษ อันต่ำทราม และซี่งอุบายเครื่อง ออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลายเหล่านั้นตามที่เป็นจริง ดังนี้แล้ว อวิชชานุสัย อันใดอันเกิดจากอทุกขมสุข-เวทนา  อวิชชานุสัย อันนั้น ก็ย่อม ไม่นอนตาม ซึ่งอริยสาวกนั้น

อริยสาวกนั้น
ถ้าเสวยสุขเวทนา ย่อมไม่เป็นผู้ติดพัน (ในเวทนา) เสวยเวทนานั้น
ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็ไม่เป็นผู้ติดพันเสวยเวทนานั้น
ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ไม่เป็นผู้ติดพันเสวยเวทนานั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกผู้มีการสดับนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้ไม่ติดพันแล้วด้วยชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลายเรากล่าวว่า เป็นผู้ไม่ติด พันแล้ว ด้วยทุกข์ ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตก ต่างกัน เป็นเหตุที่แตกต่างกัน ระหว่าง อริยสาวกผู้มีการสดับ จากปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ดังนี้.

หมายเหตุผู้รวบรวม : เวทนา ๓ ชนิด ของปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมก่อให้เกิดอนุสัย ๓ ชนิด ซึ่งเป็นอาการของการเกิด ปฏิจจสมุปบาทโดยสมบูรณ์ คือเกิดทุกข์ในที่สุด

ส่วนเวทนาของ อริยสาวก ผู้มีการสดับ ย่อมไม่ก่อให้เกิดอนุสัย นั้นคือการไม่เกิดขึ้นแห่ง ปฏิจจสมุปบาท คือไม่ เกิดทุกข์ในที่สุด. เวทนาชนิดที่ก่อให้เกิดอนุสัยหรือปฏิจจ-สมุปบาทนั้น ย่อมหมายความว่า เป็น เวทนาที่ตั้งต้นหรือเกี่ยวข้องอยู่กับอวิชชา ตามนัยแห่ง กระแสของ ปฏิจจสมุปบาทโดยสมบูรณ์ ดังนั้น การกล่าวถึงเวทนาเพียงอย่างเดียว เช่นในกรณีนี้ ก็พอแล้ว ย่อมหมายความถึงเหตุ ปัจจัยทั้งหลายของเวทนา ซึ่งย้อนขึ้นไปถึงอวิชชา อันเข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีที่มีการกระทบ ทางอายตนะ มีตากับรูป เป็นต้น.


อริยสาวกผู้ได้สดับ
1 เสวยเวทนาทางกาย ไม่เสวยเวทนาทางจิต
2.เหมือนบุรุษยิงลูกศร แล้วไม่ยิงซ้ำด้วยลูกที่สอง
3.เป็นผู้ไม่มีปฏิฆะ(ทุกข์ใจ) ไม่มีปฏิฆานุสัย และปฏิฆานุสัยนั้นไม่นอนตาม
4.



15

หน้า530
อริยสาวกรู้ความเกิดและความดับของโลกอย่างไม่มีที่สงสัย


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ย่อม ไม่มีความสงสัยอย่างนี้ ว่า
เพราะอะไรมี อะไรจึงมีหนอ... เพราะอะไรเกิดขึ้น อะไรจึงเกิดขึ้น
เพราะอะไรมี นามรูปจึงมี... เพราะอะไรมี สฬายตนะจึงมี
เพราะอะไรมี ผัสสะจึงมี... เพราะอะไรมี เวทนาจึงมี
เพราะอะไรมี ตัณหาจึงมี... เพราะอะไรมี อุปาทานจึงมี
เพราะอะไรมี ภพจึงมี... เพราะอะไรมี ชาติจึงมี
เพราะอะไรมี ชรามรณะจึงมี ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมมี ญาณหยั่งรู้ในเรื่อง นี้โดย ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นว่า
เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี ... เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
เพราะวิญญาณมี นามรูป จึงมี ... เพราะนามรูปมี สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะมี ผัสสะจึงมี... เพราะ ผัสสะมี เวทนาจึงมี
เพราะเวทนามี ตัณหาจึงมี... เพราะตัณหามี อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานมี ภพจึงมี .... เพราะภพมีชาติจึงมี
เพราะชาติมี ชรามรณะจึงมี ดังนี้.
อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ประจักษ์ อย่างนี้ว่า โลกนี้ย่อมเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมไม่มีความสงสัยอย่างนี้ ว่า
เพราะอะไรไม่มี อะไรจึงไม่มีหนอ ... เพราะอะไรดับ อะไรจึงดับ
เพราะอะไรไม่มี นามรูปจึงไม่มี .... เพราะอะไรไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี
เพราะอะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่มี ... เพราะอะไรไม่มี เวทนาจึงไม่มี
เพราะอะไร ไม่มี ตัณหาจึงไม่มี .... เพราะอะไรไม่มี อุปาทานจึงไม่มี
เพราะอะไรไม่มี ภพจึงไม่มี .... เพราะอะไร ไม่มี ชาติจึงไม่มี
เพราะอะไรไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! โดยที่แท้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ ต้องเชื่อผู้อื่นว่า
เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี ...เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
เพราะวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี... เพราะนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี
เพราะสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี ...เพราะ ผัสสะไม่มี เวทนาจึงไม่มี
เพราะเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี ... เพราะตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี
เพราะอุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี... เพราะภพไม่มี ชาติจึงไม่มี
เพราะชาติไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี" ดังนี้.
อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ประจักษ์อย่างนี้ว่า "โลกนี้ย่อมดับด้วยอาการอย่างนี้ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกย่อมมารู้ประจักษ์ถึงเหตุเกิด และความดับแห่งโลกตามที่ เป็นจริง อย่างนี้ในกาลใด ในกาลนั้น เราเรียกอริยสาวกนี้
ว่า ผู้สมบูรณ์แล้ว ด้วยทิฏฐิ ดังนี้บ้าง
ว่า ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะ ดังนี้บ้าง
ว่า ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว" ดังนี้บ้าง
ว่า ได้เห็นพระสัทธรรมนี้ ดังนี้บ้าง
ว่า ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง
ว่า ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ" ดังนี้บ้าง
ว่า "ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมะ แล้ว"ดังนี้บ้าง
ว่า ผู้ประเสริฐมีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลส"ดังนี้บ้าง
ว่า ยืนอยู่จดประตูแห่งอมตะ ดังนี้บ้าง ดังนี้ แล.



16
หน้า 538
สตาปัตติยังคะ ขึ้นอยู่กับการรู้ปฏิจจสมุปบาทของอริยสาวก

ดูก่อนคหบดี! อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วย องค์แห่งโสดาบัน ๔ ประการเหล่าไหนเล่า?

(๑) ดูก่อนคหบดี! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใส อันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้า ว่า เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาค เจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึง พร้อมด้วยวิชชา และ จรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถ ฝึกคนที่ ควรฝึก อย่างไม่มีใคร ยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดา และมนุษย์ ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์ ดังนี้.

(๒) ดูก่อนคหบดี! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วย ความเลื่อมใส อันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระธรรม  ว่า พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และ ให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าว กะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อม เข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน" ดังนี้.

(๓) ดูก่อนคหบดี! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความ เลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ใน พระสงฆ์ว่า "สงฆ์สาวกของ พระผู้มี พระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่อง ออกจากทุกข์ เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัว ได้แปดบุรุษ นั่นแหละคือ สงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควร แก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะ ที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับ ทักษิณาทาน เป็นสงฆ์ที่ บุคคล ทั่วไปจะพึงทำอัญชลี เป็นสงฆ์ ที่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า" ดังนี้.

(๔) ดูก่อนคหบดี! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วย ศีล ทั้งหลาย ในลักษณะเป็นที่พอใจของ พระอริยเจ้า เป็นศีลที่ไม่ขาดไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา วิญญูชนสรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและ ทิฏฐิลูบคลำ เป็นศีล ที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ดังนี้. ดูก่อนคหบดี! อริยสาวก เป็นผู้ประกอบ พร้อมแล้ว ด้วยองค์แห่ง โสดาบัน ๔ ประการ เหล่านี้แล.
... ... ...
ดูก่อนคหบดี! ก็ อริยญายธรรม เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้ว ด้วยดี ด้วยปัญญา เป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนคหบดี! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า"
เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี ... เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น 
เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี.. เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้สิ่งนี้จึงดับไป
ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ...ฯลฯ...ฯลฯ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

เพราะความจางคลายดับไป ไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ...ฯลฯ...ฯลฯ เพราะมีความดับ แห่งชาตินั่นแล ชรามรณะโสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้

ดูก่อนคหบดี! อริยญายธรรมนี้แล เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้ว ด้วยดี ด้วยปัญญา

ดูก่อนคหบดี! ภยเวร ๕ ประการเหล่านี้ อันอริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้วในกาลใด ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมเป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยองค์แห่งโสดาบัน ๔ ประการเหล่านี้ด้วย และอริยญาธรรมนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้น เห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญาด้วย

อริยสาวกนั้น เมื่อหวังจะพยากรณ์ก็พึง พยากรณ์ตนเอง ด้วยตนเองได้ ว่า"เราเป็นผู้มี นรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัย สิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส (แห่งนิพพาน) มีธรรมอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้ธรรม เป็นเบื้องหน้า ดังนี้ แล







พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์