เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ปฏิจจสมุปบาท ชุด 3 หน้า 166 - 294 875
 
 ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ ชุด
 
1 นามรูปก้าวลง เมื่ออนุสัยก่อขึ้น คิดถึงสิ่งใด ดำริถึงสิ่งใด มีจิตปักลงไป... สิ่งนั้นเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่ของวิญญาณ 
2 ตัณหาเกิดขึ้น เมื่ออนุสัยก่อขึ้น.. เมื่ออารมณ์มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี.. เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ ย่อมมี
3

ภพใหม่เกิดขึ้น เมื่ออนุสัยก่อขึ้น.. เมื่ออารมณ์มีอยู่.. เมื่อวิญญาณตั้งขึ้น เจริญงอกงามแล้ว ภพใหม่ย่อมมี

4

การหยั่งลงแห่งวิญญาณเกิดมีขึ้น โดยความเป็นอัสสาทะ ในความน่ารัก น่ายินดี ความหยั่งลงแห่งวิญญาณย่อมมี

5

การเกิดแห่งโลก คือการเกิดแห่งกระแสปฏิจจที่เกิดใจในใจ นี้ คือการเกิดขึ้นแห่งโลก

6 ทรงแสดงอัตตวาทุปาทานในลักษณะแห่งปฏิจจสมุปบาท
7 เวทนาในปฏิจจสมุปบาทให้เกิดอนุสัยสาม (เวทนาในอายตนะทั้ง๖ ก่อให้เกิดอนุสัย ๓)
8 ปฏิจจสมุปบาทแห่งการเกิดสังขาร ๔ ประเภท (สังขารชนิดที่หนึ่ง : ทิฏฐิปรารภขันธ์ห้า)
9 ทรงมุ่งหมายให้ปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องการปฏิบัติ (มิใช่เป็นเพียงทฤษฎี)
10 ปฏิบัติเพื่อการดับปฏิจจสมุปบาท ชื่อว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
11 องค์ประกอบที่เป็นบุพพภาค ของการดับแห่งปฏิจจสมุปบาท
12 อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกนั้น หาใช่กามไม่ ความกำหนัด ไปตามอำนาจความตริตรึก นั่นและคือกามของคนเรา
13 เคล็ดลับในการปิดกั้นทางเกิดแห่งปฏิจจสมุปบาท
   
 
 

หน้า 166

1
นามรูปก้าวลง
 เมื่ออนุสัยก่อขึ้น
(ปฏิจจ เริ่มต้นจากนามรูป)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ถ้าบุคคลย่อม คิด ถึงสิ่งใดอยู่ ย่อมดำริ ถึงสิ่งใดอยู่ และย่อมมีจิตปักลงไป ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้น ย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ
เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว การก้าวลงแห่งนามรูป ย่อมมี.
(ปฏิจจสายเกิด)
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
....................................
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใด แต่เขายังมีใจ ฝังลงไป(คือมีอนุสัย)ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้น ก็ยังเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่ง วิญญาณ เมื่ออารมณ์มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว การก้าวลงแห่งนามรูป ย่อมมี.
(ปฏิจจสายเกิด)
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
.................................
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ถ้าว่า บุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใดด้วย และทั้งย่อมไม่มีใจฝังลงไป(คือไม่มีอนุสัย) ในสิ่งใดด้วย ในกาลใด ในกาลนั้น สิ่งนั้น ย่อมไม่เป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย.
เมื่ออารมณ์ไม่มี ความตั้งขึ้น เฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี เมื่อวิญญาณนั้น ไม่ตั้งขึ้น เฉพาะไม่เจริญงอกงามแล้ว การก้าวลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มี.
(ปฏิจจสายดับ)
เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ
........................................
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างน้ ดังนี้ แล.

 


หน้า 168

2
ตัณหาเกิดขึ้น
 เมื่ออนุสัยก่อขึ้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถ้าบุคคล ย่อมคิด ถึงสิ่งใดอยู่  ย่อมดำริ ถึงสิ่งใดอยู่ และ ย่อมมีใจ ฝังลงไป ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้น ย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ

เมื่ออารมณ์มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ (นติ = ตัณหา) ย่อมมี

เมื่อเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ มี การมาการไป (อาคติคติ) ย่อมมี เมื่อการมา การไปมี การเคลื่อนและการบังเกิด (จุติ+อุปะปาตะ) ย่อมมี เมื่อการเคลื่อน และการ บังเกิด มี ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ต่อไป ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถ้าบุคคล ย่อมไม่คิด ถึงสิ่งใด ย่อมไม่ดำริ ถึงสิ่งใด แต่เขายัง มีใจ ปักลง ไปในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้น ย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ

เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ ย่อมมี เมื่อเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ มี การมา การไป ย่อมมี เมื่อการมา การไป มี การเคลื่อนและการบังเกิด ย่อมมี เมื่อการเคลื่อน และการบังเกิด มี ชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป ความเกิด ขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ถ้าว่า บุคคล ย่อมไม่คิด ถึงสิ่งใดด้วย ย่อมไม่ดำริถึง สิ่งใดด้วย และ ย่อมไม่มีใจฝังลงไป (อนุสัย) ในสิ่งใดด้วย ในกาลใด ในกาลนั้น
สิ่งนั้น ย่อมไม่เป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย

เมื่ออารมณ์ไม่มี ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี เมื่อวิญญาณนั้น ไม่ตั้งขึ้น เฉพาะไม่เจริญงอกงามแล้ว เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ย่อมไม่มี เมื่อเครื่องนำ ไปสู่ภพใหม่ ไม่มี การมาการไป ย่อมไม่มี เมื่อการมาการไป ไม่มี การเคลื่อน และการบังเกิด ย่อมไม่มี เมื่อการเคลื่อนและ การบังเกิด ไม่มี ชาติชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลายต่อไป จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้ แล


หน้า 169

3
ภพใหม่เกิดขึ้น
 เมื่ออนุสัยก่อขึ้น

(นัยยะที่ ๑)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถ้าบุคคล ย่อม คิด ถึงสิ่งใดอยู่ ย่อม ดำริ ถึงสิ่งใดอยู่ และ ย่อม มีจิตฝังลงไป  ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้น ย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ.

เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปย่อมมี เมื่อความเกิดขึ้น แห่ง ภพใหม่ ต่อไป มี ชาติชรามรณะโสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ต่อไป ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วย อาการอย่างนี้.

(นัยยะที่ ๒)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ถ้าบุคคล ย่อม ไม่คิด ถึงสิ่งใด ย่อม ไม่ดำริ ถึงสิ่งใด แต่เขายัง มีใจฝังลงไป ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้น ย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่ง วิญญาณ.

เมื่ออารมณ์มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่ง วิญญาณ ย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว ความเกิดขึ้นแห่ง ภพใหม่ต่อไป ย่อมมี เมี่อความเกิดขึ้นแห่ง ภพใหม่ต่อไป มี ชาติชรามรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้.

(นัยยะที่ ๓)
ดูก่อนอภิกษุทั้งหลาย! ก็ถ้าว่าบุคคล ย่อม ไม่คิดถึงสิ่งใด ด้วย ย่อม ไม่ดำริ ถึง สิ่งใด ด้วย และย่อม ไม่มีใจฝังลงไป ในสิ่งใดด้วย ในกาลใด ในกาลนั้น สิ่งนั้น ย่อมไม่เป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่ง วิญญาณได้เลย

เมื่ออารมณ์ไม่มี ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี เมื่อวิญญาณนั้น ไม่ตั้งขึ้น เฉพาะ ไม่เจริญงอกงามแล้ว  ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มี เมื่อความ เกิดขึ้น แห่งภพใหม่ต่อไป ไม่มี ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาส ทั้งหลายต่อไป จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้ แล.



4
การหยั่งลงแห่งวิญญาณเกิดมีขึ้น เมื่อเห็นสัญโญชนิยธรรมโดยความเป็นอัสสาทะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติเห็นโดยความเป็นอัสสาทะ (น่ารัก น่ายินดี) ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์๒อยู่ การหยั่งลงแห่งวิญญาณ ย่อมมี

เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติ
เป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ มีรากดิ่งลงไปเบื้องล่างด้วย มีรากแผ่ไปรอบ ๆ ด้วยรากทั้งหลายเหล่านั้น ล้วนแต่ดูดสิ่งโอชะขึ้นไปเบื้องบน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่ซึ่งมีอาหารอย่างนั้น มีเครื่องหล่อเลี้ยง อย่างนั้น พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกาลยาวนาน ข้อนี้ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปรกติเห็นโดยความเป็นอัสสทะ (น่ารักน่ายินดี) ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์อยู่ การหยั่งลงแห่งวิญญาณย่อมมี

เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้



หน้า 173

5
การเกิดแห่งโลก คือการเกิดแห่งกระแสปฏิจจสมุปบาท
ที่เกิดขึ้นในใจคน
 ทุกคราวไป


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็การเกิดขึ้น (สมุทโย) แห่งโลก เป็นอย่างไรเล่า

เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (จักษุ+รูป+จักษุวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน  นี้ คือการเกิดขึ้นแห่งโลก

เพราะอาศัยซึ่งโสตะด้วย ซึ่งเสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณการประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (โสตะ+เสียง+โสตวิญญาณ) นั่นคือผัสสะเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา…ฯลฯ... เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน นี้ คือการเกิดขึ้นแห่งโลก

เพราะอาศัยซึ่งฆานะด้วย ซึ่งกลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิดฆานวิญญานการประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ฆานะ + กลิ่น + ฆานวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะเพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา...ฯลฯ...
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน  นี้ คือการเกิดขึ้นแห่งโลก

เพราะอาศัยซึ่งชิวหาด้วย ซึ่งรสทั้งหลาย จึงเกิดชิวหาวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ชิวหา + รส + ชิวหาวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ...ฯลฯ.. เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโมทนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิด ขึ้นครบถ้วน นี้ คือการเกิดขึ้นแห่งโลก

เพราะอาศัยซึ่งกายด้วย ซึ่งโผฏฐัพพะทั้งหลายด้วย จึงเกิดกายวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (กาย + โผฏฐัพพะ + กายวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา  ...ฯลฯ... เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกปริเทวะทุกขะ โมมนัสอุปายาสทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วน นี้ คือการเกิดขึ้นแห่งโลก

เพราะอาศัยซึ่งมโนด้วย ซึ่งธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วย จึงเกิดมโนวิญญาณการประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (มโน + ธัมมารมณ์ + มโนวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปยาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน นี้คือการเกิดขึ้นแห่งโลก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้แล คือการเกิดขึ้นแห่งโลก



หน้า 183
6
ทรงแสดงอัตตวาทุปาทานในลักษณะแห่งปฏิจจสมุปบาท
(ในธรรมวินัยนี้
 มีการบัญญัติอุปาทานสี่ โดยสมบูรณ์)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อุปาทานทั้งหลาย ๔ อย่างเหล่านี้ มีอยู่, สี่อย่างเหล่าไหนเล่า? สี่อย่างคือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณพราหมณ์บางพวก ปฏิญาณว่า เป็นผู้กล่าวความรอบรู้ซึ่ง อุปาทานทั้งปวง ปฏิญาณอยู่ แต่สมณพราหมณ์เหล่านั้น หาได้บัญญัติความรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวงโดยชอบไม่ กล่าวคือ บัญญัติอยู่แต่ความรอบรู้ซึ่ง กามุปาทานหาบัญญัติความรอบรู้ซึ่งทิฏฐุปาทาน ซึ่งสีลัพพัตตุปาทาน ซึ่งอัตตวาทุปาทานไม่. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่รู้ฐานะ(อุปาทาน) ทั้งสามเหล่านี้ตามที่เป็นจริง...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณพราหมณ์บางพวก ปฏิญาณตัวว่า เป็นผู้กล่าวความรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวง ปฏิญาณอยู่ แต่สมณพราหมณ์เหล่านั้นหาได้บัญญัติ ความรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวงโดยชอบไม่ กล่าวคือ บัญญัติอยู่แต่ความรอบรู้ซึ่ง กามุปาทานซึ่งทิฏฐุปาทาน...ฯลฯ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณพราหมณ์บางพวก ปฏิญาณตัวว่า เป็นผู้กล่าวความรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวง ปฏิญาณอยู่ แต่สมณพราหมณ์เหล่านั้น หาได้บัญญัติความรอบรู้ ซึ่งอุปาทานทั้งปวงโดยชอบไม่ กล่าวคือ บัญญัติอยู่แต่ความรอบรู้ซึ่ง กามุปาทาน ซึ่งทิฏฐุปาทานซึ่งสีลัพพัตตุปาทาน...ฯลฯ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในธรรมวินัย (อันมีการบัญญัติอุปาทานไม่ครบถ้วนทั้ง ๔ ประการ) เห็นปานนี้ ความเลื่อมใสในพระศาสดาก็ดี ความเลื่อมใสในธรรมก็ดี การกระทำให้ บริบูรณ์ ในศีลก็ดี ความเป็นที่รักที่พอใจกันในหมู่สหธัมมิกก็ดี เหล่านี้เราตถาคตกล่าวว่า ไม่เป็นไปโดยชอบข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ความเลื่อมใสเป็นต้น นั้น เป็นไปใน  ธรรมวินัย อันบุคคลกล่าวไว้ชั่วแล้ว อันบุคคลให้รู้ทั่วถึงอย่างชั่วแล้ว ไม่เป็น ธรรม นำสัตว์ออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบรำงับ มิใช่เป็นธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศแล้ว.... ... ... ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้กล่าวความรอบรู้ซึ่ง อุปาทาน ทั้งปวง ปฏิญาณอยู่ ย่อมบัญญัติความรอบรู้ซึ่งอุปาทานทั้งปวง โดยชอบ คือ ย่อมบัญญัติ ความรอบรู้ซึ่ง กามุปาทาน ซึ่งทิฏฐุปาทาน ซึ่ง สีลัพพัตตุปาทาน ซึ่งอัตตวาทุปาทาน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในธรรมวินัย (ที่มีการบัญญัติอุปาทานครบถ้วนทั้ง ๔ ประการ) เห็นปานนี้ ความเลื่อมใสในพระศาสดาก็ดี ความเลื่อมใสในธรรมก็ดี การกระทำให้ บริบูรณ์ในศีลก็ดี ความเป็นที่รักที่พอใจกันในหมู่สหธัมมิกก็ดี เหล่านี้ เราตถาคต กล่าวว่า เป็นไปโดยชอบข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ความเลื่อมใสเป็นต้น นั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปใน ธรรมวินัยอันเรากล่าวดีแล้ว อันเราให้รู้ทั่วถึงแล้ว เป็นธรรมนำสัตว์ออกจาก ทุกข์ เป็นไปพร้อมเพื่อความสงบรำงับ เป็นธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกาศแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ อุปาทาน ๔ อย่างเหล่านี้
มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด
(นิทาน)
มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด (สมุทย)
มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด (ชาติก)
มีอะไรเป็น แดนเกิด (ปภว
)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อุปาทาน ๔ อย่างเหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุ ให้เกิด
มีตัณหาเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีตัณหาเป็นเครื่องกำเนิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ตัณหานี้เล่ามีอะไรเป็นเหตุให้เกิด 
มีอะไรเป็นเครื่องก่อ ให้เกิด?มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ตัณหา มีเวทนาเป็นเหตุให้เกิด
มีเวทนาเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีเวทนาเป็นเครื่องกำเนิด มีเวทนาเป็นแดนเกิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็เวทนานี้เล่ามีอะไรเป็นเหตุให้เกิด 
มีอะไรเป็นเครื่องก่อ ให้เกิด? มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด? มีอะไรเป็นแดนเกิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เวทนา มีผัสสะเป็น เหตุให้เกิด
มีผัสสะเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีผัสสะเป็นเครื่องกำเนิด มีผัสสะเป็นแดนเกิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ผัสสะนี้เล่ามีอะไรเป็นเหตุให้เกิด 
มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ผัสสะ มีสฬายตนะ เป็นเหตุให้เกิด
มีสฬายตนะเป็นเครื่องก่อให้เกิดมีสฬายตนะเป็นเครื่องกำเนิด มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็สฬายตนะานี้เล่ามีอะไรเป็นเหตุให้เกิด
อะไรเป็นเครื่อง ก่อให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สฬายตนะ มีนามรูปเป็นเหตุให้เกิดมีนามรูปเป็นเครื่องก่อให้ เกิดมีนามรูปเป็น เครื่องกำเนิด มีนามรูปเป็นแดนเกิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็นามรูปนี้เล่ามีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องก่อ ให้เกิด? มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด? มีอะไรเป็นแดนเกิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นามรูป มีวิญญาณเป็นเหตุให้เกิดมีวิญญาณเป็นเครื่องก่อ ให้เกิดมีวิญญาณเป็นเครื่องกำเนิด มีวิญญาณเป็นแดนเกิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็วิญญาณนี้เล่ามีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่อง ก่อให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! วิญญาณ มีสังขารเป็นเหตุให้เกิด มีสังขารเป็น เครื่องก่อ ให้เกิด มีสังขารเป็นเครื่องกำเนิด มีสังขารเป็นแดนเกิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สังขารทั้งหลายเหล่านี้เล่ามีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็น เครื่องก่อให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด มีอวิชชาเป็น เครื่องก่อให้เกิด มีอวิชชาเป็น เครื่องกำเนิด มีอวิชชาเป็นแดนเกิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในกาลใดแล อวิชชา เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว วิชชาเป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นแล้ว ในกาลนั้น ภิกษุนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นซึ่งกามุปาทาน ย่อมไม่ยึดมั่นซึ่ง ทิฏฐุปาทาน ย่อมไม่ยึดมั่นซึ่งสีลัพพัตตุปาทาน ย่อมไม่ยึดมั่นซึ่งอัตตวาทุปาทาน

เพราะการสำรอกเสียได้หมดซึ่งอวิชชา เพราะการเกิดขึ้นแห่งวิชชา เมื่อไม่ยึดมั่นอยู่ 
ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว
เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อันเราได้อยู่จบแล้ว กิจที่ต้องทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก" ดังนี้.

หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาจงสังเกต จนเห็นลึกลงไปถึงว่าการ ไม่ปรินิพพาน เฉพาะตน นั้น เพราะยังมีกิเลสที่เป็นเหตุให้สะดุ้ง, กล่าวคืออุปาทานข้อที่ ๔ โดยเฉพาะ นั่นเอง; และการละอุปาทานข้อที่ ๔ นี้ ยังมีความสำคัญในส่วน ที่จะ ทำหมู่คณะ๑คำนี้ บาลีว่า ปจฺจตฺตญฺเญว ปรินิพฺพายติ; อรรถกถา (ปปัญจสูทนี ภาค ๒ หน้า ๒๕) อธิบายว่า ย่อม ปรินิพพาน ด้วยกิเลสปรินิพพาน ด้วยตนเองนั่นเทียว. ให้เรียบร้อย, มีสรณาคมน์ตั้งมั่น; และทำให้พุทธศาสนาแปลกไปจากศาสนาอื่น ที่บัญญัติ อุปาทานไว้เพียง ๓ อย่าง; ดังนั้น หลักปฏิจจสมุปบาทในพุทธศาสนา จึงมีความสำคัญ เป็นพิเศษในข้อที่ทำให้รู้จักและ ละเสียได้ ซึ่งอุปทานโดย สมบูรณ์จริง ๆ และมีความ สำคัญที่ต้องสังเกตว่า แม้จะกล่าวเพียง ครึ่งท่อน คือตั้งแต่อุปาทานขึ้นไป, ก็สมบูรณ์; หรือเป็นปฏิจจสมุปบาท ที่สมบูรณ์ทั้งสาย อยู่นั่นเอง, เพราะจะละอุปาทาน, หรือละอวิชชา, ทุกข์ก็ดับหมดเท่ากัน; เพราะการละ อุปาทานนั้น ละได้ด้วยการละอวิชชา นั่นเอง.



หน้า 188

7
เวทนาในปฏิจจสมุปบาทให้เกิดอนุสัยสาม
(เวทนาในอายตนะทั้ง๖ ก่อให้เกิดอนุสัย ๓)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! (๑) เพราะอาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบพร้อมด้วยแห่งธรรม ๓ ประการ (ตา+รูป+จักขุวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนาอันเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้างไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขบ้าง

บุคคลนั้น 
เมื่อ สุขเวทนา ถูกต้องอยู่
ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญเมาหมกอยู่ อนุสัยคือราคะ ย่อมตามนอน (เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น

เมื่อ ทุกขเวทนา ถูกต้องอยู่เขาย่อมเศร้าโศก ย่อมระทมใจ ย่อมคร่ำครวญ ย่อมตีอกร่ำไห้ ย่อมถึงความหลงใหลอยู่ อนุสัยคือปฏิฆะ ย่อมตามนอน แก่บุคคลนั้น

เมื่อ เวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข ถูกต้องอยู่ เขาย่อมไม่รู้ตามเป็นจริงซึ่งเหตุ ให้เกิดเวทนานั้นด้วย ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนานั้นด้วย ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งอาทีนวะ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่อง ออกพ้นไป) ของเวทนานั้นด้วย อนุสัยคืออวิชชาย่อมตามนอน (เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคลนั้นหนอ ยังละราคานุสัยอันเกิดจาก สุขเวทนาไม่ได้ ยัง บรรเทาปฏิฆานุสัยอันเกิดจากทุกขเวทนาไม่ได้ ยังถอนอวิชชานุสัย อันเกิดจาก อทุกขมสุขเวทนาไม่ได้ เมื่อยังละอวิชชาไม่ได้ และยังทำวิชชาให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว เขาจักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม นี้ได้ นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! (๒) เพราะอาศัยหูด้วย เสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสต วิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ...…ฯลฯ...ฯลฯ... จักทำ ที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ได้ นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! (๓) เพราะอาศัยจมูกด้วย กลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิดฆาน วิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ....…ฯลฯ...ฯลฯ... จักทำ ที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม นี้ได้ นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! (๔) เพราะอาศัยลิ้นด้วย รสทั้งหลายด้วย จึงเกิด ชิวหา วิญญาณ  การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ..…ฯลฯ...ฯลฯ... จักทำ ที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม นี้ได้ นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! (๕) เพราะอาศัยกายด้วย โผฏฐัพพะทั้งหลายด้วยจึงเกิด  กายวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ...ฯลฯ...ฯลฯ... จักทำ ที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม นี้ได้ นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! (๖) เพราะอาศัยใจด้วย ธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วย จึงเกิด  มโนวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือ ผัสสะ...เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา อันเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่ใช่ ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง.
..................................................................................................................


บุคคลนั้น เมื่อสุขเวทนาถูกต้องอยู่ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่  อนุสัยคือ ราคะ ย่อมตามนอน (เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น 

เมื่อทุกขเวทนา ถูกต้องอยู่
เขาย่อมเศร้าโศก ย่อมระทมใจ ย่อมคร่ำครวญย่อมตีอก ร่ำไห้ ย่อมถึงความหลงใหลอยู่ อนุสัยคือ ปฏิฆะ ย่อมตามนอน แก่บุคคลนั้น

เมื่อเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขถูกต้องอยู่ เขาย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง ซึ่งเหตุให้ เกิดเวทนานั้นด้วย ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา นั้นด้วย ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนา นั้นด้วย ซึ่งอาทีนวะ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งนิสสรณะ(อุบายเครื่อง ออกพ้นไป) ของเวทนานั้นด้วย อนุสัยคือ อวิชชา ย่อมตามนอน แก่บุคคลนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคลนั้นหนอ
ยังละ ราคานุสัย อันเกิดจาก สุขเวทนา ไม่ได้
ยัง
บรรเทา ปฏิฆานุสัย อันเกิดจาก ทุกขเวทนา ไม่ได้
ยังถอน อวิชชานุสัย
อันเกิดจาก อทุก ขมสุข เวทนา ไม่ได้

เมื่อยังละอวิชชาไม่ได้ และยังทำวิชชาให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว เขาจักทำที่สุดแห่ง ทุกข์ ในทิฏฐธรรมนี้ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้

……………………………………………………………………………………………………….
หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า เราเคยเข้าใจและสอนกันอยู่ในเวลา นี้ว่า อนุสัยนั้นคือตะกอน นอนอยู่ในสันดานตลอดเวลา พอได้อารมณ์ก็ลุกออกมาเป็นกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ แล้วกลับไปนอนรออยู่ต่อไปอีก จนกว่าจะได้อารมณ์อันใหม่อีก (ในลักษณะ อาการของสัสสตทิฏฐิ) เช่นนี้ ดูไม่ตรงตามพระพุทธภาษิตในสูตรนี้ ซึ่งตรัสว่า เมื่อเสวยเวทนา ใด จึงเกิดอนุสัยขึ้นตามนอน (คือเพิ่มความเคยชินในการที่จะเกิดกิเลส ชื่อนั้น ๆ แก่บุคคลนั้น) และทรงระบุชัดว่าบุถุชนธรรมดา ถ้าเสวยสุข-เวทนา จะเพิ่ม ราคานุสัย (แก่กิเลสประเภทโลภะ ทุกชนิด) เมื่อเสวยทุกขเวทนา จะเพิ่มปฏิฆานุสัย (แก่กิเลสประเภทโมหะทุกชนิด) เมื่อเสวย อทุกขมสุขเวทนา จะเพิ่มอวิชชานุสัย (แก่กิเลส ประเภทโมหะทุกชนิด) ข้อนี้หมายความว่า จะเพิ่มความเคยชินหรือความง่ายดาย ในการที่ จะเกิดกิเลสชื่อนั้น ๆ ยิ่งขึ้นทุกทีนั่นเอง. และพึงสังเกตเป็นพิเศษอีกอย่างหนึ่งด้วย ว่าสำหรับราคานุสัย ทรงใช้คำว่า "ละ" ปฏิฆานุสัย ใช้คำว่า"บรรเทา" อวิชชานุสัย ใช้คำว่า "ถอน" ไม่พูดคลุมเครือ เหมือนที่เราพูดกันเพ้อ ๆ ไปจนถึงกับจัดอนุสัยไว้ใน ฐานะเป็นสิ่งตายตัว ไม่มีการเกิดดับ เมื่อเสวยหรือหยุดเสวยเวทนา.

แต่อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีที่มีการกล่าว อย่างรวม ๆ ด้วยภาษาธรรมดา ๆ, ก็ได้ตรัส ด้วยคำ ""(ป ห าตพฺโพ , ป หีโน ) รวม กัน ทั้ง ๓ อนุสัยก็มี เช่น บ าลี สฬ า. สํ. ๑๘/๒๕๔/๓๖๓; ๑๘/๒๖๒/๓๗๗-๙; และ ๑๘/๒๖๕/๓๘๕.



หน้า 192
8
ปฏิจจสมุปบาทแห่งการเกิดสังขาร  ประเภท
(สังขารชนิดที่หนึ่ง : ทิฏฐิปรารภขันธ์ห้า)


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร อาสวะทั้งหลาย จึงสิ้นไป โดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น? [กรณีแห่งรูปขันธ์]

๑) เห็นรูปโดยความเป็นตน (ผู้มิได้สดับ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
ในกรณีนี้ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว
ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ทั้งหลาย
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า
ไม่ได้เห็นสัปบุรุษทั้งหลาย
ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ 
ย่อมสำคัญ เห็นซึ่งรูป
โดยความเป็นตน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! การสำคัญเห็นซึ่งรูปโดยความเป็นตนนั้น อันใดแล การสำคัญ เห็น อันนั้นเป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นเครื่องก่อให้เกิด? เป็นเครื่องกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สังขารนั้น เป็นสิ่งที่เกิดจาก ตัณหา ซึ่งเกิดขึ้น แล้วแก่ปุถุชน ผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนา ที่เกิดแต่ อวิชชาสัมผัส ถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุอย่างนี้แล
แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง. เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัย ปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัย เกิดขึ้นแล้ว แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว
แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว


๒) เห็นตนว่ามีรูป (ผู้มิได้สดับ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไป โดยลำดับ ไม่มี ระหว่างขั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป โดยความเป็นตน ก็จริง แต่ว่าเขา ย่อมสำคัญ เห็นซึ่งตนว่ามีรูป

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! การสำคัญเห็นซึ่ง ตนว่ามีรูปนั้น อันใดแล การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุ ให้เกิด? เป็นเครื่องก่อให้เกิด? เป็นเครื่อง กำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สังขารนั้น เป็นสิ่งที่เกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิด แต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้น.. แม้ตัณหานั้น.. แม้เวทนานั้น.. แม้ผัสสะนั้น.. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัย เกิดขึ้นแล้ว

๓) เห็นรูปในตน (ผู้มิได้สดับ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แลอาสวะ ทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น. ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูป ก็จริงแล แต่ว่าเขาย่อมสำคัญ เห็นซึ่ง รูปในตน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! การสำคัญเห็นซึ่งรูปในตนนั้น อันใดแล การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นเครื่องก่อให้เกิด? เป็นเครื่อง กำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สังขารนั้น เป็นสิ่งที่เกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชน ผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนา ที่เกิด แต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้น.. แม้ตัณหานั้น.. แม้เวทนานั้น.. แม้ผัสสะนั้น.. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัย เกิดขึ้นแล้ว

๔) เห็นตนในรูป (ผู้มิได้สดับ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น. ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่า มีรูป ไม่สำคัญเห็นซึ่งรูปในตน ก็จริงแล แต่ว่าเขา ย่อมสำคัญ เห็นซึ่งตนในรูป

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! การสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูปนั้น อันใดแล การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นเครื่องก่อให้เกิด? เป็นเครื่องกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สังขารนั้น เป็นสิ่งที่เกิดจาก ตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว แก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้น.. แม้ตัณหานั้น.. แม้เวทนานั้น.. แม้ผัสสะนั้น.. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัย เกิดขึ้นแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น



(กรณีแห่งเวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณขันธ์)

(ครั้นตรัสข้อความในกรณีแห่งรูปขันธ์จบลงดังนี้แล้วได้ตรัสข้อความที่สืบเนื่องกัน ต่อไปว่า แม้ปุถุชนนั้นจะไม่สำคัญเห็นรูปขันธ์ โดยอาการ ทั้ง๔ก็ตามเขาก็จะสำคัญ เห็นอาการทั้ง๔นั้น ในเวทนาขันธ์...สัญญาขันธ์...สังขารขันธ์...วิญญาณ-ขันธ์...ไล่กันไปตามลำดับๆๆโดยทำนอง เดียวกันทุกตัวอักษรกับในกรณี แห่งรูปขันธ์
.


ในขันธ์แต่ละขันธ์ มีอาการอันจะพึงเห็นผิดถึง ๔ อาการ คือเห็นขันธ์โดยความเป็นตน ๑, เห็นตนว่ามีขันธ์ ๑, เห็นขันธ์ในตน ๑, เห็นตนในขันธ์ ๑ เมื่ออาการทั้งสี่นี้เป็นไปในขันธ์ทั้ง ๕ จึงรวมกันเป็น ๒๐ อาการ, ทั้ง ๒๐อาการนี้ รวมกันแล้วจัดเป็นสังขารหมวดที่หนึ่ง.

ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า ปฏิจจสมุปบาททั้งสาย รวมอยู่ในประโยคสั้นประโยคเดียวว่า "สังขารเกิดมาจากตัณหา อันเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้ถูกต้องด้วยเวทนาอันเกิดจาก อวิชชา สัมผัส" ผู้ศึกษาพึงทราบได้เองว่า อวิชชามีอยู่ในขณะแห่งการสัมผัส ซึ่งทำให้เกิดสังขาร วิญญาณ นามรูป อายตนะ ครบถ้วนอยู่ในสัมผัสนั้น; ครั้นเวทนาให้เกิดตัณหาแล้วก็มีการปรุง แต่งสืบ ต่อไป จนเกิดทุกข์. คำว่าสังขารในกรณีนี้หมายถึงปฏิจจสมุปบาท ทุกอาการก็ได้ เพราะ มีความหมายเพียงแต่ว่าเป็นอาการ ของการปรุงแต่งโดยลักษณะแห่งอิทัปปัจจยตา โดย ตลอดสายแห่งปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง.

สังขารประเภทที่๑นี้แจกโดยละเอียด จะเป็นสังขาร๒๐ชนิด, คือแจกตามขันธ์ห้า แต่ละ ขันธ์ มี๔อาการ คือเห็นขันธ์โดยความเป็นตน๑, เห็นตนว่ามีขันธ์๑, เห็นขันธ์ในตน๑, เห็นตนใน ขันธ์๑ รวมเป็น๒๐ชนิดแห่งสังขาร.


สูตรนี้มุ่งหมายจะแสดงความสิ้น อาสวะ, แต่ได้แสดงลักษณะแห่งสังขาร ชนิดที่เป็นอกุศล อย่างละเอียด แปลกออกไปเป็นความรู้พิเศษกว่าทุกแห่ง สำหรับคำว่าสังขาร, จึงนำมา ใส่ไว้ ในกลุ่มอันว่าด้วยการเกิดกิเลสแทนที่จะใส่ในหมวดปฏิบัติ เพื่อดับทุกข์.) - ผู้รวบรวม




หน้า 257
9
ทรงมุ่งหมายให้ปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องการปฏิบัติ๑
(มิใช่เป็นเพียงทฤษฎี)


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดง มิจฉาปฏิปทา และ สัมมาปฏิปทาแก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลายจงฟังซึ่งธรรมนั้น จงทำในใจให้สำเร็จ ประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้. ครั้นภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัส แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถ้อยคำ เหล่านี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ มิจฉาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมี สังขารเป็นปัจจัยจึงมี วิญญาณ ...ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้น นี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ สัมมาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะความจางคลาย ดับไป โดยไม่เหลือแห่งอวิชชา นั้นนั่นเทียว จึงมีความดับ แห่งสังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับ แห่งวิญญาณ ...ฯลฯ...ฯลฯ... ฯลฯ... เพราะมี ความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า สัมมาปฏิปทา ดังนี้ แล.
......................................................................................................

หมายเหตุผู้รวบรวม : 

มิจฉาปฏิปทา คือบุคคลเผลอหรือปล่อยสติ เมื่อตากระทบรูปเป็นต้น จนกระทั่งความเผลอ สติ (ซึ่งในที่นี้ เรียกว่า อวิชชา) นั้นได้ทำให้เกิด อาการต่าง ๆ ขึ้นอย่างครบถ้วนตามที่กล่าว ไว้ในพระบาลีนี้ และได้รับผลเป็นความทุกข์ในที่สุด.

ส่วนสัมมาปฏิปทา มีนัยะตรงกันข้าม คือมีสติสมบูรณ์ในเมื่อตาเห็นรูป เป็นต้นอวิชชาก็ไม่เกิด ขึ้น แต่มีสติ สัมปชัญญะ หรือปัญญา อยู่แทน ดังนั้น อาการต่าง ๆ ก็ไม่เกิดขึ้นในลักษณะ ที่จะมี ความทุกข์ ในที่สุด. สรุปความได้อย่างสั้น ๆ ว่าความมีสตินั่นแหละ เป็นตัวปฏิปทา ที่เกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท ในชีวิตประจำวัน เช่นการเห็นรูปด้วยตาเป็นต้นดังที่กล่าวแล้ว.



หน้า 266

10
ปฏิบัติเพื่อการดับปฏิจจสมุปบาท ชื่อว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความคลายกำหนัดเพื่อความดับไม่เหลือแห่ง ชรามรณะ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว"

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความคลายกำหนัดเพื่อความดับไม่เหลือแห่ง ชาติ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว"

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความคลายกำหนัดเพื่อความดับไม่เหลือแห่ง ภพ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว"

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความคลายกำหนัดเพื่อความดับไม่เหลือแห่ง อุปาทาน อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว"

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความคลายกำหนัดเพื่อความดับไม่เหลือแห่ง ตัณหา อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว"

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความคลายกำหนัดเพื่อความดับไม่เหลือแห่ง เวทนา อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว"

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความคลายกำหนัดเพื่อความดับไม่เหลือแห่ง ผัสสะ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว"

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความคลายกำหนัดเพื่อความดับไม่เหลือแห่ง สฬายตนะ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว"

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความคลายกำหนัดเพื่อความดับไม่เหลือแห่ง นามรูป อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว"

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความคลายกำหนัดเพื่อความดับไม่เหลือแห่ง วิญญาณ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว"

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความคลายกำหนัดเพื่อความดับไม่เหลือแห่ง สังขารทั้งหลาย อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้น ว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว"

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความคลายกำหนัดเพื่อความดับไม่เหลือแห่ง อวิชชา อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมแล้ว" ดังนี้ แล



หน้า 268

11
องค์ประกอบที่เป็นบุพพภาค ของการดับแห่งปฏิจจสมุปบาท


(มาคัณฑิยปริพพาชก ได้กราบทูลว่า "ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อพระโคดมอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดมจะสามารถ เพื่อแสดงธรรม แก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ข้าพเจ้า จะลุกขึ้นจากอาสนะนี้ ในลักษณะแห่งผู้หายตาบอดได้ไหม พระเจ้าข้า?". พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสว่า)

ดูก่อนมาคัณฑิยะ! ถ้าอย่างนั้น ท่านควรคบสัตบุรุษ*. ดูก่อนมาคัณฑิยะ! เมื่อใดท่าน คบ สัตบุรุษ เมื่อนั้นท่าน จักได้ ฟังธรรม ของสัตบุรุษ.
ดูก่อนมาคัณฑิยะ! เมื่อใดท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ เมื่อนั้น ท่านจัก ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม.
*(คนดีมีคุณธรรมประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรม คนที่เป็นสัมมาทิฐิ)

ดูก่อนมาคัณฑิยะ! เมื่อใดท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว เมื่อนั้นท่านจักรู้เองเห็นเองโดยแท้ ว่า นี้คือโรค นี้คือหัวฝี นี้คือลูกศร โรค หัวฝี ลูกศร ทั้งหลาย ในกรณีนี้ ย่อมดับไป โดยไม่มีส่วนเหลือ (ในลักษณะเดียว กันกับข้อที่ว่า) เพราะความดับแห่ง อุปาทานของเรานั้น จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั้นแล ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัส-อุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น. ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้" ดังนี้.
....................................................................................................

หมายเหตุผู้รวบรวม : 
ผู้ศึกษาพึงทราบว่า โรค หัวผี ลูกศร ในที่นี้คือทุกข์ อันเกิดจากตัณหา. ตัณหาใดๆ ล้วนมาจาก เวทนา ซึ่งออกมาจากการสัมผัส อารมณ์ด้วยอวิชชา ด้วยกัน ทั้งนั้น และตัณหานั้น ย่อมส่งต่อไป ให้เกิดอุปทาน ภพ ชาติชรามรณะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์.

การที่จะรู้จักหัวฝี ลูกศร เป็นต้น แล้วกำจัดเสียให้ได้นั้นต้องอาศัยการปฏิบัติธรรม โดยสมควร แก่ธรรมของ สัตบุรุษ ดังนั้น การที่ทุกคนคบสัตบุรุษฟังธรรมเข้าใจแล้ว ปฏิบัติอยู่อย่างถูกต้อง ไม่ว่าในรูปลักษณะใด ย่อมเป็นการกระทำชนิด ที่เป็นบุรพภาค แห่งการทำลายกระแสแห่ง ปฏิจจสมุปบาท เพื่อการดับทุกข์ ด้วยกันทั้งนั้น.

ถ้าผิดไปจากนี้ ย่อมไม่มีความหมายอะไร และมิใช่การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา.



หน้า 270

12


อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกนั้น หาใช่กามไม่
ความกำหนัด ไปตามอำนาจความตริตรึก นั่นและคือกามของคนเรา


อารมณ์อันวิจิตร ก็มีอยู่ในโลก ตามประสาของมันเท่านั้น ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงนำ ออกเสีย ซึ่งฉันทะ ในอารมณ์ อันวิจิตรเหล่านั้น ดังนี้.

กาม
(๑)
1) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! (กามเกิดขึ้นมาได้อย่างไร)
ก็ นิทานแห่งสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกาม ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นิทานสัมภวะแห่งกาม ทั้งหลาย คือ ผัสสะ

2) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! (กามคืออะไร อย่างไรจึงเรียกว่ากาม)
ก็ เวมัตตตา (ประมาณต่าง ๆ) แห่งกามทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เวมัตตตาแห่งกาม ทั้งหลาย คือ
ความใคร่ (กาม)ใน รูปารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ (รูป)
ความใคร่ใน สัททารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ (เสียง)
ความใคร่ใน คันธารมณ์ ก็อย่าง หนึ่ง ๆ (กลิ่น)
ความใคร่ใน รสารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ (รส)
ความใคร่ใน โผฏฐัพพารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ (สัมผัส)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่า เวมัตตตา แห่งกามทั้งหลาย

3) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! (ผลของกามเป็นอย่างไร)
ก็วิบากแห่งกามทั้งหลาย
 เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคลมีความใคร่ในอารมณ์ใดอยู่ ย่อมยังอัตตภาพอันเกิดจากกามในอารมณ์นั้นๆ ให้เกิดขึ้นเป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งบุญบ้าง มีส่วนแห่งบุญหามิได้บ้าง(มีส่วนทั้งบุญ และไม่ใช่บุญ) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกามทั้งหลาย

4) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
นิโรธแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า (กามดับได้ด้วยอะไร)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความดับแห่งกามมี เพราะความดับแห่ง ผัสสะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า?

5) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! (มรรควิธีเพื่อดับกาม)
อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้แล คือ นิโรธคา มินีปฏิปทาแห่งกาม ข้อนั้นได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในกาลใดแล อริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่งกามทั้งหลายอย่างนี้ 
ซึ่งนิทานสัมภวะ แห่งกามทั้งหลายอย่างนี้ (รู้การเกิดขึ้นของกาม)
ซึ่งเวมัตตตา แห่งกามทั้งหลายอย่างนี้ (รู้จักกาม)
ซึ่งวิบาก แห่งกามทั้งหลายอย่างนี้ (รู้ผลของกาม)
ซึ่งนิโรธ แห่งกามอย่างนี้ (รู้ความดับของกาม)
ซึ่งนิโรธคามินีปฏิปทา แห่งกาม อย่างนี้ (รู้มรรควิธีดับกาม)

ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์ อันเป็นเครื่อง เจาะแทงกิเลสนี้ว่าเป็นที่ดับแห่งกาม (กามนิโรธ).
.............................................................................................................

เวทนา
(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็เวทนาทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เวทนาทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้ คือ สุขเวทนาทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา

1) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
ก็นิทานสัมภวะแห่งเวทนาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นิทานสัมภาวะแห่งเวทนาทั้งหลาย คือ ผัสสะ

2) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
ก็เวมัตตตาแห่งเวทนาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สุขเวทนา อันเป็นไปด้วยอามิส (เหยื่อ) ก็มีอยู่ สุขเวทนา อันปราศจากอามิส ก็มีอยู่ ทุกขเวทนา อันเป็น ไปกับด้วยอามิส ก็มีอยู่ ทุกขเวทนา อันปราศจากอามิส ก็มีอยู่ อทุกขมสุขเวทนา อันเป็นไปกับด้วยอามิส ก็มีอยู่ อทุกขมสุข เวทนาอันปราศจากอามิส ก็มีอยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งเวทนา ทั้งหลาย.

3) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
ก็วิบากแห่งเวทนาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บุคคลเสวยเวทนาใดอยู่ ย่อมยังอัตตภาพ อันเกิดจากเวทนานั้น ให้เกิดขึ้นเป็นอัตตภาพ มีส่วนแห่งบุญบ้าง เป็นอัตตถาพ มีส่วนแห่งบุญหามิได้บ้าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งเวทนาทั้งหลาย.

4) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
นิโรธแห่งเวทนา เป็นอย่างไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความดับแห่งเวทนามี เพราะความดับแห่ง ผัสสะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งเวทนา เป็นอย่างไรเล่า?

5) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
อริยอัฎฐังคิกมรรคนี้แล คือ นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งเวทนา ข้อนั้นได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้ ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้ ซึ่งเวมัตตตาแห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งวิบากแห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้ ซึ่งนิโรธแห่งเวทนาอย่างนี้ ซึ่งนิโรธคามินีปฏิปทา แห่งเวทนาอย่างนี้ ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์ อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลสนี้ว่า เป็นที่ดับแห่งเวทนา (เวทนานิโรธ)
.............................................................................................................

สัญญา
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สัญญาทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สัญญาทั้งหลาย ๖ ประการเหล่านี้ คือ รูปสัญญาสัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา (สัญญาในอายตนะ จนจำได้)

1) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
ก็นิทานสัมภวะแห่งสัญญาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นิทานสัมภาวะแห่งสัญญาทั้งหลาย คือผัสสะ

2) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
ก็เวมัตตตาแห่งสัญญาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สัญญาในอารมณ์คือรูปทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่ง ๆ สัญญาใน อารมณ์คือเสียงทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่ง ๆ สัญญาในอารมณ์คือกลิ่นทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่ง ๆ สัญญาใน อารมณ์คือรสทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่ง ๆ สัญญาในอารมณ์ โผฏฐัพพทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่ง ๆ สัญญาในอารมณ์ธัมมารมณ์ ทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่ง ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งสัญญาทั้งหลาย.

3) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
ก็วิบากแห่งสัญญาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวซึ่งสัญญาทั้งหลาย ว่าเป็นสิ่ง ที่มีผลออกมาเป็นโวหาร พูดอย่างหนึ่ง ๆ (โวหารเวปกฺกา) เพราะว่าบุคคลกระทำซึ่งสัญญาในสิ่งนั้น ๆ ว่าอย่างไร เขาย่อมกล่าว ออกมาอย่างนั้น ๆ เช่นว่า เราเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ ๆ เป็นต้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งสัญญาทั้งหลาย.

4) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
นิโรธแห่งสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความดับแห่งสัญญามี เพราะความดับแห่ง ผัสสะ

5) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
ก็นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งสัญญา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้แล คือ นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งสัญญาข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะสัมมา วายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
………………………………………………………………………………………………..
๑ พึงเข้าใจว่า คำว่า "สัญญา" ในกรณีอย่างนี้ มิได้หมายถึงความจำล้วน ๆ แต่หมายถึงความรู้สึก จนมี ความสำคัญว่ามันเป็นอะไร หรืออย่างไรเป็นต้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในกาลใดแลอริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้ ซึ่งเวมัตตตาแห่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้ ซึ่งวิบากแห่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้ ซึ่ง นิโรธแห่งสัญญาอย่างนี้ ซึ่งนิโรธคามินีปฏิปทาแห่งสัญญาอย่างนี้ ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อม รู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์ อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส นี้ว่าเป็นที่ดับ แห่งสัญญา (สัญญานิโรธ).

(๔) ...ฯลฯ... (ข้อความตอนที่ละไว้นี้ เป็นตอนที่กล่าวถึงอาสวะ จักเว้นเสียไม่นำมาใส่ไว้ในที่นี้ เพราะไม่ได้ตรัสไว้เกี่ยวกับผัสสะ โดยตรง)...ฯลฯ...

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็กรรม อันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวซึ่งเจตนา ว่าเป็นกรรมเพราะว่าบุคคลมีเจตนาแล้ว ย่อมกระทำกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.
.............................................................................................................

กรรม
(1) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็
นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นิทานสัมภาวะแห่งกรรม ทั้งหลาย คือ ผัสสะ

(2)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
ก็เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
กรรมอันทำสัตว์ ให้เสวยเวทนา เป็นสัตว์นรก มีอยู่
กรรมอันทำสัตว์ ให้เสวยเวทนา เป็นกำเนิดเดรัจฉาน มีอยู่
กรรมอันทำสัตว์ ให้เสวยเวทนา เป็นเปรตวิสัย มีอยู่
กรรมอันทำสัตว์ ให้เสวยเวทนา ในมนุษยโลก มีอยู่
กรรมอันทำสัตว์ ให้เสวยเวทนา ในเทวโลก มีอยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งเวทนา ทั้งหลาย (ปะมาณต่างๆ)

(3) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
ก็วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย
เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวซึ่งวิบากแห่งกรรมว่า มีอยู่ ๓ อย่าง
คือ วิบากใน ทิฏฐิธรรม (คือทันควัน)
หรือว่าวิบากใน อุปะปัชชะ (คือในเวลาต่อมา)
หรือว่าวิบากใน อปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.

(4) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
ก็นิโรธแห่งกรรม
เป็นอย่างไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความดับแห่งกรรมทั้งหลายมี เพราะความดับแห่ง ผัสสะ.

(5 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
ก็นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งกรรม เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยอัฎฐังคิกมรรคนี้แล คือ นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งกรรม ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมา วายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในกาลใดแลอริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งกรรมอย่างนี้ซึ่งเวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย อย่างนี้ ซึ่งวิบากแห่งกรรมทั้งหลายอย่างนี้ ซึ่งนิโรธแห่งกรรมอย่างนี้ ซึ่งนิโรธคามินีปฏิปทาแห่งกรรมอย่างนี้ ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อม รู้ชัด ซึ่งพรหมจรรย์อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลสนี้ว่าเป็นที่ดับแห่งกรรม (กัมมนิโรธ).
……………………………………………………………………………………………………..
ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นใจความสำคัญที่สุด ในตอนนี้ ที่ตรัสว่า แดนเกิดแห่งกรรมคือ ผัสสะ แดนดับแห่งกรรม ก็คือผัสสะ ซึ่งแสดงว่า กรรมเกิดและดับ ในอัตตภาพนี้ อยู่อย่างซ้ำ ซาก ๆ ; ดังนั้น วิบากแห่งกรรม จึงมีได้ในอัตตภาพนี้ อย่างซ้ำ ๆ ซาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นชนิด ทิฏฐธรรม หรืออุปปัชชะ หรืออปรปริยายะ ซึ่งมักจะเข้าใจกันไปว่า สองชนิดหลังนั้น จะมีต่อ ตายเข้าโลงไปแล้ว เท่านั้น, ความถูกต้องในเรื่องนี้ จะเป็นอย่างไร ขอจงพิจารณาดูเถิด.

(๖) ...ฯลฯ... (ข้อความตอนที่ละไว้นี้ เป็นตอนที่กล่าวถึงอาสวะ จักเว้นเสียไม่นำมาใส่ไว้ในที่นี้ เพราะไม่ได้ตรัสไว้เกี่ยวกับผัสสะ โดยตรง)...ฯลฯ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้แล คือธรรมปริยายอันชื่อว่านิพเพธิกปริยายนั้น.
……………………………………………………………………………………………………..

หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่าสิ่งที่ เรียกว่าผัสสะนั้น มีความ สำคัญมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือข้อที่ผัสสะเป็นที่เกิด และที่ดับแห่ง กาม แห่งเวทนาแห่ง สัญญา และแห่งกรรม. พวกเรายังมีความรู้เรื่องผัสสะกัน น้อยเกินไป จึงไม่สามารถจะปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จในการเอาชนะกาม ในการ ควบคุมเวทนา ในการละเสียซึ่งสัญญา และในการทำความสิ้นสุดแห่งกรรมทั้งหลาย
ผัสสะเป็นตัวการสำคัญ ในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ดังที่ทราบกันอยู่แล้ว เมื่อมีการ กล่าวถึงผัสสะในที่ใด ก็พึงทราบเถิดว่า ย่อมมี กระแสแห่ง ปฏิจจสมุปบาทซ่อนอยู่ ครบถ้วนในที่นั้น ไม่ว่าจะเรียกว่ากาม หรือเวทนา หรือสัญญา หรือกรรม อันเป็น นิพเพธิกธรรม ดังที่กล่าวแล้วในพระบาลีนี้ ดังนั้น ควรจะถือว่า ผัสสะทั้งหลาย เป็นนิทานสัมภวะส่วนมาก ของนิพเพธิกธรรม ที่บุคคลพึงรู้แจ้งแทง ตลอด เพื่อความสิ้นสุด แห่งความทุกข์ในที่สุด.



หน้า294

13
เคล็ดลับในการปิดกั้นทางเกิดแห่งปฏิจจสมุปบาท

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุพึงพิจารณาใคร่ครวญ โดยประการที่เมื่อพิจารณา ใคร่ครวญอยู่แล้ว วิญญาณ(จิต) ของเธอนั้นอันไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ด้วย อันไม่ตั้งสยบอยู่ในภายในด้วย ก็จะไม่พึงสะดุ้ง เพราะเหตุไม่มีความ ยึดมั่นถือมั่น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่ตั้งสยบอยู่ ในภายในอยู่ เป็นจิตไม่สะดุ้ง เพราะเหตุไม่มีความยึดมั่นถือมั่นดังนี้แล้ว การก่อตั้งขึ้น แห่งกอง ทุกข์กล่าวคือชาติชรามรณะย่อมไม่มีอีกต่อไป.

ครั้นตรัสดังนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าสู่ที่ประทับเสีย. ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจ ในเนื้อความ แห่งพระพุทธวจนะนี้โดยพิสดาร จึงพากันไปหาพระมหากัจจานะ ได้รับคำอธิบายจาก พระมหากัจจานะ โดยพิสดาร ดังต่อไปนี้

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอุเทสไว้แต่โดยย่อ แก่เรา ทั้งหลาย ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุพึงพิจารณาใคร่ครวญ โดยประการ ที่เมื่อ พิจารณา ใคร่ครวญ อยู่แล้ว วิญญาณ (จิต) ของเธอนั้น อันไม่ฟุ้งไปไม่ซ่านไป ในภายนอกด้วยอันไม่ตั้ง สยบอยู่ ในภายในด้วยก็จะไม่พึงสะดุ้ง เพราะเหตุไม่มีความ ยึดมั่นถือมั่น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อวิญญาณไม่ฟุ้งไปไม่ซ่านไป ในภายนอกไม่ตั้งสยบอยู่ ในภายในอยู่ เป็นจิตไม่สะดุ้ง เพราะเหตุ ไม่มี ความยึดมั่นถือมั่นแล้ว การก่อตั้งขึ้น แห่ง กองทุกข์กล่าว คือชาติ ชรามรณะ ย่อมไม่มีอีกต่อไปดังนี้แล้วมิได้ทรง จำแนก เนื้อความ โดยพิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะ เข้าสู่ ที่ประทับเสียนั้น

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! สำหรับอุเทสซึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงแต่โดยย่อ ไม่ทรง จำแนก เนื้อความ โดยพิสดารนี้ ข้าพเจ้ารู้เนื้อความแห่งอุเทสนั้น โดยพิสดาร ดังต่อไปนี้
……………………………………………………………………………………
๑ เคล็ดลับในการปิดกั้นทางเกิดแห่งปฏิจจสมุปบาทในที่นี้ ก็คือคำกล่าวในประโยคที่ว่า พึงใคร่ครวญ โดยประการ ที่เมื่อใคร่ครวญอยู่ จิตไม่อาจฟุ้งซ่านไปภายนอก และไม่สยบอยู่ ในภายใน และไม่สะดุ้งเพราะความยึดมั่นใด ๆ โดยวิธีปฏิบัติ ตามคำอธิบายโดย พิสดารของ พระมหากัจจานะ นั่นเอง และเพราะเป็นคำอธิบายที่พระองค์ทรงรับรอง ว่าแม้พระองค์จะทรง อธิบายเอง ก็จะทรงอธิบาย อย่างเดียวกัน จึงนำเภรภาษิตนี้มาต่อท้ายถ้อยคำจากพระโอษฐ์ เพื่อความแจ่มแจ้งและสะดวก แก่ผู้ศึกษา.

1) ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ก็คำที่กล่าวว่า วิญญาณอันฟุ้งไปซ่านไปใน ภายนอก ดังนี้ นั้น มีเนื้อความ โดยพิสดาร อย่างไรเล่า? ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ในกรณีที่ กล่าวนี้ วิญญาณ(จิต) ของภิกษุ ผู้เห็นรูปด้วยตา แล้ว เป็นวิญญาณ ที่แล่นไป ตามนิมิตแห่งรูป เป็นวิญญาณที่หยั่งลง ในอัสสาทะ(รสอร่อย) ของนิมิตแห่งรูป ผูกพันอยู่ใน อัสสาทะของนิมิตแห่งรูปประกอบ พร้อมแล้ว ด้วยความผูกพัน อยู่ใน อัสสาทะของ นิมิตแห่งรูป นี้แหละคือข้อความที่กล่าวโดยย่อว่า วิญญาณ อันฟุ้งไป ซ่านไป ใน ภายนอก ดังนี้.

(ในกรณีแห่งการได้ยินเสียงด้วยหู การรู้สึก ลิ่นด้วยจมูก การลิ้มรสด้วยลิ้น การสัมผัส ทางผิวหนัง ด้วยผิวกาย และ การรู้แจ้ง ธัมมารมณ์ด้วยใจ ก็ มีข้อความเหมือนกับ ข้อความ ที่กล่าวในกรณีแห่ง การเห็นรูป ด้วยตา ข้างบนนี้ทุกตัวอักษร ต่างกัน แต่ชื่อของ อายตนะนั้น ๆ เท่านั้น.)

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! คำที่กล่าวว่าวิญญาณอันฟุ้งไปซ่านไปในภายนอก ดังนี้นั้น มีเนื้อความ โดย พิสดารอย่างนี้แล.

2) ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ก็คำอัน พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วว่า วิญญาณอัน ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอกดังนี้นั้น มีเนื้อความ โดยพิสดารอย่างไรเล่า?
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! วิญญาณ(จิต) ของภิกษุผู้เห็นรูปด้วยตาแล้วไม่เป็น วิญญาณที่แล่นไปตามนิมิตแห่งรูป ไม่เป็นวิญญาณที่หยั่งลง ในอัสสาทะ (รสอร่อย) ของนิมิตแห่งรูป ไม่ผูกพัน อยู่ใน อัสสาทะ ของนิมิตแห่งรูป ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความผูกพัน อยู่ในอัสสาทะของนิมิต แห่งรูป นี้แหละคือข้อความอันพระผู้มี พระภาคตรัสแล้วโดยย่อว่า วิญญาณอันไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไป ในภายนอก ดังนี้.

(ในกรณีแห่งการ ได้ยินเสียงด้วยหู การรู้สึกกลิ่น ด้วยจมูกการลิ้มรสด้วยลิ้น การสัมผัส ทางผิวหนัง ด้วยผิวกาย และการรู้แจ้งธัมมารมณ์ ด้วยใจ ก็มีข้อความเหมือนกับ ข้อความที่กล่าว ในกรณีแห่งการเห็นรูปด้วยตา ข้างบนนี้ทุกตัว อักษร ต่างกันแต่ชื่อ ของอายตนะนั้น ๆ เท่านั้น.)

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! คำอันพระผู้มีพระภาคตรัสที่กล่าวว่าวิญญาณ อันไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไป ในภายนอกดังนี้นั้นมีเนื้อความ โดยพิสดารอย่างนี้แล.

 

พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์