เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ปฏิจจสมุปบาท ชุด 2 หน้า 84-163 874
 
 ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ ชุด
 
1 ปฏิจจทุกอาการ มีลักษณะแห่งความเป็นอริยสัจสี่ (ปฏิจ+อริยสัจสี่)
2 รู้ทั่วถึงซึ่ง ปฏิจจแต่ละอาการ (ชรา มรณะ เป็นอย่างไรเล่า?)
3 ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งปฏิจจ ตามนัยแห่งอริยสัจสี่ (รู้ชรามรณะ รู้ทั่วถึงเหตุเกิด เหตุดับ ..
4 ปฏิจจ แสดงการก่อขึ้นแห่งทุกข์ (ทุกข์ ผัสสะกระทบ ไหลไปถึงตัณหา นั่นคือเหตุเครื่องก่อขึ้นแห่งทุกข์)
5 ปฏิจจสมุทบาทซึ่งแสดงการดับลงแห่งทุกข์ (อาการตามปฏิจจที่ดับลง คือการถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์)
6 อริยสัจในรูปแห่งปฏิจจมีในขณะแห่งเวทนา(อาศัยธาตุทั้ง๖ การก้าวลงสู่ครรภ์ย่อมมี ปฏิจจย่อมมี ทุกข์ย่อมมี)
7 อาการที่ยุ่งยากที่สุดของปฏิจจ คืออาการของตัณหา (ตัณหายึดโยงไว้ ห่อหุ้มไว้เป็น เหมือนกลุ่มด้ายยุ่ง)
8 ความเหนียวแน่นของสัสสตทิฏฐิปิด บังการเห็นอริยสัจสี่ (เพราะยึดถือรูป .. ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นว่า "ลมก็ไม่พัด .. )
9 มโนปวิจาร ๑๘ เรื่องที่ใครติเตียนไม่ได้ (เพราะเห็นรูป มโนย่อมเข้าไปเที่ยวในรูป เกิดโสมนัส โทมนัส อุเบกขา)
10 หมู่ธรรมที่ใครๆ คัดค้านไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ (เรื่องธาตุ ๖ ผัสสา-ยตนะ ๖ มโนปวิจาร ๑๘ อริยสัจสี่-ปฏิจจ)
11 นันทิดับเมื่อใด ปฏิจจดับเมื่อนั้น (ความเพลินในอายตนะดับ ทุกข์ย่อมดับ)
12 กรรมให้ผลในอัตตภาพที่กระทำกรรม (โลภะ โทสะ โมหะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย)
13 เมื่อเห็นอยู่ย่อมเบื่อหน่าย.. ย่อมคลายกำหนัด.. ย่อมหลุดพ้น (นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน...)
14 การเกิดขึ้นแห่งไตรทวาร(กายวาจาใจ) ขึ้นอยู่กับการเกิดอวิชชาของปฏิจจ (ทิฐิที่ไม่ถูกต้องในเรื่องกรรม )
15 กรรมเกิดจากผัสสะ(กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม) (เว้นผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อสุขและทุกข์นั้นได้หรือ)
16 ความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชา(ในกาย วาจา ใจ) ย่อมไม่มีปัจจัยให้เกิด สุข-ทุกข์
17 อวิชชาสัมผัส คือต้นเหตุอันแท้จริงของปฏิจจ (อุปาทานในขันธ์ ๕ เห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ตนมีรูปบ้าง)
   
 
 


1
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า 84


ปฏิจจสมุปบาททุกอาการ มีลักษณะแห่งความเป็นอริยสัจสี่
(ญาณวัตถุ 44)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้

(ปฏิจ+อริยสัจสี่)

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ชรามรณะ
รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ
รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่ง ชรามรณะ
รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ชาติ 
รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งชาติ
รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งชาติ
รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติ;

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ภพ 
รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพ
รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งภพ
รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งภพ

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง อุปาทาน 
รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปาทาน
รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่ง อุปาทาน รู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทาน

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ตัณหา
รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งตัณหา
รู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่หลือแห่งตัณหา
รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งตัณหา

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง เวทนา 
รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา
รู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนา
รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง ผัสสะ 
รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะ
รู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ
รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง สฬายตนะ
รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ
รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ
รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง นามรูป 
รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งนามรูป
รู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งนามรูป
รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งนามรูป

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง วิญญาณ
รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
รู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ
รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ

ย่อมรู้ทั่วถึงซึ่ง สังขารทั้งหลาย
รู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งสังขาร
รู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร
รู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร

.....................................................................................................................................

2
รู้ทั่วถึงซึ่ง ปฏิจจแต่ละอาการ

ชรา มรณะ เป็นอย่างไรเล่า? 
(ชราคือ) ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไปแห่งอายุความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นๆ นี้ เรียกว่า ชรา
(มรณะคือ) การจุติ ความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละ การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์ คือชีวิตจากสัตว์ นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ นี้ เรียกว่า มรณะ ชรานี้ด้วย มรณะนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า ชรามรณะ.
(สมุทัย) ความก่อขึ้นพร้อม แห่งชรามรณะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้น พร้อมแห่งชาติ
(นิโรธ)
ความดับไม่เหลือ แห่งชรามรณะ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งชาติ
(มรรค) มรรค อันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ นั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งชรามรณะได้แก่สิ่ง เหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
.....................................................................................................................................

ชาติ เป็นอย่างไรเล่า? 
(ทุกข์) การเกิด การกำเนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฎของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้ ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า ชาติ.
(สมุทัย) ความก่อขึ้นพร้อมแห่งชาติ ย่อมมี เพราะความ ก่อขึ้นพร้อมแห่ง ภพ
(นิโรธ) ความดับไม่เหลือแห่งชาติ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือ แห่งภพ
(มรรค) มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึง ความดับไม่เหลือ แห่งชาติ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
.....................................................................................................................................

ภพ เป็นอย่างไรเล่า? 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!ภพทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า ภพ. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งภพ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทาน ความดับ ไม่เหลือแห่งภพ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทาน มรรคอันประกอบ ด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งภพ ได้แก่ สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
.....................................................................................................................................

อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!อุปาทานทั้งหลาย ๔ อย่างเหล่านี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน อัตตวาทุ-ปาทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า อุปาทาน. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอุปาทานย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งตัณหา ความดับ ไม่เหลือแห่งอุปาทาน ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งตัณหา มรรคอันประกอบด้วย องค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งอุปาทาน ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
.....................................................................................................................................

ตัณหาเป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!หมู่ตัณหาทั้งหลาย ๖ อย่างเหล่านี้ คือ รูปตัณหา สัททตัณหา(เสียง) คันธตัณหา(กลิ่น) รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา(สัมผัส) ธัมมตัณหา(ธรรมารมณ์) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า ตัณหา. ความก่อขึ้น พร้อมแห่งตัณหา ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งเวทนา ความดับไม่เหลือ แห่ง ตัณหา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งเวทนา มรรค อันประกอบด้วยองค์แปดอัน ประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทา ให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งตัณหา ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
.....................................................................................................................................

เวทนาเป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!หมู่แห่งเวทนาทั้งหลาย ๖ อย่างเหล่านี้ คือ จักขุสัมผัสสชา เวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชา-เวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า เวทนา. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่ง ผัสสะ ความดับไม่เหลือแห่ง เวทนา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งเวทนา ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
.....................................................................................................................................

ผัสสะเป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!หมู่แห่งผัสสะทั้งหลาย ๖ อย่างเหล่านี้ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า ผัสสะ. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งผัสสะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อม แห่ง สฬายตนะ ความดับไม่เหลือแห่งผัสสะย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งผัสสะได้แก่สิ่งเหล่านี้คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
.....................................................................................................................................

สฬายตนะเป็นอย่างไรเล่า
จักขวายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มนายตนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!นี้ เรียกว่า สฬายตนะ ความก่อขึ้นพร้อมแห่งสฬายตนะ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งนามรูป ความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งนามรูป มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง สฬายตนะ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบการพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
.....................................................................................................................................

นามรูปเป็นอย่างไรเล่า
เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่านาม
มหาภูตทั้งสี่ด้ว
รูปที่อาศัย มหาภูตทั้งสี่ (ดินน้ำไฟลม) ด้วย นี้เรียกว่า รูป นามนี้ด้วย รูปนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า นามรูป. ความก่อขึ้นพร้อมแห่งนามรูป ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่งวิญญาณ ความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ มรรค อันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐ นั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง นามรูป ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจ มั่นชอบ.
.....................................................................................................................................

วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
หมู่แห่งวิญญาณทั้งหลาย ๖ อย่างเหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า วิญญาณ ความก่อขึ้นพร้อมแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อม แห่งสังขาร ความดับ ไม่เหลือแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งสังขาร มรรคอันประกอบ ด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งวิญญาณ ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ
.....................................................................................................................................

สังขารทั้งหลายเป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย! สังขารทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า สังขารทั้งหลาย. ความก่อขึ้นพร้อม แห่ง สังขารย่อมมี เพราะ ความก่อขึ้นพร้อมแห่งอวิชชา ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือ แห่งอวิชชา มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งสังขารได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็น ชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความ พากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
.....................................................................................................................................

3
ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งปฏิจจ ตามนัยแห่งอริยสัจสี่
(รู้ทั่วถึงซึ่งชรามรณะ รู้ทั่วถึงซึ่งเหตุเกิด เหตุดับ
และเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ)


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในกาลใดแล ภิกษุ

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ชรามรณะ 
มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่ง ชรา-มรณะ
มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่ง ชรา- มรณะ
มารู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ว่าเป็น อย่างนี้ๆ

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ชาติ 
มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้น แห่งชาติ
มารู้ ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งชาติ
มารู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชาติว่าเป็นอย่างนี้ๆ

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ภพ
มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งภพ
มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับ ไม่เหลือแห่งภพ
มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งภพว่าเป็นอย่างนี้ๆ

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง อุปาทาน
มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งอุปาทาน
มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน
มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งอุปาทาน ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ตัณหา
มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งตัณหา
มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งตัณหา
มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งตัณหา ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง เวทนา
มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา
มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา
มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง ผัสสะ
มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งผัสสะ
มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ
มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง สฬายตนะ
มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งสฬายตนะ
มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ
มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสฬายตนะ ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ.

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง นามรูป มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งนามรูป
มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งนามรูป มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์
ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งนามรูป ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง วิญญาณ มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้
ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ

ย่อมมารู้ทั่วถึงซึ่ง สังขารทั้งหลาย มารู้ทั่วถึงซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่ง
สังขาร มารู้ทั่วถึงซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร มารู้ทั่วถึงซึ่ง ข้อปฏิบัติเครื่อง
ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร ว่าเป็นอย่างนี้ ๆ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในกาลนั้น เราเรียกภิกษุนั้น ว่า
ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทิฏฐิ ดังนี้บ้าง
ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยทัสสนะ ดังนี้บ้าง
ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้บ้าง
ย่อมเห็นซึ่งพระสัทธรรมนี้ ดังนี้บ้าง
ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง
ผู้ประกอบแล้วด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ ดังนี้บ้าง
ผู้ถึงแล้วซึ่งกระแสแห่งธรรม ดังนี้บ้าง
ผู้ประเสริฐมีปัญญชำแรกกิเลส ดังนี้บ้าง



4
หน้า96

ปฏิจจสมุทบาท ซึ่งแสดงการก่อขึ้นแห่งทุกข์

(ทุกข์ ผัสสะกระทบ ไหลไปถึงตัณหา นั่นคือเหตุเครื่องก่อขึ้นแห่งทุกข์)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดง ซึ่งเหตุเครื่องก่อขึ้นแห่งทุกข์ (ทุกข-สมุทยะ) แก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จ ประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้. ....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็เหตุเครื่องก่อขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า?

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัย ตา ด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิด จักขุวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (ตา+รูป+จักขุวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมี ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา นี้คือ เหตุเครื่องก่อขึ้น แห่งทุกข์.

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัย หู ด้วย เสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิด โสตวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (หู+เสียง+โสตวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมี ผัสสะ เป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา นี้คือ เหตุเครื่องก่อขึ้น แห่งทุกข์.

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัย จมูก ด้วย กลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิด ฆานวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา นี้คือ เหตุเครื่องก่อขึ้นแห่งทุกข์.

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัย ลิ้น ด้วย รสทั้งหลายด้วย จึงเกิด ชิวหา วิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา นี้คือ เหตุเครื่องก่อขึ้นแห่งทุกข์.

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัย กาย ด้วย โผฏฐัพพะรูปทั้งหลายด้วย จึงเกิด กายวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (กาย+โผฏฐัพพะ+ วิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา นี้คือ เหตุเครื่องก่อขึ้นแห่งทุกข์.

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัย ใจ ด้วย ธัมมารมณ์ทั้งหลายจึงเกิด มโนวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (ใจ+ธัมมารมณ์+ มโนวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็น ปัจจัย จึงมีตัณหา นี้คือ เหตุเครื่องก่นขึ้นแห่งทุกข์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้แล คือเหตุเครื่องก่อขึ้นแห่งทุกข์



5

หน้า98
ปฏิจจสมุทบาทซึ่งแสดงการดับลงแห่งทุกข์

(ดับทุกข์ นับจากวิญญาณปรากฏในอายตนะทั้ง6 ไปจนถึงชรามรณะ ที่ทุกข์นั้น ตั้งอยู่ไม่ได้)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดง ซึ่งการถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์ แก่พวกเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังซึ่งความข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็การถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า?

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (ตา+รูป+จักขุวิญญาณ)นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา เพราะความ จางคลาย ดับไปไม่เหลือ แห่ง ตัณหานั่นเอง จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน เพราะมีความ ดับแห่งอุปาทาน จึงมี ความดับ แห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมี ความดับ แห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้ นี้คือ การถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งทุกข์.

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยหูด้วย เสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิด โสตวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (หู+เสียง+โสตวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะความ จางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง ตัณหานั่นเอง จึงมีความดับ แห่งอุปาทาน ...ฯลฯ... นี้คือ  การถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์.

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยจมูกด้วย กลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิด ฆานวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมี ผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา. เพราะความจางคลาย ดับไปไม่เหลือ แห่งตัณหานั่นเอง จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน ...ฯลฯ... นี้คือ การถึงซึ่ง อันตั้งอยู่ไม่ได้แห่ง ทุกข์.

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยลิ้นด้วย รสทั้งหลายด้วย จึงเกิด ชิวหาวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมี ผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา เพราะความจางคลาย ดับไปไม่เหลือ แห่งตัณหานั่นเอง จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน ..ฯลฯ... นี้คือ การถึงซึ่ง อันตั้งอยู่ไม่ได้แห่ง ทุกข์

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยกายด้วย โผฏฐัพพะ รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิด  กายวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (กาย+โผฏฐัพพะ+วิญญาณ) นั่นคือ  ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา เพราะความจาง คลายดับไปไม่เหลือแห่งตัณหานั่นเอง จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน ...ฯลฯ... นี้คือ การถึงซึ่งอัน ตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยใจด้วย ธัมมารมณ์รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิด มโนวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรมสามประการ (ใจ+ธัมมารมณ์+ มโนวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมี ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็น ปัจจัย จึงมี ตัณหา เพราะความจางคลายดับไป ไม่เหลือแห่งตัณหา นั่นเอง จึงมี ความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมี ความดับแห่งภพเพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแลชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้น นี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ นี้คือ การถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้แล คือการถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์.



6
หน้า101
อริยสัจในรูปแห่งปฏิจจสมุทบาทมีในขณะแห่งเวทนา

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย !
เพราะอาศัยซึ่งธาตุทั้ง ๖ ประการ การก้าวลงสู่ครรภ์ย่อม มี
เมื่อการก้าวลงสู่ครรภ์มีอยู่ นามรูปย่อม มี
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี เวทนา

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมบัญญัติ

ว่า "นี้เป็น ความทุกข์" ดังนี้
ว่า "นี้เป็น ทุกขสมุทัย" ดังนี้
ว่า "นี้เป็น ทุกขนิโรธ" ดังนี้
ว่า "นี้เป็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา" ดังนี้ แก่สัตว์ผู้สามารถเสวยเวทนาอยู่

.................................................................................................................
หมายเหตุผู้รวบรวม
  ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ข้อเท็จจริงอันนี้ มีความสำคัญ อย่างยิ่ง กล่าวคือ ต้องมีการเสวยเวทนาจริง ๆ จึงจะเห็นทุกขอริยสัจ ที่เกิดจากตัณหา อันเกิดจาก เวทนานั้น และความที่ ทุกข์ดับไปในขณะที่ตัณหาดับไป ในเวทนานั้น ในเมื่อจิตประกอบ อยู่ด้วยธัมมสมังคี แห่งอัฏฐังคิกมรรค โดยอัตโนมัติ ดังนั้น ถ้าปราศจากเวทนาเสีย เพียงอย่างเดียวแล้ว อริยสัจสี่ ก็ตาม ปฏิจจสมุปบาท ก็ตาม ยังมิได้เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า "ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ มีในขณะแห่งเวทนา" ดังนี้ โดยนัย ดัง ที่พระพุทธองค์ตรัสแล้วข้างบน
..................................................................................................................


7
หน้า102
อาการที่ยุ่งยากที่สุดของปฏิจจสมุทบาท คืออาการของตัณหา


(ตัณหา ทรงอุปมาเหมือนกลุ่มด้ายยุ่ง)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ตัณหาเป็นอย่างไรเล่า? จึงชื่อว่าเป็นดุจมีข่ายเครื่องคลุมสัตว์ มีปกติ ไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์ ซึ่งด้วยตัณหานั้นเองโลกนี้ อัน ตัณหายึดโยงไว้ ห่อหุ้มไว้เป็น เหมือนกลุ่มด้ายยุ่ง ยุ่งเหยิงเหมือนความยุ่งของ กลุ่มด้าย ที่หนาแน่นไปด้วยปม พันกันยุ่งเหมือน เซิงหญ้ามุญชะ และ หญ้าปัพพชะ ย่อมไม่ล่วงพ้น ซึ่งสังสารวัฏฏ์ ที่เป็นอบาย ทุคติ วินิบาต ไปได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ตัณหาวิจริต (ความนึกที่ซ่านไปด้วยอำนาจแห่งตัณหา) ทั้งหลาย ๑๘ ประการ อันเข้าไป จับยึดขันธ์ในภายใน และตัณหาวิจริตทั้งหลาย ๑๘ ประการ อันเข้าไป จับยึดขันธ์ในภายนอก เหล่านี้มีอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ตัณหาวิจริตทั้งหลาย ๑๘ ประการอันเข้าไปจับยึด ขันธ์ ในภายใน เป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ตัณหาวิจริตทั้งหลาย ๑๘ ประการ อันเข้าไปจับยึดขันธ์ในภายในนั้น เหล่านี้คือ
(๑) เมื่อมีความนึกว่า "เรามีอยู่ " ดังนี้
(๒) ความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างนี้" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๓) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างนั้น" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๔) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างอื่น" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๕) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างไม่เที่ยงแท้"  ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๖) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างเที่ยงแท้" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๗) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมี" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๘) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างนี้" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๙) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างนั้น" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๐) หรือว่าความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างอื่น" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๑) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีบ้างหรือ" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๒) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างนี้บ้างหรือ" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๓) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างนั้นบ้างหรือ" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๔) หรือว่าความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างอื่นบ้างหรือ" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๕) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราจักมีแล้ว" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๖) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราจักมีแล้วอย่างนี้" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๗) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราจักมีแล้วอย่างนั้น" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๘) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราจักมีแล้วอย่างอื่น" ดังนี้ ก็ย่อมมี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้คือ ตัณหาวิจริตทั้งหลาย ๑๘ ประการ อันเข้าไปจับยึดขันธ์ใน ภายใน

---------------------------------------------------------------------------
๑หญ้าสองชนิดนี้ เคยแปลกันว่า หญ้ามุงกระต่าย และหญ้าปล้อง แต่ไม่มีหลักฐาน ที่แน่นอน ในที่นี้จึงไม่แปลไว้.
..................................................................................................................

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ตัณหาวิจริตทั้งหลาย๑๘ ประการ อันเข้าไปจับยึดขันธ์ในภายนอก เป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ตัณหาวิจริตทั้งหลาย ๑๘ ประการ อันเข้าไปจับยึดขันธ์ใน ภายนอก เหล่านี้คือ
(๑) เมื่อมีความนึกว่า "เรามีอยู่ด้วยขันธ์ อันนี้" ดังนี้
(๒) ความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างนี้ด้วยขันธ์อันนี้ " ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๓) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างนั้นด้วยขันธ์อันนี้ " ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๔) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างอื่น ด้วยขันธ์อันนี้" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๕) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างไม่เที่ยงแท้ด้วยขันธ์อันนี้  ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๖) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราเป็นอย่างเที่ยงแท้ด้วยขันธ์อันนี้ " ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๗) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีด้วยขันธ์อันนี้" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๘) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างนี้ด้วยขันธ์อันนี้ " ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๙) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างนั้นด้วยขันธ์อันนี้ " ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๐) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างอื่นด้วยขันธ์อันนี้ " ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๑) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีด้วยขันธ์อันนี้บ้างหรือ " ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๒) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างนี้ด้วยขันธ์อันนี้บ้างหรือ " ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๓) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างนั้นด้วยขันธ์อันนี้บ้างหรือ " ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๔) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราพึงมีอย่างอื่นด้วยขันธ์อันนี้บ้างหรือ " ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๕) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราจักมีแล้วด้วยขันธ์อันนี้ "ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๖) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราจักมีแล้วอย่างนี้ ด้วยขันธ์อันนี้" ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๗) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราจักมีแล้วอย่างนั้นด้วยขันธ์อันนี้ " ดังนี้ ก็ย่อมมี
(๑๘) หรือว่า ความนึกไปว่า "เราจักมีแล้วอย่างอื่นด้วยขันธ์อันนี้ " ดังนี้ ก็ย่อมมี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้คือ ตัณหาวิจริตทั้งหลาย ๑๘ ประการ อันเข้าไปจับยึด ขันธ์ในภายนอก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ด้วยอาการอย่างนี้ จึงมีตัณหาวิจริตทั้งหลาย ๑๘ ประการ อันเข้าไป จับ ยึด ขันธ์ในภายใน และตัณหาวิจริตทั้งหลาย ๑๘ ประการ อันเข้าไป จับยึดขันธ์ ในภายนอก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุนี้ เราย่อมกล่าวว่า  ตัณหาวิจริตทั้งหลาย ๓๖ ประการ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ด้วยเหตุนี้ เมื่อนับตัณหาวิจริต มีลักษณะอย่างนี้อันเป็นอดีต ๓๖ ประการด้วย อันเป็นอนาคต ๓๖ ประการด้วย อันเป็นปัจจุบัน ๓๖ ประการด้วย  ตัณหาวิจริต ทั้งหลาย ๑๐๘ ประการย่อมมี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้แล คือตัณหา ซึ่งเป็นดุจมีข่ายเครื่องคลุมสัตว์ มีปกติไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์ ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง โลกนี้อันตัณหายึดโยงไว้ ห่อหุ้มไว้ เป็นเหมือน กลุ่มด้ายยุ่ง ยุ่งเหยิงเหมือนความยุ่งของกลุ่มด้าย ที่หนาแน่น ไปด้วยปม พันกันยุ่ง เหมือนเซิงหญ้า มุญชะ และหญ้าปัพพชะ ย่อมไม่ล่วงพ้นซึ่ง สังสารวัฏฏ์ ที่เป็นอบาย ทุคติ วินิบาต ไปได้ ดังนี้ แล.
………………………………………………………………………………………………………….

    เห ตุผู้ร     ม  ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่าตัณหานั้นเป็นอาการของปฏิจจสมุปบาทอาการที่ ๘ นับว่าเป็น อาการ ที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ทำจิตใจของสัตว์ให้นุงนังสับสน เหมือนเซิงหญ้า มุญชะ และกลุ่มด้ายที่ยุ่ง ดังที่ กล่าวแล้วในพระบาลีนี้ แถมยังมีอาการของสิ่งที่ผูกมัด หุ้มหอ ครอบคลุมเหมือนตาข่ายแผ่ซ่าน ไปในภพต่าง ๆ มีอาการ ซับซ้อนเหลือจะ ประมาณได้ มีการเที่ยวไปในทิฏฐิต่างๆ เช่นทิฏฐิ ๑๘ ประการ ปรารภขันธ์ทั้งที่เป็น ภายใน และ ภายนอก และมีทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน รวมได้ เป็น ๑๐๘ ชนิด นี้เป็นพวกที่อาศัย ทิฏฐิ.

เมื่อดูตามลักษณะที่อาศัยอารมณ์ทั้ง ๖ มีรูป เสียงกลิ่น รส เป็นต้น นับเป็น ๖ อารมณ์ แล้วคูณ ด้วย เวทนา ๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนาอทุกขมสุขเวทนา และตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็เป็น ๕๔ ชนิด แล้วคูณด้วยลักษณะ ๒ คือที่เป็นภายใน และ ภายนอก ก็ตาม หรือจะคูณ ด้วย ลักษณะแห่งเคหสิต และเนกขัมมสิต ๒

อย่างนี้ก็ตาม ก็เป็น ๑๐๘ ชนิด เช่นเดียวกัน ใช้อธิบายได้ทั้งแก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. ส่วนตัณหาวิจริต ๑๐๘ ประการ นัยที่กล่าว แล้วข้างต้น สะดวกที่จะใช้ อภิบายภวตัณหา และวิภวตัณหา ได้ทั้ง ๒ อย่าง โดยปฏิปักขนัย ต่อกัน และกัน.

นี่แหละคือความยุ่งยากซับซ้อน แห่งอาการของตัณหา ที่ซ่อนอยู่ในกระแสแห่งปฏิจจ สมุปบาท ที่เกิดอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยไม่ต้องกล่าวถึงเวลาหลังจากตายแล้ว โดยทางร่างกายก็ได้.

คำว่า "เคหสิต" หมายถึงอาศัยกามารมณ์โดยตรงในชีวิต ของผู้ครองเรือนในลักษณะ แห่ง กามสุขัลลิกานุโยค. ส่วน "เนกขัมมสิต" หมายถึงการออกจากเรือนประพฤติ พรหมจรรย์ เพื่อเกิดใน สวรรค์รูปาพจรอรูปาพจรเป็นต้น ในลักษณะแห่ง อัตตกิลมถานุโยค ดังนี้.

สำหรับคำว่า "ตัณหาวิจริต " นั้นเล็งถึงที่เที่ยวที่โคจรของตัณหา เป็นทิฏฐิก็ได้ เป็นอารมณ์ก็ได้ ดังจะเห็นได้จากข้อความข้างบน นั้นแล.



8
หน้า106

ความเหนียวแน่นของสัสสตทิฏฐิปิด บังการเห็นอริยสัจสี่
จึงสงสัยต่อหลักของอริยสัจหรือปฏิจจสมุทบาท


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจ เข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นจนถึงกับว่า "ลมก็ไม่พัดแม่น้ำก็ไม่ไหลสตรีมีครรภ์ ก็ไม่คลอดพระจันทร์และ พระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตกแต่ละอย่างเป็นของตั้งอยู่ อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ ของเสา ระเนียดดังนี้?

ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ธรรมทั้งหลายของ พวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค เป็นที่พึ่ง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เป็นการชอบแล้วหนอ ขอให้อรรถ แห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเองเถิด. ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังจากพระผู้มี พระภาคแล้ว จักทรงจำไว้" ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเตือนให้ภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้นตั้งใจ ฟังด้วยดีแล้ว ได้ตรัสข้อความต่อไปนี้:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อ รูปนั่นแล มีอยู่ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูป เพราะปักใจเข้าไป สู่รูป ทิฏฐิจึงเกิด ขึ้นอย่างนี้ว่า "ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ ก็ไม่ขึ้น ไม่ตก แต่ละอย่าง ๆ เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด" ดังนี้.

(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัสอย่างเดียวกันทุกตัว อักษรกับในกรณี แห่งรูปนี้ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์แต่ละขันธ์ เท่านั้น).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร

รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? 
"
ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า!"

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ หรือ เป็นสุขเล่า?
"
เป็นทุกข์พระเจ้าข้า!

แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่น ซึ่งสิ่งนั้นแล้วทิฏฐฺอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ไหมว่า "ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรี มีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์ และพระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นและไม่ตก แต่ละอย่างๆเป็นของ ตั้งอยู่ อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของ เสาระเนียด" ดังนี้? 
"
ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!"

(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัสถามและภิกษุ เหล่านั้น ทูลตอบ อย่างเดียวกันทุกตัวอักษรกับในกรณีแห่งรูปนี้ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์ แต่ละขันธ์เท่านั้น).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! แม้ สิ่งใดที่บุคคลได้เห็นแล้วฟังแล้วรู้สึกแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว แสวงหาแล้ว ครุ่นคิดอยู่ด้วยใจแล้ว เหล่านี้เป็นของเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
 "ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า!"

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
"
เป็นทุกข์พระเจ้าข้า!"

แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่น ซึ่งสิ่งนั้นแล้วทิฏฐิอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ไหมว่า "ลมก็ไม่พัดแม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ ก็ไม่คลอด พระจันทร์และ พระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นและไม่ตก แต่ละอย่าง ๆ เป็นของตั้งอยู่ อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด" ดังนี้? 
"
ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!"
.................................................................................................

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
ในกาลใดแล ความสงสัย (กังขา) ในฐานะทั้งหลาย ๖ ประการ เหล่านี้๑ เป็นสิ่งที่อริยะสาวกละขาดแล้ว ในกาลนั้น ก็เป็นอันว่า ความสงสัยแม้ใน ทุกข์ แม้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ แม้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ แม้ในข้อปฏิบัติ เครื่องทำ สัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ก็เป็นสิ่งที่อริยสาวก นั้น ละขาดแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าเป็น อริยสาวกผู้เป็นโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ (ต่อนิพพาน) มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า ดังนี้ แล.

เมื่อบุคคลมีความเห็นว่า รูปเป็นต้น เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ เป็นอันเดียวกัน ทั้งในโลกนี้ และใน โลกอื่นแล้ว สัสสตทิฏฐิจะเกิดขึ้นแก่เขาอย่างแน่นแฟ้น จนถึงขนาดที่จะปรียบ เทียบกัน กับอุปมาในที่นี้ได้ว่า ลมจะไม่พัด แม่น้ำจะไม่ไหล ดังนี้เป็นต้น คือเขาจะไม่ยอมเปลี่ยนทิฏฐิ อันแน่นแฟ้นดุจเสาระเนียดนี้ มันจึงปิดบังการเห็นอริยสัจสี่ อริยสัจทั้งสี่ ก็คือ ปฏิจจสมุทบาท นั่นเอง ดังนั้นจึงเป็นอันว่า ทิฏฐินั้นปิดบังการเห็นปฏิจจสมุทบาทโดยแท้. – ผู้รวบรวม.



9
หน้า 112

มโนปวิจาร ๑๘
เรื่องที่ใครคัดค้านไม่ได้
ติเตียนไม่ได้


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า "เหล่านี้คือ ธาตุทั้งหลาย ๖ ประการ" ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียน ไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ ดังนี้ อันใด อันเรากล่าวแล้ว ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงข้อความนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า "เหล่านี้ คือผัสสายตนะทั้งหลาย ๖ ประการ" ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมอง ไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้. ข้อนี้ เป็นธรรมที่เรากล่าวแล้ว อย่างนี้เราอาศัยซึ่งอะไรเล่า จึงกล่าวแล้วอย่างนี้?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ผัสสายตนะทั้งหลาย ๖ ประการ เหล่านี้ คือ จักษุเป็นผัสสายตนะ โสตะเป็นผัสสายตนะ ฆานะเป็นผัสสายตนะ ชิวหาเป็นผัสสายตนะ กายะเป็นผัสสายตนะ มโนเป็นผัสสายตนะ ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า "เหล่านี้ คือธาตุทั้งหลาย๖ ประการ" ดังนี้เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ติเตียน ไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ ดังนี้ อันใด อันเรากล่าวแล้ว ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงข้อความนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า "เหล่านี้ คือมโนปวิจารทั้งหลาย ๑๘ ประการ" ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมอง ไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้. ข้อนี้ เป็นธรรมที่เรากล่าวแล้วอย่างนี้ เราอาศัยซึ่ง อะไรเล่าจึงกล่าวอย่างนี้?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
เพราะเห็นรูป ด้วย จักษุมโน
ย่อมเข้าไปเที่ยวในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่ง โสมนัส
ย่อมเข้าไปเที่ยวในรูป อันเป็นที่ตั้งแห่ง โทมนัส
ย่อมเข้าไปเที่ยวในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา

เพราะฟังเสียง ด้วย โสตะมโน
ย่อมเข้าไปเที่ยวในเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่ง โสมนัส
ย่อมเข้าไปเที่ยวใน เสียงอันเป็นที่ตั้งแห่ง โทมนัส
ย่อมเข้าไปเที่ยวในเที่ยวอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา

เพราะรู้สึกกลิ่น
ด้วย ฆานะมโน
ย่อมเข้าไปเที่ยวในกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่ง โสมนัส
ย่อมเข้าไปเที่ยวในกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่ง โทมนัส
ย่อมเข้าไปเที่ยวในกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา

เพราะรู้สึกรส
ด้วย ชิวหา มโน
ย่อมเข้าไปเที่ยวในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่ง โสมนัส
ย่อมเข้าไปเที่ยวในรสอันเป็นที่ตั้งแห่ง โทมนัส
ย่อมเข้าไปเที่ยวในรสอันเป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา

เพราะถูกต้องสัมผัสทางผิวหนัง 
ด้วยผิวกาย มโน
ย่อมเข้าไปเที่ยวในสัมผัสทางผิวหนังอัน เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
ย่อมเข้าไปเที่ยวในสัมผัสทางผิวหนังอันเป็นที่ตั้งแห่ง โทมนัส
ย่อมเข้าไปเที่ยวใน สัมผัสทางผิวหนัง อันเป็นที่ตั้ง แห่งอุเบกขา

เพราะรู้สึกธัมมารมณ์
 ด้วยมโน มโน
ย่อมเข้าไปเที่ยวในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่ง โสมนัส
ย่อมเข้าไปเที่ยวในธัมมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่ง โทมนัส
ย่อมเข้าไปเที่ยวในธัมมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า "เหล่านี้ คือมโนปวิจารทั้งหลาย๑๘ ประการ" ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมอง ไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ ดังนี้ อันใด อันเรากล่าวแล้ว ข้อนั้น เรากล่าวหมาย ถึงข้อความนี้.


10
หมู่ธรรมที่ใครๆ คัดค้านไม่ได้ ติเตียนไม่ได้

ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้นี่แล อันเราแสดงแล้ว เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลาย ข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้.
มีอยู่ ๔ เรื่องด้วยกัน คือ

เรื่องธาตุ ๖
1. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน)
2. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
3. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ)
4. วาโยธาตุ (ธาตุลม)
5. อากาสธาตุ (ช่องว่างในร่างกาย)
6. วิญญาณธาตุ (ธาตุรู้)


ผัสสา-ยตนะ ๖
1. ตา-รูป+จักษุวิญาณ
2. หู-เสียง+โสตะวิญญาณ
3. จมูก-กลิ่น+ฆานะวิญญาณ
4. ลิ้น-รส-ชิวหาวิญาณ
5. กาย-สัมผัส+กายะวิญาณ
6. ใจ-มโน + มโนวิญญาณ

มโนปวิจาร ๑๘
1. ผัสสะทางตา 1.เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส 2.เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส 3.เป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา
2. ผัสสะหู 1.เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส 2.เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส 3.เป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา
3. ผัสสะทางจมูก 1.เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส 2.เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส 3.เป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา
4. ผัสสะทางลิ้น 1.เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส 2.เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส 3.เป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา
5. ผัสสะทางกาย 1.เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส 2.เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส 3.เป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา
6. ผัสสะทาใจ
1.เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส 2.เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส 3.เป็นที่ตั้งแห่ง อุเบกขา

อริยสัจสี่-ปฏิจจสมุปบาท
1. ทุกขอริยสัจ
2. ทุกขสมุทยอริยสัจ
3. ทุกขนิโรธอริยสัจ
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ


ภิกษุ ท. ! ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?
แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์ แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ* ปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ : กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขอริยสัจ.

ภิกษุ ท. ! ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส-อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.

ภิกษุ ท. ! ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว. จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแลชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.

ภิกษุ ท. ! ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?
มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ นี้นั่นเอง กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

........................................................................................................................................
*
โสกะเป็นไฉน ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบ ด้วยความพิบัติ

ปริเทวะเป็นไฉน
ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน

ทุกข์เป็นไฉน ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์อันไม่ดี ที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ

โทมนัสเป็นไฉน ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์อันไม่ดี ที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ

อุปายาสเป็นไฉน ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง



11
หน้า 129

นันทิดับเมื่อใด ปฏิจจสมุปบาทดับเมื่อนั้น
(ความเพลินในอายตนะดับ ทุกข์ย่อมดับ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ความดับแห่งรูป...แห่งเวทนา... แห่งสัญญา... แห่งสังขารทั้งหลาย... แห่งวิญญาณ. เป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อม ไม่เมาหมกอยู่. ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญย่อมไม่ เมาหมกอยู่ ซึ่งอะไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญย่อม ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งรูป เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งรูป นันทิใดในรูป นันทินั้นย่อมดับไป. เพราะความดับแห่งนันทิของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับ แห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ  เพราะมีความดับแห่งชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกอง ทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญย่อม ไม่เมาหมก อยู่ ซึ่งเวทนา ...ฯลฯ ...ฯลฯ  ... ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ
ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งสัญญา ...ฯลฯ ...ฯลฯ ... ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งสังขารทั้งหลาย ...ฯลฯ ...ฯลฯ ... ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญย่อมไม่ เมาหมกอยู่ ซึ่งวิญญาณ เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งวิญญาณ นันทิใด ใน วิญญาณ  นันทินั้น ย่อมดับไป.

เพราะความดับแห่งนันทิของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน  เพราะมีความดับ แห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ  เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ; เพราะมีความดับแห่งชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส-อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้คือ ความเกิดขึ้นแห่งรูป...แห่งเวทนา... แห่งสัญญา... แห่งสังขาร ทั้งหลาย... แห่งวิญญาณ ดังนี้ แล.



12
หน้า 131

กรรมให้ผล ในอัตตภาพที่กระทำกรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้ มีอยู่ เพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย. สามประการเหล่าไหนเล่า?

สามประการคือ 
โลภะ
เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย 
โทสะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย
โมหะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วย โลภะ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นสมุทัย อันใด กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพของบุคคลนั้น 
กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเองไม่ว่าจะเป็นไปอย่างใน ทิฏฐิธรรม(ทันควันหรือภพนี้) หรือว่า เป็นไปอย่างใน อุปปัชชะ (ในเวลาต่อมาหรือภพหน้า) หรือว่า เป็นไปอย่างใน อปรปริยายะ (ในเวลาต่อไปอีก หรือภพถัดไปอีก) ก็ตาม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วย โทสะ เกิดจากโทสะ มีโทสะ เป็นเหตุ มีโทสะเป็นสมุทัย อันใด กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่ บังเกิดแก่ อัตตภาพของบุคคลนั้น
กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเองไม่ว่าจะเป็นไปอย่างในทิฏฐิธรรมหรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ หรือว่าเป็นไปอย่าง ใน อปรปริยายะก็ตาม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วย โมหะ เกิดจากโมหะมีโมหะ เป็นเหตุ มีโมหะเป็นสมุทัย อันใด กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลายอันเป็นที่ บังเกิดแก่ อัตตภาพของบุคคลนั้น. 
กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง ไม่ว่า จะเป็นไปอย่างในทิฏฐิธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ หรือว่า เป็นไป อย่างในอปรปริยายะก็ตาม.



13
หน้า 141

เมื่อเห็นอยู่ย่อมเบื่อหน่าย.. ย่อมคลายกำหนัด.. ย่อมหลุดพ้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร
รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง? ("ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า!" )
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? ("เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า!")
ก็สิ่งใด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่ จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?" ("ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!")

(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีการถามตอบด้วยข้อความ อย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษร กับในกรณีแห่งรูป ต่างกันแต่ชื่อแห่งขันธ์ แต่ละขันธ์ เท่านั้น)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้

รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อันมีอยู่ในภายใน หรือ ภายนอก ก็ดี หยาบหรือละเอียดก็ดี เลว หรือปราณีตก็ดี อยู่ห่างไกลหรืออยู่ใกล้ ก็ดี รูปทั้งหมดนั้น อันเธอทั้งหลาย พึงเห็น ด้วยปัญญา อันชอบ ตรงตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า "นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา"  ดังนี้

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน อันมีอยู่ในภายในหรือ ภายนอกก็ดี หยาบหรือละเอียดก็ดี เลวหรือปราณีตก็ดี อยู่ ห่างไกลหรืออยู่ใกล้ ก็ดี 
เวทนาทั้งหมดนั้น
อันเธอ ทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตรงตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า "นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา" ดังนี้.

สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อันมีอยู่ในภายใน หรือภายนอกก็ดี หยาบหรือละเอียดก็ดี เลวหรือ ปราณีตก็ดี อยู่ห่างไกล หรืออยู่ใกล้ ก็ดี สัญญาทั้งหมด นั้น อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วย ปัญญาอันชอบตรงตาม ที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า "นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา " ดังนี้.  

สังขารทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อันมีอยู่ใน ภายใน หรือภายนอกก็ดี หยาบหรือละเอียดก็ดี เลวหรือปราณีตก็ดี อยู่ห่างไกลหรือ อยู่ใกล้ก็ดี สังขารทั้งหมดนั้น อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตรงตาม ที่เป็นจริง อย่างนี้ ว่า "นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา" ดังนี้.

วิญญาณอย่างใด อย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อันมีอยู่ในภายใน หรือ ภายนอกก็ดี หยาบหรือละเอียด ก็ดีเลวหรือปราณีตก็ดี อยู่ห่างไกลหรืออยู่ใกล้ ก็ดี วิญญาณทั้งหมดนั้น อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตรงตาม ที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า "นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขารทั้งหลาย แม้ในวิญญาณอริยสาวกนั้น เมื่อเบื่อ หน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะความคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อันเราอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ สำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก" ดังนี้ แล.



14
หน้า 158
การเกิดขึ้นแห่งไตรทวาร (กาย วาจา ใจ)
ขึ้นอยู่กับการเกิดขึ้นแห่ง อวิชชา ของปฏิจจสมุปบาท


ถูกแล้ว ถูกแล้ว อานนท์! ตามที่สารีบุตรเมื่อตอบปัญหาในลักษณะนั้นเช่นนั้น,๒ ชื่อว่าได้ ตอบโดยชอบ. ดูก่อนอานนท์! สุขและทุกข์นั้น เรากล่าวว่า

เป็นเพียงสิ่งที่อาศัยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเกิดขึ้น (เรียกว่าปฏิจจสมุปปันน-ธรรม) สุข และ ทุกข์ นั้นอาศัยปัจจัยอะไรเล่า? สุขและทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยคือ ผัสสะ ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่า กล่าวตรงตามที่เรากล่าว ไม่เป็นการกล่าวตู่เรา ด้วยคำไม่จริง แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง และสหธรรมมิกบางคนที่กล่าวตาม ก็จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ ควรถูกติไปด้วย.

(ทิฐิที่ไม่ถูกต้องในเรื่องกรรม หรือสุข-ทุกข์)
ดูก่อนอานนท์! ในบรรดาสมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมทั้งสี่พวกนั้น สมณพราหณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติ สุขและทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตน ทำเอาด้วยตนเอง แม้สุขและทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็น ปัจจัย จึงเกิดมีได้

สมณพราหณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติ  สุขและทุกข์ ว่าเป็นสิ่ง ที่ผู้อื่นทำให้ แม้สุขและทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้

สมณพราหณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใดย่อมบัญญัติ สุขและทุกข์ ว่าเป็นสิ่ง ที่ตนทำเอา ด้วยตนเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย แม้สุขและทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัย ผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้

ถึงแม้สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อม บัญญัติ สุขและทุกข์ ว่าไม่ใช่ ทำเอง หรือใครทำให้ก็เกิดขึ้นได้ ก็ตาม แม้สุขและ ทุกข์ที่พวกเขา บัญญัตินั้น ก็ยังต้อง อาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้ อยู่นั่นเอง.

ดูก่อนอานนท์! ในบรรดาสมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมทั้งสี่พวกนั้น
........................................................................................................

15
กรรมเกิดจากผัสสะ(กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม)

สมณพราหณ์ ที่กล่าว สอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติสุขและทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตน ทำเอาด้วยตนเอง สมณพราหมณ์พวกนั้นหนา เว้นผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อสุขและ ทุกข์ นั้นได้ ดังนั้นหรือ: นั่นไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้ ถึงแม้สมณพราหณ์ที่กล่าวสอนเรื่อง กรรม พวกใด ย่อมบัญญัติสุข และทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้ก็ตามสมณพราหมณ์

พวกนั้นหนา เว้นผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อสุขและทุกข์นั้นได้ ดังนั้นหรือ นั่นไม่ใช่ฐานะ ที่จักมีได้ ถึงแม้สมณพราหณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติสุขและทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ก็ตาม สมณพราหมณ์พวก นั้นหนา เว้นผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อสุขและทุกข์นั้นได้

ดังนั้นหรือ: นั่นไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้ ถึงแม้สมณพราหณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อม บัญญัติสุขและทุกข์ ว่าไม่ใช่ทำเองหรือใครทำให้ก็เกิดขึ้นได้ ก็ตาม สมณ พราหมณ์พวก นั้นหนาเว้นผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อสุขและทุกข์นั้นได้ ดังนั้นหรือ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จัก มีได้
........................................................................................................

ดูก่อนอานนท์! เมื่อ กาย (กายทวารที่ทำหน้าที่อยู่ด้วยอวิชชา) ก็ตามมีอยู่ สุขและ ทุกข์อัน เป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะ กายสัญเจตนา (ความจงใจที่เป็น ไปทาง กาย) เป็นเหตุ.

ดูก่อนอานนท์! เมื่อ วาจา(วจีทวารที่ทำหน้าที่อยู่ด้วยอวิชชา) ก็ตามมีอยู่ สุขและ ทุกข์อัน เป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะวจีสัญเจตนา(ความจงใจที่เป็นไป ทางวาจา) เป็นเหตุ.

ดูก่อนอานนท์! เมื่อ มโน (มโนทวารที่ทำหน้าที่อยู่ด้วยอวิชชา) ก็ตามมีอยู่ สุขและ ทุกข์อัน เป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะ มโนสัญเจตนา(ความจงใจที่เป็น ไปทางใจ) เป็นเหตุ.
........................................................................................................

ดูก่อนอานนท์! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิต ย่อมปรุงแต่ง ให้เกิด กายสังขาร (อำนาจที่ทำให้เกิดการเป็นไปทางกาย) ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุข และ ทุกข์อัน เป็นภายในเกิดขึ้น โดยตนเองบ้าง

ดูก่อนอานนท์! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิตย่อมปรุงแต่ง ให้เกิด กายสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น โดยอาศัยการ กระตุ้นจาก ผู้อื่นบ้าง

ดูก่อนอานนท์! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิตย่อม ปรุงแต่ง ให้เกิด กายสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น โดยรู้สึกตัว อยู่บ้าง

ดูก่อนอานนท์! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิตย่อมปรุงแต่ง ให้เกิด กายสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น โดย
ไม่รู้สึกตัว อยู่บ้าง
........................................................................................................

ดูก่อนอานนท์! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิตย่อม ปรุงแต่ง ให้เกิด วจีสังขาร (อำนาจที่เกิดการเป็นไปทางวาจา) ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ อันเป็นภายใน เกิดขึ้น โดยตนเองบ้าง

ดูก่อนอานนท์! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิตย่อมปรุงแต่ง ให้เกิด วจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น โดยอาศัยการ กระตุ้นจาก ผู้อื่นบ้าง

ดูก่อนอานนท์! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิตย่อมปรุงแต่ง ให้เกิด วจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น โดยรู้สึกตัว อยู่บ้าง

ดูก่อนอานนท์! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิตย่อมปรุงแต่ง ให้เกิด วจีสังขารซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น โดยไม่รู้สึกตัว อยู่บ้าง
........................................................................................................

ดูก่อนอานนท์! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิตย่อมปรุงแต่ง ให้เกิด มโนสังขาร (อำนาจที่เกิดการเป็นไปทางใจ) ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ อันเป็นภายใน เกิดขึ้น โดยตนเองบ้าง

ดูก่อนอานนท์! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิตย่อมปรุงแต่ง ให้เกิด มโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น โดยอาศัยการ กระตุ้นจาก ผู้อื่นบ้าง

ดูก่อนอานนท์! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิตย่อมปรุงแต่ง ให้เกิด มโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น โดยรู้สึกตัว อยู่บ้าง

ดูก่อนอานนท์! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยนั่นเทียว ธรรมชาติทางฝ่ายจิตย่อมปรุงแต่ง ให้เกิด มโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น โดยไม่รู้สึกตัว อยู่บ้าง
........................................................................................................


16
ความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชา(ในกาย วาจา ใจ) ย่อมไม่มีปัจจัยให้เกิด สุข-ทุกข์

ดูก่อนอานนท์! อวิชชาเป็นตัวการที่แทรกแซงแล้วในธรรมทั้งหลายเหล่านั้น.

ดูก่อนอานนท์! เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว กาย(กายทวารที่ทำหน้าที่อยู่ด้วยอวิชชา) นั้น ย่อมไม่มีเพื่อความเป็นปัจจัยให้สุขและ ทุกข์ อันเป็นภายในเกิดขึ้น.

ดูก่อนอานนท์! เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว วาจา(วจีทวารที่ทำหน้าที่อยู่ด้วยอวิชชา) นั้น ย่อมไม่มีเพื่อความเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ อันเป็นภายในเกิดขึ้น.

ดูก่อนอานนท์! เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว มโน(มโนทวารที่ทำหน้าที่อยู่ด้วยอวิชชา) นั้น ย่อมไม่มีเพื่อความเป็นปัจจัยให้สุข และ ทุกข์ อันเป็นภายในเกิดขึ้น.

ดูก่อนอานนท์! เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว สัญเจตนา ในฐานะที่เป็น เขต (ที่เกิดที่งอกแห่งสุขและทุกข์ในภายใน) ก็ดี ในฐานะที่เป็น วัตถุ (ที่ตั้งที่อาศัยแห่งสุขและทุกข์ในภายใน) ก็ดี
ในฐานะ อายตนะ (ปัจจัยโดยตรงแห่งสุข และทุกข์ในภายใน) ก็ดี ในฐานะที่เป็น อธิกรณะ (เครื่องมือกระทำให้เกิดสุข และทุกข์ใน ภายใน) ก็ดี 
ย่อมไม่มี
เพื่อความเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์อันเป็นภายในเกิดขึ้น ดังนี้ แล



17
หน้า 163

อวิชชาสัมผัส คือต้นเหตุอันแท้จริงของปฏิจจสมุปบาท


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เมื่อสำคัญเห็น ย่อมสำคัญ เห็นซึ่ง อัตตา (ตน) มีอย่างต่าง ๆ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อม
สำคัญเห็นซึ่ง อุปาทานขันธ์ทั้ง 5 อย่างนั้นบ้าง หรือว่า ย่อมสำคัญเห็นซึ่ง อุปาทานขันธ์ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งในบรรดาปัญจุปาทานขันธ์เหล่านั้นบ้าง (ว่าเป็นอัตตา)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในโลกนี้ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของ พระอริยเจ้าไม่ได้ รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่เห็น สัปบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของ สัปบุรุษ

(๑) เขาย่อมสำคัญเห็นซึ่ง รูป โดยความ เป็นตน บ้าง
ย่อมสำคัญเห็นซึ่ง ตน ว่า มีรูป บ้าง
ย่อมสำคัญเห็นซึ่ง รูป ใน ตน บ้าง
ย่อมสำคัญเห็นซึ่ง ตน ใน รูป บ้าง

(๒) เขาย่อมสำคัญเห็นซึ่ง เวทนาโดยความเป็นตนบ้าง ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่า มีเวทนาบ้าง ย่อมสำคัญเห็นซึ่งเวทนาในตนบ้าง ย่อมสำคัญเห็นในเวทนาบ้าง

(๓) เขาย่อมสำคัญเห็นซึ่ง สัญญาโดยความเป็นตนบ้าง ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่า มีสัญญาบ้าง ย่อมสำคัญเห็นซึ่งสัญญาในตนบ้าง ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในสัญญาบ้าง

(๔) เขาย่อมสำคัญเห็นซึ่ง สังขารทั้งหลายโดยความเป็นตนบ้าง ย่อมสำคัญเห็นซึ่ง ตนว่ามีสังขารบ้าง ย่อมสำคัญเห็นซึ่งสังขารในตนบ้าง ย่อมสำคัญ เห็นซึ่งตนในสังขาร บ้าง

(๕) เขาย่อมสำคัญเห็นซึ่ง วิญญาณโดยความเป็นตนบ้าง ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามี วิญญาณบ้าง ย่อมสำคัญเห็นซึ่งวิญญาณในตนบ้าง ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตน ในวิญญาณ บ้าง.

เป็นอันว่า การสำคัญเห็น ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ ย่อมมีด้วย  การถึงทับ จับฉวย ของภิกษุนั้นว่"เรามีอยู่"  ดังนี้ ก็มีด้วย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อภิกษุนั้นถึงทับจับฉวยว่า "เรามีอยู่ "ดังนี้แล้ว ลำดับนั้น  การก้าวลงแห่งอินทรีย์ ทั้งหลาย ๕ ประการ ย่อมมีขึ้น ได้แก่อินทรีย์คือ ตา อินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย.







 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์