เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
   ปฏิจจสมุปบาท ชุด 1 หน้า 1-83 873
 
 ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ ชุด
 
1 พระผู้มีพระภาคกระทำมนสิการซึ่งปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมและปฏิโลมตลอดปฐมยามแห่งราตรี ..เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมม
2 สิ่งที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ
3 เห็นปฏิจจสมุปบาท คือเห็นพระพุทธองค์ อย่าเลย วักกลิ! ประโยชน์อะไร ด้วยการเห็นกายเน่านี้
4 ปฏิจจสมุปบาท คืออริยญายธรรม (สิ่งที่ควรรู้อันประเสริฐ) อริยสาวกในกรณีนี้ ย่อมกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
5 คนเราจิตยุ่ง เพราะไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท เพราะไม่รู้ เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอดซึ่งธรรม คือ ปฏิจจสมุปบาท
6 ปฏิจจสมุปบาท เป็นทางสายกลาง.. สิ่งทั้งปวงมีอยู่ สิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่ นี้เป็นส่วนสุด ตถาคตแสดงสายกลางเพราะมีอวิชชา
7 ทรงแนะให้ศึกษาปฏิจจ- ..เธอจงรับเอา จงเล่าเรียน จงทรงไว้ ธรรมนี้ประกอบด้วยประโยชน เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์
8 ความหมายของปฏิจจสมุปบาท แต่ละอาการ ก็ชาติ เป็นอย่างไรเล่า? การเกิด การกำเนิดการก้าวลงสู่ครรภ์การบังเกิด
9

ปฏิจจแต่ละอาการ เป็นปฏิจจสมุปปันนธรรม ชรามรณะเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันและกันเกิดขึ้น

10

ปฏิจจสมุปบาท แบบถาม-ตอบ ชรามรณะมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ชาติมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย

11

แม้แสดงเพียงผัสสะให้เกิดเวทนา ก็ยังเรียกว่าปฏิจจ- .. ภิกษุพึงเบื่อหน่ายในกายบ้าง จากความเสื่อม แต่ไม่เบื่อหน่ายในจิต

12

ปฏิจจ-เปรียบเหมือนการขึ้นลงของน้ำทะเล เมื่อน้ำในมหาสมุทรขึ้น แม่น้ำใหญย่อมขึ้น.. เมื่อแม่น้ำใหญ่ขึ้น แม่น้ำน้อยย่อมขึ้น

13 ผู้ใดเห็นปฏิจจ ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ธรรมใดเป็นความพอใจ ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ธรรมนั้นชื่อว่า เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
14 ธรรมทิฏฐิ-ธรรมนิกาย(กฎสูงสุด) พระตถาคตทั้งหลายจะบังเกิดขึ้น หรือไม่ก็ตาม ธรรมธาตุ ย่อมตั้งอยู่แล้ว นั่นเทียว
15 ปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องลึกและดูลึก.. เพราะไม่แทงตลอดซึ่งปฏิจจสมุปบาท (จิตของ)หมู่สัตว์ จึงเป็นเหมือนกลุ่มด้วยยุ่ง
16 ปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องลึกซึ้งเท่านิพพาน ยากที่สัตว์จะรู้ตาม ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงง่ายๆ เป็นวิสัยรู้ได้เฉพาะ บัณฑิต
17 นรก เพราะไม่รู้ ปฏิจจสมุปบาท ร้อนยิ่งกว่านรกไหนหมด ..ในนรกไม่เห็นรูปที่น่าปราถนาเลย ไม่ได้ฟังเสียงที่น่าปรารถนาเลย
18 ผู้แสดงธรรมโดยหลักปฏิจจ-จึงชื่อว่า ธรรมกถึก คือภิกษุที่แสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับไม่เหลือ แห่งชาติ
19 ปฏิจจสมุปบาท อยู่เหนือความมี - ไม่มีของสิ่งทั้งปวง.. สิ่งทั้งปวง มีอยู่หรือหนอ ไม่มีอยู่หรือ? ตถาคต แสดงธรรมสายกลาง
20 ไม่มีผู้นั้น หรือผู้อื่น ในปฏิจจ- ผู้กระทำ ผู้นั้นเสวย (ผล) หรือพระเจ้าข้า?... เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
21 กายนี้ไม่ใช่ของใคร เป็นเพียงกระแสปฏิจจ- กายนี้ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย และทั้งไม่ใช่ของบุคคลเหล่าอื่น.. กายนี้เป็นกรรม
22 ปฏิจจ-เป็นธรรมที่ทรงแสดงเพื่อไม่ให้รู้สึกว่ามีตัวตน เรา-เขา ไม่มีบุคคลที่กลืนกินวิญญาณาหาร ไม่มีใครเป็นเจ้าของอายตนะ
23 ไม่มีตนเอง ไม่มีผู้อื่น ที่ก่อสุขและทุกข์ แต่เกิดขึ้นเพาะเหตุปัจจัย และดับลงเพราะเหตุปัจจัย คือเพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย
24 เรื่องปฏิจจสมุปบาท คือเรื่องอริยสัจ
   
 
 



1
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์

สมัยนั้น พระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคตรัสรู้แล้วใหม่ๆ ยังประทับอยู่ที่โคนแห่งไม้โพธิ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในเขตตำบลอุรุเวลา. ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่ง ด้วยบัลลังค์อันเดียวตลอดเจ็ดวัน ที่โคนแห่งไม้โพธิ์เสวยวิมุตติสุข.

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง กระทำมนสิการซึ่งปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมและ ปฏิโลมตลอด ปฐมยามแห่งราตรีดังนี้ว่า

“ เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
……………ฯลฯ

ลำดับนั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีความรู้สึกอย่างนี้แล้วได้ทรงเปล่งอุทานนี้ขึ้นในขณะนั้นว่า “เมื่อใดเวย ธรรมทั้งหลาย เป็นของแจ่มแจ้งแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียร เพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง ของพราหมณ์นั้น ย่อมหายไปเพราะพราหมณ์นั้น รู้ทั่วถึงธรรม พร้อมทั้งเหตุ” ดังนี้.

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำมนสิการ ซึ่งปฏิจจสมุปบาทโดยอนุโลม และ ปฏิโลมตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรีดังนี้ว่า

เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
……………ฯลฯ

ลำดับนั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีความรู้สึกอย่างนี้แล้ว ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ ขึ้นในขณะนั้นว่า

“เมื่อใดเวย ธรรมทั้งหลาย เป็นของแจ่มแจ้ง แก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียร เพ่งพินิจอยู่; เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมหายไป เพราะ พราหมณ์นั้น ได้รับแล้วซึ่งความ สิ้นไปแห่งปัจจยธรรม ท.” ดังนี้.

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำมนสิการซึ่งปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมและปฏิโลมตลอด ปัจฉิมยามแห่งราตรีดังนี้ว่า
“เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
……………ฯลฯ

.....................................................................................................................................

2
สิ่งที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท

ครั้งหนึ่ง ที่พระเชตวัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ให้ตั้งใจฟังแล้วได้ตรัสข้อความ เหล่านี้ว่า  “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดง ปฏิจจสมุปบาท แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้ง หลายจงฟัง ปฏิจจสมุปบาท นั้น  จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้”

ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถ้อยคำเหล่านี้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อะไรเล่า ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ
เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา
เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา
เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน
เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ
เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเวทะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร
เพราะมีความดับ แห่งสังขาร จึงมีความดับ แห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับ แห่งวิญญาณ จึงมีความดับ แห่งนามรูป
เพราะมีความดับ แห่งนามรูป จึงมีความดับ แห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับ แห่งสฬายตนะ จึงมีความดับ แห่งผัสสะ
เพราะมีความดับ แห่งผัสสะ จึงมีความดับ แห่งเวทนา
เพราะมีความดับ แห่งเวทนา จึงมีความดับ แห่งตัณหา
เพราะมีความดับ แห่งตัณหา จึงมีความดับ แห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับ แห่งอุปาทาน จึงมีความดับ แห่งภพ
เพราะมีความดับ แห่งภพ จึงมีความดับ แห่งชาติ
เพราะมีความดับ แห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.

.....................................................................................................................................

3
หน้า13
เห็นปฏิจจสมุปบาท คือเห็นพระพุทธองค์

พระสารีบุตรได้กล่าวแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

ก็แลคำนี้เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้แล้วอย่างนี้ว่า
"ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม  ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็น ปฏิจจสมุปบาท "

อย่าเลย วักกลิ! ประโยชน์อะไร ด้วยการเห็นกายเน่านี้ (กายของพระองค์ยังไม่มีประโยชน์เท่ากับธรรมะที่ทรงบัญญัติ)

ดูก่อนวักกลิ! ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม.
ดูก่อนวักกลิ! เพราะว่าเมื่อเห็นธรรมอยู่ ก็คือเห็นเรา เมื่อเห็นเราอยู่ก็คือเห็นธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! แม้ภิกษุจับชายสังฆาฏิ เดินตามรอยเท้าเราไปข้างหลังๆ แต่ถ้าเธอนั้น มากไป ด้วยอภิชฌา มีกามราคะกล้า มีจิตพยาบาทประทุษร้าย มีสติหลงลืมไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่เป็นสมาธิ แกว่งไปแกว่งมา ไม่สำรวมอินทรีย์ แล้วไซร้ ภิกษุนั้นชื่อว่าอยู่ไกลจากเรา แม้เราก็อยู่ไกลจากภิกษุนั้น โดยแท้.

เพราะเหตุไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะว่าภิกษุนั้น ไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรมก็ชื่อว่าไม่เห็น เรา แล้วได้ตรัสไว้ โดยนัยตรงกันข้ามจากภิกษุ นี้คือตรัสเป็นปฏิปักขนัย โดยนัยว่า แม้จะอยู่ห่างกันร้อยโยชน์ถ้ามีธรรมเห็นธรรมก็ชื่อว่าเห็นพระองค์

.....................................................................................................................................

4
หน้า14
ปฏิจจสมุปบาท คืออริยญายธรรม (สิ่งที่ควรรู้อันประเสริฐ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็อริยญายธรรม เป็นสิ่งที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดีแทงตลอด แล้ว ด้วยดี ด้วยปัญญา เป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกในกรณีนี้ ย่อมกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย เป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า “ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นของสิ่งนี้  สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น. เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะความดับไปของสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป สิ่งนี้จึงดับไป  ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ

เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
……ฯลฯ.......

.....................................................................................................................................


5
หน้า15
คนเราจิตยุ่ง เพราะไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท

ดูก่อนอานนท์! เพราะไม่รู้ เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอดซึ่งธรรม คือ ปฏิจจสมุปบาทนี้ (จิตของ) หมู่สัตว์นี้ จึงเป็นเหมือนกลุ่มด้ายยุ่ง ยุ่งเหยิงเหมือน ความยุ่งของกลุ่มด้าย ที่หนาแน่น ไปด้วยปม พันกันยุ่งเหมือนเชิงหญ้ามุญชะ และหญ้าปัพพชะ อย่างนี้ ย่อมไม่ล่วงพันซึ่งสังสาระ ที่เป็นอบาย ทุคติ วินิบาต ไปได้.

.....................................................................................................................................


6
หน้า16
ปฏิจจสมุปบาท เป็นชื่อแห่งทางสายกลาง

ดูก่อนกัจจานะ!

คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า “สิ่งทั้งปวง มีอยู่” ดังนี้  นี้เป็นส่วนสุด ที่หนึ่ง (มิใช่ทางสายกลาง)  

คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า “สิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่” ดังนี้ นี้เป็นส่วนสุด ที่สอง (มิใช่ทางสายกลาง)

ดูก่อนกัจจานะ! ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย...



7
ทรงแนะนำอย่างยิ่งให้ศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาท

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสาธยายปฏิจจสมุปบาท อยู่ลำพังพระองค์เดียว ภิกษุรูปหนึ่งได้แอบ เข้ามาฟัง ทรงเหลือบไปพบเข้า แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ! เธอได้ยินธรรมปริยายนี้แล้วหรือ? “ ได้ยินแล้วพระเจ้าข้า!”
ดูก่อนภิกษุ! เธอจง รับเอา ธรรมปริยายนี้ไป
ดูก่อนภิกษุ! เธอจง เล่าเรียน ธรรมปริยายนี้
ดูก่อนภิกษุ! เธอจง ทรงไว้ ซึ่งธรรมปริยายนี้.
ดูก่อนภิกษุ! ธรรมปริยายนี้ ประกอบด้วยประโยชน เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์

คนเราไม่ปรินิพพานในทิฏฐธรรมเพราะไม่สามารถตัดกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ท้าวสักกะ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! อะไรหนอเป็นเหตุอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในทิฏฐธรรม? และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้สัตว์บาง พวกในโลกนี้ปรินิพพานในทิฏฐธรรม (คือทันเวลาทันควัน ไม่ต้องรอเวลาข้างหน้า) พระเจ้าข้า?”

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย! รูปทั้งหลายที่จะพึงรู้ได้ด้วยจักษุมีอยู่ เป็นรูปที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยแห่ง ความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด  ถ้าหากว่า ภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งรูปนั้น แล้วไซร้ เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน พร่ำ สรรเสริญ เมาหมกอยู่ กะรูปนั้น วิญญาณนั้นอันตัณหาในอารมณ์คือรูปอาศัยแล้ว ย่อมมีแก่เธอนั้น วิญญาณนั้น คืออุปาทาน.  

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย! ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน.

(ในกรณีแห่งเสียงที่จะพึงรู้สึกด้วยโสตะ กลิ่นที่จะพึงรู้สึกด้วยฆานะ รสที่จะพึงรู้สึก ด้วยชิวหา สัมผัส ทางผิวหนังที่จะพึงรู้สึกด้วยกาย (ผิวกายทั่วไป) ก็มีข้อความอย่าง เดียวกันกับข้อความ ในกรณีแห่งรูป ที่จะพึงรู้ได้ด้วยจักษุ ดังที่กล่าวแล้วข้างบน ทุกตัวอักษะ  ต่างกันเพียงชื่อแห่งอายตนะแต่ละอายตนะ เท่านั้น ในที่นี้จะยก ข้อความ อันกล่าวถึงธัมมารมณ์เป็นข้อสุดท้าย มากล่าวไว้อีกครั้งดังต่อไปนี้)

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย! ธัมมารมณ์ทั้งหลายที่จะพึงรู้สึกด้วยมโน มีอยู่ เป็นธัมมารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัย แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด  ถ้าหากว่า ภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งธัมมารมณ์นั้น แล้วไซร้  เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ กะธัมมารมณ์นั้น วิญญาณนั้นอันตัณหา ในอารมณ์ คือธัมมารมณ์ อาศัยแล้ว ย่อมมีแก่เธอนั้น วิญญาณนั้นคืออุปาทาน.

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอม แห่งเทวดาทั้งหลาย! ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน

ดูก่อนท่านผู้เป็นจอมแห่งเทวดาทั้งหลาย! นี้แลเป็นเหตุ นี้เป็นปัจจัยที่ทำให้สัตว์ บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในทิฏฐธรรม.

(๑ วิญญาณในที่นี้ หมายถึงมโนวิญญาณ ที่รู้สึกต่อความเพลิดเพลินและความมัวเมาในรูปนั้น ไม่ใช่จักขุวิญญาณ ที่เห็นรูปตามธรรมดา)



8
ความหมายของปฏิจจสมุปบาท แต่ละอาการ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า?
ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมี ผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไปๆ แห่งอายุความแก่ รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา การจุติ ความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตายการ ทำกาละ การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิต จากสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลาย เหล่านั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ ชรานี้ด้วย มรณะนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า ชรามรณะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ชาติ เป็นอย่างไรเล่า?  
การเกิด การกำเนิดการก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้ ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตว์นิกายนั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ  
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า ชาติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ภพ เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภพทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ภพ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!อุปาทานทั้งหลาย ๔ อย่าง เหล่านี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน  
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า อุปาทาน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!หมู่แห่งตัณหาทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฎฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า ตัณหา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็เวทนา เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! หมู่เวทนาทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ จักขุสัมผัสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชา เวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสชาเวทนา มโนสัมผัสสชา-เวทนา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า เวทนา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! หมู่ผัสสะทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัสส ชิวหา สัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า ผัสสะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สฬายตนะ เป็นอย่างไรเล่า?
จักข์วายตนะโสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มนายตนะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า สฬายตนะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็นามรูป เป็นอย่างไรเล่า?
เวทนา สัญญา เจตนาผัสสะ มนสิการ นี้ เรียกว่า นาม. มหาภูตทั้งสี่ด้วย รูปที่อาศัยมหาภูตทั้งสี่ด้วย: นี้ เรียกว่า รูป. นามนี้ด้วย รูปนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า นามรูป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!หมู่วิญญาณทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า วิญญาณ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สังขารทั้งหลาย ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้ เรียกว่า สังขาร ทั้งหลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็อวิชชา เป็นอย่างไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ความไม่รู้อันใดแล เป็นความ ไม่รู้ในทุกข์ เป็นความไม่รู้ในเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความไม่รู้ในความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นความไม่รู้ในข้อ ปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้ เรียกว่า อวิชชา.



9
หน้า29
ปฏิจจสมุปบาทแต่ละอาการ เป็นปฏิจจสมุปปันนธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดง ปฏิจจสมุปปันนธรรม แก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลาย จงฟัง ซึ่งธรรมนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้. ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับ พระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถ้อยคำเหล่านี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ปฏิจจสมุปปันนธรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า?

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ชรามรณะ เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันและกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลงเป็นธรรมดา.

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ชาติ เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วอาศัยกันและกันเกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลง เป็นธรรมดา.

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภพ เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วอาศัยกันและกันเกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลง เป็นธรรมดา.

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อุปาทาน เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันและกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลงเป็นธรรมดา.

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ตัณหา เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วอาศัยกันและกันเกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามี ความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลง เป็นธรรมดา.

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เวทนา เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วอาศัยกันและกันเกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามี ความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลง เป็นธรรมดา.

(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ผัสสะ เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วอาศัยกันและกันเกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลง เป็นธรรมดา.

(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สฬายตนะ เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันและกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลงเป็นธรรมดา.

(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นามรูป เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วอาศัยกันและกันเกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลง เป็นธรรมดา.

(๑๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันและกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลงเป็นธรรมดา.

(๑๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สังขารทั้งหลาย เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันและกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลงเป็นธรรมดา.

(๑๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อวิชชา เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันและกัน เกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับลงเป็นธรรมดา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้ เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม๑ ทั้งหลาย



10

หน้า32
ทรงขยายความปฏิจจสมุปบาท อย่างวิธีถามตอบ


คำว่า "ปฏิจจสมุปปันนธรรม" นี้ ผู้ที่ได้ฟังเป็นครั้งแรก ไม่จำเป็นจะต้องมีความตื่นเต้นตกใจ ว่าเป็น คำลึกซึ้ง ซับซ้อน อะไรมากมาย แต่เป็นคำธรรมดาสามัญ ในภาษาธรรมะ มีความหมาย แต่เพียงว่า เป็นสิ่งที่เกิดเองไม่ได้ จะต้องอาศัยสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น เสร็จแล้ว ก็จะเป็นสิ่งที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย สำหรับปรุงแต่งสิ่งอื่นต่อไป : ที่แท้ ก็คือสิ่งทั้งปวงในโลก นั่นเอง หากแต่ว่า ในที่นี้ทรงประสงค์ แต่เรื่องทางจิตใจ และเฉพาะที่เกี่ยวกับความทุกข์ เท่านั้น. -ผู้รวบรวม.

๒ มหานิทานสูตร มหา. ที่. ๑๐/๖๕/๕๗, ตรัสแก่พระอานนท์ ที่กัมมาสทัมมนิคม แควันกุรุ. และ อีกแห่งหนึ่งคือ สูตรที่ ๑๐ ทุกขวรรค อภิสมยสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๑/๒๒๕, ข้อความเหมือน กันตั้งแต่คำเริ่มแรกไปจนถึงคำว่า "...อบายทุคติวินิบาตไปได้".

เพราะไม่รู้๑ เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมคือปฏิจจสมุปบาทนี้ (จิตของ) หมู่สัตว์นี้จึงเป็นเหมือนกลุ่มด้ายยุ่ง ยุ่งเหยิงเหมือนความยุ่งของกลุ่มด้าย ที่หนาแน่น ไปด้วยปม พันกันยุ่ง เหมือนเซิงหญ้ามุญชะและหญ้าปัพพชะอย่างนี้ ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสาระ ที่เป็นอบาย ทุคติ วินิบาตไปได้.

…………………………………………………………………............................……………………………….

ดูก่อน อานนท์ ! อย่ากล่าวอย่างนั้น. ดูก่อนอานนท์ ! อย่ากล่าวอย่างนั้น. ก็ ปฏิจจสมุปบาทนี้ ลึกซึ้งด้วย มีลักษณะดูลึกซึ้งด้วย. ดูก่อนอานนท์!

ดูก่อนอานนท์!

เมื่อเธอถูกถามว่า ชรามรณะที่มีเพราะสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยมีไหม? คำตอบ พึงมีว่า มีอยู่
ถ้าเขาพึงกล่าวต่อไปว่า ชรามรณะมี เพราะปัจจัยอะไร?
คำตอบ พึงมีว่า ชรามรณะมี เพราะปัจจัยคือ ชาติ

เมื่อเธอถูกถามว่า ชาติที่มีเพราะสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยมีไหม? คำตอบ พึงมี ว่ามีอยู่
ถ้าเขาพึงกล่าวต่อไปว่า ชาติมี เพราะปัจจัยอะไร?
คำตอบ พึงมีว่า ชาติมี เพราะปัจจัยคือ ภพ

เมื่อเธอถูกถามว่า ภพที่มีเพราะสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยมีไหม? คำตอบ พึงมีว่า มีอยู่
ถ้าเขาพึงกล่าวต่อไปว่า ภพมี เพราะปัจจัยอะไร?
คำตอบพึงมีว่า ภพมี เพราะปัจจัยคือ อุปาทาน

ถ้าเธอถูกถามว่า อุปาทานที่มีเพราะสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยมีไหม? คำตอบ พึงมีว่า มีอยู่
ถ้าเขาพึงกล่าวต่อไปว่า  อุปาทานมี เพราะปัจจัยอะไร?
คำตอบพึงมีว่า อุปาทานมี เพราะ ปัจจัยคือ ตัณหา

เมื่อเธอถูกถามว่า ตัณหาที่มีเพราะสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยมีไหม? คำตอบ พึงมีว่า มีอยู่
ถ้าเขาพึงกล่าวต่อไปว่า ตัณหามีเพราะปัจจัยอะไร?
คำตอบพึงมีว่า ตัณหามี เพราะปัจจัยคือ เวทนา

เมื่อเธอถูกถามว่า เวทนาที่มีเพราะสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยมีไหม? คำตอบ พึงมีว่า มีอยู่
ถ้าเขาพึงกล่าวต่อไปว่า เวทนามีเพราะปัจจัยอะไร?  
คำตอบพึงมีว่า เวทนามี เพราะปัจจัยคือ ผัสสะ

เมื่อเธอถูกถามว่า ผัสสะที่มีเพราะสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยมีไหม? คำตอบ พึงมีว่า มีอยู่  
ถ้าเขาพึงกล่าวต่อไปว่า ผัสสะมีเพราะปัจจัยอะไร?
คำตอบพึงมีว่า ผัสสะมี เพราะปัจจัยคือ นามรูป

เมื่อเธอถูกถามว่า นามรูปที่มีเพราะสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยมีไหม? คำตอบ พึงมีว่า มีอยู่
ถ้าเขาพึงกล่าวต่อไปว่า นามรูปมีเพราะปัจจัยอะไร?
คำตอบ พึงมีว่า นามรูปมี เพราะปัจจัยคือ วิญญาณ

เมื่อเธอถูกถามว่า วิญญาณที่มีเพราะสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยมีไหม? คำตอบ พึงมีว่า มีอยู่
ถ้าเขาพึงกล่าวต่อไปว่า วิญญาณมีเพราะปัจจัยอะไร?
คำตอบ พึงมีว่า วิญญาณมี เพราะปัจจัยคือ นามรูป

ดูก่อนอานนท์! ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้แล (เรื่องจึงสรุปได้ว่า)
(เริ่มต้นที่วิญญาณ)
วิญญาณมี เพราะปัจจัย คือนามรูป  
นามรูปมี เพราะปัจจัย คือวิญญาณ  
ผัสสะมี เพราะปัจจัย คือนามรูป
เวทนามี เพราะปัจจัย คือผัสสะ  
ตัณหามี เพราะปัจจัย คือเวทนา  
อุปาทานมี เพราะปัจจัย คือตัณหา
ภพมี เพราะปัจจัย คืออุปาทาน  
ชาติมี เพราะปัจจัย คือภพ 
ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลายเกิดขึ้นพร้อม เพราะปัจจัย คือชาติ
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ แล.

หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ปฏิจจสมุปบาทแบบนี้ที่ตั้งต้นจากทุกข์ ขึ้นไปหา อวิชชา แต่ไปไม่ถึงอวิชชา ไปสุดลงเสียเพียงแค่วิญญาณนามรูป แล้ววกกลับ นั้น ยังมีลักษณะ พิเศษอยู่อีกอย่างหนึ่ง คือบางสูตร เช่นสูตรนี้โดยเฉพาะหามี "สฬายตนะ" รวมอยู่ในสาย ด้วยไม่ ผิดจากสูตรอื่นอีกหลายสูตร แห่งแบบนี้.

จะสันนิษฐานว่า คัดลอกตกหล่นมาแต่เดิม ก็ไม่มีหนทาง ที่จะสันนิษฐานอย่างนั้น เพราะมี การเว้น คำ ว่า "สฬายตนะ" เหมือนกันหมดทุก ๆ แห่งในสูตรนี้ ทั้งตอนที่เป็น อุทเทสนิทเทส  และตอนที่ ทรงย้ำครั้งสุดท้าย ในสูตรเดียวกัน.



11

หน้า38
แม้แสดงเพียงผัสสะให้เกิดเวทนา ก็ยังเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท


กาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะพึงเบื่อหน่ายได้บ้าง พึงคลาย กำหนัดได้บ้าง พึงปล่อยวางได้บ้าง ในกาย อันเป็นที่ประชุมแห่ง มหาภูตทั้งสี่นี้
ข้อนั้นเพราะเหตุใดเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า การก่อขึ้นก็ดี การสลายลงก็ดี การถูกยึด ครองก็ดี การทอดทิ้งซากไว้ก็ดี แห่งกาย อันเป็นที่ประชุม แห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ย่อมปรากฏอยู่. เพราะเหตุนั้นปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จึงเบื่อหน่าย ได้บ้าง จึงคลายกำหนัด ได้บ้าง จึงปล่อยวาง ได้บ้าง ในกายนั้น.

(พึงเบื่อหน่ายกายได้บ้าง เพราะเห็นการเปลี่ยนแปลง เห็นความเสื่อมของกาย)

จิต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า "จิต" ก็ดี ว่า "มโน" ก็ดี ว่า "วิญญาณ" ก็ดี ปุถุชนผู้ มิได้สดับ แล้ว ไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลาย กำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งสิ่งนั้น . ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า สิ่งที่เรียกว่า จิตเป็นต้นนี้ เป็นสิ่งที่ ปุถุชน ผู้มิได้สดับแล้ว ได้ถึงทับแล้วด้วยตัณหา ได้ยึดถือแล้วด้วยทิฏฐิ โดยความเป็น ตัวตนมาตลอดกาลช้านาน ว่า "นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา" ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ แล้ว จึงไม่อาจจะเบื่อหน่ายไม่อาจจะคลาย กำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งที่เรียกว่า จิต เป็นต้นนั้น.
.......................................................................................................

สัตว์ ยึดกายที่มีอยู่ชั่วคราว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะพึงเข้าไปยึดถือเอากาย อันเป็นที่ ประชุมแห่ง มหาภูตทั้งสี่นี้โดยความเป็นตัวตน ยังดีกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิต โดยความเป็นตัวตน ไม่ดีเลย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนั้น เพราะเหตุว่า กายอันเป็นที่ประชุม แห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปี บ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง เกินกว่าร้อยปีบ้าง ปรากฏอยู่.

สัตว์ ไม่เคยปล่อยการยึดจิต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ส่วนสิ่งทีเรียกกันว่า "จิต" บ้าง ว่า "มโน" บ้าง ว่า "วิญญาณบ้างนั้น ดวงอื่นเกิดขึ้นดวงอื่นดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในเรื่องนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมกระทำไว้ในใจ โดย แยบคาย เป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า ด้วยอาการอย่างนี้  เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี เพราะความเกิดขึ้น แห่งสิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้สิ่งนี้จึงดับไป.
.......................................................................................................

ปฏิจจ คู่ ผัสสะ-เวทนา (อิงอาศัยกัน)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง สุขเวทนาจึงเกิด สุขเวทนา ขึ้น เพราะความดับ แห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแหละ เวทนาใด ที่เกิด เพราะผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้ง แห่งสุขเวทนา เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง ทุกขเวทนา จึงเกิด ทุกขเวทนาขึ้น เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา นั้นแหละ เวทนาใด ที่เกิดเพราะผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง อทุกขมสุขเวทนาจึงเกิด อทุกขมสุข เวทนาขึ้น เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้ง แห่งอทุกขมสุขเวทนา นั้นแหละ เวทนาใด ที่เกิดเพราะผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง อทุกขมสุขเวทนา เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนเพราะไม้สองอันเสียดสีกันไปมา ไออุ่นย่อมเกิด ความร้อนย่อม บังเกิดโดยยิ่ง. เพราะแยกไม้ทั้งสองอันนั้นแหละออกจากกันเสีย

.......................................................................................................


ไออุ่นใด ที่เกิดเพราะการเสียดสีระหว่างไม้สองอันนั้น ไออุ่นนั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป ข้อนี้ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้ก็ฉันนั้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง สุขเวทนา จึงเกิดสุขเวทนาขึ้น เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง สุขเวทนา นั้นแหละ เวทนาใด ที่เกิดเพราะผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ อาศัย ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง ทุกขเวทนา จึงเกิด ทุกขเวทนาขึ้น เพราะความดับแห่งผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแหละ เวทนาใดที่เกิด เพราะผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) ทุกขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้ง แห่งทุกขเวทนา เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง อทุกขมสุขเวทนา จึงเกิดอทุกขมสุขเวทนาขึ้น เพราะความดับแห่งผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง อทุกขมสุขเวทนา นั้นแหละ เวทนาใด ที่เกิดเพราะผัสสะนั้น (ในกรณีนี้คือ) อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา เวทนานั้นย่อมดับ ย่อมสงบไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่าย แม้ใน ผัสสะ (ผัสสะทางกาย หรือทางรูป)
ย่อมเบื่อหน่าย แม้ใน เวทนา
ย่อมเบื่อหน่าย แม้ใน สัญญา
ย่อมเบื่อหน่าย แม้ใน สังขารทั้งหลาย (กายสังขาร วจีสังขาร จิจจสังขาร)
ย่อมเบื่อหน่าย แม้ใน วิญญาณ.

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายความกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว.


อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อันเราอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีกต่อไป" ดังนี้ แล.

(เบื่อหน่าย > คลายกำหนัด >หลุดพ้น > มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว > ทราบชัดว่าชาติ สิ้นแล้ว ... กิจอื่นมิได้มีอีก)



12
หน้า41
ทรงเปรียบปฏิจจสมุปบาทด้วยการขึ้นลง ของน้ำทะเล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!

เมื่อน้ำในมหาสมุทรขึ้น ย่อมทำให้แม่น้ำในแม่น้ำใหญ่ ขึ้น
เมื่อน้ำในแม่น้ำใหญ่ขึ้น ย่อมทำให้น้ำในแม่น้ำน้อย ขึ้น
เมื่อน้ำในแม่น้ำน้อยขึ้น ย่อมทำให้ละหานใหญ่มีน้ำ ขึ้น
เมื่อละหานใหญ่มีน้ำขึ้น ย่อมทำให้ละหานน้อยมีน้ำ ขึ้น ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้ก็ฉันนั้น
เมื่ออวิชชา เข้ามาย่อมทำให้สังขารทั้งหลายเข้ามา
เมื่อสังขารทั้งหลายเข้ามา ย่อมทำให้วิญญาณเข้ามา
เมื่อวิญญาณเข้ามา ย่อมทำให้นามรูปเข้ามา
เมื่อนามรูปเข้ามา ย่อมทำให้สฬายตนะเข้ามา
เมื่อสฬายตนะเข้ามา ย่อมทำให้ผัสสะเข้ามา
เมื่อผัสสะเข้ามา ย่อมทำให้เวทนาเข้ามา
เมื่อเวทนาเข้ามา ย่อมทำให้ตัณหาเข้ามา
เมื่อตัณหาเข้ามา ย่อมทำให้อุปาทานเข้ามา
เมื่ออุปาทานเข้ามา ย่อมทำให้ภพเข้ามา
เมื่อภพเข้ามา ย่อมทำให้ชาติเข้ามา
เมื่อชาติเข้ามา ย่อมทำให้ชรามรณะเข้ามา
.... .... .... .... ....

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
เมื่อน้ำในมหาสมุทรลง ย่อมทำให้แม่น้ำในแม่น้ำใหญ่ลดลง
เมื่อน้ำในแม่น้ำใหญ่ลดลง ย่อมทำให้น้ำในแม่น้ำน้อยลดลง
เมื่อน้ำในแม่น้ำน้อยลดลง ย่อมทำให้น้ำที่ละหานใหญ่ ลดลง
เมื่อน้ำที่ละหานใหญ่ลดลง ย่อมทำให้น้ำที่ละหานน้อยลดลง ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้ก็ฉันนั้น เมื่อ
อวิชชาออกไป ย่อมทำให้สังขารทั้งหลายออกไป
เมื่อสังขารทั้งหลายออกไป ย่อมทำให้วิญญาณออกไป
เมื่อวิญญาณออกไป ย่อมทำให้นามรูปออกไป
เมื่อนามรูปออกไป ย่อมทำให้สฬายตนะออกไป
เมื่อสฬายตนะออกไป ย่อมทำ ให้ผัสสะออกไป
เมื่อผัสสะออกไป ย่อมทำให้เวทนาออกไป
เมื่อเวทนาออกไป ย่อมทำให้ตัณหาออกไป
เมื่อตัณหาออกไป ย่อมทำให้อุปาทานออกไป
เมื่ออุปาทานออกไป ย่อมทำให้ภพออกไป
เมื่อภพออกไป ย่อมทำให้ชาติออกไป
เมื่อชาติออกไป ย่อมทำให้ชรามรณะออกไป ดังนี้ แล



13
หน้า42
การเห็นปฏิจจสมุปบาท ชื่อว่าการเห็นธรรม

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย!... ก็แล คำนี้ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า

"ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็น ปฏิจจสมุปบาท" ดังนี้

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม (ธรรมอาศัยซึ่งกัน และกันเกิดขึ้น) กล่าวคือ ปัญจุปาทานขันธ์ ทั้งหลาย

ธรรมใด เป็นความพอใจ เป็นความอาลัย เป็นความติดตาม เป็นความสยบมัวเมา ในอุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ๕ประการ เหล่านี้ ธรรมนั้นชื่อว่า เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์

ธรรมใด เป็นความนำออกซึ่งฉันราคะ เป็นความละขาดซึ่งฉันทราคะ ในอุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้ ธรรมนั้นชื่อว่า ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย! ด้วยการปฏิบัติมีประมาณเพียงเท่านี้แล คำสอนของ พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นสิ่งที่ภิกษุประพฤติกระทำให้มากแล้วดังนี้



14
หน้า43
ธรรมทิฏฐิ-ธรรมนิกาย(ในฐานะเป็นกฎสูงสุดของธรรมชาติ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดงซึ่งปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น) แก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลาย จงฟังซึ่งปฏิจจ สมุปบาทนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไรเล่า?

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่ พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว
     คือความตั้งอยู่แห่ง ธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา)
     คือความเป็นกฎ ตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา)      คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา)

ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น
ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงาย ของที่คว่ำ และได้กล่าวแล้ว ในบัดนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี ดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอัน
เป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น
เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไป โดยประการอื่น
เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท
(คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้ว เกิดขึ้น)


(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติย่อมมี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระ คถาคต ทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว
    คือความตั้งอยู่ แห่งธรรมดา
    คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา
    คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึง เกิดขึ้น.

ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะ แล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติย่อมมี ดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล: ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอัน
เป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น
เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดย ประการอื่น
เป็น อิทัปปัจจยตาคือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น)

ธรรมอันเป็นธรรมชาติที่อาศัยการเกิดในคู่อื่น ทรงกล่าวทำนองเดียวกัน
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานย่อมมี
(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาย่อมมี
(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาย่อมมี
(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะย่อมมี
(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะย่อมมี
(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปย่อมมี
(๑๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณย่อมมี



15
หน้า52
ปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องลึกและดูลึก

พระอานท์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า! ไม่เคยมีแล้ว พระเจ้าข้า! ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ปฏิจจสมุปบาทนี้ เขาร่ำลือกันว่าเป็นธรรมลึก ด้วย ดูท่าทางราวกะว่าเป็นธรรมลึกด้วย แต่ปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนกับเป็นธรรม ตื้นๆ

ดูก่อนอานนท์! อย่ากล่าวอย่างนั้น. ดูก่อนอานนท์! อย่ากล่าว อย่างนั้น. ก็ปฏิจจสมุปบาทนี้ ลึกซึ้งด้วย มีลักษณะดูเป็นธรรมลึกซึ้งด้วย.

ดูก่อนอานนท์! เพราะไม่รู้ เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมคือ ปฏิจจสมุปบาทนี้ (จิตของ) หมู่สัตว์นี้ จึงเป็นเหมือนกลุ่มด้วยยุ่ง ยุ่งเหยิงเหมือน ความยุ่ง ของกลุ่มด้ายที่หนาแน่นไปด้วยปม พันกันยุ่งเหมือนเซิงหญ้ามุญชะ และหญ้าปัพพชะอย่างนี้ ย่อมไม่ ล่วงพ้นซึ่งสงสาร ที่เป็นอบาย ทุคติ วินิบาตไปได้



16
หน้า53
ปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องลึกซึ้งเท่ากับเรื่องนิพพาน

ดูก่อนราชกุมาร! ความคิดข้อนี้ได้เกิดแก่เราว่า "ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้เป็นธรรมอันลึก สัตว์อื่นเห็นได้ยาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม เป็นธรรมระงับและประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะ หยั่งลงง่าย ๆ แห่งความตรึก เป็นของละเอียด เป็นวิสัยรู้ได้เฉพาะบัณฑิต.

ก็สัตว์เหล่านี้ มีอาลัยเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในอาลัย เพลิดเพลินแล้วในอาลัย สำหรับสัตว์ผู้มีอาลัยเป็นที่มายินดี ยินดีเพลิดเพลินในอาลัยนั้น ยากนักที่จะเห็นสิ่งนี้ คือ ปฏิจจสมุปบาท กล่าวคือความที่สิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัยแก่สิ่งนี้ ๆ และยากนักที่จะเห็น แม้สิ่งนี้ คือนิพพาน อันเป็นธรรมเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นธรรมอันสลัด คืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็นความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์. หากเราพึงแสดงธรรมแล้วสัตว์อื่นไม่พึงรู้ทั่วถึง ข้อนั้นจักเป็นความเหนื่อย เปล่าแก่เรา เป็นความลำบากแก่เรา". โอ ราชกุมาร! คาถาอันน่าเศร้า เหล่านี้ ที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ได้ปรากฏแจ่มแจ้งแก่เราว่า

"
กาลนี้ไม่ควรประกาศธรรมที่เราบรรลุได้แล้วโดยยากธรรมนี้สัตว์ที่ถูกราคะ โทสะ ปิดกั้นแล้วไม่รู้ได้โดยง่ายเลยสัตว์ผู้กำหนัดแล้วด้วยราคะ อันความมืด ห่อหุ้มแล้วจักไม่เห็นธรรมอันไปทวนกระแสอันเป็นธรรมละเอียดลึกซึ้งเห็นได้ยากเป็นอณูดังนี้.

(ยังมีอีกสูตรหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อความเหมือนกันกับข้อความข้างบนนี้ แต่เป็นคำกล่าวของ พระพุทธเจ้า วิปัสสี นำมาตรัสเล่าโดยพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ดังต่อไปนี้)

"กาลนี้ ไม่ควรประกาศธรรมที่เราบรรลุได้แล้วโดยยาก. ธรรมนี้ สัตว์ที่ถูก ราคะ โทสะ ปิดกั้นแล้ว ไม่รู้ได้โดยง่ายเลย. สัตว์ผู้กำหนัดแล้วด้วยราคะ อันความมืดห่อหุ้มแล้ว
จักไม่เห็นธรรมอันไปทวนกระแส อันเป็นธรรมละเอียดลึกซึ้ง เห็นได้ยาก เป็นอณู ดังนี้"



17
หน้า55
นรก เพราะไม่รู้ ปฏิจจสมุปบาท ร้อนยิ่งกว่านรกไหนหมด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นรกชื่อว่ามหาปริฬาหะ มีอยู่.

ในนรกนั้น บุคคลยังเห็นรูปอย่างใด อย่างหนึ่งได้ ด้วยจักษุ แต่...
    ได้เห็นรูปที่ไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าปราถนาเลย
    เห็นรูปที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าใคร่เลย
    เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจอย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าพอใจเลย

ในนรกนั้น บุคคลยังฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยโสตะ แต่...    ได้ฟังเสียงที่ไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว ไม่ได้ฟังเสียงที่น่าปรารถนาเลย
   ฟังเสียงที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่ได้ฟังเสียงที่น่าใคร่เลย
   ฟังเสียงที่ไม่น่าพอใจอย่างเดียว ไม่ได้ฟังเสียงที่น่าพอใจเลย

(ในนรกนั้น ฆานะ ชิวหา โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ พระองค์ก็ตรัสทำนองเดียวกัน)

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ความเร่าร้อนนั้น ใหญ่หลวงหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ความเร่าร้อนนั้น ใหญ่หลวงนักหนอ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! มีไหมพระเจ้าข้า ความร้อนอื่นที่ใหญ่หลวงกว่า น่ากลัวกว่า กว่าความร้อน นี้?

ดูก่อนภิกษุ! มีอยู่ ความเร่าร้อนอื่น ที่ใหญ่หลวงกว่า น่ากลัวกว่ากว่าความร้อนนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ความร้อนอื่นที่ใหญ่หลวงกว่า น่ากลัวกว่า ความร้อนนี้เป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง (ไม่รู้อริยสัจสี่)
   ว่า ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ
   ว่า เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ
   ว่า ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ
   ว่า ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ
(ไม่รู้อริยสัจสี่ ร้อนกว่านรก)

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมยินดียิ่งในสังขารทั้งหลาย อันเป็นไปพร้อมเพื่อชาติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัสอุปายาส

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ครั้นยินดียิ่งในสังขารทั้งหลาย เช่นนั้นแล้ว ย่อมปรุงแต่งซึ่ง สังขารทั้งหลาย อันเป็นไปพร้อม เพื่อชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัส อุปายาส

สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ครั้นปรุงแต่งซึ่งสังขารทั้งหลายเช่นนั้นแล้ว ย่อมเร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนแห่ง ชาติ (ความเกิด) บ้าง ย่อมเร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนแห่ง ชราบ้าง
ย่อมเร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนแห่ง มรณะบ้าง
ย่อมเร่าร้อนเพราะความเร่าร้อนแห่ง โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสบ้าง

เรากล่าวว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่พ้นจากชาติชรามรณะ โสกะปริ-เทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย คือไม่พ้นจากทุกข์ ดังนี้

(ในทางกลับกัน หากรู้อริยสัจสี่ เรากล่าวว่า "สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมหลุดพ้น จากชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย คือหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้)



18
หน้า59
ผู้แสดงธรรมโดยหลักปฏิจจสมุปบาทเท่านั้น จึงชื่อว่า "เป็นธรรมกถึก"

ครั้งหนึ่ง ที่พระเชตวัน ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วทูลถามว่า"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่กล่าวๆกันว่า "ธรรมกถึก - ธรรมกถึก" ดังนี้  ภิกษุชื่อว่าเป็นธรรมกถึกด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอพระเจ้าข้า?" ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสตอบว่า

"ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความ เบื่อหน่าย เพื่อความคล้ายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่ง ชราและมรณะ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก ภิกษุนั้นว่า "ภิกษุธรรมกถึก" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุ! ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งชาติ.. แห่งภพ.. แห่งอุปาทาน.. แห่งตัณหา.. แห่งเวทนา.. แห่งผัสสะ.. แห่งสฬายตนะ.. แห่งนามรูป.. แห่งวิญญาณ.. แห่งสังขารทั้งหลาย.. แห่งอวิชชา อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ภิกษุธรรมกถึก" (สรุปรวบยอดแห่งสายปฏิจจ-เพื่อความลัดสั้น)

(สรุป-ภิกษุ ธรรมกถึก หมายถึง ภิกษุที่แสดงธรรมเพือความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับไม่เหลือ ใน 11 อาการ แห่งปฏิจจสมุปบาท)



19

หน้า61
ปฏิจจสมุปบาท ทำให้อยู่เหนือความมีและความไม่มีของสิ่งทั้งปวง


ชาณุสโสณิพรหมณ์ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลถามว่า

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! สิ่งทั้งปวง มีอยู่หรือหนอ?
ดูก่อนพราหมณ์! คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่ ดังนี้ นี้เป็นส่วนสุด ที่หนึ่ง

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! ก็สิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่หรือ?
ดูก่อนพราหมณ์! คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่าสิ่งทั้งปวงไม่มีอย่ ดังนี้ นี้เป็น ส่วนสุดที่สอง

ดูก่อนพรหมณ์! ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุด ทั้งสอง นั้น คือตถาคต ย่อมแสดงดังนี้ว่า "เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมี สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญ าณ ..ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ...เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ-โทมสัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้" ดังนี้.

พราหมณ์นั้น กล่าวสรรเสริญพระธรรมโอวาทนั้นแล้ว ประกาศตนเป็นผู้รับนับถือ พระพุทธ-ศาสนา จนตลอดชีวิต ดังนี้ แล.



20
หน้า62
ไม่มีผู้นั้น หรือผู้อื่น ในปฏิจจสมุปบาท
(ไม่มีผู้กระทำทั้งตนเองและผู้อื่น และไม่มีผู้เสวยผล)

ครั้งหนึ่ง ที่พระเชตวัน พราหมณ์คนหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วได้ทูลถามว่า 
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! ผู้นั้นกระทำ ผู้นั้นเสวย (ผล) ดังนั้นหรือพระเจ้าข้า?

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสตอบว่า

ดูก่อนพราหมณ์! คำกล่าวที่ยืนยันลงไป ด้วยทิฏฐิ ว่า
ผู้นั้นกระทำ ผู้นั้นเสวย (ผล) ดังนี้ นี้เป็นส่วนสุดที่หนึ่ง

ดูก่อนพราหมณ์! คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า
ผู้อื่นกระทำ ผู้อื่นเสวย (ผล) ดังนี้ นี้เป็นส่วนสุดที่สอง

ดูก่อนพราหมณ์! ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคต ย่อมแสดงดังนี้ว่า
"เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมี สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญ าณ ..ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ...เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ-โทมสัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้

พราหมณ์นั้น กล่าวสรรเสริญพระธรรมโอวาทนั้นแล้วประกาศตนเป็นอุบาสกผู้รับนับถือ พระพุทธศาสนา จนตลอดชีวิต ดังนี้ แล.



21
หน้า64
กายนี้ไม่ใช่ของใคร เป็นเพียงกระแสปฏิจจสมุปบาท

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! กายนี้ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย และทั้งไม่ใช่ของบุคคลเหล่าอื่น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! กรรมเก่า (กาย) นี้ อันเธอทั้งหลาย
(1) พึงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
(2) เป็นสิ่งที่ปัจจัย ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น
(3) เป็นสิ่งที่มีความ รู้สึกต่ออารมณ์ได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในกรณีของกายนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทำไว้ในใจ โดยแยบคาย เป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป 

ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ

เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ...ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ...เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นทั่นเทียว จึงมีความดับแห่ง สังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ...ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-โทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้" ดังนี้แล



22
หน้า65
ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมที่ทรงแสดง เพื่อไม่ให้รู้สึกว่ามีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
(เพื่อขจัดสัสสตทิฏฐิเป็นต้น)


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ ของ ภูตสัตว์ทั้งหลาย หรือว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่สัมภเวสีสัตว์ทั้งหลาย. อาหาร ๔ อย่างเป็นอย่างไรเล่า?
สี่อย่างคือ
(๑) กพฬีการาหาร ที่หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง
(๒) ผัสสะ
(๓) มโนสัญเจตนา
(๔) วิญญาณ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ ของ ภูตสัตว์ทั้งหลาย หรือว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่สัมภเวสีสัตว์ทั้งหลาย

ภิกษุโมลิยผัคคุนะ ได้ทูลถามขึ้นว่า 
............................................................................................................

1) "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่าย่อมกลืนกิน ซึ่งวิญญาณาหารพระเจ้าข้า?"
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสตอบว่า นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย เราย่อมไม่กล่าวว่า 'บุคคลย่อมกลืนกิน ดังนี้ ถ้าเราได้กล่าวว่า บุคคลย่อมกลืนกิน ดังนี้ นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหา ในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า ก็ใครเล่า ย่อมกลืนกิน (ซึ่งวิญญาณาหาร) พระเจ้าข้า? ดังนี้. ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้นเช่นนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! วิญญาณาหารย่อมมีเพื่ออะไรเล่าหนอ' ดังนี้แล้ว นั่นแหละ จึงจะเป็นปัญหา ที่ควรแก่ความเป็นปัญหา คำเฉลยที่ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า "วิญญาณาหาร ย่อมมีเพื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ ต่อไป เมื่อภูตะ (ความ เป็นภพ) นั้น มีอยู่ สฬายตนะ ย่อมมี เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ (การสัมผัส)" ดังนี้
............................................................................................................

2) "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่าย่อมสัมผัสพระเจ้าข้า?"
นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมสัมผัส" ดังนี้ ถ้าเรา ได้กล่าวว่า "บุคคล ย่อมสัมผัส" ดังนี้ นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมสัมผัส พระเจ้าข้า?" ดังนี้. ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า
"ผัสสะมีเพราะมีอะไร เป็นปัจจัยพระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหา ที่ควรแก่ความเป็นปัญหา. คำเฉลยที่ ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า "เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็น ปัจจัย จึงมีเวทนา (ความ รู้สึกต่ออารมณ์)" ดังนี้.
............................................................................................................

3) "
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่าย่อมรู้สึกต่ออารมณ์พระเจ้าข้า?"
นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมรู้สึกต่ออารมณ์" ดังนี้ ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคลย่อมรู้สึกต่ออารมณ์" ดังนี้ นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมรู้สึกต่ออารมณ์ พระเจ้าข้า?"ดังนี้. ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ถ้าผู้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า"เพราะมีอะไรเป็นปัจจัยจึงมีเวทนาพระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา. คำเฉลยที่ควร เฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า "เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา (ความอยาก)" ดังนี้.
............................................................................................................

3) "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่าย่อมอยากพระเจ้าข้า?"
นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย ย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมอยาก" ดังนี้
ถ้าเราได้ กล่าวว่า "บุคลลย่อมอยาก" ดังนี้ นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมอยาก พระเจ้าข้า?" ดังนี้. ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ถ้าผุ้ใดจะพึงถามเรา ผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า 
"เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีตัณหาพระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหา ที่ควรแก่ความเป็นปัญหา. คำเฉลยที่ควร เฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า "เพราะมี เวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน (ความยึดมั่น)" ดังนี้.
............................................................................................................


4) "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ใครเล่าย่อมยึดมั่นพระเจ้าข้า?"นั่นเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเป็นปัญหาเลย เราย่อมไม่กล่าวว่า "บุคคลย่อมยึดมั่น" ดังนี้ ถ้าเราได้กล่าวว่า "บุคคลย่อมยึดมั่น" ดังนี้ นั่นแหละ จึงจะเป็นปัญหาในข้อนี้ ที่ควรถามขึ้นว่า "ก็ใครเล่า ย่อมยึดมั่น พระเจ้าข้า?" ดังนี้ ก็เรามิได้กล่าวอย่างนั้น ถ้าผู้ใดจะพึงถามเราผู้มิได้กล่าวอย่างนั้น เช่นนี้ว่า 
"
เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทานพระเจ้าข้า?" ดังนี้แล้ว นั่นแหละจึงจะเป็นปัญหาที่ควรแก่ความเป็นปัญหา. คำเฉลยที่ ควรเฉลยในปัญหาข้อนั้น ย่อมมีว่า "เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็น ปัจจัย จึงมีภพ " ดังนี้ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริ เทวะ-ทุกขุโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้

ดูก่อนผัคคุนา!
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ (สฬายตนะ) นั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความ ดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส
อุปายาส ทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้

มายเหตุผู้รวบรวม : สูตรนี้ทั้งสูตร แสดงว่าไม่มีบุคคลที่กลืนกินวิญญาณาหาร ไม่มีบุคคลที่เป็นเจ้าของอายตนะ ไม่มีบุคคลที่กระทำผัสสะ ไม่มีบุคคลที่เสวยเวทนา ไม่มีบุคคลที่ อยากด้วยตัณหา ไม่มีบุคคลที่ยึดมั่นถือมั่น มีแต่ธรรมชาติที่เป็นปฏิจจ-สมุปปันนธรรม อย่างหนึ่งๆ เป็นปัจจัย สืบต่อแก่กันและกันเป็นสายไป เท่านั้น

.............................................................................................................................................

สรุป การตั้งคำถามผิด เรื่องวิญญาณอาหาร

1) คำถามที่ไม่ควรถาม : ก็ใครเล่าย่อมกลืนกินซึ่งวิญญาณาหาร พระเจ้าข้า?
    ควรถามว่า : วิญญาณาหาร ย่อมมี เพื่ออะไรเล่าหนอ
    คำเฉลย : วิญญาณาหาร ย่อมมีเพื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่
                  เมื่อภูตะ (ความเป็นภพ) มีอยู่ สฬายตนะ ย่อมมี
                  เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

2) คำถามที่ไม่ควรถาม : ก็ใครเล่าย่อมสัมผัสพระเจ้าข้า?"
    ควรถามว่า : ผัสสะมี เพราะมีอะไรเป็นปัจจัยพระเจ้าข้า?
    คำเฉลย : เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
                  เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา


3) คำถามที่ไม่ควรถาม : ก็ใครเล่าย่อมอยาก (ตัณหา) พระเจ้าข้า?
    ควรถามว่า : เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีตัณหาพระเจ้าข้า? 
  
  คำเฉลย : เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
                  เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

                  
4) คำถามที่ไม่ควรถาม : ก็ใครเล่าย่อมยึดมั่นพระเจ้าข้า?
    ควรถามว่า : เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทานพระเจ้าข้า? 
    คำเฉลย : เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
                  เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
                  เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
                  เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขุโทมนัส
                  อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
                  ความเกิดขึ้นพร้อม แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้



23

หน้า68
ปฏิจจสมุปบาท มีหลักว่า
"ไม่มีตนเอง
 ไม่มีผู้อื่น ที่ก่อสุขและทุกข์"


ครั้งหนึ่ง ที่พระเชตวัน ติมพรุกขปริพพาชก ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับแล้ว ได้ทูลถามว่า 

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
สุขและทุกข์ เป็นสิ่งที่ บุคคลทำเอง หรือพระเจ้าข้า
สุขและทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำให้ หรือพระเจ้าข้า
สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยและบุคคลอื่นกระทำให้ ด้วยหรือพระเจ้าข้า
สุขและทุกข์ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทำเอง หรือใครทำให้ ก็เกิดขึ้นได้ หรือพระเจ้าข้า

อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย ติมพรุกขะ!

ต. สุขและทุกข์ไม่มี หรือพระเจ้าข้า?
พ. มิใช่สุขและทุกข์ไม่มี ที่แท้สุขและทุกข์มีอยู่

ต. ถ้าอย่างนั้น พระโคดมผู้เจริญย่อมไม่รู้ไม่เห็นสุข และทุกข์กระมัง?
พ. เราจะไม่รู้ไม่เห็นสุขและสุกข์ ก็หามิได้ เราแลย่อมรู้ ย่อมเห็น ซึ่งสุขและทุกข์.

ต. เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า
สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ บุคคลกระทำเองหรือ
(ตนเองกระทำ)
ทรงตอบว่า อย่ากล่าวอย่างนั้นเลยติมพรุกขะ!

เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า
สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ บุคคลอื่นกระทำให้ หรือ
(บุคคลอื่นกระทำ)
ทรงตอบว่า อย่ากล่าวอย่างนั้นเลยติมพรุกขะ!

เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า
สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเองด้วยและบุคคลอื่นกระทำ(ตนเอง+บุคคลอื่น)
ทรงตอบว่า อย่ากล่าวอย่างนั้นเลยติมพรุกขะ!

เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า
สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ ไม่ใช่ทำเอง หรือใครทำให้ก็เกิดขึ้นได้ หรือ
(เกิดมาลอยๆ)
ทรงตอบว่า อย่ากลัวอย่างนั้นเลยติมพรุกขะ!

เมื่อข้า พระองค์ทูลถามว่า
สุขและทุกข์ ไม่มีหรือ

ทรงตอบว่า มิใช่สุขและทุกข์ไม่มี ที่แท้สุขและทุกข์มีอยู่ ดังนี้

ครั้นข้าพระองค์ทูลถามว่า
ถ้าอย่างนั้น พระโคดมผู้เจริญ ย่อมไม่รู้ไม่เห็นสุข และทุกข์ กระมัง?

ก็ยังทรงตอบว่า เราจะไม่รู้ไม่เห็นสุขและทุกข์ก็หามิได้ เราแลย่อมรู้ ย่อมเห็นซึ่งสุข และทุกข์ 

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ขอพระผู้มีพระภาคจงตรัสบอกซึ่ง สุขและทุกข์ และจงทรง แสดงซึ่ง สุขและทุกข์ แก่ข้าพระองค์เถิด

ดูก่อนติมพรุกขะ!
เมื่อบุคคลมีความสำคัญมั่นหมายมาแต่ต้นว่า "เวทนาก็อันนั้น บุคคลผู้เสวยเวทนา ก็คนนั้น" ดังนี้ไปเสียแล้ว แม้อย่างนี้เราก็ยังไม่กล่าวว่า"สุขและทุกข์เป็นสิ่งที่ บุคคลกระทำเอง" ดังนี้ (เพราะบุคคลคิดแต่แรกว่า เวทนาเป็นของบุคคลนั้น ทั้งที่ไม่ใช่ จึงคิดว่าสุขทุกข์ เป็นของคนนั้น)

ดูก่อนติมพรุกขะ! เมื่อบุคคลถูกเวทนาสะกิดให้มีความสำคัญมั่นหมายว่า"เวทนาก็อันอื่น บุคคลผู้ เสวยเวทนาก็คนอื่น" ดังนี้ไปเสียแล้ว แม้อย่างนี้เราก็ยังไม่กล่าวว่า" สุขและทุกข์ เป็นสิ่งที่ บุคคลอื่นกระทำให้" ดังนี้ (เมื่อบุคคลคิดว่าเวทนาเป็นของคนอื่น เราก็ไม่กล่าว ว่า สุข-ทุกข์เป็นของคนอื่นอยู่ดี)

ดูก่อนติมพรุกขะ!
ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคต ย่อมแสดงดังนี้ว่า "เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลายเพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมีวิญญ าณ ...ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะมีชาติเป็น ปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้

เพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่ง สังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ...ฯลฯ...ฯลฯ...ฯลฯ... เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับลง
แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้


ติมพรุกขปริพพาชกนั้น กล่าวสรรเสริญพระธรรมโอวาทนั้นแล้ว ประกาศตนเป็น อุบาสกผู้รับนับถือ พระพุทธศาสนา จนตลอดชีวิต ดังนี้ แล

(สุข-ทุกข์ เกิดขึ้นเพาะเหตุปัจจัย และดับลงเพราะเหตุปัจจัย
คือเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย...
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชา..)



24
หน้า81
เรื่องปฏิจจสมุปบาท คือเรื่องอริยสัจ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมดาอันเราแสดงแล้วว่า "เหล่านี้ คืออริยสัจทั้ง ๔ "ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลายข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เราเศร้าหมอง ไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้. ข้อนี้ เป็นธรรมที่เรากล่าวแล้วอย่างนี้ เราอาศัยซึ่งอะไรเล่า จึงกล่าวแล้วอย่างนี้?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! 
เพราะอาศัยซึ่งธาตุทั้งหลาย ๖ ประการ (อายตนะ๖) การก้าวลงสู่ครรภ์ย่อมมี 
เมื่อการก้าวลงสู่ครรภ์ มีอยู่ นามรูปย่อมมี
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ 
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราย่อมบัญญัติ
ว่า "นี้ เป็น ความทุกข์ดังนี้
ว่า "นี้ เป็น ทุกขสมุทัยดังนี้
ว่า “นี้ เป็น ทุกขนิโรธ” ดังนี้
ว่า นี้ เป็น ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา" ดังนี้ แก่สัตว์ผู้สามารถเสวยเวทนาอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า?
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ-โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ ความพลัดพราก จากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดแล้ว ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ ปัญจุปาทานขันธ์ ทั้งหลายเป็นทุกข์  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรากล่าวว่า ทุกข อริยสัจ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า?
เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ทั้งหลาย เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรากล่าวว่าทุกขสมุทยอริยสัจ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?  เพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือแห่ง อวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ? มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้นั่นเอง(มรรค๘) กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  นี้เรากล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  ธรรมอันเราแสดงแล้วว่า “เหล่านี้ คืออริยสัจทั้ง ๔ ” ดังนี้ เป็นธรรมอันสมณพราหมณ์ผู้รู้ทั้งหลาย ข่มขี่ไม่ได้ ทำให้เศร้าหมองไม่ได้ ติเตียนไม่ได้ คัดง้างไม่ได้ ดังนี้อันใด อันเรากล่าวแล้ว ข้อนั้นเรากล่าว หมายถึง ข้อความนี้ ดังนี้ แล.

 หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตว่า คนทั่วไปล้วนแต่เข้าใจว่า อริยสัจ กับ ปฏิจจสมุปบาท เป็นคนละเรื่องกัน โดยเนื้อแท้แล้ว เรื่องปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องอริยสัจ ที่สมบูรณ์ ดังที่พระองค์ตรัสไว้ ในสูตรนี้ โดยทรงแจก ทุกขสมุทัย และ ทุกขนิโรธ ออกไป อย่างละเอียด หรือสมบูรณ์ที่สุด โดยนัยแห่ง ปฏิจจสมุปบาท แทนที่จะกล่าวสั้น ๆ ว่าทุกขสมุทัยคือตัณหาสั้น ๆ ลุ่น ๆ ก็แสดงโดยละเอียดว่า ตัณหาคืออะไร เกิดมาจากอะไร และทำให้เกิดทุกข์ ได้อย่างไร ถึง ๑๑ ระยะ คือสายแห่ง ปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายสมุทยวาร สาย หนึ่ง แทนที่จะกล่าวสั้น ๆ ลุ่น ๆ ว่า ทุกขนิโรธ คือการดับ ตัณหาเสีย ก็ตรัสอย่างละเอียด ถึง ๑๑ ระยะ อย่างเดียวกัน เป็นปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า การตรัสอย่างนี้ เป็นอริยสัจ โดยสมบูรณ์. เราควรเรียกอริยสัจ ที่แสดงด้วย ปฏิจจสุมปบาทว่า “อริยสัจใหญ่” และเรียกอริยสัจที่รู้กันอยู่ทั่ว ๆ ไปว่า “อริยสัจเล็ก” กันแล้วกระมัง.



ต่อ ปฏิจจสมุปบาทชุด 2


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์