เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ธรรม ๕ ประการ ของภิกษุในธรรมวินัยนี้ เวสารัชชกรณสูตร สังกิตสูตร ผาสุวิหารสูตร สีลสูตร.. ภิกษุผู้ควรอยู่ป่า 2205
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒

เวสารัชชกรณสูตร ... ความแกล้วกล้าและความครั่นคร้าม
สังกิตสูตร ... ธรรมที่ทำให้น่ารังเกียจ
ผาสุวิหารสูตร ... ผาสุวิหารธรรม
สีลสูตร ... ศีลที่เป็นองค์ประกอบของภิกษุ
อเสขิยสูตร... ธรรมของพระอเสขะ
จาตุทิสสูตร... ธรรมของภิกษุผู้เที่ยวไปในทิศทั้งสี่
อรัญญสูตร... คุณสมบัติของภิกษุผู้ควรอยู่ในป่า

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๗

๑. เวสารัชชกรณสูตร
ความแกล้วกล้าและความครั่นคร้าม

            [๑๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้า แห่ง ภิกษุผู้เสขะ ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑ เป็นผู้มีศรัทธา
๒ เป็นผู้มีศีล
๓ เป็นพหูสูต
๔ เป็นผู้ปรารภความเพียร
๕ เป็นผู้มีปัญญา

ความครั่นคร้ามใด ย่อมมีแก่ผู้ไม่มีศรัทธา ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้มีศรัทธา ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ

ความครั่นคร้ามใด ย่อมมีแก่ผู้ทุศีล ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้มีศีล ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ

ความครั่นคร้ามใด ย่อมมีแก่ผู้ได้ศึกษาน้อย ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้เป็นพหูสูต ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ

ความครั่นคร้ามใด ย่อมมีแก่ผู้เกียจคร้าน ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้ปรารภ ความเพียร ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ

ความครั่นคร้ามใด ย่อมมีแก่ผู้มีปัญญาทราม ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้มีปัญญา ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ๕ ประการนี้แล

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๗-๑๒๘

๒. สังกิตสูตร
ธรรมที่ทำให้น่ารังเกียจ

            [๑๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม เป็นที่ รังเกียจสงสัยว่าเป็นปาปภิกษุ แม้จะเป็นผู้มีอกุปปธรรม

ธรรม ๕ ประการ เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑ ย่อมเป็นผู้คบหาหญิงแพศยา (หญิงสำส่อน)
๒ ย่อมเป็นผู้คบหาหญิงหม้าย
๓ ย่อมเป็นผู้คบหาสาวเทื้อ (สาวแก่)
๔ ย่อมเป็นผู้คบหาบัณเฑาะก์ (กระเทย)
๕ ย่อมเป็นผู้คบหาภิกษุณี

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่ รังเกียจสงสัยว่าเป็นปาปภิกษุ แม้จะเป็นผู้มีอกุปปธรรม

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๒

๕. ผาสุวิหารสูตร
ผาสุวิหารธรรม

            [๑๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑ เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
๒ เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
๓ เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
๔ มีศีลอันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหา และทิฐิไม่เกี่ยวเกาะ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและ ลับหลัง
๕ มีทิฐิอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออก ย่อมนำออกเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ แห่งผู้กระทำ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ๕ ประการนี้แล

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๔

๗. สีลสูตร
ศีลที่เป็นองค์ประกอบของภิกษุ

            [๑๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควร ของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ศีล
๒ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย สมาธิ
๓ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ปัญญา
๔ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย วิมุติ
๕ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย วิมุติญาณทัสนะ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควร ของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๔-๑๓๕

๘. อเสขิยสูตร
ธรรมของพระอเสขะ

            [๑๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควร ของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

ธรรม ๕ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑ เป็นผู้ประกอบด้วย ศีลขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ
๒ เป็นผู้ประกอบด้วย สมาธิขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ
๓ เป็นผู้ประกอบด้วย ปัญญาขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ
๔ เป็นผู้ประกอบด้วย วิมุติขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ
๕ เป็นผู้ประกอบด้วย วิมุติญาณทัสนขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของ คำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๕

๙. จาตุทิสสูตร
ธรรมของภิกษุผู้เที่ยวไปในทิศทั้งสี่

            [๑๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นผู้ควร เที่ยวไปได้ในทิศทั้ง ๔

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเป็นผู้มีศีล เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และ โคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด ด้วยดี ด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง

เป็นผู้สันโดษ ด้วยจีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ตามมี ตามได้

เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน

ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควร เที่ยวไปได้ในทิศทั้ง ๔

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๕-๑๓๖

๑๐. อรัญญสูตร
คุณสมบัติของภิกษุผู้ควรอยู่ในป่า

            [๑๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อเสพ อาศัย เสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าชัฏ

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑ เป็นผู้มีศีล เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและ โคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

๒ เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

๓ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อบำเพ็ญกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มี กำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย

๔ เป็นผู้ได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน

๕ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ควรเพื่อเสพอาศัย เสนาสนะ ที่สงัด คือ ป่าและป่าชัฏ


 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์