เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

กรรมปถวรรคที่ ๗ ว่าด้วยกรรมบถ 2199
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑

กรรมปถวรรคที่ ๗ ว่าด้วยกรรมบถ

ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน (กุศลกรรมบถ๑๐)
ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ /ตนเองเป็นผู้งดเว้น
   ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ /ตนเองเป็นผู้งดเว้น
   พอใจในการฆ่าสัตว์ /ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้น
   กล่าวสรรเสริญคุณการฆ่าสัตว์ /กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้น

๒ ตนเองเป็นผู้ลักทรัพย์/....
๓ ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม /...
๔ ตนเองเป็นผู้พูดเท็จ/...
๕ ตนเองเป็นผู้พูดส่อเสียด/...
๖ ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบ/...
๗ ตนเองเป็นผู้พูดคำเพ้อเจ้อ/...
๘ ตนเองเป็นผู้มากไปด้วยความโลภ/...
๙ ตนเองเป็นผู้มีจิตพยาบาท/...
๑๐ ตนเองเป็นผู้มีความเห็นผิด/...

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๘-๒๙๐

กรรมปถวรรคที่ ๗
ว่าด้วยกรรมบถ

            [๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิด ในนรก เหมือนถูกนำมาทิ้งลง
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑
ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ ๑
พอใจในการฆ่าสัตว์ ๑
กล่าวสรรเสริญคุณการฆ่าสัตว์ ๑

            บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์ เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑
ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑
พอใจในการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑
กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑

            บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมา ประดิษฐานไว้
--------------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๒๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดใน นรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
ตนเองเป็นผู้ลักทรัพย์ ๑
ชักชวนผู้อื่นในการลักทรัพย์ ๑
พอใจในการลักทรัพย์ ๑
กล่าวสรรเสริญคุณการลักทรัพย์ ๑


            บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์ เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้
ธรรม ๔ประการเป็นไฉน คือ
ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑
ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑
พอใจในการงดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑
กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑

            บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมา ประดิษฐานไว้
--------------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๒๖๖]
ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๑
ชักชวนผู้อื่นในการประพฤติผิดในกาม ๑
พอใจในการประพฤติผิดในกาม ๑
กล่าวสรรเสริญคุณการประพฤติผิดในกาม ๑ ฯลฯ


ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑
ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑
พอใจในการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑
กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑ ฯลฯ


--------------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๒๖๗]
ตนเองเป็นผู้พูดเท็จ ๑
ชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จ ๑
พอใจในการพูดเท็จ ๑
กล่าวสรรเสริญคุณการพูดเท็จ ๑ ฯลฯ

ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑
ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการพูดเท็จ ๑
พอใจในการงดเว้นจากการพูดเท็จ ๑
กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการพูดเท็จ ๑


--------------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๒๖๘]
ตนเองเป็นผู้พูดส่อเสียด ๑
ชักชวนผู้อื่นในการพูดส่อเสียด ๑
พอใจในการพูดส่อเสียด ๑
กล่าวสรรเสริญคุณการพูดส่อเสียด ๑ ฯลฯ

ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑
ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑
พอใจในการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑
กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ ฯลฯ


--------------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๒๖๙]
ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบ ๑
ชักชวนผู้อื่นในการพูดคำหยาบ ๑
พอใจในการพูดคำหยาบ ๑
กล่าวสรรเสริญคุณในการพูดคำหยาบ ๑ ฯลฯ

ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑
ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑
พอใจในการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑
กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ ฯลฯ


--------------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๒๗๐]
ตนเองเป็นผู้พูดคำเพ้อเจ้อ ๑
ชักชวนผู้อื่นในการพูดเพ้อเจ้อ ๑
พอใจในการพูดเพ้อเจ้อ ๑
กล่าวสรรเสริญคุณการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ฯลฯ

ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑
ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑
พอใจในการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ฯลฯ


--------------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๒๗๑]
ตนเองเป็นผู้มากไปด้วยความโลภ ๑
ชักชวนผู้อื่นในความโลภ ๑
พอใจในความโลภ ๑
กล่าวสรรเสริญคุณความโลภ ๑ ฯลฯ

ตนเองเป็นผู้ไม่มากไปด้วยความโลภ ๑
ชักชวนผู้อื่นในความไม่โลภ ๑
พอใจในความไม่โลภ ๑
กล่าวสรรเสริญคุณความไม่โลภ ๑ ฯลฯ


--------------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๒๗๒]
ตนเองเป็นผู้มีจิตพยาบาท ๑
ชักชวนผู้อื่นในความพยาบาท ๑
พอใจในความพยาบาท ๑
กล่าวสรรเสริญคุณความพยาบาท ๑ ฯลฯ

ตนเองเป็นผู้ไม่มีจิตพยาบาท ๑
ชักชวนผู้อื่นในความไม่พยาบาท ๑
พอใจในความไม่พยาบาท ๑
กล่าวสรรเสริญคุณความไม่พยาบาท ๑ ฯลฯ


--------------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๒๗๓]
ตนเองเป็นผู้มีความเห็นผิด ๑
ชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิด ๑
พอใจในความเห็นผิด ๑
กล่าวสรรเสริญคุณความเห็นผิด ๑ ฯลฯ

ตนเองเป็นผู้มีความเห็นชอบ ๑
ชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบ ๑
พอใจในความเห็นชอบ ๑
กล่าวสรรเสริญคุณความเห็นชอบ ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์ เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้


 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์