เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

การเจริญสติปัฏฐาน เจริญสัมมัปปธาน เจริญอิทธิบาทเพื่อรู้ราคะ เจริญธรรมเพื่อกำหนดรู้ราคะ เพื่อรู้ยิ่งโทสะ

2200
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑

การเจริญสติปัฏฐานเพื่อรู้ยิ่งราคะ
การเจริญสัมมัปปธานเพื่อรู้ยิ่งราคะ
การเจริญอิทธิบาทเพื่อรู้ยิ่งราคะ
การเจริญธรรมเพื่อกำหนดรู้ราคะ
การเจริญธรรมเพื่อรู้ยิ่งโทสะ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๙๑-๒๙๒

พระสูตรที่ไม่นับเป็นปัณณาสก์

การเจริญสติปัฏฐานเพื่อรู้ยิ่งราคะ

            [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการควรเจริญ เพื่อความ รู้ยิ่งราคะ ๔ ประการเป็นไฉน

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
-ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และ โทมนัสในโลกเสียได้ ๑
-ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา...๑
-ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต...๑
-ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และ โทมนัส ในโลกเสียได้ ๑

            ธรรม ๔ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ


การเจริญสัมมัปปธานเพื่อรู้ยิ่งราคะ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ๔ ประการเป็นไฉน

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
- ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้อกุศล บาปธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ๑
- ย่อมยังฉันทะให้เกิด... เพื่อละอกุศลบาปธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑
- ย่อมยังฉันทะให้เกิด ... เพื่อให้กุศลที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ๑
- ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความมียิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่ง กุศธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑

            ธรรม ๔ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ


การเจริญอิทธิบาทเพื่อรู้ยิ่งราคะ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ๔ ประการเป็นไฉน

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
-ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และปธานสังขาร ๑
-เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย วิริยสมาธิ...๑
-จิตตสมาธิ...๑
-วิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร ๑

            ธรรม ๔ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่งราคะ


การเจริญธรรมเพื่อกำหนดรู้ราคะ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการควรเจริญเพื่อกำหนดรู้ราคะ ฯลฯ

            ธรรม ๔ ประการนี้ ควรเจริญ
- เพื่อความสิ้นไปรอบ
- เพื่อละ
- เพื่อความสิ้น
- เพื่อความเสื่อม
- เพื่อคลายกำหนัด
- เพื่อดับ
- เพื่อสละ
- เพื่อสละคืน ซึ่งราคะ



การเจริญธรรมเพื่อรู้ยิ่งโทสะ

            ธรรม ๔ ประการนี้ ควรเจริญ
- เพื่อรู้ยิ่ง
- เพื่อกำหนดรู้
- เพื่อความสิ้นไปรอบ
- เพื่อละ
- เพื่อความสิ้น
- เพื่อความเสื่อม
- เพื่อคลายกำหนัด
- เพื่อดับ
- เพื่อสละ
- เพื่อสละคืน ซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะมทะ ปมาทะ

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์