เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

บุคคลผู้ประทุษร้ายบริษัท... บุคคลผู้ทำบริษัทให้งาม... บุคคลผู้ประกอบด้วยอธรรม... บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 2194
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑

โศภนวรรคที่ ๒ ว่าด้วยบริษัท

บุคคลผู้ประทุษร้ายบริษัท ๔ จำพวก
บุคคลผู้ทำบริษัทให้งาม ๔ จำพวก
บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม (เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ )
บุคคลผู้ประกอบด้วยอธรรม (เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก)
-------------------------------------------------------------------------------------------------------

(บุคคลเหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก)
๑ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น
๒ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งทีได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง
๓ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ
๔ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้ ฯลฯ

(บุคคลเหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์)
๑ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น
๒ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง
๓ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ
๔ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕๙-๒๖๑

โศภนวรรคที่ ๒
ว่าด้วยบริษัท

            [๒๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประทุษร้ายบริษัท ๔ จำพวก นี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
๑ ภิกษุผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ชื่อว่าประทุษร้ายบริษัท
๒ ภิกษุณีผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ชื่อว่าประทุษร้ายบริษัท
๓ อุบาสกผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ชื่อว่าประทุษร้ายบริษัท
๔ อุบาสิกาผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ชื่อว่าประทุษร้ายบริษัท

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล เป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ทำบริษัทให้งาม ๔ จำพวก นี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
๑ ภิกษุผู้มีศีล มีธรรมอันงาม ชื่อว่าผู้ทำบริษัทให้งาม
๒ ภิกษุณีผู้มีศีล มีธรรมอันงาม ชื่อว่าผู้ทำบริษัทให้งาม
๓ อุบาสกผู้มีศีล มีธรรมอันงาม ชื่อว่าผู้ทำบริษัทให้งาม
๔ อุบาสิกาผู้มีศีล มีธรรมอันงาม ชื่อว่าผู้ทำบริษัทให้งาม

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ทำบริษัทให้งาม ๔ จำพวกนี้แล

            [๒๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
๑ กายทุจริต
๒ วจีทุจริต
๓ มโนทุจริต
๔ มิจฉาทิฐิ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๔ ประการ นี้แล เหมือนถูก นำมาโยนลงในนรก

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูก เชิญมา ประดิษฐานไว้ในสวรรค์ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
๑ กายสุจริต
๒ วจีสุจริต
๓ มโนสุจริต
๔ สัมมาทิฐิ
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ นี้แล เหมือนถูก เชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์

            [๒๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูก นำมา โยนลงในนรก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
๑ กายทุจริต
๒ วจีทุจริต
๓ มโนทุจริต
๔ ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวที
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ นี้แล เหมือนถูก นำมา โยนลงในนรก

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูกเชิญมา ประดิษฐานไว้ในสวรรค์ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
๑ กายสุจริต
๒ วจีสุจริต
๓ มโนสุจริต
๔ ความเป็นคนกตัญญูกตเวที
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เหมือนถูกเชิญ มาประดิษฐานไว้ในสวรรค์

            [๒๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูก นำ มาโยนลงในนรก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
๑ เป็นคนฆ่าสัตว์
๒ ลักทรัพย์
๓ ประพฤติผิดในกาม
๔ พูดเท็จ ฯลฯ

(เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ )
๑ เป็นผู้งดเว้นจากการ ฆ่าสัตว์
๒ งดเว้นจากการลักทรัพย์
๓ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔ งดเว้นจากการพูดเท็จ

            [๒๑๕]
(เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก)
๑ เป็นผู้มีความเห็นผิด
๒ ดำริผิด
๓ เจรจาผิด
๔ ทำการงาน ผิด ฯลฯ

(เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ )
๑ เป็นผู้มีความเห็นชอบ
๒ ดำริชอบ
๓ เจรจาชอบ
๔ ทำการงาน ชอบ

            [๒๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูก นำมาโยนลงในนรก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
๑ เป็นผู้มีอาชีพผิด
๒ พยายามผิด
๓ ระลึกผิด
๔ ตั้งใจไว้ผิด
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เหมือนถูกนำมา โยนลงในนรก

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูกเชิญมา ประดิษฐานไว้ในสวรรค์ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
๑ เป็นผู้มีอาชีพชอบ
๒ พยายามชอบ
๓ ระลึกชอบ
๔ ตั้งใจไว้ชอบ
            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ นี้แล เหมือนถูก เชิญ มาประดิษฐานไว้ในสวรรค์

            [๒๑๗]
(เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก)
๑ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าได้เห็น
๒ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ ไม่ได้ฟังว่าได้ฟัง
๓ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าได้ทราบ
๔ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าได้รู้ ฯลฯ

(เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ )
๑ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น
๒ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง
๓ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าไม่ได้
๔ ทราบ ๑ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ไม่รู้ว่าไม่ได้รู้

            [๒๑๘]
(เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก)
๑ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น
๒ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งทีได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง
๓ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ
๔ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้ ฯลฯ

(เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ )
๑ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น
๒ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง
๓ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ
๔ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้

            [๒๑๙]
(เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก)
๑ เป็นคนไม่มีศรัทธา
๒ เป็นคนทุศีล
๓ ไม่มีหิริ
๔ ไม่มีโอตตัปปะ ฯลฯ

(เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ )
๑ เป็นคนมีศรัทธา
๒ เป็นคนมีศีล
๓ มีหิริ
๔ มีโอตตัปปะ

            [๒๒๐]
(เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก)
๑ เป็นคนไม่มีศรัทธา
๒ เป็นคนทุศีล
๓ เป็นคนเกียจคร้าน
๔ มีปัญญาทราม ฯลฯ

(เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ )
๑ เป็นคนมีศรัทธา
๒ เป็นคนมีศีล
๓ เป็นผู้ปรารภความเพียร
๔ มีปัญญา

 

 



 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์