พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๒-๒๖๔
ทุจริตวรรคที่ ๓
[๒๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน คือ
คำเท็จ ๑
คำส่อเสียด ๑
คำหยาบ ๑
คำเพ้อเจ้อ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต ๔ อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริต ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉนคือ
คำจริง ๑
คำไม่ส่อเสียด ๑
คำอ่อนหวาน ๑
คำพอประมาณ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริต ๔ อย่างนี้
[๒๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นผู้ไม่ ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัดถูกทำลาย เป็นคนมีโทษวิญญูชนติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
กายทุจริต ๑
วจีทุจริต ๑
มโนทุจริต ๑
มิจฉาทิฐิ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัด ถูกทำลาย เป็นคนมีโทษ วิญญูชนติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้ฉลาด เป็น สัปบุรุษ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกขจัดไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน และย่อมได้ประสบบุญเป็นอันมาก ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน คือ
กายสุจริต ๑
วจีสุจริต ๑
มโนสุจริต ๑
สัมมาทิฐิ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ แลเป็นผู้ฉลาด เป็นสัปบุรุษ ย่อมบริหารตน ไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลายไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน และย่อมได้ประสบบุญ เป็นอันมาก
[๒๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นผู้ ไม่ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัด ถูกทำลาย เป็นผู้มีโทษวิญญูชน ติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
กายทุจริต ๑
วจีทุจริต ๑
มโนทุจริต ๑
ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวที ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลเป็นผู้ไม่ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัด ถูกทำลายเป็นผู้มีโทษวิญญูชนติเตียน และย่อม ประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นคนฉลาด เป็น สัปบุรุษ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
กายสุจริต ๑
วจีสุจริต ๑
มโนสุจริต ๑
ความเป็นคนกตัญญูกตเวที ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นคนฉลาด เป็นสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีโทษวิญญูชนไม่ติเตียน และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
[๒๒๔]
ผู้ฆ่าสัตว์-ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
เป็นคนฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ ฯลฯ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ งดเว้นจากการประพฤติผิด ในกาม ๑ งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ ฯลฯ
[๒๒๕]
ผู้มีความเห็นผิด- ผู้มีความเห็นชอบ
เป็นผู้มีความเห็นผิด ๑ ดำริผิด ๑ ทำการงานผิด ๑ เจรจาผิด ๑ ฯลฯ
เป็นผู้มีความเห็นชอบ ๑ ดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ ฯลฯ
[๒๒๖]
อาชีพผิด-อาชีพชอบ
เป็นผู้มีอาชีพผิด ๑ พยายามผิด ๑ ระลึกผิด ๑ ตั้งใจไว้ผิด ๑ ฯลฯ
เป็นผู้มีอาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจไว้ชอบ ๑ ฯลฯ
[๒๒๗]
กล่าวตามที่เห็น-กล่าวตรงกันข้าม (๑)
เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าได้เห็น ๑ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟัง ว่าได้ฟัง ๑ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าได้ทราบ ๑ เป็นผู้มักกล่าว สิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าได้รู้ ๑ ฯลฯ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น ๑ เป็นผู้มักกล่าว สิ่งที่ไม่ได้ฟัง ว่าไม่ได้ฟัง ๑ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ ๑ เป็นผู้มัก กล่าว สิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้ ๑ ฯลฯ
[๒๒๘]
กล่าวตามที่เห็น-กล่าวตรงกันข้าม (๒)
เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น ๑ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้ ฟังว่าไม่ได้ฟัง ๑ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ ๑ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้ รู้ว่าไม่ได้รู้ ๑ ฯลฯ
เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น ๑ เป็นผู้มักกล่าวสิ่งที่ได้ ฟังว่าได้ฟัง ๑ มักกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ ๑ มักกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้ ๑ ฯลฯ
[๒๒๙]
ผู้มีศรัทธา-ผู้ไม่มีศรัทธา (๑)
เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ เป็นผู้ทุศีล ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ ฯลฯ
เป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีศีล ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ ฯลฯ
[๒๓๐]
ผู้มีศรัทธา-ผู้ไม่มีศรัทธา (๑)
เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ทุศีล ๑ เกียจคร้าน ๑ มีปัญญาทราม ๑ ฯลฯ
เป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีศีล ๑ ปรารภความเพียร ๑ มีปัญญา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้ฉลาด เป็นสัปบุรุษ ย่อมบริหารตน ไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เป็นผู้ไม่มีโทษวิญญูชน ไม่ติเตียน และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก
[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กวี ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
จินตกวี ๑ สุตกวี ๑ อรรถกวี ๑ ปฏิภาณกวี ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายกวี ๔ จำพวกนี้แล
|