เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

สัปบุรุษ สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ อสัปบุรุษ อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษ..คนดี คนชั่ว .. ผู้มีธรรมอันงาม-มีธรรมลามก 2193
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑

สัปบุรุษ-อสัปบุรุษ
(๑) ก็อสัปบุรุษเป็นไฉน เป็นฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกามพูดเท็จ ดื่มน้ำเมา
(๒) ก็อสัปบุรุษ ที่ยิ่งกว่า อสัปบุรุษเป็นไฉน ตนเองฆ่าสัตว์ และยังชักชวนคนอื่นให้ฆ่าสัตว์ด้วย

(๓) ก็สัปบุรุษเป็นไฉน ไม่ฆ่าสัตว์...
(๔) ก็สัปบุรุษผู้ยิ่งกว่าสัปบุรุษเป็นไฉน ตนไม่ฆ่าสัตว์ และยังชักชวนคนอื่นไม่ให้ฆ่าสัตว์ด้วย

(๕) ก็อสัปบุรุษเป็นไฉน เป็นผู้ไม่มี ศรัทธา ไม่มีโอตตัปปะมีสุตะน้อย เป็นคนเกียจคร้าน
(๖) ก็อสัปบุรุษ ที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษเป็นไฉน

(๗) ก็สัปบุรุษเป็นไฉน
(๘) ก็สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษเป็นไฉน

(๙) ก็อสัปบุรุษเป็นไฉน เป็นคนมักฆ่าสัตว์ มักลักทรัพย์ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ
(๑๐) ก็อสัปบุรุษ ที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษเป็นไฉน (ตนเองทำด้วย ชวนให้ผู้อื่นทำด้วย)

(๑๑) ก็สัปบุรุษเป็นไฉน
(๑๒) ก็สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษเป็นไฉน

(๑๓) ก็อสัปบุรุษเป็นไฉน เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นคนมักโลภ มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด
(๑๔) ก็อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษเป็นไฉน (ตนเองทำด้วย ชวนให้ผู้อื่นทำด้วย)

(๑๕) ก็สัปบุรุษเป็นไฉน
(๑๖) ก็สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษเป็นไฉน

(๑๗) ก็อสัปบุรุษเป็นไฉน เป็นผู้มีความเห็นผิด ดำริผิด วาจาผิด การงานผิด อาชีพผิด พยายามผิด
(๑๘) ก็อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษเป็นไฉน

(๑๙) ก็สัปบุรุษเป็นไฉน
(๒๐) ก็สัปบุรุษ ที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษเป็นไฉน

(๒๑) ก็อสัปบุรุษเป็นไฉน เป็นผู้มีความเห็นผิด ฯลฯ เป็นผู้มีความรู้ผิด เป็นผู้มีความพ้นผิด
(๒๒) ก็อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษเป็นไฉน

(๒๓) ก็สัปบุรุษเป็นไฉน
(๒๔) ก็สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษเป็นไฉน


คนดี-คนชั่ว
(๒๕) ก็คนชั่ว เป็นไฉน เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ฯลฯเป็นผู้มีความเห็นผิด
(๒๖) ก็คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่วเป็นไฉน

(๒๗) ก็คนดีเป็นไฉน เป็นผู้งดเว้น จากการ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ
(๒๘) ก็คนดีที่ยิ่งกว่าคนดีเป็นไฉน

(๒๙) ก็คนชั่ว เป็นไฉน มีความเห็นผิด ฯลฯมีความรู้ผิด มีความพ้นผิด
(๓๐) ก็คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่วเป็นไฉน

(๓๑) ก็คนดีเป็นไฉน มีความเห็นชอบ ฯลฯ มีความรู้ชอบ มีความพ้นชอบ
(๓๒) ก็คนดีที่ยิ่งกว่าคนดีเป็นไฉน


ผู้มีธรรมอันงาม ผู้มีธรรมอันลามก
(๓๓) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันลามกเป็นไฉน เป็นคน ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด
(๓๔) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันลามก ที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรม อันลามกเป็นไฉน

(๓๕) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันงามเป็นไฉน เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ
(๓๖) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันงาม ที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรม อันงาม เป็นไฉน

(๓๗) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันลามกเป็นไฉน เป็นผู้มี ความ เห็นผิด ฯลฯ มีความรู้ผิด
(๓๘) ก็บุคคลผู้มีธรรม อันลามกที่ยิ่งกว่าบุคคล ผู้มีธรรม อันลามกเป็นไฉน

(๓๙) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันงามเป็นไฉน เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ มีความรู้ชอบ มีความพ้นชอบ
(๔๐) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันงาม ที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรม อันงามเป็นไฉน

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔๙-๒๕๘

สัปปุริสวรรคที่ ๑

(อสัปบุรุษ อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษ สัปบุรุษ สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ)

            [๒๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัปบุรุษ อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่า อสัปบุรุษ สัปบุรุษ และสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๑) ก็อสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกามพูดเท็จ ดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นฐาน แห่งความ ประมาท บุคคลนี้เราเรียกว่าอสัปบุรุษ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๒) ก็อสัปบุรุษ ที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นคนฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์อีกด้วย ลักทรัพย์ ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการลักทรัพย์อีกด้วย ประพฤติผิดในกาม ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการประพฤติผิดในกามอีกด้วย พูดเท็จด้วยตนเอง และ ชักชวนผู้อื่น ในการพูดเท็จอีกด้วย ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นฐานแห่ง ความประมาท ด้วย ตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นฐาน แห่งความประมาท อีกด้วย บุคคลนี้เราเรียกว่า อสัปบุรุษยิ่งกว่าอสัปบุรุษ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๓) ก็สัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้น จาก การฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม งดเว้นจาก การ พูดเท็จ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นฐานแห่ง ความประมาท บุคคลนี้เราเรียกว่า สัปบุรุษ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๔) ก็สัปบุรุษผู้ยิ่งกว่าสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตัวเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจาก การ ฆ่าสัตว์อีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ให้งดเว้น จากการลักทรัพย์ อีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง และ ชักชวน ผู้อื่นให้งดเว้น จาก การประพฤติผิดในกามอีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากการพูดเท็จ ด้วยตนเอง และ ชักชวน ผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จอีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากการ ดื่มน้ำเมา คือสุรา และเมรัย อันเป็นฐานแห่งความประมาท ด้วยตนเอง และชักชวน ผู้อื่นให้งดเว้นจาก การดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาทอีกด้วย บุคคลนี้เราเรียกว่า สัปบุรุษ ที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ
-------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๒๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัปบุรุษ อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่า อสัปบุรุษ สัปบุรุษ และสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้วพระผู้มีพระภาค ได้ตรัส พระพุทธพจน์ นี้ว่า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย(๕) ก็อสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มี ศรัทธา ไม่มีโอตตัปปะมีสุตะน้อย เป็นคนเกียจคร้าน มีสติหลงลืม มีปัญญาทราม บุคคลนี้ เราเรียกว่า อสัปบุรุษ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๖) ก็อสัปบุรุษ ที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ ตนเองเป็นผู้ไม่มีศรัทธา และชักชวนผู้อื่นในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาอีกด้วย ตนเองไม่มีหิริ และชักชวนผู้อื่นในความเป็นผู้ไม่มีหิริอีกด้วย ตนเองเป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ และชักชวนผู้อื่น ในความเป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะอีกด้วย ตนเองมีสุตะน้อย และชักชวนผู้อื่น ในความเป็นผู้มีสุตะน้อยอีกด้วย ตนเองเป็นผู้เกียจคร้าน และชักชวนผู้อื่น ในความเป็นผู้ เกียจคร้านอีกด้วย ตนเองมีสติหลงลืมและชักชวนผู้อื่น ในความเป็นผู้มีสติหลงลืม อีกด้วย ตนเองมีปัญญาทราม และชักชวนผู้อื่น ในความเป็นผู้มีปัญญาทราม อีกด้วย บุคคลผู้นี้เราเรียกว่า อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๗) ก็สัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี ศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ เป็นพหูสูต ปรารภความเพียร มีสติ มีปัญญาบุคคลนี้เราเรียกว่า สัปบุรุษ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๘) ก็สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ในความถึงพร้อมด้วย ศรัทธา อีกด้วย เป็นผู้มีหิริด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเป็นผู้มีหิริอีกด้วย เป็นผู้มี โอตตัปปะ ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ในความเป็นผู้มีโอตตัปปะอีกด้วย เป็นผู้มีสติ ตั้งมั่นด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความมีสติตั้งมั่นอีกด้ว ยเป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยปัญญา ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความถึงพร้อม ด้วยปัญญาอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ

-------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๒๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัปบุรุษ อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษ สัปบุรุษ และสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๙) ก็อสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนมักฆ่าสัตว์ มักลักทรัพย์ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มักพูดคำส่อเสียด มักพูดคำหยาบ มักพูดคำเพ้อเจ้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่า อสัปบุรุษ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๑๐) ก็อสัปบุรุษ ที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์อีกด้วย เป็นผู้มัก ลักทรัพย์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์อีกด้วย เป็นผู้มักประพฤติผิด ในกาม ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกามอีกด้วยเป็นผู้มักกล่าวเท็จ ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้กล่าวเท็จด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้กล่าวเท็จ อีกด้วย เป็นผู้มักกล่าวคำส่อเสียดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้กล่าวคำส่อเสียด อีกด้วย เป็นผู้มักกล่าวคำหยาบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้กล่าวคำหยาบอีกด้วย เป็นผู้มักกล่าวคำเพ้อเจ้อด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้กล่าวคำเพ้อเจ้ออีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าอสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย(๑๑) ก็สัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจาก ปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากมุสาวาท งดเว้นจากปิสุณวาจา งดเว้นจากผรุสวาจา งดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าสัปบุรุษ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๑๒) ก็สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาตด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจาก ปาณาติบาต อีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากอทินนาทานด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ให้งดเว้นจาก อทินนาทาน อีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ให้งดเว้น จากกาเมสุมิจฉาจารอีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากมุสาวาท ด้วยตนเอง และชักชวน ผู้อื่นให้งดเว้นจากมุสาวาทอีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากปิสุณวาจา ด้วยตนเอง และชักชวน ผู้อื่นให้งดเว้นจากปิสุณวาจาอีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากผรุสวาจา ด้วยตนเอง และชักชวน ผู้อื่นให้งดเว้นจากผรุสวาจาอีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจาก สัมผัปปลาปะ ด้วยตนเอง และ ชักชวน ผู้อื่นให้งดเว้นจากสัมผัปปลาปะอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่า สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ

-------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๒๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัปบุรุษ อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษ สัปบุรุษ และสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๑๓) ก็อสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นคนมักโลภ มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่า อสัปบุรุษ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๑๔) ก็อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์อีกด้วย ฯลฯ เป็นคนมักโลภด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความมักโลภอีกด้วย เป็นผู้มีจิตพยาบาท ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ในความพยาบาทอีกด้วย เป็นผู้มีความเห็นผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิดอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าอสัปบุรุษ ที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย(๑๕) ก็สัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจาก ปาณาติบาต ฯลฯ เป็นผู้ไม่มักโลภ ไม่มีจิตพยาบาท มีความเห็นชอบดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าสัปบุรุษ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๑๖) ก็สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาตด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจาก ปาณาติบาต อีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้ไม่มักโลภด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความไม่โลภ อีกด้วย เป็นผู้ไม่มีจิตพยาบาทด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความไม่พยาบาทอีกด้วย เป็นผู้มีความเห็นชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ

-------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๒๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัปบุรุษ อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษ สัปบุรุษ และสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย(๑๗) ก็อสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิด มีความดำริผิด มีวาจาผิด มีการงานผิด มีอาชีพผิด มีความพยายามผิด ตั้งสติผิด ตั้งใจมั่นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าอสัปบุรุษ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๑๘) ก็อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิดอีกด้วย เป็นผู้มีความดำริผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความดำริผิดอีกด้วย เป็นผู้มีวาจาผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในวาจาผิดอีกด้วย เป็นผู้มีการงานผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการงานผิดอีกด้วย เป็นผู้มีอาชีพผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในอาชีพผิดอีกด้วย เป็นผู้มีความพยายามผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความพยายามผิดอีกด้วย เป็นผู้ตั้งสติผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการตั้งสติผิดอีกด้วย เป็นผู้ตั้งใจมั่นผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการตั้งใจมั่นผิดอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าอสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๑๙) ก็สัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความ เห็นชอบ มีความดำริชอบ มีวาจาชอบ มีการงานชอบ มีอาชีพชอบ มีความพยายามชอบ ตั้งสติชอบ ตั้งใจมั่นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าสัปบุรุษ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๒๐) ก็สัปบุรุษ ที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบอีกด้วย เป็นผู้มีความดำริชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความดำริชอบอีกด้วย เป็นผู้มีวาจาชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในวาจาชอบอีกด้วย เป็นผู้มีการงานชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการงานชอบอีกด้วย เป็นผู้มีอาชีพชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในอาชีพชอบอีกด้วย เป็นผู้มีความพยายามชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความพยายามชอบอีกด้วย เป็นผู้ตั้งสติชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการตั้งสติชอบอีกด้วย เป็นผู้ตั้งใจมั่นด้วยตนเองและชักชวนผู้อื่นในความตั้งใจมั่นอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ

-------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๒๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัปบุรุษ อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษ สัปบุรุษ และสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๒๑) ก็อสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิด ฯลฯ เป็นผู้มีความรู้ผิด เป็นผู้มีความพ้นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่า อสัปบุรุษ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๒๒) ก็อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิดอีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้มีความรู้ผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความรู้ผิดอีกด้วย เป็นผู้มีความพ้นผิด ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความพ้นผิดอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรา เรียกว่า อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๒๓) ก็สัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความ เห็นชอบ ฯลฯ เป็นผู้มีความรู้ชอบ เป็นผู้มีความพ้นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เราเรียกสัปบุรุษ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๒๔) ก็สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบอีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้มี ความรู้ชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความรู้ชอบอีกด้วย เป็นผู้มีความ พ้นชอบ ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความพ้นชอบอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรา เรียกว่าสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ

-------------------------------------------------------------------------------------------------

คนชั่ว- คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว... คนดี-คนดียิ่งกว่าคนดี

            [๒๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงคนชั่ว คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่วคนดี และ คนดีที่ยิ่งกว่าคนดี แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๒๕) ก็คนชั่ว เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ฯลฯเป็นผู้มีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าคนชั่ว

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๒๖) ก็คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่วเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์อีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้มีความ เห็นผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิดอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เราเรียกว่า คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๒๗) ก็คนดีเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้น จากการ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าคนดี

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๒๘) ก็คนดีที่ยิ่งกว่าคนดีเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์อีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้มีความเห็นชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าคนดีที่ยิ่งกว่าคนดี
-------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๒๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงคนชั่ว คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่วคนดี และ คนดีที่ยิ่งกว่าคนดี แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๒๙) ก็คนชั่ว เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความเห็นผิด ฯลฯมีความรู้ผิด มีความพ้นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าคนชั่ว

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๓๐) ก็คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่วเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิดอีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้มี ความรู้ผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ในความรู้ผิดอีกด้วยเป็นผู้มีความพ้นผิด ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความพ้นผิดอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรา เรียกว่า คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๓๑) ก็คนดีเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีความ เห็นชอบ ฯลฯ มีความรู้ชอบ มีความพ้นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าคนดี

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๓๒) ก็คนดีที่ยิ่งกว่าคนดีเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบอีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้มีความรู้ชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความรู้ชอบอีกด้วย เป็นผู้มีความพ้น ชอบ ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความพ้นชอบอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เราเรียกว่าคนดีที่ยิ่งกว่าคนดี

-------------------------------------------------------------------------------------------------

ผู้มีธรรมลามก- ผู้มีธรรมลามกที่ยิ่งกว่า.. ผู้มีธรรมอันงาม- ผู้มีธรรมอันงามที่ยิ่งกว่า

            [๒๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลผู้มีธรรมอันลามก บุคคลผู้มีธรรม อันลามก ที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันลามก บุคคลผู้มีธรรมอันงาม และบุคคลผู้มีธรรม อันงามที่ยิ่งกว่า บุคคลผู้มีธรรมอันงาม แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๓๓) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันลามกเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นคน ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่า ผู้มีธรรมอันลามก

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๓๔) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันลามก ที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรม อันลามกเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่น ในฆ่าสัตว์อีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้มีความเห็นผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิด อีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าผู้มีธรรมอันลามกที่ยิ่งกว่า บุคคลผู้มีธรรม อันลามก

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๓๕) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันงามเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ บุคคลนี้เราเรียกว่าผู้มีธรรม อันงาม

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๓๖) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันงาม ที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรม อันงาม เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และ ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์อีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้มีความเห็นชอบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่าผู้มีธรรม อันงามที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันงาม

-------------------------------------------------------------------------------------------------

            [๒๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลผู้มีธรรมอันลามก บุคคลผู้มีธรรม อันลามก ที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันลามก บุคคลผู้มีธรรมอันงาม และบุคคลผู้มีธรรม อันงาม ที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันงาม แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๓๗) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันลามกเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มี ความ เห็นผิด ฯลฯ มีความรู้ผิด มีความพ้นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่า ผู้มีธรรมอันลามก

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๓๘) ก็บุคคลผู้มีธรรม อันลามกที่ยิ่งกว่าบุคคล ผู้มีธรรม อันลามกเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิดด้วยตนเอง และชักชวน ผู้อื่น ในความเห็นผิดอีกด้วย ฯลฯ เป็นผู้มีความรู้ผิดด้วยตนเอง และชักชวน ผู้อื่น ในความรู้ผิดอีกด้วย เป็นผู้มีความพ้นผิดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในความ พ้นผิด อีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่า ผู้มีธรรมอันลามกที่ยิ่งกว่า บุคคลผู้มี ธรรมอันลามก

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๓๙) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันงามเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ มีความรู้ชอบ มีความพ้นชอบ บุคคลนี้เราเรียกว่า ผู้มีธรรม อันงาม

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย (๔๐) ก็บุคคลผู้มีธรรมอันงาม ที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรม อันงามเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ตนเองเป็นผู้มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่น ในความเห็นชอบอีกด้วย ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีความรู้ชอบ และชักชวนผู้อื่นในความรู้ชอบ อีกด้วย ตนเองเป็นผู้มีความพ้นชอบ และชักชวนผู้อื่นในความพ้นชอบอีกด้วย บุคคลนี้ เราเรียกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันงาม ที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมอันงาม


 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์