เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

เวรภยสูตรที่ ๒ ผู้ระงับภัยเวร ๕ ได้พยากรณ์ตนเองได้ ลิจฉวีสูตร ผู้ประกอบธรรม ๔ ประการเป็นโสดาบัน 2114

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙

เวรภยสูตรที่ ๒ ผู้ระงับภัยเวร ๕ ได้พยากรณ์ตนเองได้
อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเอง ได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัยอบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความ ไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

ลิจฉวีสูตร ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน
อริยสาวก ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นผู้ ประกอบด้วย อายุทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของ มนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยวรรณะ ทั้งที่เป็น ทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยสุขทั้ง ที่เป็น ทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยยศทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ ประกอบด้วยความ เป็นใหญ่ ทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๘๖

เวรภยสูตรที่ ๒
ผู้ระงับภัยเวร ๕ ได้พยากรณ์ตนเองได้

             [๑๕๗๙] สาวัตถีนิทาน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภัยเวร ๕ ประการนี้ ของอริยสาวกสงบระงับแล้ว อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ เหล่านี้ และ ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วย ปัญญา

              เมื่อนั้นอริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเอง ได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัยอบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความ ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๘๖-๓๘๗

ลิจฉวีสูตร
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน

             [๑๕๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้น มหาอำมาตย์ของเจ้าลิจฉวี ชื่อนันทกะเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะมหาอำมาตย์ ของเจ้าลิจฉวี ชื่อนันทกะว่า

             [๑๕๘๑] ดูกรนันทกะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นพระ โสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน?

              อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ...ในพระสงฆ์ ... ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ... เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูกรนันทกะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า

             [๑๕๘๒] ดูกรนันทกะ ก็แลอริยสาวก ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เป็นผู้ ประกอบด้วย อายุทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยวรรณะ ทั้งที่เป็น ทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยสุขทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยยศทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยความ เป็นใหญ่ ทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ดูกรนันทกะ ก็เราได้ฟังแต่สมณะ หรือ พราหมณ์อื่น จึงกล่าวเรื่องนั้น หามิได้ความจริง เรารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง จึงกล่าวเรื่องนั้น

             [๑๕๘๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว บุรุษคนหนึ่งได้กล่าวกะ มหาอำมาตย์ ของเจ้าลิจฉวีชื่อ นันทกะว่า ถึงเวลาอาบน้ำแล้ว ท่านผู้เจริญ นันทกะ มหาอำมาตย์ กล่าวว่าดูกรพนาย บัดนี้ยังไม่ต้องการ อาบน้ำภายนอก ต้องการจักอาบน้ำ ภายใน คือ ความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์