เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

เทวดาเข้าเฝ้ากล่าวธรรม ๗ ประการ นิททสะ ๗ ประการ ตรัสแก่พระสารีบุตร และพระอานนท์ 1961
 


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัปปมาทสูตร (เทวดาเข้าเฝ้ากล่าวธรรม ๗ ประการ-1)
๒. หิรีมาสูตร (เทวดาเข้าเฝ้ากล่าวธรรม ๗ ประการ-2)
๓. สุวจสูตรที่ ๑ (เทวดาเข้าเฝ้ากล่าวธรรม ๗ ประการ-3)
๔. สุวจสูตร ที่ ๒ (เทวดาเข้าเฝ้ากล่าวธรรม ๗ ประการ-4)

๕. สขสูตรที่ ๑ (ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ-1)
๖. สขสูตรที่ ๒ (ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ-2)
๗. ปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๑ (ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ-3)
๘. ปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๒ (พระสารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ-4)
๙. วสสูตรที่ ๑ (ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ-5)
๑๐. วสสูตรที่ ๒ (พระสารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ-6)

๑๑. นิททสสูตร ที่ ๑ (วัตถุแห่งนิททสะ ๗ ประการ ตรัสแก่พระสารีบุตร)
๑๒. นิททสสูตรที่ ๒ (วัตถุแห่งนิททสะ ๗ ประการ ตรัสแก่พระอานนท์)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๑-๓๒

เทวตาวรรคที่ ๔
อัปปมาทสูตร
(เทวดาเข้าเฝ้ากล่าวธรรม ๗ ประการ-1)

             [๒๙] ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดาตนหนึ่งมีผิวพรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า

             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ๑ ความเป็นผู้เคารพในธรรม ๑ ความเป็นผู้เคารพในสงฆ์ ๑ ความเป็นผู้เคารพในสิกขา ๑ ความเป็นผู้เคารพในสมาธิ ๑ ความเป็นผู้เคารพในความไม่ประมาท ๑ ความเป็นผู้เคารพในปฏิสันถาร ๑ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ

             เทวดานั้นกราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น เทวดานั้น ทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง ครั้นล่วงราตรีนั้นไป พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไป เทวดาตนหนึ่งมีผิวพรรณ งาม ยังวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้ สว่างไสว แล้วเข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

             ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
๗ ประการเป็นไฉ
นคือ

๑.ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา
๒.ความเป็นผู้เคารพในธรรม
๓.ความเป็นผู้เคารพในสงฆ์
๔.ความเป็นผู้เคารพในสิกขา
๕.ความเป็นผู้เคารพในสมาธิ
๖.ความเป็นผู้เคารพในความไม่ประมาท
๗.ความเป็นผู้เคารพ ในปฏิสันถาร

              ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม แก่ภิกษุ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ไหว้เรา กระทำประทักษิณ แล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง

             ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในธรรม มีความเคารพอย่าง แรงกล้าในสงฆ์ มีความเคารพในสมาธิ มีความเพียร มีความเคารพอย่างแรงกล้า ใน สิกขา มีความเคารพในความไม่ประมาท มีความเคารพในปฏิสันถาร เป็นผู้ไม่ควรเพื่อ ความเสื่อม ย่อมมีในที่ใกล้นิพพานทีเดียว

จบสูตรที่ ๑

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๒

หิรีมาสูตร
(เทวดาเข้าเฝ้ากล่าวธรรม ๗ ประการ-2)

             [๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดาตนหนึ่ง มีผิวพรรณงาม ยังวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสวแล้ว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ไหว้เรา แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่า

             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม แก่ภิกษุ
๗ ประการเ
ป็นไฉน คือ

๑.ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา
๒.ความเป็นผู้เคารพ ในธรรม
๓.ความเป็นผู้เคารพในสงฆ์
๔.ความเป็นผู้เคารพในสิกขา
๕.ความเป็นผู้เคารพ ในสมาธิ
๖.ความเป็นผู้เคารพในหิริ
๗.ความเป็นผู้เคารพในโอตตัปปะ

             ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไป เพื่อความไม่เสื่อมแก่ ภิกษุ เทวดานั้น ครั้นกล่าว ดังนี้แล้ว ไหว้เรา กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง

             ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในธรรม มี ความเคารพ อย่างแรงกล้าในสงฆ์ มีความเคารพในสมาธิ มี ความเพียร มีความเคารพอย่างแรงกล้า ในสิกขา ถึงพร้อม ด้วยหิริและโอตตัปปะ มีความเคารพ ยำเกรง เป็นผู้ไม่ควร เพื่อความ เสื่อม ย่อมมีในที่ใกล้นิพพานทีเดียว

จบสูตรที่ ๒

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๓

สุวจสูตรที่ ๑
(เทวดาเข้าเฝ้ากล่าวธรรม ๗ ประการ- 3)

             [๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดาตนหนึ่ง ฯลฯ ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
๗ ประการเป็นไฉน คือ
๑. ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา
๒. ความเป็นผู้เคารพในธรรม
๓. ความเป็นผู้เคารพในสงฆ์
๔. ความเป็นผู้เคารพในสิกขา
๕. ความเป็นผู้เคารพในสมาธิ
๖. ความเป็นผู้ว่าง่าย
๗. ความเป็นผู้มีมิตรดีงาม

             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้น ครั้นกล่าวดังนี้แล้วไหว้เรา กระทำประทักษิณแล้ว หายไป ณ ที่นั้นเอง

             ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มีความเคารพในธรรม มี ความเคารพ อย่างแรงกล้าในสงฆ์ มีความเคารพในสมาธิ มี ความเพียร มีความเคารพอย่างแรงกล้า ในสิกขา มีมิตรดีงาม เป็นผู้ว่าง่าย มีความเคารพ ยำเกรง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความ เสื่อม ย่อมมีในที่ใกล้นิพพานทีเดียว

จบสูตรที่ ๓

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๓-๓๕

สุวจสูตรที่ ๒
(เทวดาเข้าเฝ้ากล่าวธรรม ๗ ประการ- 4)

             [๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดาตนหนึ่ง ฯลฯ ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ
๗ ประการเป็นไฉน คือ
๑. ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา
๒. ความเป็น ผู้เคารพในธรรม
๓. ความเป็นผู้เคารพในสงฆ์
๔. ความเป็นผู้เคารพในสิกขา
๕. ความเป็นผู้เคารพในสมาธิ
๖. ความเป็นผู้ว่าง่าย
๗. ความเป็นผู้มีมิตรดีงาม

              ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไป เพื่อความไม่เสื่อม แก่ภิกษุ

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้น ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ไหว้เรากระทำประทักษิณ แล้ว หายไป ณ ที่นั้นเอง

             เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ กราบทูลว่าข้าแต่ พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิต ที่พระองค์ตรัสแล้ว โดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ว่า

              ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ตนเองเป็นผู้มีความเคารพ ในพระศาสดา กล่าวสรรเสริญ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีความเคารพ ในพระศาสดา ให้เคารพในพระศาสดา และกล่าวสรรเสริญภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา ตาม ความเป็นจริง โดยกาลอันควรตนเอง เป็นผู้เคารพในธรรม ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีความ เคารพในสงฆ์ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีความเคารพ ในสมาธิ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีมิตรดีงาม กล่าวสรรเสริญ ความเป็น ผู้มีมิตรดีงาม ชักชวนภิกษุเหล่าอื่น ผู้ไม่มีมิตรดีงาม ให้เป็นผู้มีมิตรดีงาม และกล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่าอื่น ผู้มีมิตรดีงาม ตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร

             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิต ที่พระผู้มีพระภาค ตรัสแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่ง ภาษิตที่เรากล่าวแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ เป็นการดีแล

             ดูกรสารีบุตรภิกษุในธรรมวินัยนี้ ตนเองเป็นผู้มีความเคารพ ในพระศาสดา กล่าวสรรเสริญ ความเป็นผู้มีความเคารพ ในพระศาสดา ชักชวนภิกษุเหล่าอื่น ผู้ไม่มี ความเคารพในพระศาสดา ให้เป็นผู้มีความเคารพ ในพระศาสดา และกล่าว สรรเสริญ ภิกษุเหล่าอื่น ผู้มีความเคารพในพระศาสดา ตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ตนเอง เป็นผู้มีความเคารพในธรรม ฯลฯ

             ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสงฆ์ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ ตนเองเป็นผู้ มีมิตรดีงาม กล่าวสรรเสริญความเป็น ผู้มีมิตรดีงาม ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีมิตรดีงาม ให้เป็นผู้มีมิตรดีงาม และกล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่าอื่น ผู้มีมิตรดีงาม ตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร

             ดูกรสารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งภาษิต ที่เรากล่าวแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้

จบสูตรที่ ๔


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๕

สขสูตรที่ ๑
(ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ- 1)

             [๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงคบมิตรผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการ ๗ ประการเป็นไฉน คือ
๑.มิตรผู้ให้ของที่ให้ได้ยาก
๒.รับทำกิจที่ทำได้ยาก
๓.อดทนถ้อยคำที่อดใจได้ยาก
๔.บอกความลับของตน แก่เพื่อน
๕.ปิดความลับของเพื่อน
๖.ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ
๗.เมื่อเพื่อนสิ้นโภคสมบัติ ก็ไม่ดูหมิ่น


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงคบมิตร ผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล มิตรที่ดีงามย่อมให้ของที่ดีงามให้ได้ยาก รับทำกิจที่ทำได้ยาก อดทนถ้อยคำ หยาบคาย แม้ยากที่จะอดใจไว้ได้ บอกความลับของตนแก่เพื่อน ปิดบังความลับของเพื่อนไม่ละทิ้ง ในยามวิบัติ เมื่อเพื่อนสิ้นโภคสมบัติ ก็ไม่ดูหมิ่น ฐานะเหล่านี้มีอยู่ในบุคคลใด บุคคลนั้น เป็นมิตรแท้ ผู้ประสงค์ จะคบมิตร ก็ควรคบมิตรเช่นนั้น

จบสูตรที่ ๕


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๕-๓๖

สขสูตรที่ ๒
(ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ- 2)

             [๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ควรเสพ ควรคบ เป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่
ธรรม ๗ ประการ เป็นไฉน คือ
๑.ภิกษุเป็นที่รักใคร่ พอใจ
๒.เป็นที่เคารพ
๓.เป็นผู้ควรสรรเสริญ
๔.เป็นผู้ฉลาดพูด
๕.เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ
๖.พูดถ้อยคำลึกซึ้ง
๗.ไม่ชักนำในทางที่ไม่ดี

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย ธรรม ๗ ประการนี้แล ควรเสพ ควรคบ เป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่

             ภิกษุเป็นที่รักใคร่ พอใจ เป็นที่เคารพ ควรสรรเสริญ ฉลาดพูด อดทนต่อ ถ้อยคำ พูดถ้อยคำลึกซึ้ง ไม่ชักนำ ในทางที่ไม่ดี ฐานะเหล่านี้มีอยู่ในภิกษุใด ภิกษุนั้น เป็น มิตรแท้ มุ่งอนุเคราะห์แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ผู้ประสงค์ จะคบมิตร ควรคบมิตร เช่นนั้น แม้จะถูกขับไล่ ฯ

จบสูตรที่ ๖


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๖

ปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๑
(ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ- 3)

             [๓๕] ภิกษุผู้ประกอบด้วย ธรรม ๗ ประการ พึงกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา๔ * ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ต่อกาลไม่นานเลย ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑.เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดตามเป็นจริง ว่าจิตของเราหดหู่
๒.จิตท้อแท้ในภายใน ก็รู้ชัดตามเป็นจริงว่า จิตของเราท้อแท้ในภายใน หรือ
๓.จิตที่ฟุ้งซ่านไปภายนอก
ก็รู้ชัดตามเป็นจริงว่า จิตของเราฟุ้งซ่านไปภายนอก ๔.เวทนาย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ภิกษุนั้นทราบแล้ว ๕.สัญญาย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อมถึงการ ตั้งอยู่ไม่ได้ ภิกษุนั้นทราบแล้ว
๖.วิตกย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ภิกษุนั้นทราบแล้ว
๗.อนึ่ง นิมิตในธรรมเป็นที่สบาย ไม่เป็นที่สบาย เลว ประณีต ดำขาว และเป็นปฏิภาคกัน อันภิกษุนั้นเรียนดีแล้ว มนสิการดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้วแทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล พึงกระทำให้แจ้ง ซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ต่อกาลไม่นานเลย

* ปฏิสัมภิทา ๔ คือแตกฉานทางปัญญา

จบสูตรที่ ๗


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๗

ปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๒
(พระสารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ- 4)

             [๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตร ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมกระทำ ให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ สารีบุตรในธรรมวินัยนี้
๑.เมื่อจิตหดหู่ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า จิตของเราหดหู่
๒.จิตท้อแท้ ในภายใน ก็รู้ชัดตามเป็นจริง ว่าจิตของเราท้อแท้ ในภายใน หรือ
๓.จิตที่ฟุ้งซ่านไป ภายนอก
ก็รู้ชัดตามเป็นจริง ว่าจิตของเรา ฟุ้งซ่านไปภายนอก ๔.เวทนาย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ สารีบุตรทราบแล้ว ๕.สัญญาย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ สารีบุตร ทราบแล้ว ๖.วิตกย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้สารีบุตรทราบ แล้ว ๗.จิตในธรรมเป็นที่สบาย ไม่สบาย เลว ประณีต ดำ ขาว และเป็นปฏิภาคกัน อันสารีบุตร เรียนดีแล้ว มนสิการดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้วแทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมกระทำให้ แจ้ง ซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่

จบสูตรที่ ๘


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๗

วสสูตรที่ ๑
(ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ- 5)

             [๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมยังจิต ให้เป็นไปในอำนาจได้ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑.เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ
๒.ฉลาดในการเข้าสมาธิ
๓.ฉลาดในการตั้งอยู่ แห่งสมาธิ
๔.ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ
๕.ฉลาดในความพร้อมมูล แห่งสมาธิ
๖.ฉลาดรู้ ในอารมณ์แห่งสมาธิ
๗.ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ


              ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมยังจิตให้เป็น ไป ในอำนาจได้ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต

จบสูตรที่ ๙

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๘

วสสูตรที่ ๒
(พระสารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ- 6)

             [๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมยัง จิต ให้เป็นไปในอำนาจได้ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
๑.ฉลาดในสมาธิ
๒.ฉลาดในการ เข้าสมาธิ
๓.ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ
๔.ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ
๕.ฉลาดใน ความพร้อมมูลแห่งสมาธิ
๖.ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ
๗.ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ


              ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมยังจิต ให้เป็นไปในอำนาจได้ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต

จบสูตรที่ ๑๐


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๘-๔๐

นิททสสูตรที่ ๑
(วัตถุแห่งนิททสะ ๗ ประการ ตรัสแก่พระสารีบุตร)

             [๓๙] ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไป บิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านคิดว่า เราจะเที่ยวไป บิณฑบาตในพระนคร สาวัตถี ก็ยังเช้านัก อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปยังอารามของ พวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเถิด

             ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร เข้าไปยังอารามของพวก อัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัยกับ พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก ถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ก็สมัยนั้นพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก กำลัง นั่งประชุมสนทนากันว่า

             ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านผู้ใดผู้หนึ่ง ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปี ควรจะเรียกว่าภิกษุผู้ นิททสะ* ท่านพระสารีบุตรไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำกล่าว ของพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากที่นั่งหลีกไป ด้วยตั้งใจว่า เราจะรู้ ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตร เที่ยวไปบิณฑบาตใน พระนครสาวัตถีแล้ว กลับจากบิณฑบาต ในเวลาปัจฉาภัต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
* นิททสะ แปลว่า ไม่ใช่สิบ เป็นลัทธิชนิดหนึ่งของพวกอัญญเดียรถีย์

             ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เวลา เช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ข้าพระองค์ คิดว่า เราจะเที่ยวไปบิณฑบาต ในพระนครสาวัตถี ก็ยังเช้านัก อย่ากระนั้นเลย เราควร เข้า ไปยังอาราม ของพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกลำดับนั้น

             ข้าพระองค์เข้าไปยังอาราม ของพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชก ได้สนทนา ปราศรัยกับ พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ก็สมัยนั้น พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก กำลังนั่งประชุม สนทนากันว่า

             ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านผู้ใดผู้หนึ่ง ประพฤติพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปี ควรเรียกว่า ภิกษุผู้นิททสะ แต่ข้าพระองค์ไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำกล่าว ของพวก อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะ หลีกไป ด้วยตั้งใจว่า เราจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาค

             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจหรือหนอ เพื่อทรงบัญญัติภิกษุผู้นิททสะ ด้วยเหตุเพียงการนับพรรษาอย่างเดียว ในธรรมวินัยนี้

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร จะไม่มีใครๆ อาจเพื่อบัญญัติ ภิกษุผู้ นิททสะ ด้วยเหตุเพียง นับพรรษาอย่างเดียว ในธรรมวินัยนี้ ดูกรสารีบุตร วัตถุแห่ง นิททสะ ๗ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ประกาศแล้ว ๗ ประการ เป็นไฉน

             ดูกรสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้
     ๑. เป็นผู้มีฉันทะกล้า ในการสมาทานสิกขา และมีความรักอย่างลึกซึ้ง ในการสมาทานสิกขาต่อไป
     ๒. มีฉันทะกล้าในการฟังธรรม และมีความรักอย่างลึกซึ้งในการฟังธรรมต่อไป
     ๓.มีฉันทะกล้า ในการกำจัดความอยาก และมีความรักอย่างลึกซึ้ง ในการกำจัดความ อยากต่อไป
     ๔. มีฉันทะกล้า ในการหลีก ออกเร้น และมีความรักอย่างลึกซึ้งในการหลีกออกเร้น ต่อไป
     ๕. มีฉันทะกล้าในการ ปรารภ ความเพียร และมีความรักอย่างลึกซึ้ง ในการปรารภ ความเพียร ต่อไป
     ๖. มีฉันทะ กล้าในสติ เครื่องรักษาตัว และมีความรักอย่างลึกซึ้ง ในสติเครื่องรักษา ตัวต่อไป
     ๗. มีฉันทะกล้าในการแทงตลอดด้วยทิฐิ และมีความรักอย่างลึกซึ้ง ในการแทง ตลอดด้วยทิฐิต่อไป

             ดูกรสารีบุตร วัตถุแห่งนิททสะ ๗ ประการนี้แล เรากระทำให้แจ้ง ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ประกาศแล้ว

             ดูกรสารีบุตร ภิกษุผู้ประกอบด้วยวัตถุแห่งนิททสะ ๗ ประการ นี้แล ถ้าประพฤติ พรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์ ครบ ๑๒ ปี ก็ควรจะเรียกได้ว่า ภิกษุผู้นิททสะ ถ้าประพฤติ พรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบ ๒๔ ปี ก็ดี ... ๓๖ ปีก็ดี ...๔๘ ปีก็ดี ก็ควรจะเรียกได้ว่า ภิกษุผู้นิททสะ

จบสูตรที่ ๑๑

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๐-๔๒

นิททสสูตรที่ ๒
(วัตถุแห่งนิททสะ ๗ ประการ ตรัสแก่พระอานนท์)

             [๔๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้วถือบาตร และจีวรเข้าไปบิณฑบาต ยัง พระนครโกสัมพี

             ครั้งนั้นท่านคิดว่า เราจะเที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครโกสัมพี ก็ยังเช้านัก อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปยังอาราม ของพวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเถิด ลำดับนั้น แล ท่านพระอานนท์เข้าไปยังอาราม ของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัย กับ พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก

             ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ก็สมัยนั้น พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก กำลังนั่งประชุมสนทนากันว่า ท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ท่านผู้ใดผู้หนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปี ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้นิททสะ ท่านพระอานนท์ ไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำกล่าวของ พวกอัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเหล่านั้น

             ครั้นแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยตั้งใจว่า เราจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่ง คำกล่าว ของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ในสำนัก ของพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้เที่ยวบิณฑบาต ในพระนครโกสัมพี กลับจากบิณฑบาต ในเวลา ปัจฉาภัต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง

             ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้วถือบาตร และจีวรเข้าไปบิณฑบาต ยังพระนครโกสัมพี ข้าพระองค์ได้คิดว่า เราจะเที่ยวไปบิณฑบาต ในพระนครโกสัมพี ก็ยังเช้านัก อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปยังอาราม ของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก

             ลำดับนั้น ข้าพระองค์เข้าไปยังอาราม ของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัย กับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึก ถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ก็สมัยนั้น พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก กำลังนั่ง ประชุมสนทนากันว่า

             ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านผู้ใดผู้หนึ่งประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปี ควรเรียกว่าภิกษุผู้นิททสะ แต่ข้าพระองค์ไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำกล่าวของพวก อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น

             ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยคิดว่า เราจะรู้ทั่วถึงเนื้อความของภาษิตนี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจหรือหนอ เพื่อทรง บัญญัติ ภิกษุผู้นิททสะ ด้วยเหตุเพียงนับพรรษาอย่างเดียว ในธรรมวินัยนี้

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ไม่มีใครๆ อาจเพื่อบัญญัติภิกษุผู้นิททสะ ด้วยเหตุเพียงนับพรรษาอย่างเดียว ในธรรมวินัยนี้ ดูกรอานนท์ วัตถุแห่งนิททสะ ๗ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ประกาศแล้ว ๗ ประการเป็นไฉน

             ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑.เป็นผู้มีศรัทธา
๒.มีหิริ
๓.มีโอตตัปปะ
๔.เป็นพหูสูต
๕.ปรารภความเพียร
๖.มีสติ
๗.มีปัญญา


             ดูกรอานนท์ วัตถุแห่งนิททสะ ๗ ประการนี้แล เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ประกาศแล้ว

             ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ประกอบด้วยวัตถุแห่งนิททสะ ๗ ประการนี้แล ถ้าประพฤติ พรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปีก็ดี ควรจะเรียกได้ว่า ภิกษุผู้นิททสะ ถ้าประพฤติ พรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบ ๒๔ ปีก็ดี ... ๓๖ ปีก็ดี ... ๔๘ ปีก็ดี ก็ควรจะเรียกได้ว่า ภิกษุผู้นิททสะ

จบสูตรที่ ๑๒



 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์