เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

อปริหานิยธรรม ๗ ประการ หลายนัยยะ 1960
 


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
1. สารันททสูตร (อปริหานิยธรรม ๗ ประการ)
     1.ชาววัชชีประชุมกันเนืองนิตย์
     2.เมื่อประชุมก็จัก พร้อมเพรียงกันประชุม
     3.ชาววัชชีไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่บัญญัติ จักไม่ถอนสิ่งที่ท่านบัญญัติ
     4. ชาววัชชีจัก สักการะเคารพนับถือบูชาท่านวัชชีผู้ใหญ่ทั้งหลาย
     5. ชาววัชชี จักไม่ข่มขืนบังคับปกครองหญิงในสกุล
     6. ชาววัชชียังคงสักการะเคารพนับถือ บูชาเจติยสถานของชาววัชชี

2. วัสสการสูตร (พระเจ้าอชาตศัตรูจะยกทัพไปย่ำยีชาววัชชี)
พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่า อชาตศัตรูเวเทหีบุตร ทรงพระประสงค์ จะยาตราทัพไปย่ำยี ชาววัชชี ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า เราจักตัด เจ้าวัชชี ผู้มีฤทธิ์ มีอานุภาพมากอย่างนี้ๆ ให้ขาดสูญ ให้พินาศ ให้ถึงความย่อยยับ ดับสูญ

3. ภิกขุสูตร (อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อีกนัยยะหนึ่ง)

4. กรรมสูตร (อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อีกนัยยะหนึ่ง)

5. สัทธิยสูตร (อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อีกนัยยะหนึ่ง)

6. โพธิยสูตร (อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อีกนัยยะหนึ่ง)
ภิกษุจักเจริญ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

7. สัญญาสูตร (อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อีกนัยยะหนึ่ง)
อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา วิราคสัญญา นิโรธสัญญา

8. เสขสูตร (อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อีกนัยยะหนึ่ง)

9. หานิสูตร (ธรรม ๗ ประการเป็นไปเพื่อความเสื่อม และไม่เสื่อมแก่อุบาสก)

10. วิปัตติสัมภวสูตร (ความเจริญ และความเจริญ ของอุบาสก ๗ ประการ)
     1.อุบาสกไม่ขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ
     2.ไม่ละเลยการฟังสัทธรรม
     3.ศึกษาในอธิศีล
     4.มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งที่เป็นเถระ ผู้ใหม่ ทั้งปานกลาง
     5.ไม่ตั้งจิตติเตียน ไม่คอยเพ่งโทษฟังธรรม
     6.ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้
     7.กระทำสักการะก่อนในเขตบุญในศาสนานี้



เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


1
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘-๑๙

วัชชีวรรคที่ ๓
สารันททสูตร

            [๑๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สารันททเจดีย์ ใกล้พระนคร เวสาลี ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีหลายพระองค์ด้วยกัน พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

            ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า ดูกรลิจฉวีทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการ แก่ท่านทั้งหลายท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ ให้ดี เราจักกล่าว เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

            ดูกรลิจฉวีทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ

           (๑) ชาววัชชี จักหมั่น ประชุมกันเนืองนิตย์ เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญ ได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลยเพียงนั้น

           (๒) ชาววัชชี เมื่อประชุมก็จัก พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อม เพรียงกัน เลิกประชุม และจักพร้อมเพรียง ช่วยกันทำกิจ ที่ควรทำ เพียงใด ชาววัชชี พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความ เสื่อมเลย เพียงนั้น

            (๓) ชาววัชชี จักไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่บัญญัติ จักไม่ถอนสิ่งที่ท่านบัญญัติ ไว้แล้ว ประพฤติมั่นอยู่ในธรรมของชาววัชชีครั้งโบราณ ตามที่ท่านบัญญัติไว้ เพียงใด ชาววัชชี พึงหวังความเจริญได้แน่นอนไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น

           (๔) ชาววัชชีจัก สักการะเคารพนับถือบูชาท่านวัชชีผู้ใหญ่ทั้งหลาย และจัก สำคัญถ้อยคำแห่งท่านเหล่านั้น ว่าเป็นถ้อยคำอันตนพึงเชื่อฟังเพียงใด ชาววัชชี พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวัง ความเสื่อมเลย เพียงนั้น

           (๕)  ชาววัชชี จักไม่ข่มขืนบังคับปกครองหญิงในสกุล เพียงใดชาววัชชี พึงหวัง ความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น

           (๖)  ชาววัชชียังคงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจติยสถานของชาววัชชี ทั้ง ภายในและภายนอก และไม่ลบล้างพลีกรรม อันชอบธรรม ซึ่งเคยให้ เคยทำแก่ เจติยสถาน เหล่านั้นเพียงใด ชาววัชชีพึงหวัง ความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น

           (๗)   ชาววัชชีจักถวายความอารักขา ความคุ้มครอง ป้องกันโดยชอบธรรมใน พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นอย่างดี ด้วยหวังว่า ไฉนพระอรหันต์ทั้งหลาย ที่ยังไม่มาพึงมา สู่แว่นแคว้น และที่มาแล้ว พึงอยู่เป็นสุขเพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น

            ดูกรลิจฉวีทั้งหลายอปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ จักตั้งอยู่ในชาววัชชี และ ชาววัชชี ยังปรากฏอยู่ใน อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ เพียงใด ชาววัชชี พึงหวัง ความเจริญ ได้แน่นอนไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น

จบสูตรที่ ๑


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙-๒๓

วัสสการสูตร

            [๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนคร ราชคฤห์ ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่า อชาตศัตรูเวเทหีบุตร ทรงพระประสงค์ จะยาตราทัพไปย่ำยีชาววัชชี ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า เราจักตัด เจ้าวัชชี ผู้มีฤทธิ์ มีอานุภาพมากอย่างนี้ๆ ให้ขาดสูญ ให้พินาศ ให้ถึงความย่อยยับ ดับสูญ

            ครั้งนั้นแล พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่า อชาตศัตรูเวเทหีบุตร จึงตรัสเรียก วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ มาปรึกษาว่า

            ดูกรท่านพราหมณ์ เชิญท่านเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ จงถวาย บังคมพระบาท ของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า ตามคำสั่งของเรา จงทูลถามถึง ความเป็นผู้มีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า ทรงมีกำลัง ความอยู่ สำราญว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่า อชาตศัตรูเวเทหีบุตร ทรงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า ทรงทูลถาม ถึงความเป็นผู้ มีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า ทรงมีกำลังความอยู่สำราญ และจง กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหีบุตร ทรงพระประสงค์ จะยาตราทัพไปย่ำยีชาววัชชีท้าวเธอตรัสอย่างนี้ว่า เราจัก ตัด เจ้าวัชชี ผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ๆ ให้ขาดสูญให้พินาศ ให้ถึงความย่อยยับ ดับสูญ ดังนี้

            ท่านจงสำเหนียกพระดำรัส ที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์นั้นไว้ให้ดี แล้วมา บอก แก่เรา พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย จะไม่ตรัสพระดำรัส ที่คลาดเคลื่อนจากความจริง เลย วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์ แห่งแคว้นมคธ รับพระราชโองการ พระเจ้าแผ่นดิน มคธ พระนามว่า อชาตศัตรูเวเทหีบุตรแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

            ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรูเวเทหีบุตร ทรงถวายบังคมพระบาทของพระโคดมผู้เจริญ ด้วยเศียรเกล้า ทรงกราบทูลถามถึง ความเป็นผู้มีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบางกระปรี้กระเปร่า ทรงมีกำลัง ความอยู่ สำราญ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระเจ้าแผ่นดินมคธ ทรงพระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหีบุตร ทรงมีพระประสงค์จะยาตราทัพไปย่ำยีชาววัชชี ท้าวเธอตรัสอย่างนี้ว่า จักตัดเจ้าวัชชี ผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ๆ ให้ขาดสูญ ให้พินาศ ให้ถึงความย่อยยับ ดับสูญ

            ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์ ยืนถวายงานพัดพระผู้มีพระภาค อยู่ ณ เบื้อง พระปฤษฎางค์ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เธอได้สดับมาแล้วดังนี้หรือว่า ชาววัชชี หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พระอานนท์กราบทูล ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ชาววัชชีหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พระเจ้าข้า

            พ. ดูกรอานนท์ ชาววัชชีจักประชุมกันเนืองนิตย์ เพียงใด ชาววัชชีพึงหวัง ความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ดูกรอานนท์เธอสดับมาแล้ว ดังนี้ หรือว่าชาววัชชีเมื่อประชุม ก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุม ก็พร้อมเพรียง กัน เลิกประชุม พร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่ควรทำ

            อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ชาววัชชีเมื่อประชุม ก็พร้อมเพรียง กัน ประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียง ช่วยกัน ทำกิจที่ควรทำ พระเจ้าข้า

            พ. ดูกรอานนท์ ชาววัชชีเมื่อประชุม ก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุม ก็พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่ควรทำ เพียงใดชาววัชชี พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ดูกรอานนท์ เธอได้ สดับมาแล้วดังนี้หรือว่า ชาววัชชีไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่ได้บัญญัติ ไม่เพิกถอนสิ่ง ที่บัญญัติแล้ว ประพฤติมั่นอยู่ในธรรม ของชาววัชชีตามที่ได้บัญญัติไว้ในครั้งก่อน

            อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ชาววัชชีไม่บัญญัติ สิ่งที่ยัง ไม่ได้บัญญัติ ไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ประพฤติมั่นอยู่ในธรรมของชาววัชชี ตามที่ได้บัญญัติไว้ในครั้งก่อน พระเจ้าข้า

            พ. ดูกรอานนท์ ชาววัชชีจักไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่ได้บัญญัติ ไม่เพิกถอนสิ่งที่ บัญญัติไว้แล้ว จักประพฤติมั่นอยู่ในธรรมของชาววัชชี ตามที่บัญญัติไว้ในครั้งก่อนๆ เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ดูกรอานนท์ เธอได้สดับมาดังนี้หรือว่า ชาววัชชียังสักการะเคารพ นับถือ บูชา ชาววัชชีผู้ใหญ่ และย่อมสำคัญถ้อยคำแห่งท่านเหล่านั้น ว่าเป็นถ้อยคำอันตนพึงเชื่อฟัง

            อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ชาววัชชียังสักการะเคารพ นับถือ บูชา ชาววัชชีผู้ใหญ่ และย่อมสำคัญถ้อยคำ แห่งท่านเหล่านั้นว่าเป็นถ้อยคำ อันตนพึงเชื่อฟัง พระเจ้าข้า

            พ. ดูกรอานนท์ ชาววัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ชาววัชชีผู้ใหญ่ และจัก สำคัญถ้อยคำแห่งท่านเหล่านั้น ว่าเป็นถ้อยคำ อันตนพึงเชื่อฟังเพียงใด ชาววัชชี พึงหวัง ความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ดูกรอานนท์ เธอได้สดับมาดังนี้หรือว่า ชาววัชชี ไม่ข่มขืนบังคับปกครองหญิงในสกุล

            อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ชาววัชชี ไม่ข่มขืนบังคับ ปกครองหญิงในสกุล พระเจ้าข้า

            พ. ดูกรอานนท์ ชาววัชชี ไม่ข่มขืนบังคับปกครองหญิงในสกุล เพียงใดชาววัชชี พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ดูกรอานนท์ เธอได้ สดับมาดังนี้หรือว่า ชาววัชชียังคงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจติยสถาน ของชาววัชชี ทั้งภายในภายนอก และไม่ลบล้างพลีกรรม อันชอบธรรมซึ่งเคยให้ เคยทำแก่ เจติยสถาน เหล่านั้น

            อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ชาววัชชียังคงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา เจติยสถานของชาววัชชี ทั้งภายในภายนอก และไม่ลบล้างพลีกรรม อันชอบธรรม ซึ่งเคยให้เคยทำแก่เจติยสถานเหล่านั้น พระเจ้าข้า

            พ. ดูกรอานนท์ ชาววัชชีจักสักการะ เคารพ นับถือ บูชา เจติยสถานของชาว วัชชี ทั้งภายในภายนอก และจักไม่ลบล้างพลีกรรม อันชอบธรรมซึ่งเคยให้ เคยทำ แก่เจติยสถานเหล่านั้น เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวัง ความเสื่อมเลย เพียงนั้น ดูกรอานนท์ เธอได้สดับมาดังนี้ หรือว่าชาววัชชีถวายความ อารักขา ความคุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรม ในพระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นอย่างดี ด้วยหวังว่า ไฉนพระอรหันต์ทั้งหลาย ที่ยังไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้น และที่มาแล้ว พึงอยู่เป็นสุข

            อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ชาววัชชี จักถวายความ อารักขา ความคุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรม ในพระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นอย่างดี ด้วยหวังว่า ไฉนพระอรหันต์ทั้งหลาย ที่ยังไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้นและที่มา แล้วพึง อยู่เป็นสุข พระเจ้าข้า

            พ. ดูกรอานนท์ ชาววัชชี จักถวายความอารักขา ความคุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรม ในพระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นอย่างดี ด้วยหวังว่า ไฉนพระอรหันต์ทั้งหลาย ที่ยังไม่มา จงมาสู่แว่นแคว้น ที่มาแล้วพึงอยู่เป็นสุข เพียงใด ชาววัชชี พึงหวังความ เจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น

            ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสกะวัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ แห่งแคว้น มคธว่า ดูกรพราหมณ์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ ณ สารันททเจดีย์ ใกล้พระนครเวสาลี ณ ที่นั้น เราได้แสดง อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ แก่เจ้าวัชชีว่า ดูกรพราหมณ์ อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ จักตั้งอยู่ในชาววัชชี และชาววัชชี จักปรากฏอยู่ในอปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ เพียงใด ชาววัชชี พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น

            วัสสการพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ชาววัชชีประกอบด้วย อปริหานิยธรรม แม้แต่ละอย่าง ก็พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย จะกล่าวไยถึงชาววัชชีผู้ประกอบด้วยอปริหานิยธรรม ๗ ประการเล่า ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ อนึ่ง ชาววัชชี อันพระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่าอชาตศัตรูเวเทหีบุตร ไม่พึง ทำการต่อยุทธด้วยได้ เว้นเสียจากการเกลี้ยกล่อม เว้นเสียจากการยุยงให้แตกกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ผู้มีกิจมาก มีกรณีย์มาก ขอกราบลาไป ณ บัดนี้

            พ. ดูกรพราหมณ์ บัดนี้ท่านจงรู้กาลที่ควรเถิด

            ลำดับนั้น วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์ แห่งแคว้นมคธชื่นชมอนุโมทนา ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป

จบสูตรที่ ๒

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๓-๒๔

ภิกขุสูตร
(อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อีกนัยยะหนึ่ง)

            [๒๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนคร ราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง อปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงใส่ใจไว้ให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย หมั่นประชุมกัน เนืองนิตย์ เพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อม เลย เพียงนั้น

            ภิกษุทั้งหลายเมื่อประชุม ก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุม ก็พร้อมเพรียงกันเลิก จักพร้อมเพรียงช่วยกัน ทำกิจที่สงฆ์พึงทำ เพียงใด พึงหวัง ความเจริญ ได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลยเพียงนั้น

            ภิกษุทั้งหลายจักไม่บัญญัติ สิ่งที่ยังไม่ได้บัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติ แล้ว จักประพฤติมั่นในสิกขาบท ตามที่บัญญัติไว้แล้ว เพียงใด พึงหวังความเจริญ ได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น

            ภิกษุทั้งหลายยังสักการะ เคารพนับถือ บูชา ท่านผู้เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู บวชมานาน เป็นสังฆบิดรเป็นสังฆปริณายก และจักสำคัญถ้อยคำแห่งท่านเหล่านั้นว่า เป็นถ้อยคำอันตนพึงเชื่อฟัง เพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น

            ภิกษุทั้งหลายไม่ตกอยู่ในอำนาจตัณหาที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นเหตุให้เกิดในภพ ต่อไป เพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น

            ภิกษุทั้งหลาย จักพอใจอยู่ในเสนาสนะป่าเพียงใด พึงหวังความเจริญได้ แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น

            ภิกษุทั้งหลาย จักเข้าไปตั้งความระลึกถึงเฉพาะตนได้ว่า ไฉนหนอ เพื่อน พรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รัก ที่ยังไม่มา ขอจงมา และที่มาแล้วพึงอยู่เป็นสุข เพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ จักตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายจักปรากฏใน อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้เพียงใด ภิกษุทั้งหลาย พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลยเพียงนั้น

จบสูตรที่ ๓

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๔-๒๕

กรรมสูตร
(อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อีกนัยยะหนึ่ง )

            [๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง อปริหานิยธรรม ๗ ประการ แก่เธอ ทั้งหลาย ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุทั้งหลาย จักไม่ยินดีการงาน จักไม่ขวนขวาย ความยินดีการงาน เพียงใด

            ภิกษุทั้งหลาย ก็พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ภิกษุทั้งหลาย จักไม่ยินดีการคุย ฯลฯ จักไม่ยินดีความหลับ ฯลฯ จักไม่ยินดี การคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ฯลฯ จักไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก จักไม่ตกอยู่ในอำนาจ แห่งความปรารถนาลามก ฯลฯ จักไม่คบมิตรชั่ว จักไม่มีสหายชั่ว จักไม่มีเพื่อนชั่ว ฯลฯ จักไม่ถึงความท้อถอยเสีย ในระหว่างที่บรรลุคุณวิเศษ เพียงเล็กน้อยเพียงใด ภิกษุทั้งหลาย พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลยเพียงนั้น

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ จักตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายจักปรากฏอยู่ใน อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ เพียงใดภิกษุทั้งหลาย พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น

จบสูตรที่ ๔

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕

สัทธิยสูตร
(อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อีกนัยยะหนึ่ง)

            [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง อปริหานิยธรรม ๗ ประการ แก่เธอ ทั้งหลาย ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเป็นไฉนคือ ภิกษุทั้งหลาย จักเป็นผู้มีศรัทธาอยู่ เพียงใด ภิกษุทั้งหลาย ก็พึงหวังความเจริญ ได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้มีหิริ ฯลฯ จักเป็นผู้มีโอตตัปปะ ฯลฯ จักเป็นพหุสูต ฯลฯ จักปรารภความเพียร ฯลฯ จักเป็นผู้มีสติ ฯลฯ จักเป็นผู้มีปัญญา เพียงใด

            ภิกษุทั้งหลาย ก็พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ จักตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายจักปรากฏอยู่ใน อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ เพียงใด ภิกษุทั้งหลาย ก็พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น

จบสูตรที่ ๕


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖
....

            [๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการ แก่เธอ ทั้งหลาย ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเป็นไฉนคือ

            ภิกษุทั้งหลาย จักเจริญสติสัมโพชฌงค์ อยู่ เพียงใด ภิกษุทั้งหลาย ก็พึงหวัง ความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น

            ภิกษุทั้งหลาย จักเจริญ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ จักเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ จักเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ จักเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ จักเจริญสมาธิ สัมโพชฌงค์ ฯลฯ จักเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อยู่ เพียงใด ภิกษุทั้งหลาย ก็พึงหวัง ความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ จักตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายจักปรากฏอยู่ในอปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ เพียงใด ภิกษุทั้งหลาย ก็พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น

จบสูตรที่ ๖


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖-๒๗

สัญญาสูตร
(อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อีกนัยยะหนึ่ง)

            [๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง อปริหานิยธรรม ๗ ประการ แก่เธอ ทั้งหลาย ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ

            ภิกษุทั้งหลาย จักเจริญ อนิจจสัญญา อยู่เพียงใด ภิกษุทั้งหลาย ก็พึงหวัง ความเจริญ ได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น

            ภิกษุทั้งหลายจักเจริญ อนัตตสัญญา ฯลฯ จักเจริญ อสุภสัญญา ฯลฯ จักเจริญ อาทีนวสัญญา ฯลฯ จักเจริญ ปหานสัญญา ฯลฯ จักเจริญ วิราคสัญญา ฯลฯ จักเจริญ นิโรธสัญญา อยู่ เพียงใดภิกษุทั้งหลาย ก็พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวัง ความเสื่อมเลย เพียงนั้น

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ จักตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย จักปรากฏอยู่ในอปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ เพียงใด ภิกษุทั้งหลาย ก็พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ฯลฯ

จบสูตรที่ ๗

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๗

เสขสูตร
(อปริหานิยธรรม ๗ ประการ อีกนัยยะหนึ่ง)

            [๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่
ภิกษุผู้เสขะ
๗ ประการเป็นไฉน คือ
       ความเป็นผู้ชอบการงาน ๑
       ความเป็นผู้ชอบคุย ๑
       ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑
       ความเป็นผู้คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑
       ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑
       ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ๑
       กิจที่สงฆ์จะพึงทำมีอยู่ในสงฆ์ ภิกษุไม่สำเหนียกในกิจนั้น อย่างนี้ว่า ก็พระเถระ ผู้รัตตัญญู บวชมานาน เป็นผู้รับภาระ มีอยู่ในสงฆ์ ท่านเหล่านั้น จะรับผิดชอบด้วยกิจนี้ ดังนี้ ต้องขวนขวายด้วยตนเอง ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้ เสขะ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม แก่ภิกษุ ผู้เสขะ ๗ ประการเป็นไฉน คือ
       ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน ๑
       ความเป็นผู้ไม่ชอบคุย ๑
       ความเป็นผู้ไม่ชอบหลับ ๑
       ความเป็นผู้ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑
       ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑
       ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ๑
       กิจที่สงฆ์จะพึงทำมีอยู่ในสงฆ์ ภิกษุสำเหนียกในกิจนั้นอย่างนี้ว่า ก็พระเถระผู้รัต ตัญญูบวชมานาน เป็นผู้รับภาระ มีอยู่ในสงฆ์ ท่านเหล่านั้น จะรับผิดชอบด้วยกิจนั้นดังนี้ ไม่ต้องขวนขวายด้วยตนเอง ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ผู้เสขะ

จบสูตรที่ ๘

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๗-๒๘

หานิสูตร
(ธรรม ๗ ประการเป็นไปเพื่อความเสื่อม และไม่เสื่อมแก่อุบาสก)

            [๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ อุบาสก ๗ ประการเป็นไฉน คือ
      อุบาสกขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๑
       ละเลยการฟังธรรม ๑
       ไม่ศึกษาในอธิศีล ๑
       ไม่มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งที่ เป็นเถระ ทั้งเป็นผู้ใหม่ ทั้งปานกลาง ๑
       ตั้งจิตติเตียนคอยเพ่งโทษฟังธรรม ๑
       แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑
       ทำสักการะก่อนในเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่อุบาสก

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก
๗ ประการเป็นไฉน คือ
       อุบาสกไม่ขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๑
       ไม่ละเลยการฟังธรรม ๑
       ศึกษาในอธิศีล ๑
       มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งที่เป็นเถระ ทั้งเป็นผู้ใหม่ ทั้งปานกลาง ๑
       ไม่ตั้งจิตติเตียน ไม่คอยเพ่งโทษฟังธรรม ๑
       ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอก ๑
       กระทำสักการะก่อนในเขตบุญในศาสนานี้ ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม แก่ อุบาสก อุบาสกใดขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน ละเลยการฟัง อริยธรรม ไม่ศึกษา ในอธิศีล มีความไม่เลื่อมใสเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ในภิกษุทั้งหลาย ตั้งจิตติเตียน ปรารถนา ฟังสัทธรรม แสวงหาเขตบุญอื่นภายนอกศาสนานี้ และกระทำสักการะ ก่อน ในเขตบุญ ภายนอกศาสนานี้

            อุบาสกนั้นซ่องเสพธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม อันเราแสดงแล้ว ๗ ประการ นี้แล ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม อุบาสกใดไม่ขาดการเยี่ยม เยียนภิกษุผู้อบรมตน ไม่ละเลยการ ฟังอริยธรรม ศึกษาอยู่ ในอธิศีล มีความเลื่อมใสเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปใน ภิกษุทั้งหลาย ไม่ตั้งจิตติเตียนปรารถนาฟังสัทธรรม ไม่แสวงหาเขตบุญอื่น ภายนอก ศาสนานี้ และ กระทำสักการะก่อนในเขตบุญใน ศาสนานี้ อุบาสกนั้นซ่องเสพธรรม อันไม่เป็นที่ตั้งแห่ง ความเสื่อม อันเราแสดงดีแล้ว ๗ ประการนี้แล ย่อมไม่ เสื่อมจาก สัทธรรม

จบสูตรที่ ๙


---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๙-๓๐

วิปัตติสัมภวสูตร
(ความเจริญ และความเจริญ ของอุบาสก ๗ ประการ)

            [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิบัติของอุบาสก ๗ ประการนี้...สมบัติของ อุบาสก ๗ ประการนี้ ...ความเสื่อมของอุบาสก ๗ ประการนี้ ..ความเจริญของอุบาสก ๗ ประการ นี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ
       อุบาสกไม่ขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๑
       ไม่ละเลยการฟังสัทธรรม ๑
       ศึกษาในอธิศีล ๑
       มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งที่เป็นเถระ ผู้ใหม่ ทั้งปานกลาง ๑
       ไม่ตั้งจิตติเตียน ไม่คอยเพ่งโทษฟังธรรม ๑
       ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑
       กระทำสักการะก่อนในเขตบุญในศาสนานี้ ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเจริญของอุบาสก ๗ ประการนี้แล

            อุบาสกใด ขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ ผู้อบรมตน ละเลยการฟังอริยธรรม ไม่ศึกษาในอธิศีล มีความไม่เลื่อมใสเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปในภิกษุทั้งหลาย ตั้งจิตติเตียน ปรารถนาฟังสัทธรรม แสวงหาเขตบุญอื่นภายนอกศาสนานี้ และกระทำสักการะ ก่อนในเขตบุญภายนอกในศาสนานี้

            อุบาสกนั้นซ่องเสพ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม อันเราแสดงแล้ว ๗ ประการ นี้แล ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม อุบาสกใดไม่ขาดการเยี่ยม เยียนภิกษุผู้อบรมตน ไม่ละเลยการฟังอริยธรรม ศึกษาอยู่ใน อธิศีล มีความเลื่อมใสเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปใน ภิกษุทั้งหลาย ไม่ตั้งจิตติเตียนปรารถนาฟังสัทธรรม ไม่แสวงหาเขตบุญอื่น ภายนอก ศาสนานี้ และกระทำสักการะก่อนในเขตบุญใน ศาสนานี้ อุบาสกนั้นซ่องเสพ ธรรม อันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ เสื่อม อันเราแสดงดีแล้ว ๗ ประการนี้แล ย่อมไม่เสื่อม จากสัทธรรม

จบสูตรที่ ๑๐

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์