เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  1956
 



รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ตถาคตสูตรที่ ๑ (ผู้เจริญอริยมรรคน้อมไปในการสละ)
พระตถาคตบัณฑิตกล่าวว่าเป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ทั้งหลาย ฉันใด กุศลธรรมที่มีความไม่ประมาทเป็นมูล บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุผู้ไม่ประมาทย่อมเจริญมรรค๘

๒. ตถาคตสูตรที่ ๒ (ผู้เจริญอริยมรรคมีการกำจัดราคะเป็นที่สุด)
ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด

๓. ตถาคตสูตรที่ ๓ (ผู้เจริญอริยมรรคอันหยั่งลงสู่อมตะ)
ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญมรรค ๘ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ ...

๔. ตถาคตสูตรที่ ๔ (ความไม่ประมาทเลิศกว่ากุศลธรรม)
กุศลธรรมเหล่าใดมีความไม่ประมาทเป็นมูล บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น

๕. ปทสูตร (กุศลธรรมทั้งปวงมีความไม่ประมาทเป็นมูล)
กุศลธรรมเหล่าใด มีความไม่ประมาทเป็นมูล ความไม่ประมาทนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ากุศลธรรมทั้งหลาย

๖. กูฏสูตร
๗. มูลคันธสูตร
๘. สารคันธสูตร
๙. ปุปผคันธสูตร
๑๐. กุฏฐราชาสูตร
๑๑. จันทิมสูตร
๑๒. สุริยสูตร
๑๓. วัตถสูตร

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๖๓-๖๘
อัปปมาทวรรคที่ ๑๐

ตถาคตสูตรที่ ๑
ผู้เจริญอริยมรรคน้อมไปในการสละ

            [๒๔๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้าก็ดี มี ๒ เท้าก็ดีมี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี มีประมาณเท่าใด พระตถาคต อรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่าเป็นผู้เลิศกว่าสัตว์เหล่านั้น ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ไม่ประมาทแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญ อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘

            [๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

             ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล

จบ สูตรที่ ๑

(อีก ๓ สูตรข้างหน้า พึงให้พิสดารอย่างนี้)


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๖๓-๖๘

ตถาคตสูตรที่ ๒
ผู้เจริญอริยมรรคมีการกำจัดราคะเป็นที่สุด

            [๒๔๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้าก็ดี มี ๒ เท้าก็ดีมี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี ... อันภิกษุผู้ไม่ประมาท พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญ อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘

            [๒๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล

จบ สูตรที่ ๒

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๖๓-๖๘
ตถาคตสูตรที่ ๓
ผู้เจริญอริยมรรคอันหยั่งลงสู่อมตะ

            [๒๔๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้าก็ดี มี ๒ เท้าก็ดีมี ๔ เท้าก็ดี ... อันภิกษุผู้ไม่ประมาท พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘จักกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘

            [๒๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล

จบ สูตรที่ ๓

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๖๓-๖๘
ตถาคตสูตรที่ ๔
ความไม่ประมาทเลิศกว่ากุศลธรรม

            [๒๕๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้าก็ดี มี ๒ เท้าก็ดีมี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี มีประมาณเท่าใด พระตถาคตอรหันต สัมมา สัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่าเ ป็นผู้เลิศกว่าสัตว์เหล่านั้น ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้นมีความไม่ประมาท เป็นมูลรวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ไม่ประมาท พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘

            [๒๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่ นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่ นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน

             ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล

จบ สูตรที่ ๔

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๖๓-๖๘
ปทสูตร
กุศลธรรมทั้งปวงมีความไม่ประมาทเป็นมูล

            [๒๕๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย ผู้สัญจรไป บนแผ่นดิน ชนิดใดชนิดหนึ่ง ทั้งหมดนั้น ย่อมถึงความประชุมลงใน รอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลง ในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ไม่ประมาท พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญ อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘

            [๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล

จบ สูตรที่ ๕

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๖๓-๖๘
กูฏสูตร
ว่าด้วยเรือนยอด

            [๒๕๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลอนแห่งเรือนยอดอย่างใด อย่างหนึ่ง ทั้งหมดนั้น ไปสู่ยอด น้อมไปสู่ยอด ประชุมเข้าที่ยอด ยอดแห่งเรือนยอดนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ากลอนเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล ... ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบ สูตรที่ ๖

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๖๓-๖๘

มูลคันธสูตร
ว่าด้วยกลิ่นที่ราก

            [๒๕๖] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่รากชนิดใดชนิดหนึ่ง ไม้กลัมพัก บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่รากเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรม เหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล ... ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบ สูตรที่ ๗

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๖๓-๖๘

สารคันธสูตร
ว่าด้วยกลิ่นที่แก่น

            [๒๕๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่แก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดง บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่แก่นเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใด เหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล ... ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบ สูตรที่ ๘

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๖๓-๖๘
ปุปผคันธสูตร
ว่าด้วยกลิ่นที่ดอก

            [๒๕๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่ดอกชนิดใดชนิดหนึ่ง มะลิบัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่ดอกเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล ... ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบ สูตรที่ ๙

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๖๓-๖๘
กุฏฐราชาสูตร
ว่าด้วยพระราชาผู้เลิศ

            [๒๕๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาผู้น้อย (ชั้นต่ำ) เหล่าใด เหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นผู้ตามเสด็จพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิบัณฑิต กล่าวว่า เลิศกว่าพระราชาผู้น้อยเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล ... ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบ สูตรที่ ๑๐

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๖๓-๖๘
จันทิมสูตร
ว่าด้วยพระจันทร์

            [๒๖๐] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แสงสว่างแห่งดวงดาว ชนิดใด ชนิดหนึ่ง ทั้งหมดนั้น ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แสงสว่างของพระจันทร์ แสงสว่างของ พระจันทร์ บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าแสงสว่างของดวงดาวเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล ... ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบ สูตรที่ ๑๑

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๖๓-๖๘
สุริยสูตร
ว่าด้วยพระอาทิตย์

            [๒๖๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสรทสมัยท้องฟ้าบริสุทธิ์ ปราศจาก เมฆพระอาทิตย์ขึ้นไปสู่ท้องฟ้า ย่อมส่องแสงและแผดแสงไพโรจน์ กำจัดความมืดอันมี อยู่ในอากาศทั่วไป แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาท เป็นมูล ... ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบ สูตรที่ ๑๒

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๖๓-๖๘
วัตถสูตร
ว่าด้วยผ้า

            [๒๖๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผ้าที่ทอด้วยด้ายชนิดใดชนิดหนึ่ง ผ้าของชาวกาสี บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าผ้าที่ทอด้วยด้ายเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรม เหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ไม่ประมาทพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘

            [๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล

จบ สูตรที่ ๑๓

จบ อัปปมาทวรรค

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์