พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑-๓
อานิสังสวรรคที่ ๑
กิมัตถิยสูตร
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลถามพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศีลที่เป็นกุศล มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มี อวิปปฏิสาร เป็นผล มี อวิปปฏิสาร เป็นอานิสงส์
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อวิปปฏิสารมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์
พ. ดูกรอานนท์ อวิปปฏิสาร มีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปราโมทย์มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์
พ. ดูกรอานนท์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปีติมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์
พ. ดูกรอานนท์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัสสัทธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์
พ. ดูกรอานนท์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์
พ. ดูกรอานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์
พ. ดูกรอานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ยถาภูตญาณทัสสนะ มีอะไรเป็นผล มีอะไร เป็นอานิสงส์
พ. ดูกรอานนท์ ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะ เป็นอานิสงส์
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นิพพิทาวิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์
พ.
ดูกรอานนท์ นิพพิทาวิราคะ มีวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นผล มีวิมุตติญาณ ทัสสนะ เป็นอานิสงส์
ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสาร เป็นผล มีอวิปปฏิสาร เป็นอานิสงส์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์ เป็นอานิสงส์ปราโมทย์ มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิ เป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะ เป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะ เป็นผล มีนิพพิทาวิราคะ เป็นอานิสงส์ นิพพิทาวิราคะ มีวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์ ด้วยประการดังนี้
ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหัต โดยลำดับด้วยประการดังนี้แล
จบสูตรที่
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓-๔
เจตนาสูตร
[๒] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขออวิปปฏิสารจงเกิดขึ้นแก่เรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่อวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลนี้เป็นธรรมดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่มีวิปปฏิสาร ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอปราโมทย์จง เกิดขึ้น แก่เรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้ไม่มีวิปปฏิสารนี้ เป็นธรรมดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปราโมทย์ ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอปีติจงเกิดแก่เรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปีติเกิดขึ้น แก่บุคคลผู้ปราโมทย์นี้เป็นธรรมดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีใจปีติ ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอกายของเราจงสงบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กายของ บุคคล ผู้มีใจมีปีติสงบนี้ เป็นธรรมดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีกายสงบ ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงเสวย ความสุข ข้อที่บุคคลผู้มีกายสงบเสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความสุข ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอจิตของเรา จงตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่จิตของบุคคล ผู้มีความสุขตั้งมั่นนี้ เป็นธรรมดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงรู้จงเห็น ตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคล ผู้มีจิตตั้งมั่น รู้เห็นตามความเป็นจริงนี้ เป็นธรรมดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริง ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจง เบื่อหน่าย จงคลายกำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้รู้ผู้เห็น ตามความเป็นจริง เบื่อหน่าย คลาย กำหนัด นี้ เป็นธรรมดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัด ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเรา จงทำให้แจ้งซึ่ งวิมุตติญาณทัสสนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคล ผู้เบื่อหน่ายคลาย กำหนัด ทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติ ญาณทัสสนะ นี้เป็นธรรมดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพิทาวิราคะ มีวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นผล มีวิมุตติญาณ ทัสสนะ เป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะ เป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเ ป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ปีติ มีปัสสัทธิ เป็นผลมีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติ เป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสาร เป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ ด้วยประการดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ย่อมหลั่งไหล ไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ย่อมยังธรรมทั้งหลาย ให้บริบูรณ์เพื่อจากเตภูมิกวัฏ อันมิใช่ฝั่งไปถึงฝั่ง คือ นิพพานด้วยประการดังนี้แล
จบสูตรที่ ๒
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔-๕
สีลสูตร
[๓] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ขจัดเสียแล้ว
เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล ผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติ ขจัดเสียแล้ว
เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล ผู้มีปีติวิบัติ ขจัดเสียแล้ว
เมื่อปัสสัทธิไม่มี สุขชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล ผู้มีปัสสัทธิวิบัติ ขจัดเสียแล้ว
เมื่อสุขไม่มี สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มีสุขวิบัติ ขจัดเสียแล้ว
เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มีสมาธิวิบัติ ขจัดเสียแล้ว
เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล ผู้มี ยถา ภูตญาณ ทัสสนะวิบัติ ขจัดเสียแล้
เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มีนิพพิทา วิราคะวิบัติ ขจัดเสียแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้กะเทาะของ ต้นไม้นั้น ย่อมไม่บริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ย่อมไม่บริบูรณ์ ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารชื่อว่า มีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีล ผู้มีศีลวิบัติขจัด เสียแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ชื่อ มีเหตุ อันบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติ ขจัด เสียแล้ว ฯลฯ
เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มีนิพพิทา วิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ฉันนั้นเหมือนกันแล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล
เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่ ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยอวิปปฏิสาร
เมื่อปราโมทย์มีอยู่ ปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วย ปราโมทย์
เมื่อปีติมีอยู่ ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ
เมื่อปัสสัทธิมีอยู่ สุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ
เมื่อสุขมีอยู่สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยสุข
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ
เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่ บุคคล ผู้สมบูรณ์ ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่ง และใบสมบูรณ์ แม้กะเทาะของ ต้นไม้นั้น ย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ย่อมบริบูรณ์ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ ด้วย ศีล เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่ ปราโมทย์ชื่อว่า มีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ ด้วยอวิปปฏิสาร ฯลฯ
เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะชื่ อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ ด้วยนิพพิทาวิราคะ ฉันนั้น เหมือนกันแล ฯลฯ
จบสูตรที่ ๓
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๖-๗
อุปนิสาสูตร
[๔] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลาย มากล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ อวิปปฏิสาร มีเหตุอันบุคคล ผู้ทุศีล ผู้มีศีลวิบัติ ขจัดเสียแล้ว
เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ชื่อว่า มีเหตุอันบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติ ขจัด เสียแล้ว เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มีปราโมทย์วิบัติ ขจัดเสียแล้ว เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มีปีติวิบัติ ขจัดเสียแล้ว เมื่อปัสสัทธิ ไม่มี สุขชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคล ผู้มีปัสสัทธิวิบัติ ขจัดเสียแล้ว เมื่อสุขไม่มี สัมมาสมาธิ ชื่อว่า มีเหตุ อันบุคคลผู้มีสุขวิบัติ ขจัดเสียแล้ว
เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิ วิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะ ไม่มี นิพพิทาวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล ผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ขจัดเสียแล้ว เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณ ทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มีนิพพิทาวิราคะ วิบัติขจัดเสียแล้ว
ดูกรท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือนต้นไม้ มีกิ่ง และใบวิบัติแล้ว แม้กะเทาะของ ต้นไม้นั้น ก็ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ก็ย่อมไม่ ถึงความบริบูรณ์ ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุ อวิปปฏิสารมีเหตุ อันบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ขจัด เสียแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ชื่อว่า มีเหตุอันบุคคล ผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติ ขจัดเสียแล้วฯลฯ เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล ผู้มีนิพพิทาวิราคะ วิบัติขจัดเสียแล้ว ฉันนั้นเหมือนกันแล
ดูกรท่านผู้มีอายุ อวิปปฏิสาร มีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้มีศีลผู้สมบูรณ์ ด้วยศีล เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่ ปราโมทย์ชื่อว่า มีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยอวิปปฏิสาร เมื่อปราโมทย์มีอยู่ ปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้ สมบูรณ์ ด้วยปราโมทย์ เมื่อปีติมีอยู่ ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ
เมื่อปัสสัทธิมีอยู่ สุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วย ปัสสัทธิ เมื่อสุขมีอยู่สัมมาสมาธิ ชื่อว่ามีเหตุ สมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยสุข เมื่อ สัมมา สมาธิ มีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่ บุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยสัมมาสมาธิ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะชื่อว่า มีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ
เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบ สมบูรณ์ แล้ว แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นก็ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของ ต้นไม้ นั้น ก็ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ ด้วยศีล เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่ ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร ฯลฯ เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณ ทัสสนะชื่อว่ามีเหตุ สมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยนิพพิทาวิราคะ ฉันนั้นเหมือนกันแล
จบสูตรที่ ๔
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๗-๙
อานันทสูตร
[๕] ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์ เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย อวิปปฏิสาร มีเหตุอันบุคคล ผู้ทุศีล ผู้มีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ชื่อว่า มีเหตุอันบุคคล ผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติ ขจัดเสียแล้ว
เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติชื่อว่า มีเหตุอันบุคคลผู้มีปราโมทย์วิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มี ปีติวิบัติ ขจัดเสียแล้ว เมื่อปัสสัทธิไม่มีสุข ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีปัสสัทธิวิบัติ ขจัดเสียแล้ว เมื่อสุขไม่มี สัมมาสมาธิชื่อว่า มีเหตุอันบุคคล ผู้มีสุขวิบัติขจัดเสียแล้ว
เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล ผู้มีสัมมาสมาธิ วิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะ ไม่มี นิพพิทาวิราคะชื่อว่า มีเหตุอันบุคคล ผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณ ทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติ ขจัดเสียแล้ว
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่ง และใบวิบัติแล้ว แม้กะเทาะ ของต้นไม้นั้น ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือกแม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ก็ย่อม ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสาร มีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีลผู้ มีศีลวิบัติ ขจัด เสียแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ ชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มีอวิปปฏิสารวิบัติ ขจัดเสียแล้ว ฯลฯ เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มี นิพพิทาวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ฉันนั้นเหมือนกันแล
ดูกรภิกษุผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสารมีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่ ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ ด้วยอวิปปฏิสาร
เมื่อปราโมทย์มีอยู่ ปีติชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วย ปราโมทย์ เมื่อปีติมีอยู่ ปัสสัทธิชื่อว่ามี เหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ เมื่อปัสสัทธิมีอยู่ สุขชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วย ปัสสัทธิ เมื่อสุข มีอยู่ สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ ด้วยสัมมาสมาธิ เมื่อยถาภูตญาณ ทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะ ชื่อว่ามีเหตุ สมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ เมื่อนิพพิทาวิราคะ มีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยนิพพิทาวิราคะ
ดูกรท่านผู้มีอายุเปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์แล้ว แม้กะเทาะของ ต้นไม้ ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ก็ย่อมถึงความ บริบูรณ์แม้ฉันใด
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปปฏิสารมีเหตุ อันสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีศีล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เมื่ออวิปปฏิสารมีอยู่ ปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปปฏิสาร ฯลฯ
เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคล ผู้สมบูรณ์ ด้วยนิพพิทาวิราคะ ฉันนั้น เหมือนกันแล
จบสูตรที่ ๕
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๙-๑๐
สมาธิสูตร
[๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุ ว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญ ใน เตโชธาตุ ว่าเป็นเตโชธาตุ เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุ ว่าเป็นวาโยธาตุ เป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญ ในอากาสานัญจายตนฌาน ว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญ ในวิญญาณัญจายตนฌาน ว่าเป็นวิญญาณัญจายตน ฌาน เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญ ในอากิญจัญญายตนฌาน ว่าเป็นอากิญจัญญา ยตนฌาน เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญ ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ว่า เป็นเนวสัญญา นาสัญญายตนฌาน เป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ ว่าเป็นโลกนี้ เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญใน โลกหน้า ว่าเป็นโลกหน้า เป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุหรือหนอแล
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็น ปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญ ในอาโปธาตุ ว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้า ว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มี สัญญา การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุ
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุ เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญใน อาโปธาตุ ว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์... ไม่พึงมี ความสำคัญในโลกหน้า ว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ก็การได้ สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้อย่างไร
พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ ว่านั่นสงบ นั่น ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละ คืน อุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นแห่ง ตัณหา ความปราศจากความกำหนัด ความดับ นิพพานดังนี้
ดูกรอานนท์ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึง มีความสำคัญในอาโปธาตุ ว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญใน โลกหน้า ว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้อย่างนี้แล
จบสูตรที่ ๖
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๐-๑๑
สาริปุตตสูตร
[๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัย กับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการ ปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า
ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุ เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุ ว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมี ความสำคัญในโลกหน้า ว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้ สมาธิ เห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุหรือหนอ
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรท่านอานนท์ ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุ เป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญ ในโลกหน้า ว่าเป็นโลกหน้า เป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุ
อา. ดูกรท่านสารีบุตร ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็น อารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้า ว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าพึง เป็นผู้มีสัญญา ก็การได้สมาธิเห็นปานนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้อย่างไร
สา. ดูกรท่านอานนท์ สมัยหนึ่ง ผมอยู่ ณ ป่าอันธวัน ใกล้พระนครสาวัตถีนี้แหละ ณ ที่นั้น ผมเข้าสมาธิ โดยประการ ที่ผมมิได้มีความสำคัญ ในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุ เป็นอารมณ์เลย มิได้มีความสำคัญ ในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็น อารมณ์ มิได้มี ความสำคัญในเตโชธาตุ ว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในวาโยธาตุ ว่าเป็นวาโยธาตุ เป็นอารมณ์
มิได้มีความสำคัญ ในอากาสานัญจายตนฌาน ว่าเป็นอากาสานัญจายตนฌาน เป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญ ในวิญญา ณัญจายตนฌาน ว่าเป็นวิญญาณัญจายตน ฌาน เป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญ ในอากิญจัญญายตนฌาน ว่าเป็น อากิญจัญญา ยตนฌาน เป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญ ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ว่าเป็น เนวสัญญา นาสัญญายตน ฌาน เป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในโลกนี้ ว่าเป็นโลกนี้ เป็นอารมณ์ มิได้มีความสำคัญในโลกหน้า ว่าเป็นโลกหน้าเป็น อารมณ์ ก็แต่ว่าผมเป็น ผู้มีสัญญา
อา. ก็ในสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรเป็นผู้มีสัญญาอย่างไร
สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้นแก่ผมว่า การดับภพเป็น นิพพาน การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้แล สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไป ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อไฟมีเชื้อกำลังไหม้อยู่ เปลวอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น เปลวอย่างหนึ่งย่อมดับไป แม้ฉันใด
ดูกรท่านผู้มีอายุ สัญญาอย่างหนึ่ง ย่อมเกิดขึ้นแก่ผมว่า การดับภพเป็นนิพพาน การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้ สัญญา อย่างหนึ่งย่อมดับไป ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็แลในสมัยนั้น ผมได้มีสัญญาว่า การดับภพเป็นนิพพาน ดังนี้
จบสูตรที่ ๗
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๑-๑๒
สัทธาสูตร
[๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีลอย่างนี้เธอ ชื่อว่าเป็นผู้ ไม่บริบูรณ์ ด้วยองค์นั้น เธอนั้นพึงบำเพ็ญ องค์นั้น ให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงเป็นผู้มีศรัทธา และศีล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแลภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา และศีล เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยองค์นั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต ฯลฯ เป็นพหูสูต แต่ไม่เป็นพระธรรมกถึก ฯลฯ เป็นพระธรรมกถึก แต่ไม่เข้าสู่บริษัท ฯลฯเข้าสู่บริษัท แต่ไม่แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ฯลฯ
แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท แต่ไม่ทรงวินัย ฯลฯ ทรงวินัย แต่ไม่อยู่ป่า เป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะอันสงัด ฯลฯ
อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะอันสงัด แต่ไม่ได้ตามความปรารถนา ไม่ได้โดย ไม่ยาก ไม่ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุข ในปัจจุบัน ฯลฯ
ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยากได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน แต่ไม่ได้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา อาสวะ มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ อย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ ด้วยองค์นั้น
เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้น ให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า ไฉนหนอเราพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก เข้าสู่บริษัท ได้แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ทรงวินัย อยู่ป่า เป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะอันสงัด ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญา อันยิ่งเองใน ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ... กระทำให้แจ้ง ซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้นๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ก่อ ให้เกิดความเลื่อมใสโดยรอบ และเป็นผู้ บริบูรณ์ ด้วยอาการทั้งปวง
จบสัทธาสูตรที่ ๘
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓
สันตสูตร
[๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล เป็นผู้มีศีลแต่ไม่เป็น พหูสูต เป็นพหูสูต แต่ไม่เป็นธรรมกถึก เป็น ธรรมกถึก แต่ไม่เข้าสู่บริษัท เข้าสู่บริษัทได้ แต่ไม่แกล้วกล้า แสดงธรรมแก่บริษัท เป็นผู้แกล้วกล้าแสดงธรรม แก่บริษัท แต่ไม่ทรง วินัย ทรงวินัย แต่ไม่อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะอันสงัด อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะ อันสงัด แต่ไม่ถูกต้อง วิโมกข์ อันสงบ ไม่มีรูป เพราะล่วงรูปเสียได้ ด้วยกายอยู่ ถูกต้อง วิโมกข์อันสงบไม่มีรูป เพราะล่วงรูปเสียได้ ด้วยกายอยู่ แต่ไม่ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ อย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ ด้วยองค์นั้น
เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ ด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ...กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุ เป็นผู้มี ศรัทธา มีศีล ... ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลาย สิ้นไป ด้วย ปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้ บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ก่อให้ เกิดความเลื่อมใสโดยรอบ และเป็นผู้ บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง
จบสันตสูตรที่ ๙
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓-๑๖
วิชชยสูตร
[๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีลอย่างนี้เธอชื่อว่า เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญ องค์นั้น ให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่าไฉนหนอ เราพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้ บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต ฯลฯ เป็นพหูสูตแต่ไม่เป็นธรรมกถึก ฯลฯ เป็นธรรมกถึก แต่ไม่เข้าสู่บริษัท ฯลฯ เข้าสู่บริษัท แต่ไม่แกล้วกล้า แสดงธรรมแก่บริษัท ฯลฯ แกล้วกล้า แสดงธรรมแก่บริษัท แต่ไม่ทรง วินัย ฯลฯ ทรงวินัย แต่ระลึกไม่ได้ถึงชาติก่อน เป็นอันมาก คือระลึกไม่ได้ถึงชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้างสิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบ ชาติ บ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอด สังวัฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏฏกัป เป็นอันมากบ้างว่า
ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่าง นั้น เสวยสุขเสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น แล้วได้ ไป เกิด ในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้นมีผิวพรรณ อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติ จากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกไม่ได้ถึงชาติก่อน เป็นอันมาก พร้อมทั้ง อาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้ ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ
เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วย ประการฉะนี้ แต่ไม่เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีตมีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ไม่รู้ชัด ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม กรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็น มิจฉาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำ ด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เมื่อตายไปเขาเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ ดังนี้
ไม่เห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ไม่รู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไป ตาม กรรม ด้วยประการฉะนี้ เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณ ดี มีผิวพรรณทรามได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อม รู้ชัด ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
ด้วยประการฉะนี้ แต่ไม่ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ อาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ อย่างนี้ เธอชื่อ ว่า เป็นผู้ ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ ด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีลเป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก เข้าสู่บริษัท แกล้วกล้า แสดงธรรม แก่ บริษัท ทรงวินัย ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ เห็น หมู่สัตว์ ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทรามได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ
รู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญ าวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูตเป็นธรรมกถึก ผู้เข้าสู่ บริษัท แกล้วกล้าแสดงธรรม แก่ บริษัท ทรงวินัย ระลึกถึงชาติก่อนได้ เป็น อันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯระลึกถึงชาติก่อนได้เป็น อันมาก พร้อมทั้ง อาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงซึ่งจักษุของ มนุษย์ฯลฯ รู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการ ฉะนี้ กระทำ ให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้สมบูรณ์ ด้วยองค์นั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ก่อ ให้เกิด ความเลื่อมใส โดยรอบ และเป็นผู้ บริบูรณ์ ด้วยอาการทั้งปวง
จบวิชชยสูตรที่ ๑๐ |