พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐-๓๔
สุริยเปยยาลที่ ๖
กัลยาณมิตตสูตรที่ ๑
มิตรดีเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๒๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความ บังเกิดแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้น เหมือนกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘จักทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘
[๑๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วย องค์๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล
จบ สูตรที่ ๑
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐-๓๔
สีลสัมปทาสูตรที่ ๑
สีลสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความ บังเกิดแห่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่ง ศีล ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล พึงหวังข้อนี้ได้ ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๒
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐-๓๔
ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๑
ฉันทสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๒] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๓
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐-๓๔
อัตตสัมปทาสูตรที่ ๑
อัตตสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๓] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งตน (ความถึงพร้อมแห่งจิต) ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๔
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐-๓๔
ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๑
ทิฏฐิสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๔] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๕
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐-๓๔
อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๑
ความไม่ประมาทเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๕] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาท ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๖
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐-๓๔
โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑
โยนิโสมนสิการเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๖] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อม แห่งการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อม ด้วยการกระทำไว้ในใจ โดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มาก ซึ่ง อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘
[๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย การกระทำไว้ในใจ โดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่ง อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อม เจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบ ด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๗
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐-๓๔
กัลยาณมิตรสูตรที่ ๒
มิตรดีเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๓๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรค ประกอบ ด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘.
[๑๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรค ประกอบด้วย องค์ ๘ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัด โทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะ เป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๘
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐-๓๔
สีลสัมปทาสูตรที่ ๒
สีลสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๔๐] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความเกิดแห่งอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมด้วยศีล ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๙
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐-๓๔
ฉันทสัมปทาสูตรที่ ๒
ฉันทสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๔๑] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๑๐
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐-๓๔
อัตตสัมปทาสูตรที่ ๒
อัตตสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๔๒] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งตน ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๑๑
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐-๓๔
ทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๒
ทิฏฐิสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๔๓] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๑๒
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐-๓๔
อัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๒
ความไม่ประมาทเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๔๔] ... คือ ความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาท ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๑๓
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐-๓๔
โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๒
โยนิโสมนสิการเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค
[๑๔๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความเกิด แห่งอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่ง การกระทำ ไว้ในใจโดยแยบคาย ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อม แห่งการกระทำไว้ในใจ โดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘.
[๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจ โดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอัน กำจัด ราคะ เป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะ เป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัด โมหะเป็นที่สุด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรค ประกอบด้วย องค์ ๘ อย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๑๔ |