เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

อปัณณกวรรคที่ ๓ ปธานสูตร, ทิฏฐิสูตร, สัปปุริสสูตร, อัคคสูตรที่ ๑, ๒, กุสินาราสูตร อจินติตสูตร ทักขิณาสูตร วณิชชสูตร กัมโมชสูตร 1953
 


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปธานสูตร
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันไม่ผิด และเป็นอันปรารภเหตุ เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย คือ เป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต ปรารภความเพียร มีปัญญา

๒. ทิฏฐิสูตร
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันไม่ผิด และเป็นอันปรารภเหตุ เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย คือ เนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก สัมมาทิฏฐิ

๓. สัปปุริสสูตร (คุณสมบัติของสัตบุรุษ)
แม้ถูกถามก็ไม่เปิดเผยความเสียหายของผู้อื่น
แม้ไม่ถูกถามก็เปิดเผยความดีของผู้อื่น
แม้ไม่ถูกถามก็เปิดเผยความเสียหายของตน
แม้ถูกถามก็ไม่เปิดเผยความดีของตน

๔. อัคคสูตรที่ ๑ (ธรรมเลิศ ๔ ประการนี้เป็นไฉน )
ศีลอันเลิศ สมาธิอันเลิศ ปัญญาอันเลิศ วิมุตติอันเลิศ

๕. อัคคสูตรที่ ๒(ธรรมเลิศ ๔ ประการนี้เป็นไฉน )
รูปอันเลิศ เวทนาอันเลิศ สัญญาอันเลิศ ภพอันเลิศ

๖. กุสินาราสูตร(ในราตรีปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคตรัสกับภิกษุ ท.)
ภิกษุสักรูปหนึ่ง พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงใน พระพุทธเจ้า ในธรรม ในพระสงฆ์ ในมรรค หรือในปฏิปทา เธอทั้งหลายจงถามเถิด แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ พระอานนท์กราบทูลว่า น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี

๗. อจินติตสูตร
เรื่องอจิณไตย (เรื่องที่ไม่ควรคิด) ถ้าคิดอาจเป็นบ้า คือ
พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน วิบากแห่งกรรม ความคิดเรื่องโลก

๘. ทักขิณาสูตร
ทักขิณาวิสุทธิ ๔ ประการ
๑.ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกประการ
๒.ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายกประการ
๓.ทักขิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหกประการ
๔.ทักขิณาบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหกประการ

๙. วณิชชสูตร (อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บางคน)
๑. ค้าขายขาดทุน (เขาไม่ถวายปัจจัยตามที่เขาปวารณา)
๒. ค้าขายไม่ได้กำไร ตามที่ประสงค์ (เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ ไม่เป็นไปตามประสงค์)
๓. ค้าขายได้กำไร ตามที่ประสงค์ (เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ตามที่ประสงค์)
๔. ค้าขายได้กำไร ยิ่งกว่าที่ประสงค์ (เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ ยิ่งกว่าที่ประสงค์)

๑๐. กัมโมชสูตร
อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้มาตุคาม นั่งในสภาไม่ได้ ประกอบการงานใหญ่ๆไม่ได้ .. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มาตุคามมักโกรธ มักริษยา มีความตระหนี่ มีปัญญาทราม

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๙

อปัณณกวรรคที่ ๓
ปธานสูตร

            [๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ ปฏิปทาอันไม่ผิด และเป็นอันปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศีล ๑
เป็นพหูสูต ๑
ปรารภความเพียร ๑
มีปัญญา ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้ปฏิบัติ ปฏิปทา อันไม่ผิด และเป็นปรารภเหตุ เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย

จบสูตรที่ ๑

----------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๙

ทิฏฐิสูตร

            [๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ ปฏิปทาอันไม่ผิด และเป็นอันปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
เนกขัมมวิตก ๑
อพยาบาทวิตก ๑
อวิหิงสาวิตก ๑
สัมมาทิฏฐิ ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้ปฏิบัติ ปฏิปทาอันไม่ผิด และเป็นอันปรารภเหตุ เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย

จบสูตรที่ ๒

----------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๙-๙๑

สัปปุริสสูตร

            [๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ พึงทราบว่า เป็นอสัตบุรุษ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ แม้ไม่ถูกถาม ก็เปิดเผย ความเสียหายของผู้อื่น จะกล่าวอะไรถึงถูกถามเล่า และเมื่อถูกถามเข้า ก็แก้ปัญหา โดยตรง ไม่อ้อมค้อม ไม่หน่วงเหนี่ยว แล้วกล่าวความเสียหายของผู้อื่นเต็มที่ อย่างกว้างขวาง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงทราบว่าท่านผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ

            อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษในโลกนี้ แม้ถูกถามก็ไม่เปิดเผยความดีของผู้อื่น จะกล่าวอะไรถึงไม่ถูกถาม และเมื่อถูกถามแล้ว ก็ไม่แก้ปัญหาโดยตรงอ้อมค้อม หน่วงเหนี่ยว แล้วกล่าวสรรเสริญคุณผู้อื่นโดยย่อ ไม่เต็มที่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงทราบว่า ท่านผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ

            อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษในโลกนี้ แม้ถูกถามก็ไม่เปิดเผยความเสียหาย ของตน จะกล่าวอะไรถึงไม่ถูกถาม และเมื่อถูกถามแล้ว ก็ไม่แก้ปัญหาโดยตรง อ้อมค้อม หน่วงเหนี่ยว แล้วกล่าวความเสียหายของตนโดยย่อ ไม่เต็มที่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงทราบว่า ท่านผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ

            อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษในโลกนี้ แม้ไม่ถูกถามก็เปิดเผยความดีของตน จะกล่าวอะไรถึงถูกถามเล่า และเมื่อถูกถามแล้ว ก็แก้ปัญหาโดยตรง ไม่อ้อมค้อม ไม่หน่วงเหนี่ยว แล้วกล่าวความดีของตนเต็ม ที่อย่างกว้างขวาง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงทราบว่า ท่านผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นอสัตบุรุษ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ พึงทราบว่าเป็น สัตบุรุษ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ สัตบุรุษในโลกนี้ แม้ถูกถามก็ไม่เปิดเผยความ เสียหายของ ผู้อื่น จะกล่าวอะไรถึงไม่ถูกถามเล่า แต่เมื่อถูกถามเข้า ก็ไม่แก้ปัญหา โดยตรง อ้อมค้อม หน่วงเหนี่ยว กล่าวความเสียหายของผู้อื่นโดยย่อ ไม่เต็มที่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงทราบว่า ท่านผู้นี้เป็นสัตบุรุษ

            อีกประการหนึ่ง สัตบุรุษในโลก แม้ไม่ถูกถามก็เปิดเผยความดีของผู้อื่น จะกล่าวอะไร ถึงถูกถามเล่า แต่เมื่อถูกถามเข้า ก็แก้ปัญหาโดยตรง ไม่อ้อมค้อม ไม่หน่วงเหนี่ยว กล่าวความดีของผู้อื่นเต็มที่อย่างกว้างขวาง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงทราบว่าท่านผู้นี้เป็นสัตบุรุษ

            อีกประการหนึ่ง สัตบุรุษในโลกนี้ แม้ไม่ถูกถามก็เปิดเผยความเสียหายของตน จะกล่าวอะไรถึงถูกถามเล่า แต่เมื่อถูกถามเข้า ก็แก้ปัญหาโดยตรง ไม่อ้อมค้อม ไม่หน่วงเหนี่ยว แล้วกล่าวความเสียหายของตนเต็มที่อย่างกว้างขวาง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงทราบว่า ท่านผู้นี้เป็นสัตบุรุษ

            อีกประการหนึ่ง สัตบุรุษในโลกนี้ แม้ถูกถามก็ไม่เปิดเผยความดีของตน จะกล่าว อะไรถึง ไม่ถูกถามเล่า แต่เมื่อถูกถามเข้า ก็ไม่แก้ปัญหาโดยตรง อ้อมค้อมหน่วงเหนี่ยว แล้วกล่าวความดีของตนโดยย่อ ไม่เต็มที่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงทราบว่า ท่านผู้นี้เป็น สัตบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นสัตบุรุษ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย หญิงสะใภ้ที่ถูกนำมาคืนหนึ่งหรือวันหนึ่งเท่านั้น นางตั้งหิริ และโอตตัปปะได้อย่างแรงกล้าในแม่ผัว พ่อผัว และผัว โดยที่สุดในคนรับใช้และคน ทำงาน สมัยต่อมา นางอาศัยอยู่คุ้นเคย จึงกล่าวกะแม่ผัวบ้าง พ่อผัวบ้าง และผัวบ้าง อย่างนี้ว่า จงหลีกไป ก็พวกท่านรู้อะไร ดังนี้ฉันใด

            ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพียงออกบวชได้วันหนึ่ง หรือ คืนหนึ่งเท่านั้น เธอตั้งหิริและโอตตัปปะไว้อย่างแรงกล้า ในพวกภิกษุภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาทั้งหลาย โดยที่สุดในคนวัด และสามเณร สมัยต่อมาเธออาศัย ความอยู่ร่วม จึงกล่าวกะอาจารย์บ้าง กะอุปัชฌาย์บ้าง อย่างนี้ว่า จงหลีกไปก็พวกท่านรู้อะไร ดังนี้

            เพราะเหตุนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักมีใจ เสมือนหญิงสะใภ้ซึ่งมาใหม่อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล

จบสูตรที่ ๓

----------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๙๑-๙๒

อัคคสูตรที่ ๑

            [๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเลิศ ๔ ประการ นี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
ศีลอันเลิศ ๑
สมาธิอันเลิศ ๑
ปัญญาอันเลิศ ๑
วิมุตติอันเลิศ ๑


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเลิศ ๔ ประการนี้แล

จบสูตรที่ ๔


----------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๙๒

อัคคสูตรที่ ๒

            [๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเลิศอีก ๔ ประการ นี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
รูปอันเลิศ ๑
เวทนาอันเลิศ ๑
สัญญาอันเลิศ ๑
ภพอันเลิศ ๑


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเลิศอีก ๔ ประการนี้แล

จบสูตรที่ ๕


----------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๙๒-๙๓

กุสินาราสูตร

            [๗๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ระหว่างต้นรังทั้งคู่ในสาลวัน อันเป็นที่ประพาสของมัลลกษัตริย์ ใกล้กรุงกุสินารา ในปรินิพพานสมัย ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสักรูปหนึ่ง พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงใน พระพุทธเจ้า ในธรรม ในพระสงฆ์ ในมรรค หรือในปฏิปทา เธอทั้งหลายจงถามเถิด อย่าได้มีความเสียใจในภายหลังว่า พระศาสดาได้ประทับอยู่เฉพาะหน้าของเราทั้งหลาย เราทั้งหลายไม่อาจจะสอบถามพระผู้มีพระภาคเจ้า เฉพาะพระพักตร์ได้ เมื่อ พระผู้มีพระภาค ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้นิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาค ก็ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสักรูปหนึ่ง พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงใน พระพุทธเจ้า ในธรรม ในพระสงฆ์ ในมรรค หรือในปฏิปทา เธอทั้งหลายจงถามเถิด อย่าได้เสียใจในภายหลังว่า พระศาสดาประทับอยู่เฉพาะหน้าของเราทั้งหลาย เราทั้งหลาย ไม่อาจจะสอบถามพระผู้มีพระภาคเฉพาะพระพักตร์ได้ ภิกษุเหล่านั้น ก็ได้นิ่งอยู่

            ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า เป็นได้ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงถาม แม้ด้วยความเคารพต่อพระศาสดา แม้สหายก็จงบอกแก่สหาย เถิด เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นก็ได้นิ่งอยู่

            ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ข้าพระองค์เลื่อมใส ในภิกษุสงฆ์อย่างนี้ แม้ภิกษุรูปหนึ่งในภิกษุ สงฆ์นี้ ก็ไม่มีความสงสัย หรือความเคลือบแคลงในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในมรรค หรือในปฏิปทาพระผู้มีพระภาคตรัสว่า

            ดูกรอานนท์ เธอกล่าวด้วยความเลื่อมใสแท้ ญาณของตถาคต ในข้อนี้ ก็เหมือนกันว่า แม้ภิกษุรูปหนึ่งในภิกษุสงฆ์นี้ ไม่มีความสงสัย หรือความเคลือบแคลง ในพระพุทธเจ้า ในธรรม ในพระสงฆ์ ในมรรค หรือในปฏิปทา

            ดูกรอานนท์ แท้จริงบรรดา ภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ รูปสุดท้ายภายหลังเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง จะได้ตรัสรู้ต่อไป

จบสูตรที่ ๖


----------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๙๓

อจินติตสูตร

            [๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ ประการนี้ อันบุคคลไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน อจินไตย ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ (อานุภาพ)
ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน ๑
วิบากแห่งกรรม ๑
ความคิดเรื่องโลก ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลายอจินไตย ๔ ประการนี้แล ไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิด พึงเป็นผู้มี ส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน

จบสูตรที่ ๗


----------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๙๓-๙๔

ทักขิณาสูตร

            [๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทักขิณาวิสุทธิ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกประการ ๑
ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายกประการ ๑
ทักขิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหกประการ ๑
ทักขิณาบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหกประการ ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทักขิณาบริสุทธิ์ ฝ่ายทายกไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร ทายกในโลกนี้ เป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ฝ่ายปฏิคาหก เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกอย่างนี้แล

            ก็ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายทายกเป็นอย่างไร คือทายก ในโลกนี้ เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม ส่วนปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ทักขิณา บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายกอย่างนี้แล

            ก็ทักขิณาไม่บริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหกเป็นอย่างไร คือ ทายก ในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม แม้ปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรมทักขิณาไม่บริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหก อย่างนี้แล

            ก็ทักขิณาบริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหกเป็นอย่างไร คือ ทายก ในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล กัลยาณธรรม แม้ปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมทักขิณา บริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหกอย่างนี้

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทักขิณาวิสุทธิ ๔ ประการนี้แล

จบสูตรที่ ๘


----------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๙๔-๙๕

วณิชชสูตร

            [๗๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เครื่องให้บุคคลบางคน ในโลกนี้ ทำการค้าขายขาดทุน

อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายไม่ได้กำไร ตามที่ ประสงค์

อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายได้กำไรตาม ที่ประสงค์

อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายได้กำไรยิ่งกว่า ที่ประสงค์

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

            ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหาสมณะ หรือพราหมณ์แล้ว ย่อม ปวารณาว่า ขอท่านจงบอกปัจจัยที่ท่านประสงค์ เขากลับไม่ถวายปัจจัยที่เขาปวารณา ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้น มาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาทำการค้าขายอย่างใดๆ เขาย่อมขาดทุน

            อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหาสมณะ หรือพราหมณ์แล้ว ย่อมปวารณาว่า ขอท่านจงบอกปัจจัยที่ท่านประสงค์ แต่เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ ไม่เป็นไปตามประสงค์ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้น มาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาทำการค้าขายอย่างใดๆ เขาย่อมไม่ได้กำไรตามที่ประสงค์

            อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหาสมณะ หรือพราหมณ์แล้ว ย่อมปวารณาว่า ขอท่านจงบอกปัจจัยที่ต้องประสงค์ เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ตามที่ประสงค์ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้น มาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาทำการค้าขายอย่างใดๆ เขาย่อมได้ กำไร ตามที่ประสงค์

            อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหาสมณะ หรือพราหมณ์แล้ว ปวารณาว่า ขอท่านจงบอกปัจจัยที่ต้องประสงค์ เขาถวายปัจจัยที่ปวารณาไว้ ยิ่งกว่าที่ประสงค์ ถ้าเขาเคลื่อนจากอัตภาพนั้น มาสู่ความเป็นมนุษย์นี้ เขาทำการค้าขายอย่างใดๆ เขาย่อมได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์

            ดูกรสารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้า ขายขาดทุน นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขายไม่ได้ กำไร ตามที่ประสงค์ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำการค้าขาย ได้กำไร ตามที่ประสงค์นี้ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้บุคคลบางคน ในโลกนี้ทำการ ค้าขายได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์

จบสูตรที่ ๙

----------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๙๕-๙๖

กัมโมชสูตร

            [๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

            ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้มาตุคาม นั่งในสภาไม่ได้ ประกอบการงานใหญ่ๆ ไม่ได้ ไปนอกเมืองไม่ได้

            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ มาตุคามมักโกรธ มักริษยา มีความตระหนี่ มีปัญญาทราม ดูกรอานนท์ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้มาตุคามนั่งในสภา ไม่ได้ ประกอบการงานใหญ่ๆ ไม่ได้ ไปนอกเมืองไม่ได้

จบสูตรที่ ๑๐


 

 

 

 

 

 

 

 



 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์