เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ปฏิปัตติวรรคที่ ๔ ประกอบด้วย ปฏิปัตติสูตร ปฏิปันนสูตร วิรัทธสูตร ปารสูตร สามัญญสูตร ... 1948
 

ปฏิปัตติสูตร ว่าด้วยมิจฉาปฏิบัติ-สัมมาปฏิบัติ
มิจฉาปฏิบัติเป็นไฉน? คือ ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจมั่นผิด
สัมมาปฏิบัติเป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ

ปฏิปันนสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้ปฏิบัติผิด-ปฏิบัติชอบ
บุคคลผู้ปฏิบัติผิดเป็นไฉน? เป็นผู้มีความเห็นผิด ฯลฯ มีความตั้งใจมั่นผิด บุคคลผู้ปฏิบัติชอบเป็นไฉน? เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ มีความตั้งใจมั่นชอบ

วิรัทธสูตร ผลของผู้พลาดและผู้ปรารภอริยมรรค
มรรคมีองค์ ๘ อันบุคคลพลาดแล้ว ย่อมไม่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
มรรคมีองค์ ๘ อันบุคคลปรารภแล้ว ย่อมให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

ปารสูตร ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงฝั่ง (นิพพาน)
ธรรม ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่ง (นิพพาน) ชนเหล่าใดประพฤติตามธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ชนเหล่านั้น ข้ามไปถึงฝั่งได้
บัณฑิตพึงละธรรมฝ่ายดำ เจริญธรรมฝ่ายขาว พึงละกามเสีย เป็นผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกังวล

สามัญญสูตรที่ ๑ ว่าด้วยสามัญญะและสามัญญผล
สามัญญะเป็นไฉน? มรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือความเห็นชอบ ฯลฯ เรียกว่า สามัญญะ สามัญญะสามัญญผลเป็นไฉน? คือโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล

สามัญญสูตรที่ ๒ ว่าด้วยสามัญญะและประโยชน์แห่งสามัญญะ
สามัญญะเป็นไฉน? มรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือความเห็นชอบ ฯลฯ นี้เรียกว่า สามัญญะ
ประโยชน์แห่งสามัญญะเป็นไฉน? ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ

พรหมัญญสูตรที่ ๑ ความเป็นพรหมและเป็นพรหมัญญผล
พรหมัญญะเป็นไฉน? อริยมรรคอันประกอบด้วย องค์ ๘ นี้แลเรียกว่า พรหมัญญะ
พรหมัญญผลเป็นไฉน? คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล

พรหมัญญสูตรที่ ๒ ความเป็นพรหมและประโยชน์แห่งความเป็นพรหม
พรหมัญญะเป็นไฉน? มรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ นี้เรียกว่า พรหมัญญะ
ประโยชน์แห่งพรหมัญญะเป็นไฉน? ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ

พรหมจริยสูตรที่ ๑ พรหมจรรย์และผลแห่งพรหมจรรย์
พรหมจรรย์เป็นไฉน? อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล เรียกว่า พรหมจรรย์
ผลแห่งพรหมจรรย์เป็นไฉน? คือ โสดาปัตติผล สกทาคามีผล อนาคามีผล อรหัตตผล

พรหมจริยสูตรที่ ๒ พรหมจรรย์และประโยชน์แห่งพรหมจรรย์
พรหมจรรย์เป็นไฉน อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล เรียกว่า พรหมจรรย์
ประโยชน์แห่งพรหมจรรย์เป็นไฉน? ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ


ปฏิปัตติวรรคที่ ๔
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฏิปัตติสูตร
๒. ปฏิปันนสูตร
๓. วิรัทธสูตร
๔. ปารสูตร
๕. สามัญญสูตรที่ ๑
๖. สามัญญสูตรที่ ๒
๗. พรหมัญญสูตรที่ ๑
๘. พรหมัญญ สูตรที่ ๒
๙. พรหมจริยสูตรที่ ๑
๑๐. พรหมจริยสูตรที่ ๒

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒
ปฏิปัตติวรรคที่ ๔

ปฏิปัตติสูตร
ว่าด้วยมิจฉาปฏิบัติ-สัมมาปฏิบัติ

          [๘๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิบัติและสัมมาปฏิบัติ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น

          [๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาปฏิบัติเป็นไฉน? คือ ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจมั่นผิด นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิบัติ

          [๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาปฏิบัติเป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า สัมมาปฏิบัติ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒

ปฏิปันนสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ปฏิบัติผิด-ปฏิบัติชอบ

          [๙๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคล ผู้ปฏิบัติผิด และบุคคลผู้ปฏิบัติชอบ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น

          [๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ปฏิบัติผิดเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิด ฯลฯ มีความตั้งใจมั่นผิด บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ปฏิบัติผิด

          [๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ปฏิบัติชอบเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ มีความตั้งใจมั่นชอบ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ปฏิบัติชอบ


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒-๒๓

วิรัทธสูตร
ผลของผู้พลาดและผู้ปรารภอริยมรรค

          [๙๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ แห่งบุคคล เหล่านั้น ย่อมไม่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปรารภแล้วอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ แห่งบุคคล เหล่านั้น ย่อมให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

          [๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อันบุคคล เหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ แห่งบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อันบุคคล เหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ แห่งบุคคลเหล่านั้น ย่อมให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๒๓

ปารสูตร
ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงฝั่ง (นิพพาน)

          [๙๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่ง (นิพพาน) จากที่มิใช่ฝั่ง (วัฏฏะ) ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน? คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ ธรรม ๘ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง

          พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า

          [๙๘] ในพวกมนุษย์ ชนที่ถึงฝั่งมีจำนวนน้อย แต่หมู่สัตว์นอกนี้ ย่อมวิ่งไปตาฝั่ง นั่นเอง ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามในธรรมที่พระผู้มี พระภาคตรัสดีแล้ว ชนเหล่านั้น ข้ามบ่วงมฤตยู ซึ่งแสนยากที่จะข้ามไปถึง ฝั่งได้

           บัณฑิตพึงละธรรมฝ่ายดำเสีย เจริญธรรม ฝ่ายขาว ออกจากความ อาลัย อาศัยธรรมอันไม่มีความอาลัยแล้ว พึงละกามเสีย เป็นผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกังวล ปรารถนาความยินดีในวิเวก ที่สัตว์ยินดีได้ยาก บัณฑิตพึงยังตนให้ผ่องแผ้ว จากเครื่อง เศร้าหมองจิต ชนเหล่าใดอบรม จิตดีแล้วโ ดยชอบในองค์เป็นเหตุให้ตรัสรู้ ไม่ถือมั่น ยินดีแล้วในความ สละคืนความถือมั่น ชนเหล่านั้นเป็นผู้สิ้นอาสวะ มีความรุ่งเรือง ปรินิพพานแล้วในโลกนี้

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๒๔

สามัญญสูตรที่ ๑
ว่าด้วยสามัญญะและสามัญญผล

          [๙๙] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสามัญญะ (ความเป็นสมณะ) และ สามัญญผล (ผลแห่งความเป็นสมณะ) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น

          [๑๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญะเป็นไฉน? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า สามัญญะ

          [๑๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญผลเป็นไฉน? คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล นี้เรียกว่า สามัญญผล

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๒๔

สามัญญสูตรที่ ๒
ว่าด้วยสามัญญะและประโยชน์แห่งสามัญญะ

          [๑๐๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสามัญญะ และประโยชน์ แห่งสามัญญะ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น

          [๑๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญะเป็นไฉน? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า สามัญญะ

          [๑๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งสามัญญะเป็นไฉน? ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่งสามัญญะ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๒๔-๒๕

พรหมัญญสูตรที่ ๑
ความเป็นพรหมและเป็นพรหมัญญผล

          [๑๐๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมัญญะ (ความเป็นพรหม) และพรหมัญญผล (ผลแห่งความเป็นพรหม) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น

          [๑๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมัญญะเป็นไฉน? อริยมรรคอันประกอบด้วย องค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า พรหมัญญะ

          [๑๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมัญญผลเป็นไฉน? คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล นี้เรียกว่า พรหมัญญผล

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๒๕

พรหมัญญสูตรที่ ๒
ความเป็นพรหมและประโยชน์แห่งความเป็นพรหม

          [๑๐๘] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมัญญะ และประโยชน์ แห่งพรหมัญญะ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น

          [๑๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมัญญะเป็นไฉน? อริยมรรคอันประกอบด้วย องค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า พรหมัญญะ

          [๑๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งพรหมัญญะเป็นไฉน? ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่งพรหมัญญะ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕

พรหมจริยสูตรที่ ๑
พรหมจรรย์และผลแห่งพรหมจรรย์

          [๑๑๑] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมจรรย์ และผลแห่ง พรหมจรรย์ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น

          [๑๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์เป็นไฉน? อริยมรรคอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า พรหมจรรย์

          [๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผลแห่งพรหมจรรย์เป็นไฉน? คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล นี้เรียกว่า ผลแห่งพรหมจรรย์

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๕-๒๖

พรหมจริยสูตรที่ ๒
พรหมจรรย์และประโยชน์แห่งพรหมจรรย์

          [๑๑๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมจรรย์ และประโยชน์ แห่งพรหมจรรย์ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น

          [๑๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์เป็นไฉน. อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า พรหมจรรย์

          [๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งพรหมจรรย์เป็นไฉน? ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่งพรหมจรรย์



 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์