เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ปริพาชกสูตร ตรัสบทธรรมแก่ปริพาชก อนภิชฌา อพยาบาท สัมมาสติ สัมมาสมาธิ 1942
 


ดูกรปริพาชกทั้งหลาย บทแห่งธรรม ๔ ประการนี้ บัณฑิตสรรเสริญว่า
เป็นเลิศ เป็นของมี มานาน เป็นประเพณีของพระอริยะ เป็นของเก่า
ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคย กระจัด กระจาย นักปราชญ์ย่อมไม่รังเกียจ
จักไม่รังเกียจ วิญญูชนทั้งสมณะ และ พราหมณ์ ไม่เกลียดบทแห่งธรรม
๔ ประการเป็นไฉน คือ
๑ บทแห่งธรรมคือ อนภิชฌา (ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น)
๒ บทแห่งธรรมคือ อพยาบาท (ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น)
๓ บทแห่งธรรม คือ สัมมาสติ (ผู้มีสติไม่หลงลืม)
๔ บทแห่งธรรมคือ สัมมาสมาธิ (มีจิตตั้งมั่น)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๔-๓๖

ปริพาชกสูตร

             [๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏใกล้กรุงราชคฤห์ ก็โดยสมัยนั้นแล พวกปริพาชกผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง มากด้วยกันอาศัยอยู่ใน ปริพาชการาม ใกล้ฝั่งแม่น้ำสิปปินี คือ อันนภารปริพาชก วธรปริพาชก และ สุกุลทายิปริพาชก รวมทั้งปริพาชกผู้มีชื่อเสียงโด่งดังเหล่าอื่นด้วย

              ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาค เสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เสด็จเข้าไปทาง ปริพาชการาม ริมฝั่งแม่น้ำสิปปินี ครั้นเสด็จเข้าไปแล้ว ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ ถวาย ครั้นประทับนั่งแล้ว ได้ตรัสกะปริพาชกเหล่านั้นว่า

             ดูกรปริพาชกทั้งหลาย บทแห่งธรรม ๔ ประการนี้ บัณฑิตสรรเสริญว่า เป็นเลิศ เป็นของมีมานาน เป็นประเพณีของพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคย กระจัด กระจาย นักปราชญ์ย่อมไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ วิญญูชนทั้งสมณะ และ พราหมณ์ ไม่เกลียดบทแห่งธรรม
๔ ประการเป็นไฉน คือ
บทแห่งธรรมคือ อนภิชฌา ๑
บทแห่งธรรมคือ อพยาบาท ๑
บทแห่งธรรม คือ สัมมาสติ ๑
บทแห่งธรรมคือ สัมมาสมาธิ ๑

             ดูกรปริพาชกทั้งหลาย บทแห่งธรรม ๔ ประการนี้แล บัณฑิตสรรเสริญว่า เป็นเลิศเป็นของมีมานาน เป็นประเพณีของพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย บัณฑิตย่อมไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ วิญญูชนทั้งสมณะ และ พราหมณ์ไม่เกลียด

บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า

             เราบอกคืนบทแห่งธรรม คือ อนภิชฌา นี้แล้ว จักบัญญัติสมณะ หรือพราหมณ์ ผู้มากไปด้วยอภิชฌา ผู้มีราคะแรงกล้าในกาม ทั้งหลาย ดังนี้  เราพึงกล่าวใน เพราะ คำนั้น กะบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า จงมา จงกล่าว จงพูดเถิด เราจักดูอานุภาพของเขา ดังนี้ ข้อที่บุคคลนั้นแล บอกคืนบทแห่งธรรม คือ อนภิชฌาแล้ว จักบัญญัติสมณะ หรือ พราหมณ์ ผู้มากไปด้วยอภิชฌา มีราคะแรงกล้าในกาม ทั้งหลาย นั่นไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้ บุคคลใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า

             เราบอกคืนบทแห่งธรรม คือ อพยาบาท นี้แล้ว จักบัญญัติสมณะ หรือ พราหมณ์ ผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจอันเศร้าหมอง เราพึงกล่าวใน เพราะคำนั้น กะบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า จงมา จงกล่าวจงพูดเถิด เราจักดูอานุภาพของเขา ดังนี้ ข้อที่ บุคคลนั้นแล บอกคืนบทแห่งธรรม คืออพยาบาท แล้ว จักบัญญัติสมณะ หรือพราหมณ์ ผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจอันเศร้าหมอง นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ บุคคลใดแล พึงกล่าวอย่างนี้ว่า

              เราบอกคืนบทแห่งธรรม คือ สัมมาสติ นี้แล้ว จักบัญญัติสมณะ หรือพราหมณ์ ผู้มีสติหลงลืมผู้ไม่มีสัมปชัญญะ ดังนี้ เราพึงกล่าวในเพราะคำนั้น กะบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า จงมาจงกล่าว จงพูดเถิด เราจักดูอานุภาพของเขา ดังนี้ ข้อที่บุคคลนั้นแล บอกคืน บทแห่งธรรม คือสัมมาสติแล้ว จักบัญญัติสมณะ หรือพราหมณ์ ผู้มีสติหลงลืม ผู้ไม่มี สัมปชัญญะ นั่นไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้ บุคคลใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า

              เราบอกคืนบทแห่งธรรม คือ สัมมาสมาธิ แล้ว จักบัญญัติสมณะ หรือ พราหมณ์ ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นผู้มีจิตหมุนเวียน ดังนี้ เราพึงกล่าวในเพราะคำนั้น กะบุคคลนั้น อย่างนี้ว่า จงมาจงกล่าว จงพูดเถิด เราจักดูอานุภาพของเขา ดังนี้ ข้อที่บุคคลนั้นแล บอกคืนบทแห่งธรรม คือสัมมาสมาธิ แล้ว จักบัญญัติสมณะ หรือพราหมณ์ ผู้มีจิต ไม่ตั้งมั่น ผู้มีจิตหมุนเวียน นั่นไม่เป็นฐานะ ที่จะมีได้

             บุคคลใดแลพึงสำคัญ บทแห่งธรรม ๔ ประการนี้ว่า ควรติเตียน ควรคัดค้าน ฐานะอันบัณฑิตพึงติเตียน ซึ่งกระทบกระเทือนวาทะ อันประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมมาถึงบุคคลนั้น ในปัจจุบันเทียว

บทแห่งธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

             ถ้าบุคคลย่อมติเตียน ย่อมคัดค้านบทแห่งธรรม คือ อนภิชฌา และสมณะ หรือ พราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้มากไปด้วยอภิชฌา มีราคะแรงกล้าในกามทั้งหลาย สมณะ หรือ พราหมณ์เหล่านั้น บุคคลนั้นยกย่องบูชาและสรรเสริญ

             ถ้าบุคคลย่อมติเตียนย่อมคัดค้าน บทแห่งธรรม คือ อพยาบาท สมณะหรือ พราหมณ์ ผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจอันเศร้าหมอง บุคคลนั้น ยกย่องบูชาและ สรรเสริญ

              ถ้าบุคคลย่อมติเตียน ย่อมคัดค้านบทแห่งธรรม คือ สัมมาสติ สมณะหรือ พราหมณ์ ผู้มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ บุคคลนั้นยกย่องบูชา และสรรเสริญ

              ถ้าบุคคล ย่อมติเตียน ย่อมคัดค้านบทแห่งธรรม คือ สัมมาสมาธิ สมณะ หรือ พราหมณ์ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ผู้มีจิตหมุนเวียน บุคคลนั้นยกย่องบูชาและสรรเสริญ

             บุคคลใดพึงสำคัญบทแห่งธรรม ๔ ประการนี้ว่า ควรติเตียน ควรคัดค้านฐานะ อันบัณฑิตพึงติเตียน ซึ่งกระทบกระเทือนวาทะ อันประกอบด้วยธรรม๔ ประการนี้ ย่อมเข้าถึงบุคคลนั้น ในปัจจุบันเทียว

             ปริพาชกชื่อวัสสะ และภัญญะ ผู้อยู่ในอุกกลชนบท เป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ ได้สำคัญบทแห่งธรรม ๔ ประการนี้ว่าไม่ควรติเตียน ไม่ควร คัดค้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกลัวต่อนินทา กลัวต่อความกระทบกระเทือน และกลัว ต่อความติเตียน

             บุคคลผู้ไม่พยาบาท มีสติในกาลทุกเมื่อ มีจิตตั้งมั่นใน ภายใน ศึกษาใน ความกำจัดอภิชฌาอยู่ เราเรียกว่าเป็นผู้ ไม่ประมาท

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์