เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

คนพาลกับบัณฑิต.. ภยสูตร ลักขณสูตร จินตาสูตร อัจจยสูตร อโยนิโสสูตร อกุสลสูตร .. 1940
 


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภัยที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้นนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล หาเกิดขึ้นแต่บัณฑิตไม่
อันตรายที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้นนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล หาเกิดขึ้นแต่บัณฑิตไม่
อุปสรรคที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้นนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล หาเกิดขึ้นแต่บัณฑิตไม่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนพาลมีภัยเฉพาะหน้า บัณฑิตหาภัยเฉพาะหน้ามิได้
คนพาลมีอันตราย บัณฑิตหาอันตรายมิได้
คนพาลมีอุปสรรคบัณฑิต หาอุปสรรคมิได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภัยไม่มีมาแต่บัณฑิต อันตรายไม่มีมาแต่บัณฑิต อุปสรรคไม่มีมา แต่บัณฑิต

ลักษณะคนพาล ของคนพาล เป็นไฉน
- คนพาลในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้คิดเรื่องที่ คิดชั่ว ๑ พูดคำที่พูดชั่ว ๑ ทำกรรมที่ทำชั่ว ๑

- ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว แต่ไม่ทำคืนตามธรรม ๑ เมื่อผู้อื่นชี้โทษอยู่ ไม่รับรู้ตามธรรม ๑

- ตั้งปัญหาโดยไม่แยบคาย ๑ เฉลยปัญหาโดยไม่แยบคาย ๑ ไม่อนุโมทนาปัญหาที่ผู้อื่นเฉลยโดย แยบคาย ด้วยบท พยัญชนะที่เหมาะสม สละสลวย เข้ารูป ๑

- กายกรรมที่เป็นการเบียดเบียน ๑ วจีกรรมที่เป็นการเบียดเบียน ๑ มโนกรรมที่เป็นการเบียดเบียน ๑

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ จะต้องถูกเก็บไว้ในนรก
๑ เป็นผู้ทุศีล และไม่ละมลทิน แห่งความเป็นผู้ทุศีล ๑
๒ เป็นผู้ริษยา และ ไม่ละมลทิน แห่งความริษยา ๑
๓ เป็นผู้ตระหนี่ และไม่ละมลทิน แห่งความตระหนี่ ๑

บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมจะประดิษฐานบนสวรรค์
๑ เป็นผู้มีศีล และละมลทินแห่งความเป็นผู้ทุศีล ๑
๒ เป็นผู้ไม่ริษยา และละมลทิน แห่งความริษยา ๑
๓ เป็นผู้ไม่ตระหนี่ และละมลทินแห่งความตระหนี่ ๑


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ภยสูตร ๒. ลักขณสูตร ๓. จินตาสูตร ๔. อัจจยสูตร
๕. อโยนิโสสูตร ๖. อกุสลสูตร ๗. สาวัชชสูตร ๘. สัพยาปัชชสูตร
๙. ขตสูตร ๑๐. มลสูตร


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๑๔

คนพาลกับบัณฑิต
๑ ภยสูตร

            [๔๔๐] ๑. ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ฯ
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภัยที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้นนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล หาเกิดขึ้นแต่บัณฑิตไม่
อันตรายที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้นนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล หาเกิดขึ้นแต่บัณฑิตไม่
อุปสรรคที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้นนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล หาเกิดขึ้นแต่บัณฑิตไม่


            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฟอันลุกลามมาจากเรือนไม้อ้อ หรือเรือนหญ้า ย่อมไหม้แม้ ซึ่งเรือนยอดที่เขาโบกทั้งภายในภายนอก ลมพัดเข้าไม่ได้ มีบานประตูมิดชิด มีหน้าต่าง ปิดแน่น แม้ฉันใด

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้นนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล หาเกิดขึ้นแต่บัณฑิตไม่ อันตรายที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้นนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล หาเกิดขึ้นแต่บัณฑิตไม่ อุปสรรคที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้นนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล หาเกิดขึ้นแต่บัณฑิตไม่ ฉันนั้นเหมือนกันแล

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย
คนพาลมีภัยเฉพาะหน้า บัณฑิตหาภัยเฉพาะหน้ามิได้
คนพาลมีอันตราย บัณฑิตหาอันตรายมิได้
คนพาลมีอุปสรรคบัณฑิต หาอุปสรรคมิได้


            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยไม่มีมาแต่บัณฑิต อันตรายไม่มีมาแต่บัณฑิต อุปสรรคไม่มีมา แต่บัณฑิต

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า บุคคล ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อันเขาพึงรู้ว่าเป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการนั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อันเขาพึงรู้ว่าเป็นบัณฑิต เราจักประพฤติสมาทานธรรม ๓ ประการนั้น

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล

--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๑๕

๒ ลักขณสูตร

            [๔๔๑] ๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีกรรม เป็นเครื่องกำหนด บัณฑิตมีกรรม เป็นเครื่องกำหนด ปัญญางดงามในความประพฤติเนืองๆ

            ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคล ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นคน พาล ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็น คนพาล บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการ เป็นไฉนคือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็น บัณฑิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า บุคคล ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อันเขาพึงรู้ว่าเป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการนั้นบุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อันเขาพึงรู้ว่าเป็นบัณฑิต เราจักประพฤติสมาทานธรรม ๓ ประการนั้น

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล


--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๑๕-๑๑๖

๓ จินตาสูตร

            [๔๔๒] ๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลักษณะคนพาล นิมิตคนพาล ความประพฤติ ไม่ขาดสาย ของคนพาล ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้คิดเรื่องที่คิดชั่ว ๑ พูดคำ ที่พูดชั่ว ๑ ทำกรรมที่ทำชั่ว ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าคนพาลจักไม่เป็นคนคิดเรื่องที่คิดชั่ว ๑ พูดคำที่พูดชั่ว ๑ ทำกรรมที่ทำชั่ว ๑ เช่นนั้น บัณฑิตจะพึงรู้เขาด้วยเหตุอย่างไรว่า ผู้นี้เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะคนพาล ย่อมเป็นผู้คิดเรื่องที่คิดชั่ว พูดคำที่พูดชั่ว ทำกรรมที่ทำชั่ว ฉะนั้น บัณฑิตจึงรู้จักเขาว่า ผู้นี้เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลักษณะคนพาล นิมิตคนพาล ความประพฤติไม่ขาดสายของ คนพาล ๓ ประการนี้แล

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลักษณะบัณฑิตนิมิตบัณฑิต ความประพฤติ ไม่ขาดสายของ บัณฑิต ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้ คิดเรื่องที่คิดดี ๑ พูดคำที่พูดดี ๑ ทำกรรมที่ทำดี ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าบัณฑิตไม่เป็นคนคิดเรื่อง ที่คิดดีพูดคำที่พูดดี และ ทำกรรมที่ทำดี เช่นนั้น บัณฑิตจะพึงรู้เขาได้ด้วยเหตุอะไรว่าผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะบัณฑิต ย่อมเป็นผู้คิดเรื่องที่คิดดี พูดคำที่พูดดี และทำกรรม ที่ทำดี ฉะนั้น บัณฑิตจึงรู้จักเขาว่า ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลักษณะบัณฑิต นิมิตบัณฑิต ความประพฤติไม่ขาดสาย ของบัณฑิต ๓ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษา อย่างนี้ว่า บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อันเขารู้ว่าเป็นคนพาล เราจัก ประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการนั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อันเขารู้ว่า เป็นบัณฑิต เราจักประพฤติสมาทานธรรม ๓ ประการนั้น

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล


--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๑๖

๔ อัจจยสูตร

            [๔๔๓] ๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย ธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว แต่ไม่ทำคืนตามธรรม ๑ เมื่อผู้อื่นชี้โทษอยู่ ไม่รับรู้ตามธรรม ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็น คนพาล

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ประการ พึงทราบว่าเป็น บัณฑิต ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ เห็นโทษโดย ความเป็นโทษแล้ว ย่อมทำคืนตามธรรม ๑ เมื่อผู้อื่นชี้โทษอยู่ ย่อมรับรู้ตามธรรม ๑

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็น บัณฑิต


--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๑๗

๕ อโยนิโสสูตร

            [๔๔๔] ๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ตั้งปัญหาโดยไม่แยบคาย ๑ เฉลยปัญหาโดยไม่แยบคาย ๑ ไม่อนุโมทนาปัญหาที่ผู้อื่นเฉลยโดยแยบคาย ด้วยบท พยัญชนะที่เหมาะสม สละสลวย เข้ารูป ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล

             ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ตั้งปัญหาโดยแยบคาย ๑ เฉลยปัญหา โดยแยบคาย ๑ อนุโมทนาปัญหาที่ผู้อื่นเฉลย โดยแยบคาย ด้วยบทพยัญชนะ ที่เหมาะสม สละสลวยเข้ารูป ๑

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิ


--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๑๗

๖ อกุสลสูตร

            [๔๔๕] ๖. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมเป็นอกุศล ๑ วจีกรรม เป็นอกุศล ๑ มโนกรรมเป็นอกุศล ๑

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็น บัณฑิต ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมเป็นกุศล ๑ วจีกรรมเป็นกุศล ๑ มโนกรรม เป็นกุศล ๑

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็น บัณฑิต


--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๑๗-๑๑๘

๗ สาวัชชสูตร

            [๔๔๖] ๗. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมที่เป็นโทษ ๑ วจีกรรม ที่เป็นโทษ ๑ มโนกรรมที่เป็นโทษ ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็น บัณฑิต ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมที่ไม่เป็นโทษ ๑ วจีกรรมที่ไม่เป็นโทษ ๑ มโนกรรมที่ไม่เป็นโทษ ๑

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็น บัณฑิต

--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๑๘

๘ สัพยาปัชชสูตร

            [๔๔๗] ๘. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมที่เป็นการเบียดเบียน ๑ วจีกรรมที่เป็นการเบียดเบียน ๑ มโนกรรมที่เป็นการเบียดเบียน ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็น บัณฑิต ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมที่ไม่เป็นการเบียดเบียน ๑ วจีกรรม ที่ไม่เป็น การเบียดเบียน ๑ มโนกรรม ที่ไม่เป็นการเบียดเบียน ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็น บัณฑิตดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า บุคคล ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อันเขาพึงรู้ว่าเป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการนั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อันเขาพึงรู้ว่าเป็นบัณฑิต เราจักประพฤติสมาทานธรรม ๓ ประการนั้น

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล

--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๑๘-๑๑๙

๙ ขตสูตร

            [๔๔๘] ๙. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลไม่ฉลาด เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วย ธรรม ๓ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย เป็นผู้เป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน และประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑

             ดูกรภิกษุทั้งหลายคนพาลไม่ฉลาด เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ นี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เป็นผู้เป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน และประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้ฉลาด เป็นสัตบุรุษประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลายเป็นผู้ไม่มีโทษ ผู้รู้ไม่ติเตียน และ ประสบบุญ เป็นอันมาก ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑

             ดูกรภิกษุทั้งหลายบัณฑิตผู้ฉลาด เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ นี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เป็นผู้ไม่มีโทษ ผู้รู้ไม่ติเตียน และประสบบุญ


--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๑๙-๑๒๐

๑๐ มลสูตร

            [๔๔๙] ๑๐. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ไม่ละ มลทิน ๓ ประการ จะต้องถูกเก็บไว้ในนรก เหมือนถูกขังฉะนั้น ธรรม ๓ ประการ เป็นไฉน คือ เป็นผู้ทุศีล และไม่ละมลทินแห่งความเป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้ริษยา และ ไม่ละมลทิน แห่งความริษยา ๑ เป็นผู้ตระหนี่ และไม่ละมลทินแห่งความตระหนี่ ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลไม่ละมลทิน ๓ ประการนี้ จะต้องถูกเก็บไว้ในนรก เหมือนถูกขังฉะนั้น

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ละมลทิน ๓ ประการ เสีย ย่อมจะประดิษฐานบนสวรรค์ เหมือนถูกนำเอามาวางไว้ ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการ เป็นไฉน คือ เป็นผู้มีศีล และละมลทินแห่งความเป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้ไม่ริษยา และ ละมลทิน แห่งความริษยา ๑ เป็นผู้ไม่ตระหนี่ และละมลทินแห่งความตระหนี่ ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้ และละมลทิน ๓ ประการนี้แล ย่อมจะประดิษฐานอยู่บนสวรรค์ เหมือนถูกนำเอามาวางไว้ ฉะนั้น

จบพาลวรรคที่ ๑

 


 

 

 

 

 

 

 

 



 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์