พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๙๑-๙๓
สนิมิตตวรรคที่ ๓
(ธรรมที่เป็นบาปอกุศล ๒ อย่าง อาศัยเหตุจึงเกิด ไม่มีเหตุไม่เกิด)
[๓๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีนิมิตจึงเกิดขึ้น ไม่มีนิมิต ไม่เกิดขึ้น เพราะละนิมิตนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น จึงไม่มี ด้วยประการดังนี้
[๓๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีนิทานจึงเกิดขึ้น ไม่มีนิทาน ไม่เกิดขึ้น เพราะละนิทานนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น จึงไม่มี ด้วยประการ ดังนี้
[๓๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุ ไม่เกิดขึ้น เพราะละเหตุนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น จึงไม่มี ด้วยประการดังนี้
[๓๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีเครื่องปรุงจึงเกิดขึ้น ไม่มีเครื่องปรุง ไม่เกิดขึ้น เพราะละเครื่องปรุงนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น จึงไม่มี ด้วยประการดังนี้
[๓๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีปัจจัยจึงเกิดขึ้นไม่มีปัจจัย ไม่เกิดขึ้น เพราะละปัจจัยนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น จึงไม่มี ด้วยประการดังนี้
[๓๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีรูปจึงเกิดขึ้น ไม่มีรูป ไม่เกิดขึ้น เพราะละรูปนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น จึงไม่มี ด้วยประการดังนี้
[๓๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีเวทนาจึงเกิดขึ้นไม่มีเวทนา ไม่เกิดขึ้น เพราะละเวทนานั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น จึงไม่มี ด้วยประการ ดังนี้
[๓๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสัญญาจึงเกิดขึ้นไม่มีสัญญา ไม่เกิดขึ้น เพราะละสัญญานั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น จึงไม่มี ด้วยประการ ดังนี้
[๓๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีวิญญาณจึงเกิดขึ้น ไม่มี วิญญาณไม่เกิดขึ้น เพราะละวิญญาณนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น จึงไม่มี ด้วยประการดังนี้
[๓๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ จึงเกิดขึ้น ไม่มีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ไม่เกิดขึ้น เพราะละสังขตธรรมนั้นเสีย ธรรมที่เป็น บาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้
จบสนิมิตตวรรคที่ ๓
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๙๓-๙๔
ธรรมวรรค
(ธรรม ๒ อย่างที่เป็นฝ่ายกุศล)
[๓๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ เจโตวิมุติ ๑ ปัญญาวิมุติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๓๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือความเพียร ๑ ความไม่ฟุ้งซ่าน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๓๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือนาม ๑ รูป ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๓๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือวิชชา ๑ วิมุตติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๓๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือภวทิฏฐิ ๑ วิภวทิฏฐิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๓๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือความไม่ละอาย ๑ ความไม่เกรงกลัว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๓๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือหิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๓๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือความเป็นคนว่า ยาก ๑ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๓๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือความเป็นคนว่า ง่าย ๑ ความเป็นผู้มีมิตรดี ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๓๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือความเป็นผู้ฉลาด ในธาตุ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๓๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือความเป็นผู้ ฉลาด ในอาบัติ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
จบธรรมวรรคที่ ๔
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๙๔-๙๖
พาลวรรคที่ ๕
(คนพาล ๒ พวก บัณฑิต ๒ พวก)
[๓๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่นำเอาภาระที่ยังไม่มาถึงไป ๑ คนที่ไม่นำเอาภาระที่มาถึงไป ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล
[๓๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่นำ ภาระที่มาถึงไป ๑ คนที่ไม่นำเอาภาระที่ยังไม่มาถึงไป ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล ฯ
[๓๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือคนที่เข้าใจ ว่า ควรในของที่ไม่ควร ๑ คนที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล
[๓๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่ เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ไม่ควร ๑ คนที่เข้าใจว่าควรในของที่ควร ๑ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล
[๓๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวก เป็นไฉน คือ คนที่ เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๑ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่เป็น อาบัติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล
[๓๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉนคือ คนที่ เข้าใจ ว่า ไม่เป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๑ คนที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล
[๓๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๑ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล
[๓๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๑ คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล
[๓๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๑ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล
[๓๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๑ คนที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล
[๓๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่รังเกียจสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ ๑ ผู้ที่ไม่รังเกียจสิ่งที่น่ารังเกียจ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล
[๓๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวก เป็นไฉน คือ ผู้ที่ไม่รังเกียจสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ ๑ ผู้ที่รังเกียจสิ่งที่น่ารังเกียจ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล
[๓๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าควรในของที่ไม่ควร ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ควร ๑ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล
[๓๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก๒ จำพวก เป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ไม่ควร ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าควรในของที่ควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล
[๓๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่เป็น อาบัติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล
[๓๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าเป็น อาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล
[๓๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่ เป็นธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล
[๓๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก๒ จำพวก เป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นธรรม ในข้อ ที่เป็นธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน๒ จำพวกนี้แล
[๓๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล
[๓๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวก
เป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่ เป็นวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒จำพวกนี้แล
จบพาลวรรคที่ ๕
|