พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๙๗-๙๘
ตติยปัณณาสก์
ว่าด้วยความหวังที่ละได้ยาก
[๓๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวัง ๒ อย่างนี้ละได้ยาก ๒ อย่างเป็นไฉน คือความหวังในลาภ ๑ ความหวังในชีวิต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวัง ๒ อย่างนี้แล ละได้ยาก
[๓๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้หาได้ยากในโลก ๒ จำพวก เป็นไฉน คือ บุพพการีบุคคล ๑ กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แล หาได้ยากในโลก
[๓๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้หาได้ยากในโลก ๒ จำพวก เป็นไฉน คือ คนที่พอใจ ๑ คนที่อิ่มหนำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แลหาได้ยากในโลก
[๓๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ให้อิ่มได้ยาก ๒ จำพวก เป็นไฉน คือ บุคคลผู้เก็บสิ่งที่ได้ไว้แล้วๆ ๑ บุคคลผู้สละสิ่งที่ได้แล้วๆ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แลให้อิ่มได้ยาก
[๓๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ให้อิ่มได้ง่าย ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลผู้ไม่เก็บสิ่งที่ตนได้ไว้แล้วๆ ๑ บุคคลผู้ไม่สละสิ่งที่ตนได้แล้วๆ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แลให้อิ่มได้ง่าย
[๓๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งราคะ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง เป็นไฉน คือ สุภนิมิต ๑ อโยนิโสมนสิการ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความ เกิดขึ้นแห่งราคะ ๒ อย่างนี้แล
[๓๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งโทสะ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง เป็นไฉน คือ ปฏิฆนิมิต ๑ อโยนิโสมนสิการ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้น แห่ง โทสะ ๒ อย่างนี้แล
[๓๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมิจฉาทิฐิ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น ๑ อโยนิโสมนสิการ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้น แห่งมิจฉาทิฐิ ๒ อย่างนี้แล
[๓๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฐิ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น ๑ โยนิโสมนสิการ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง สัมมาทิฐิ ๒ อย่างนี้แล
[๓๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือลหุกาบัติ ๑ ครุกาบัติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้แล
[๓๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คืออาบัติชั่วหยาบ ๑ อาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้แล
[๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คืออาบัติ ที่มีส่วนเหลือ ๑ อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้แล
จบอาสาวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๙๘ - ๑๐๑
อายาจนวรรคที่ ๒
หมวดว่าด้วยความปรารถนา
[๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอน อย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสารีบุตร และ ภิกษุโมคคัลลานะนี้ เป็นตราชูมาตรฐานของภิกษุสาวกของเรา
[๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นางภิกษุณีผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอน อย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นภิกษุณีเขมา และอุบลวัณณาเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีเขมา และ ภิกษุณีอุบลวัณณานี้ เป็นตราชูมาตรฐานของ ภิกษุณีสาวิกาของเรา
[๓๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึง อ้อนวอน อย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นจิตตคฤหบดี และหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตตคฤหบดี และหัตถกอุบาสก ชาวเมืองอาฬวีนี้เป็นตราชูมาตรฐาน ของอุบาสกสาวกของเราแล
[๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบพึง อ้อนวอน อย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นอุบาสิกาขุชชุตตรา และ นางเวฬุกัณฏกี นันทมารดาเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาขุชชุตตราและนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดา เป็นตราชูมาตรฐานของ อุบาสิกาสาวิกาของเรา
[๓๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมาก ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ไม่พิจารณาไตร่ตรอง พูดสรรเสริญคุณของคนที่ควรติเตียน ๑ไม่พิจารณาไตร่ตรองพูดติโทษ ของคนที่ควร สรรเสริญ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ นี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัดถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลมประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกจำกัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ธรรม๒ ประการ เป็นไฉน คือ พิจารณาไตร่ตรองแล้วพูดติเตียนคนที่ควรติเตียน ๑ พิจารณาไตร่ตรองแล้ว พูดสรรเสริญ คนที่ควรสรรเสริญ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายสัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ นี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย
[๓๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกจำกัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย ธรรม ๒ประการเป็นไฉน คือ ไม่พิจารณาไตร่ตรองแล้ว เกิดเลื่อมใสในฐานะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑ ไม่พิจารณาไตร่ตรองแล้ว เกิดไม่เลื่อมใสในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ นี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัดถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ธรรม ๒ ประการ เป็นไฉนคือ พิจารณาไตร่ตรองแล้ว เกิดไม่เลื่อมใสในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความไม่ เลื่อมใส ๑ พิจารณาไตร่ตรองแล้ว เกิดเลื่อมใสในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาดเฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกจำกัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย
[๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้ รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย บุคคล ๒จำพวกเป็นไฉน คือ มารดา ๑ บิดา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลาไม่เฉียบแหลม ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวก นี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัดให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย บุคคล ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ มารดา ๑ บิดา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลมปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวก นี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย
[๓๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย บุคคล ๒จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคต ๑ สาวกของพระตถาคต ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวก นี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกจำกัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาป เป็นอันมากอีกด้วย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาดเฉียบแหลม ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลายเขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย บุคคล ๒จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคต ๑ สาวกของ พระตถาคต ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายสัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวก นี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกจำกัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ฯ
[๓๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือการชำระจิต ของตนให้ผ่องแผ้ว ๑ การไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง นี้แล
[๓๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือความโกรธ ๑ ความผูกโกรธ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๓๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือการกำจัด ความโกรธ ๑ การกำจัดความผูกโกรธ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
จบอายาจนวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๐๑-๑๐๓
ทานวรรคที่ ๓
หมวดว่าด้วยทาน
[๓๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คืออามิสทาน ๑ ธรรมทาน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ
[๓๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือการบูชา ด้วยอามิส ๑ การบูชาด้วยธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบูชา ๒ อย่างนี้ การบูชาด้วยธรรมเป็นเลิศ
[๓๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสละ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือการสละ อามิส ๑ การสละธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสละ ๒ อย่างนี้แลดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสละ ๒ อย่างนี้ การสละธรรมเป็นเลิศ
[๓๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริจาค ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ การบริจาค อามิส ๑ การบริจาคธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริจาค ๒อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบริจาค ๒ อย่างนี้ การบริจาคธรรมเป็นเลิศ
[๓๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริโภค ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ การบริโภค อามิส ๑ การบริโภคธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริโภค ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบริโภค ๒ อย่างนี้ การบริโภคธรรมเป็นเลิศ
[๓๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสมโภค ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ การสมโภค อามิส ๑ การสมโภคธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสมโภค ๒อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสมโภค ๒ อย่างนี้ การสมโภคธรรมเป็นเลิศ ฯ
[๓๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การจำแนก ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ การจำแนก อามิส ๑ การจำแนกธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การจำแนก ๒อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการจำแนก ๒ อย่างนี้ การจำแนกธรรมเป็นเลิศ
[๓๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ การสงเคราะห์ ด้วยอามิส ๑ การสงเคราะห์ด้วยธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายการสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้การสงเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ
[๓๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ การอนุเคราะห์ด้ วยอามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ
[๓๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ ความเอื้อเฟื้อ ด้วยอามิส ๑ ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรม เป็นเลิศ
จบทานวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๐๓-๑๐๕
สันถารวรรคที่ ๔
หมวดว่าด้วยการรับรอง
[๓๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สันถาร ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คืออามิสสันถาร ๑ ธรรมสันถาร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สันถาร ๒ อย่างนี้แลดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดา สันถาร ๒ อย่างนี้ ธรรมสันถารเป็นเลิศ
[๓๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสันถาร ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ อามิสปฏิสันถาร ๑ ธรรมปฏิสันถาร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสันถาร ๒อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาปฏิสันถาร ๒ อย่างนี้ ธรรมปฏิสันถารเป็นเลิศ
[๓๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เอสนา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คืออามิสเอสนา การเสาะหาอามิส ๑ ธรรมเอสนาการเสาะหาธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เอสนา ๒ อย่างนี้ แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาเอสนา ๒ อย่างนี้ธรรมเอสนาเป็นเลิศ
[๓๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริเยสนา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ อามิสปริเยสนา การแสวงหาอามิส ๑ ธรรมปริเยสนา การแสวงหาธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริเยสนา ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาปริเยสนา ๒ อย่างนี้ ธรรมปริเยสนาเป็นเลิศ
[๔๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริเยฏฐิ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คืออามิสปริเยฏฐิ การแสวงหาอามิสอย่างสูง ๑ ธรรมปริเยฏฐิ การแสวงหาธรรมอย่างสูง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริเยฏฐิ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาปริเยฏฐิ ๒ อย่างนี้ ธรรมปริเยฏฐิเป็นเลิศ
[๔๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ อามิสบูชา ๑ ธรรมบูชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการ บูชา ๒ อย่างนี้ ธรรมบูชาเป็นเลิศ
[๔๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ของต้อนรับแขก ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ ของ ต้อนรับ คือ อามิส ๑ ของต้อนรับ คือ ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ของต้อนรับแขก ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาของต้อนรับแขก ๒อย่างนี้ ของต้อนรับแขก คือ ธรรมเป็นเลิศ
[๔๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสำเร็จ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ ความสำเร็จ คือ อามิส ๑ ความสำเร็จ คือ ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายความสำเร็จ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความสำเร็จ ๒ อย่างนี้ความสำเร็จ คือ ธรรม เป็นเลิศ
[๔๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเจริญ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ ความเจริญ ด้วยอามิส ๑ ความเจริญด้วยธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเจริญ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเจริญ ๒ อย่างนี้ ความเจริญด้วยธรรมเป็นเลิศ
[๔๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัตนะ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ รัตนะคืออามิส ๑ รัตนะคือธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัตนะ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดา รัตนะ ๒ อย่างนี้ รัตนะคือธรรมเป็นเลิศ
[๔๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสะสม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ ความ สะสม อามิส ๑ ความสะสมธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสะสม ๒อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความสะสม ๒ อย่างนี้ ความสะสมธรรมเป็นเลิศ
[๔๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ ความไพบูลย์แห่งอามิส ๑ ความไพบูลย์แห่งธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้ความไพบูลย์แห่งธรรม เป็นเลิศ
จบสันถารวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๐๕-๑๐๗
สมาปัตติวรรคที่ ๕
หมวดว่าด้วยสมาบัติ
[๔๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือความเป็นผู้ ฉลาด ในสมาบัติ ๑ ความเป็นผู้ฉลาด ในการออกจากสมาบัติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๔๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือความเป็นผู้ ซื่อตรง ๑ ความเป็นผู้อ่อนโยน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๔๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือขันติ ๑ โสรัจจะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๔๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือความเป็นผู้มี วาจา อ่อนหวาน ๑ การต้อนรับแขก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒อย่างนี้แล
[๔๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือความไม่ เบียดเบียน ๑ ความเป็นคนสะอาด ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๔๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือความเป็นผู้ ไม่คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ ในการบริโภค ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๔๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือความเป็นผู้ คุ้มครอง ทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณ ในการบริโภค ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๔๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือกำลังคือการ พิจารณา ๑ กำลังคือการอบรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๔๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือกำลังคือสติ ๑ กำลังคือสมาธิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๔๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือสมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๔๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือศีลวิบัติ ๑ ทิฐิวิบัติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๔๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือศีลสมบัติ ๑ ทิฐิสมบัติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๔๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือศีลบริสุทธิ์ ๑ ทิฐิบริสุทธิ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๔๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือทิฐิบริสุทธิ์ ๑ ความเพียรที่สมควรแก่ทิฐิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ
[๔๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือความเป็นผู้ยัง ไม่พอ ในกุศลธรรม ๑ ความเป็นผู้ไม่ท้อถอย ในความเพียร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๔๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง ๒ อย่างเป็นไฉน คือความเป็นคน หลงลืมสติ ๑ ความไม่รู้สึกตัว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
[๔๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือสติ ๑ สัมปชัญญะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
จบสมาปัตติวรรคที่ ๕ |