เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

อนิจจสูตร ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นอนิจจัง 1917
 


ขันธ์ ๕
1. รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง ... อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป.. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น

2. รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ ... อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

3. รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา.. อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ ในรูป...

4. รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน ของเรา

5. รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น อนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

6. รูปเป็นอนัตตา รูปนั้นไม่ใช่ของเรา...อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา

7. รูปไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เกิดจากสิ่ง ที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า

8. รูปเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เกิดจากสิ่งที่ เป็นทุกข์ ที่ไหนจะเป็นสุขเล่า?

9. รูปเป็นอนัตตาแม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเกิดจากสิ่งที่ เป็นอนัตตาที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า?

10.ความดับเรียกว่านิโรธ ความดับแห่งธรรมเหล่าไหนแล เรียกว่านิโรธ. ดูกรอานนท์ รูปแล เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไป เป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดามีความดับไปเป็นธรรมดา ความดับแห่งรูปนั้น เรียกว่านิโรธ

ความดับแห่งธรรมทั้งหลาย
(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือขันธ์ทั้ง ๕) เรียกว่านิโรธ


อนิจจวรรค
๑. อนิจจสูตรที่ ๑ ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕
๒. ทุกขสูตรที่ ๑ ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งขันธ์ ๕
๓. อนัตตสูตรที่ ๑ ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งขันธ์ ๕
๔. อนิจจสูตรที่ ๒ ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕
๕. ทุกขสูตรที่ ๒ ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งขันธ์ ๕
๖. อนัตตสูตรที่ ๒ ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งขันธ์ ๕
๗. อนิจจเหตุสูตร ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งเหตุปัจจัย
๘. ทุกขเหตุสูตร ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งเหตุปัจจัย
๙. อนัตตเหตุสูตร ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งเหตุปัจจัย
๑๐. อานันทสูตร ว่าด้วยความดับแห่งขันธ์ ๕

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐
อนิจจสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕

             [๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ตรัสว่า

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง.

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนาแม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว.

              อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ สูตรที่ ๑

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐
๒. ทุกขสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งขันธ์ ๕


             [๔๐] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์.

              อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ สูตรที่ ๒

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐ - ๒๑
๓. อนัตตสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งขันธ์ ๕

             [๔๑] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญาแม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น.

              เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ สูตรที่ ๓.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑
๔. อนิจจสูตรที่ ๒
ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕


             [๔๒] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

             
ข้อนี้ อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เวทนา ไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง

              สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น อนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

              ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ แล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ สูตรที่ ๔.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑ - ๒๒
๕. ทุกขสูตรที่ ๒
ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งขันธ์ ๕


             [๔๓] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น อนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

              ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วย สัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เวทนา เป็นทุกข์ ฯลฯ สัญญาเป็นทุกข์ ฯลฯ สังขารเป็นทุกข์ ฯลฯ วิญญาณเป็นทุกข์

              สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็น เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้.

              อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ สูตรที่ ๕.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒
๖. อนัตตสูตรที่ ๒
ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งขันธ์ ๕


             [๔๔] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา รูปนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน ของเรา ข้อนี้ อริยสาวก พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ เวทนาเป็น อนัตตา ฯลฯ สัญญาเป็นอนัตตา ฯลฯ สังขารเป็นอนัตตา ฯลฯ วิญญาณเป็นอนัตตา ฯลฯ

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มี.

จบ สูตรที่ ๖.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒
๗. อนิจจเหตุสูตร
ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งเหตุปัจจัย


             [๔๕] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง.

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า? เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง.

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เกิดจากสิ่งไม่เที่ยง ที่ไหนจะเที่ยงเล่า? อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์ อยู่จบ แล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ สูตรที่ ๗.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๓
๘. ทุกขเหตุสูตร
ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งเหตุปัจจัย


             [๔๖] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์.

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจะเป็นสุขเล่า? เวทนาเป็นทุกข์ ฯลฯ สัญญาเป็นทุกข์ ฯลฯ สังขารเป็นทุกข์ ฯลฯ วิญญาณเป็นทุกข์ แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น ก็เป็นทุกข์.

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า? อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ แล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ สูตรที่ ๘.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๓
๙. อนัตตเหตุสูตร
ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งเหตุปัจจัย


             [๔๗] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตาแม้เหตุปัจจัยที่ให้รูปเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา.

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตาที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า? เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ สัญญาเป็นอนัตตา ฯลฯ สังขารเป็นอนัตตา ฯลฯ วิญญาณเป็น อนัตตา แม้เหตุปัจจัยที่ให้วิญญาณเกิดขึ้น ก็เป็นอนัตตา

              ดูกรภิกษุทั้งหลายวิญญาณที่เกิดจากสิ่งที่เป็นอนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตา เล่า?

             อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ สูตรที่ ๙.

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๓-๒๔
๑๐. อานันทสูตร
ว่าด้วยความดับแห่งขันธ์ ๕


             [๔๘] พระนครสาวัตถี. ฯลฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

              ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความดับเรียกว่านิโรธ ความดับแห่งธรรมเหล่าไหนแล เรียกว่านิโรธ.

              พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ รูปแลเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลาย ไป เป็นธรรมดามีความดับไปเป็นธรรมดา ความดับแห่งรูปนั้น เรียกว่านิโรธ.

              เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณ ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไป เป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา ความดับแห่ง วิญญาณนั้น เรียกว่านิโรธ.

              ดูกรอานนท์ ความดับแห่งธรรมเหล่านี้แล เรียกว่านิโรธ.

จบ สูตรที่ ๑๐

 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์