พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓-๑๔
๕. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิเป็นเหตุเกิดปัญญา
(ความยินดีในรูป ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือการเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
ความไม่ยินดีในรูป ในเวทนา.... เมื่อความยินดีในรูปดับไป อุปทานทานจึงดับ ภพจึงดับ
ความดับแห่งกองทุกข์.. ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้)
[๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง.
ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงอย่างไร ย่อมรู้ชัดซึ่ง
ความเกิด และความดับ แห่งรูป
ความเกิดและความดับ แห่งเวทนา
ความเกิดและความดับ แห่งสัญญา
ความเกิดและความดับ แห่งสังขาร
ความเกิดและความดับ แห่งวิญญาณ
[๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็น ความเกิดแห่งรูป อะไรเป็นความเกิดแห่งเวทนา อะไรเป็นความเกิดแห่งสัญญา อะไรเป็นความเกิดแห่งสังขาร อะไรเป็นความเกิดแห่งวิญญาณ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลในโลกนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ ก็บุคคลย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ ซึ่งอะไร ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความยินดีก็เกิดขึ้น
ความยินดีในรูปนั่นเป็นอุปาทาน
เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส. ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
บุคคลย่อมเพลิดเพลินซึ่งเวทนา ฯลฯ
ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสัญญา ฯลฯ
ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสังขาร ฯลฯ
ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึงย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ
เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ ความยินดีย่อมเกิดขึ้น ความยินดีในวิญญาณ นั่นเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้น เป็นปัจจัย จึงมีภพเพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส. ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี่เป็นความเกิดแห่งรูป นี่เป็นความเกิดแห่งเวทนา นี่เป็นความเกิดแห่งสัญญา นี่เป็นความเกิดแห่งสังขาร นี่เป็นความเกิดแห่งวิญญาณ
[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็น ความดับแห่งรูป อะไรเป็นความดับแห่งเวทนา อะไรเป็นความดับแห่งสัญญา อะไรเป็นความดับแห่งสังขาร อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่. ก็ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งอะไร. ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป
เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความยินดีในรูปย่อมดับไป เพราะความยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำ ซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ...ซึ่งวิญญาณ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ...ซึ่งวิญญาณ ความยินดีในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณ ย่อมดับไป เพราะความยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความดับแห่งรูป นี้เป็นความดับแห่งเวทนา นี้เป็นความดับแห่งสัญญา นี้เป็นความดับแห่งสังขาร นี้เป็นความดับแห่งวิญญาณ.
จบ สูตรที่ ๕
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔
๖. ปฏิสัลลานสูตร
ว่าด้วยการหลีกเร้นเป็นเหตุเกิดปัญญา
[๓๐] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงประกอบความเพียร ในการหลีกออกเร้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หลีกออกเร้น ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ก็ภิกษุย่อมรู้ชัด ตามเป็นจริงอย่างไร ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด และความดับแห่งรูป ... แห่งเวทนา ... แห่งสัญญา ... แห่งสังขาร ... แห่งวิญญาณ (ความต่อไปนี้เหมือนข้อ ๒๘-๒๙).
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕-๑๖
๗. อุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความสะดุ้งและไม่สะดุ้ง
[๓๑] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความสะดุ้งเพราะความถือมั่น และความไม่สะดุ้ง เพราะความไม่ถือมั่นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังต่อไปนี้
[๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความสะดุ้งเพราะความถือมั่น ย่อมมีอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ มิได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาด ในธรรมของพระอริยะ มิได้รับแนะนำในอริยธรรม มิได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาด ในธรรมของสัตบุรุษ มิได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม
ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีรูป ๑ ย่อมเห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ รูปของเขานั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปของเขา แปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป วิญญาณจึงมีความหมุนเวียน ไปตามความแปรปรวน แห่งรูปความสะดุ้ง และความเกิดขึ้นแห่งธรรม ที่เกิดแต่ความหมุนเวียนไป ตามความ แปรปรวนแห่งรูป ย่อมครอบงำจิตของปุถุชนนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตถูกครอบงำ ปุถุชนนั้น ย่อมมีความหวาดเสียวมีความลำบากใจ มีความห่วงใย และสะดุ้งอยู่ เพราะความถือมั่น.
ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีเวทนา ๑ ย่อมเห็นเวทนา ในตน ๑ ย่อมเห็นตนในเวทนา ๑ เวทนาของเขานั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ฯลฯ
ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีสัญญา ๑ ย่อมเห็นสัญญา ในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสัญญา ๑ สัญญาของเขานั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ฯลฯ
ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีสังขาร ๑ ย่อมเห็นสังขาร ในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสังขาร ๑ สังขารของเขานั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ฯลฯ
ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็น วิญญาณ ในตน ๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑ วิญญาณของเขานั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณแปรปรวน และเป็นอย่างอื่นไป วิญญาณจึงมี ความหมุนเวียนไป ตามความแปรปรวนแห่งวิญญาณ ความสะดุ้ง และความบังเกิดขึ้น แห่งธรรมที่เกิดแต่ความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวน แห่งวิญญาณ ย่อมครอบงำ จิตของปุถุชนนั้นตั้งอยู่ เพราะจิตถูกครอบงำ ปุถุชนนั้นย่อมมีความหวาดเสียว มีความ ลำบากใจ มีความห่วงใยและสะดุ้งอยู่ เพราะความถือมั่น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสะดุ้งเพราะความถือมั่น ย่อมมีอย่างนี้แล
[๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความไม่สะดุ้ง เพราะความไม่ถือมั่น ย่อมมีอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็น พระอริยะทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมวินัย ของพระอริยะ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในอริยธรรม ผู้เห็นสัตบุรุษ ทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม
ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีรูป ๑ ย่อมไม่เห็นรูปในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในรูป ๑ รูปของอริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูป แปรปรวนและเป็นอย่างอื่นไป วิญญาณจึงไม่มี ความหมุนเวียนไป ตามความแปรปรวนแห่งรูป ความสะดุ้ง และความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดแ ต่ความหมุนเวียนไปตามความแปรปรวนแห่งรูป ย่อมไม่ครอบงำ จิตของอริยสาวกนั้น ตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ อริยสาวกนั้น ย่อมไม่มีความหวาดเสียว ไม่มีความ ลำบากใจ ไม่มีความห่วงใย และไม่สะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น.
ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีเวทนา ๑ ย่อมไม่เห็น เวทนา ในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในเวทนา ๑ เวทนาของอริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ...
ย่อมไม่เห็นสัญญ าโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีสัญญา ๑ ย่อมไม่เห็น สัญญาในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในสัญญา ๑ สัญญาของอริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ...
ย่อมไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีสังขาร ๑ ย่อมไม่เห็น ตน ในสังขาร ๑ ย่อมไม่เห็นสังขารในตน ๑ สังขารของอริยสาวกนั้ นย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป ...
ย่อมไม่เห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในวิญญาณ ๑ วิญญาณของอริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณแปรปรวน และเป็นอย่างอื่นไป วิญญาณจึงไม่มีความหมุนเวียน ไปตามความแปรปรวนแห่งวิญญาณ ความสะดุ้ง และความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมที่เกิดแต่ความหมุนเวียน ไปตามความแปรปรวน แห่งวิญญาณ ย่อมไม่ครอบงำจิตของอริยสาวกนั้น ตั้งอยู่ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ อริยสาวกนั้น ย่อมไม่มีความหวาดเสียว ไม่มีความลำบากใจ ไม่มีความห่วงใย และไม่สะดุ้ง เพราะไม่ถือมั่น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ถือมั่น ย่อมมีอย่างนี้แล
จบ สูตรที่ ๗
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘
๘. อุปาทานปริตัสสนาสูตรที่ ๒
ว่าด้วยความสะดุ้งและไม่สะดุ้ง
[๓๔] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความ สะดุ้ง เพราะความถือมั่น และความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ถือมั่น แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังจงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความสะดุ้ง เพราะความถือมั่น ย่อมมีอย่างไร?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่สดับแล้วในโลกนี้
ย่อมตามเห็นรูปว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา รูปของเขานั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปแปรปรวน และเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น.
ย่อมเห็นเวทนาว่านั่นของเรา ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาว่า นั่นของเรา ฯลฯ
ย่อมเห็นสังขารทั้งหลายว่า นั่นของเราฯลฯ
ย่อมเห็นวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา วิญญาณ ของเขานั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณแปรปรวน และเป็นอย่าง อื่นไป โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสะดุ้งเพราะถือมั่นย่อมมีอย่างนี้แล
[๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความไม่สะดุ้งเพราะความไม่ถือมั่น ย่อมมีอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา รูปของอริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปแปรปรวน และเป็น อย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงไม่เกิดขึ้น.
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ
ย่อมพิจารณาเห็นสัญญาว่า นั่นไม่ใช่ของเราฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นสังขารว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ฯลฯ
ย่อมพิจารณาเห็นวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัว ของเรา วิญญาณของอริยสาวกนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณ แปรปร วนและเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงไม่เกิดขึ้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่สะดุ้ง เพราะความไม่ถือมั่น ย่อมมีอย่างนี้แล.
จบ สูตรที่ ๘.
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘
๙. อตีตานาคตปัจจุปันนสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งขันธ์ ๕ ในสามกาล
[๓๖] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตอนาคต ไม่เที่ยง จักกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความ อาลัย
ในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินรูปที่เป็นอนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับรูปที่เป็นปัจจุบัน
เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต ไม่เที่ยง ฯลฯ
สัญญาที่เป็นอดีต สัญญาที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ฯลฯ
สังขารที่เป็นอดีต สังขารที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณ ที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง จักกล่าวถึงวิญญาณ ที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มี ความอาลัย ในวิญญาณที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินวิญญาณ ที่เป็นอนาคต ย่อมเป็นผู้ ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณ ที่เป็นปัจจุบัน
จบ สูตรที่ ๙.
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘
๑๐. อตีตานาคตปัจจุปันนสูตรที่ ๒
ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งขันธ์ ๕ ในสามกาล
[๓๗] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ จักกล่าวถึงรูปที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มี ความอาลัย ใน
รูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินรูป ที่เป็นอนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับรูปที่เป็นปัจจุบัน.
เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์ ฯลฯ
สัญญาที่เป็นอดีต สัญญาที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์ฯลฯ
สังขารที่เป็นอดีต สังขารที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์ ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีต วิญญาณที่เป็นอนาคต เป็นทุกข์ จักกล่าวถึงวิญญาณ ที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มี ความอาลัยในวิญญาณ ที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินวิญญาณ ที่เป็นอนาคต ย่อมเป็นผู้ ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณ ที่เป็นปัจจุบัน.
จบ สูตรที่ ๑๐.
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙
๑๑. อตีตานาคตปัจจุปันนสูตรที่ ๓
ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งขันธ์ ๕ ในสามกาล
[๓๘] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีต รูปที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา จักกล่าวถึงรูป ที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัย ในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูป ที่เป็นอนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับรูปที่เป็นปัจจุบัน.
เวทนาที่เป็นอดีต เวทนาที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ
สัญญาที่เป็นอดีต สัญญาที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ
สังขารที่เป็นอดีต สังขารที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา ฯลฯ
วิญญาณที่เป็นอดีตวิญญาณที่เป็นอนาคต เป็นอนัตตา จักกล่าวถึงวิญญาณ ที่เป็นปัจจุบันไปไยเล่า?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความอาลัย ในวิญญาณที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินวิญญาณ ที่เป็นอนาคต ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณ ที่เป็นปัจจุบัน
จบ สูตรที่ ๑๑. |