เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

กุลูปกสูตร การเข้าสู่สกุล ภิกษุชนิดไรสมควรเข้าไปสู่สกุล ภิกษุชนิดไรไม่สมควรเข้าไปสู่สกุล 1917
 


กุลูปกสูตร การเข้าสู่สกุล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง มีความคิดอย่างนี้ว่า
ขอชนทั้งหลาย
๑) จงให้แก่เราเท่านั้น อย่าไม่ให้
๒) จงให้แก่เราให้มาก อย่าให้น้อย
๓) จงให้เราแต่สิ่งประณีตเท่านั้น อย่าให้สิ่งเศร้าหมอง
๔) จงให้เราเร็วพลันทีเดียว อย่าให้ช้า
๕) จงให้เราโดยความเคารพเท่านั้น อย่าให้โดยไม่เคารพเข้าไปสู่สกุล


แต่กัสสปมีความคิดอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลาย
๑) ชนทั้งหลายไม่ให้ กัสสปไม่อึดอัด เธอไม่ได้เสวยทุกขโทมนัส ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ
๒) ให้น้อยไม่ให้มาก กัสสปไม่อึดอัด เธอไม่ได้เสวยทุกขโทมนัส ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ
๓) ให้สิ่งเศร้าหมองไม่ให้สิ่งประณีต กัสสปไม่อึดอัด เธอไม่ได้เสวยทุกขโทมนัส ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ
๔) ให้ช้าไม่ให้โดยเร็ว กัสสปไม่อึดอัด เธอไม่ได้เสวยทุกขโทมนัส ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ
๕) ให้โดยไม่เคารพไม่ให้โดยเคารพ กัสสปไม่อึดอัด เธอไม่ได้เสวยทุกขโทมนัส ซึ่งมีข้อนั้น..

ภิกษุทั้งหลาย
เราจักกล่าวสอนพวกเธอให้ตามกัสสป หรือผู้ใดจะพึงเป็นเช่นกัสสป เราจักกล่าวสอนให้ประพฤติ ตามผู้นั้น พวกเธอเมื่อได้รับโอวาทแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๒๒-๒๒๔

๔. กุลูปกสูตร

             [๔๗๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุชนิดไร สมควร เข้าไปสู่สกุล ภิกษุชนิดไร ไม่สมควรเข้าไปสู่สกุล

             ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวก ข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ

             [๔๗๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง มีความคิดอย่างนี้ว่า ขอชนทั้งหลาย
จงให้แก่เราเท่านั้น อย่าไม่ให้
จงให้แก่เราให้มาก อย่าให้น้อย
จงให้เราแต่สิ่งประณีตเท่านั้น อย่าให้สิ่งเศร้าหมอง
จงให้เราเร็วพลันทีเดียว อย่าให้ช้า
จงให้เราโดยความเคารพเท่านั้น อย่าให้โดยไม่เคารพเข้าไปสู่สกุล

             ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ เข้าไปสู่สกุล
ชนทั้งหลายไม่ให้ ภิกษุย่อมอึดอัดเพราะข้อนั้น เธอย่อมได้เสวยทุกขโทมนัส ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ

ชนทั้งหลายให้น้อย ไม่ให้มาก ฯลฯ ให้ของเศร้าหมอง ไม่ให้ของประณีต ให้ช้า ไม่ให้เร็ว ภิกษุย่อมอึดอัดเพราะข้อนั้น เธอย่อมได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ

ชนทั้งหลายให้โดยไม่เคารพ ไม่ให้โดยเคารพ ภิกษุย่อมอึดอัดเพราะข้อนั้น เธอย่อมได้ เสวยทุกขโทมนัส ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ

            ภิกษุเห็นปานนี้แล ไม่ควรเป็นผู้เข้าไป สู่สกุล

             [๔๗๖] ส่วนภิกษุใดแล มีความคิดอย่างนี้ว่า ขอให้ชนทั้งหลายในสกุลอื่น จงให้เราเท่านั้น อย่าไม่ให้ จงให้เรามากเท่านั้น อย่าให้น้อย จงให้เราแต่สิ่งประณีต เท่านั้น อย่าให้สิ่งเศร้าหมอง จงให้เราพลันทีเดียว อย่าให้ช้า จงให้เราโดยเคารพเท่านั้น อย่าให้โดยไม่เคารพนั้น อันนั้นจะพึงได้ในเรื่องนี้แต่ที่ไหนดังนี้ เข้าไปสู่สกุล

             ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ เข้าไปสู่สกุลชนทั้งหลายไม่ให้ ภิกษุย่อมไม่อึดอัดเพราะข้อนั้น เธอย่อมไม่ได้เสวยทุกขโทมนัส ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ชนทั้งหลายให้น้อย ไม่ให้มาก ภิกษุย่อมไม่อึดอัดเพราะข้อนั้น เธอย่อมไม่ได้เสวย ทุกขโทมนัส ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ชนทั้งหลายให้สิ่งเศร้าหมอง ไม่ให้สิ่งประณีต ... ให้ช้า ไม่ให้เร็ว ภิกษุย่อมไม่อึดอัดเพราะข้อนั้น เธอย่อมไม่ได้เสวยทุกขโทมนัส ซึ่งมีข้อนั้น เป็นเหตุ ชนทั้งหลายให้โดยไม่เคารพ ไม่ให้โดยเคารพ ภิกษุย่อมไม่อึดอัดเพราะข้อนั้น เธอย่อมไม่ได้เสวยทุกขโทมนัส ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ภิกษุเห็นปานนี้แล ควรเป็นผู้เข้าไป สู่สกุล

             [๔๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กัสสปมีความคิดอย่างนี้ว่า

ชนทั้งหลายจงให้ แก่เรา เท่านั้น อย่าไม่ให้ จงให้แก่เรามากทีเดียว อย่าให้น้อย ฯลฯ อันนั้นจะพึงได้ ในเรื่องนี้ แต่ที่ไหนดังนี้ เข้าไปสู่สกุล
๑) ชนทั้งหลายไม่ให้ กัสสปไม่อึดอัด เพราะข้อนั้น เธอไม่ได้เสวยทุกขโทมนัส ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ
๒) ชนทั้งหลายให้น้อยไม่ให้มาก กัสสปไม่อึดอัด เพราะข้อนั้น เธอไม่ได้เสวยทุกข โทมนัส ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ
๓) ชนทั้งหลาย ให้สิ่งเศร้าหมอง ไม่ให้สิ่งประณีต กัสสปไม่อึดอัด เพราะข้อนั้น เธอไม่ได้เสวย ทุกขโทมนัส ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ
๔) ชนทั้งหลายให้ช้า ไม่ให้โดยเร็ว กัสสปไม่อึดอัด เพราะข้อนั้น เธอไม่ได้เสวยทุกข โทมนัส ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ
๕) ชนทั้งหลายให้โดย ไม่เคารพ ไม่ให้โดยเคารพ กัสสปไม่อึดอัด เพราะข้อนั้น เธอไม่ได้เสวยทุกขโทมนัส ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ

             ภิกษุทั้งหลาย เราจักกล่าวสอนพวกเธอให้ตามกัสสป หรือผู้ใดจะพึงเป็น เช่น กัสสป เราจักกล่าวสอนให้ประพฤติตามผู้นั้น พวกเธอเมื่อได้รับโอวาทแล้ว พึงปฏิบัติ เพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้

จบสูตรที่ ๔

 






หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์