พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๗-๒๒๐
๒. อโนตตัปปิสูตร (ความไม่สะดุ้งกลัว)
[๔๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสป และท่านพระสารีบุตร อยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระมหากัสสป ถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว ได้สนทนาปราศรัยกับท่าน พระมหากัสสป ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง
[๔๖๕] ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะ ท่านพระมหากัสสปดังนี้ว่า ท่านกัสสป ผมกล่าวดังนี้ว่า ผู้ไม่มีความเพียร เครื่องเผากิเลส ผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อพระนิพพาน ไม่ควรเพื่อบรรลุธรรม อันเป็นแดน เกษมจากโยคะ อย่างยอดเยี่ยม ส่วนผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ผู้มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อความตรัสรู้ ควรเพื่อพระนิพพาน ควรเพื่อบรรลุธรรม เป็นแดนเกษม จากโยคะ อย่างยอดเยี่ยม
ดูกรผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความเพียร เครื่องเผากิเลส เป็นผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อ พระนิพพาน ไม่ควรเพื่อบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ อย่างยอดเยี่ยม ก็แลด้วยเหต ุเพียงเท่าไร จึงจักได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อความตรัสรู้ ควรเพื่อพระนิพพาน ควรเพื่อบรรลุธรรม เป็นแดนเกษมจาก โยคะ อย่างยอดเยี่ยม
[๔๖๖] ท่านพระมหากัสสป กล่าวว่า อาวุโส ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไม่ทำ ความเพียรเครื่องเผากิเลส
โดยคิดว่า อกุศลธรรมลามกที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแก่เรา จะพึงเป็นไป เพื่อความเสียประโยชน์ ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลสโดยคิดว่า อกุศลธรรม อันลามก บังเกิดขึ้นแล้ว เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความ เสียประโยชน์ ไม่ทำความเพียร เครื่องเผากิเลส
โดยคิดว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อไม่เกิดขึ้นแก่เรา จะพึงเป็นไป เพื่อ ความเสียประโยชน์ ไม่ทำความเพียรเครื่องเผากิเลสโดยคิดว่า กุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์
อาวุโส ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงได้ชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีความเพียรเครื่องเผา กิเลส
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
[๔๖๗] สา. อาวุโส ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัวอย่างไร
ก. อาวุโส ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไม่สะดุ้งกลัว
โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามก ที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น จะพึง เป็นไป เพื่อความเสียประโยชน์ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า อกุศลธรรมที่ลามก ที่เกิดขึ้น แล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อ ความเสียประโยชน์ ไม่สะดุ้งกลัว โดยคิดว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสีย ประโยชน์ ไม่สะดุ้งกลัว
โดยคิดว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสีย ประโยชน์ อาวุโส ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงได้ชื่อ ว่า เป็นผู้ไม่มีความสะดุ้งกลัว อาวุโส ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้ไม่มีความเพียร เครื่องเผากิเลส ไม่มีความสะดุ้ง กลัว เป็นผู้ไม่ควร เพื่อความตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อ พระนิพพาน ไม่ควรเพื่อบรรลุธรรม เป็นแดนเกษม จากโยคะอย่างยอดเยี่ยม
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
[๔๖๘] สา. อาวุโส ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผากิเลส อย่างไร
ก. อาวุโส ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส
โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามก ที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น จะพึง เป็นไป เพื่อความเสีย ประโยชน์ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า อกุศลธรรม อันลามก ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ทำความเพียร เครื่องเผา กิเลส
โดยคิดว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น จะพึงเป็นไป เพื่อความ เสีย ประโยชน์ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้น แล้วแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์
อาวุโส ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุจึงจะ ชื่อว่า เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผา กิเลส
[๔๖๙] สา. อาวุโส ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีความสะดุ้งกลัวอย่างไร
ก. อาวุโส ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า อกุศลธรรมอัน ลามก ที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ย่อมสะดุ้ง กลัว โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว แก่เราเมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไป เพื่อความเสียประโยชน์ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่ากุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อไม่เกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ย่อมสะดุ้งกลัว โดยคิดว่า กุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ อาวุโส ด้วยอาการ อย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่า เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว อาวุโส ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีความเพียรเครื่อง เผากิเลส มีความสะดุ้งกลัว เป็นผู้ควรเพื่อความตรัสรู้ ควรเพื่อพระนิพพาน ควรเพื่อบรรลุธรรม เป็นแดนเกษมจากโยคะ อย่างยอดเยี่ยม ดังนี้
จบสูตรที่ ๒
|