เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

สันตุฏฐสูตร (ว่าด้วยความสันโดษ) 1915
 


สันตุฏฐสูตร (ว่าด้วยความสันโดษ)
พระผู้มีพระภาคตรัสกับภิกษู ท.ว่า กัสสป นี้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และเป็นผู้กล่าว สรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ ด้วยจีวรตามมีตามได้ ไม่ถึงการแสวงหาอันไม่ควร เพราะเหตุแห่ง จีวร ไม่ได้จีวร ก็ไม่สะดุ้ง ครั้นได้จีวรแล้ว ก็ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญา เครื่อง สลัดออก ย่อมใช้สอย


ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
-เราจักเป็นผู้สันโดษ ด้วยจีวรตามมีตามได้
-จักเป็นผู้กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ ด้วยจีวรตามมีตามได้
-จักไม่แสวงหาอันไม่ควร เพราะเหตุแห่งจีวร
-ไม่ได้จีวรแล้ว ก็จักไม่สะดุ้ง
-ได้เสนาสนะแล้ว ก็ไม่ยินดี ไม่ติดใจ มีปกติเห็นโทษ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๖-๒๑๗

กัสสปสังยุตต์
๑. สันตุฏฐสูตร (ว่าด้วยความสันโดษ)

            [๔๖๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กัสสปนี้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และเป็นผู้ กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ ด้วยจีวรตามมีตามได้ ไม่ถึงการแสวงหาอันไม่ควร เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ได้จีวร ก็ไม่สะดุ้ง ครั้นได้จีวรแล้ว ก็ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ย่อมใช้สอย

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย กัสสปนี้เป็นผู้สันโดษ ด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และเป็น ผู้กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ ด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ไม่ถึงการแสวงหา อันไม่ควร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่สะดุ้ง ครั้นได้บิณฑบาตแล้ว ก็ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษมีปัญญาเครื่องสลัดออก ย่อมบริโภค

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย กัสสปนี้เป็นผู้สันโดษ ด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และเป็นผู้ กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ ด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ไม่ถึงการแสวงหา อันไม่ควร เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ไม่ได้เสนาสนะ ก็ไม่สะดุ้ง ครั้นได้เสนาสนะแล้ว ก็ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ย่อมใช้สอย

            ดูกรภิกษุทั้งหลายกัสสปนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยเภสัชบริขาร ซึ่งเป็นปัจจัยแห่ง คนไข้ ตามมีตามได้ และเป็นผู้กล่าวสรรเสริญ คุณแห่งความสันโดษ ด้วยเภสัชบริขาร ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้ตามมีตามได้ ไม่ถึงการแสวงหาอันไม่ควร เพราะเหตุแห่ง เภสัชบริขาร ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้ ไม่ได้เภสัชบริขารซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้ ก็ไม่สะดุ้ง ครั้นได้เภสัชบริขารซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้แล้ว ก็ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ย่อมบริโภค

            [๔๖๓] เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย จักเป็นผู้สันโดษ ด้วยจีวรตามมีตามได้ และจักเป็นผู้กล่าวสรรเสริญคุณ แห่งความสันโดษ ด้วยจีวรตามมีตามได้ จักไม่ถึงการแสวงหาอันไม่ควร เพราะเหตุแห่ง จีวร ไม่ได้จีวรแล้ว ก็จักไม่สะดุ้ง ครั้นได้จีวรแล้ว จักไม่ยินดี ไม่ติดใจไม่พัวพัน จักเป็นผู้ มีปกติเห็นโทษ มีปัญญา เครื่องสลัดออก ใช้สอย [พึงทำอย่างนี้ทุกบท] เราทั้งหลาย จักเป็นผู้สันโดษด้วย บิณฑบาต ตามมีตามได้ ฯลฯ จักเป็นผู้สันโดษด้วย เสนาสนะ ตามมีตามได้ ฯลฯ จักเป็นผู้สันโดษด้วยเภสัชบริขาร ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้ตามมี ตามได้

            จักเป็นผู้กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ ด้วยเภสัชบริขาร ซึ่งเป็นปัจจัย แห่งคนไข้ตามมีตามได้ จักไม่ถึงการแสวงหาอันไม่ควร เพราะเหตุแห่งเภสัชบริขาร ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้ ไม่ได้เภสัชบริขาร ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้ ก็ไม่สะดุ้ง ครั้นได้ เภสัชบริขาร ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้แล้ว ก็ไม่ยินดีไม่ติดใจ ไม่พัวพัน จักเป็นผู้มีปกติ เห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออกบริโภค

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เราจักกล่าวสอนพวกเธอตามอย่างกัสสป ก็หรือผู้ใด พึงเป็นผู้เช่นกัสสป และพวกเธอเมื่อได้รับโอวาทแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้

จบสูตรที่ ๑

 

 

 

 

 

 

 

 



 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์