เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

นครวินเทยยสูตร สมณพราหมณ์เช่นไรควรสักการะเคารพนับถือ และเช่นไรไม่ควรสักการะเคารพ 1912
 


นครวินเทยยสูตร
พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ทรงแวะยังบ้าน พราหมณ์ แห่งโกศลชนบท ชื่อว่านครวินทะ พวกพราหมณ์คฤหบดี ชาวบ้านพากันเข้าไปเฝ้าฯ

1 พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปโกศลชนบท ชื่อว่านครวินทะ

2 สมณพราหมณ์เช่นไรไม่ควรสักการะเคารพนับถือบูชา
    ยังมีความกำหนัดลุ่มหลงในรูป เสียง กลิ่น รส... ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่มๆดอนๆ

3 เพราะเหตุไร จึงไม่ควรสักการะเคารพนับถือบูชา
   ยังมีความประพฤติไม่ต่างกับปุถุชน

4 สมณพราหมณ์เช่นไรควรสักการะ เคารพ นับถือบูชา
   เป็นผู้ปราศความกำหนัด ความลุ่มหลงในรูป เสียง กลิ่น รส... มีจิตสงบแล้ว ทั้งกาย วาจา ใจ

5 เพราะเหตุไร จึงควรสักการะเคารพนับถือบูชา
   เราทั้งหลาย เห็นความประพฤติสงบของสมณพราหมณ์พวกนั้น ที่ยิ่งขึ้นไป

6 อาการของผู้มีอายุเช่นไร เป็นผู้ปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ แล้ว
    เสพเสนาสนะอันสงัด วิเวก ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ... อันจะทำให้พึงยินดี

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


1
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๕๓-๔๕๗

๘. นครวินเทยยสูตร (๑๕๐)

             [๘๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ทรงแวะยังบ้านพราหมณ์ แห่งโกศลชนบท ชื่อว่านครวินทะ พวกพราหมณ์คฤหบดี ชาวบ้านนครวินทะได้ทราบข่าวว่า พระสมณะผู้ศากยบุตรเสด็จออกจากศากยราชสกุล ทรงผนวชแล้ว เสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึง บ้านนครวินทะโดยลำดับ

             พระโคดมผู้มีพระภาค พระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์งามฟุ้งไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะ เหตุดังนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษ ที่ควรฝึกอย่างหา คนอื่น ยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้ทั้งเทวดา มาร พรหม ทุกหมู่สัตว์ทั้งสมณะ และพราหมณ์ ทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้รู้ทั่ว ทรงแสดง ธรรม ไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ทรงประกาศ พรหมจรรย์ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย เห็นปานนั้น ย่อมเป็นการดีแล

             ครั้งนั้นแล พราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะ พากันเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ

             ครั้นแล้ว บางพวกถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประณมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและโคตรในสำนักของพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง บางพวกมีอาการเฉยๆ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

2
(สมณพราหมณ์เช่นไรไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือบูชา)
ยังมีความกำหนัดลุ่มหลงในรูป เสียง กลิ่น รส... ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่มๆดอนๆ

             [๘๓๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพราหมณ์คฤหบดี ชาวบ้าน นครวินทะ ผู้นั่งเรียบร้อยแล้วดังนี้ว่า ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าปริพาชกเจ้าลัทธิอื่น ถามท่าน ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เช่นไรไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือบูชา ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว

             พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า

             สมณพราหมณ์ เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในรูป ที่รู้ได้ ด้วยจักษุ ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่มๆ ดอนๆทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ สมณพราหมณ์เช่นนี้ ไม่ควรสักการะ เคารพนับถือ บูชา

             นั่นเพราะเหตุไร เพราะว่าแม้พวกเราก็ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในรูป ที่รู้ได้ด้วยจักษุ ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายในยัง ประพฤติ ลุ่มๆ ดอนๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ ก็เมื่อเราทั้งหลาย ไม่เห็นแม้ความประพฤติ สงบ ของสมณพราหมณ์พวกนั้นที่ยิ่งขึ้นไป ดังนี้ ฉะนั้นท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา

             สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในเสียง ที่รู้ได้ด้วยโสต ไม่ไปปราศแล้ว ...

             สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในกลิ่น ที่รู้ได้ด้วยฆานะ ไม่ไปปราศแล้ว ...

             สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในรส ที่รู้ได้ด้วยชิวหา ไม่ไปปราศแล้ว ...

             สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงใน โผฏฐัพพะ ที่รู้ได้ด้วยกาย ไม่ไปปราศแล้ว ...

             สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่มๆ ดอนๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ สมณพราหมณ์เช่นนี้ ไม่ควรสักการะเคารพ นับถือ บูชา

3
(เพราะเหตุไร จึงไม่ควรสักการะเคารพนับถือบูชา)
ยังมีความประพฤติไม่ต่างกับปุถุชน

              นั่นเพราะเหตุไร
              เพราะว่าแม้พวกเรา ก็ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่มๆ ดอนๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ ก็เมื่อเราทั้งหลาย ไม่เห็นแม้ ความประพฤติสงบ ของสมณพราหมณ์พวกนั้น ที่ยิ่งขึ้นไป ดังนี้  ฉะนั้น ท่านสมณพราหมณ์ เหล่านั้น จึงไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถาม อย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่ปริพาชก เจ้าลัทธิอื่น เหล่านั้นอย่างนี้เถิด

4
(สมณพราหมณ์เช่นไร ควรสักการะ เคารพ นับถือบูชา)
เป็นผู้ปราศความกำหนัด ความลุ่มหลงในรูป เสียง กลิ่น รส... มีจิตสงบแล้ว ทั้งกาย วาจา ใจ

             [๘๓๔] ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าปริพาชกเจ้าลัทธิอื่น ถามท่านทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เช่นไร ควรสักการะเคารพนับถือ บูชา ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในรูป ที่รู้ได้ด้วยจักษุแล้ว มีจิต สงบแล้ว ภายใน ประพฤติสงบทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่สมณพราหมณ์เช่นนี้ ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา

5
(เพราะเหตุไร จึงควรสักการะเคารพนับถือบูชา)
เราทั้งหลาย เห็นความประพฤติสงบของสมณพราหมณ์พวกนั้น ที่ยิ่งขึ้นไป

             นั่นเพราะเหตุไร
             เพราะว่าแม้พวกเรายังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในรูป ที่รู้ได้ด้วยจักษุไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติ ลุ่มๆ ดอนๆ ทางกายทางวาจา ทางใจอยู่ ก็เมื่อเราทั้งหลาย เห็นแม้ความประพฤติสงบ ของสมณพราหมณ์พวกนั้น ที่ยิ่งขึ้นไป ดังนี้ ฉะนั้น ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงควรสักการะเคารพ นับถือ บูชา

             สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสตแล้ว ...

             สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะแล้ว ...

             สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหาแล้ว ...

             สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายแล้ว ...

             สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน แล้ว มีจิตสงบแล้วภายใน ประพฤติสงบ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ สมณพราหมณ์เช่นนี้ ควรสักการะ เคารพ นับถือบูชา นั่นเพราะเหตุไร เพราะว่าแม้พวกเรายังมีความกำหนัด ความขัดเคืองความลุ่มหลง ในธรรมารมณ์ที่รู้ ได้ด้วยมโน ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายในยังประพฤติลุ่มๆ ดอนๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ ก็เมื่อเราทั้งหลายเห็น แม้ความประพฤติสงบ ของสมณพราหมณ์ พวกนั้นที่ยิ่งขึ้นไป ดังนี้

             ฉะนั้น ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่ปริพาชก เจ้าลัทธิ อื่นเหล่านั้นอย่างนี้เถิด

6
(อาการของผู้มีอายุเช่นไร เป็นผู้ปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ)
เสพเสนาสนะอันสงัด วิเวก ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ... อันจะทำให้พึงยินดี

             [๘๓๕] ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าปริพาชกเจ้าลัทธิอื่น ถามท่านทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ก็อาการและความเป็นไปของท่านผู้มีอายุทั้งหลายเช่นไร จึงเป็นเหตุให้ พวก ท่านกล่าว ถึงท่านผู้มีอายุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เป็นผู้ปราศจาก ราคะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนำปราศราคะแน่ เป็นผู้ปราศจากโทสะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนำ ปราศโทสะ เป็นผู้ปราศจากโมหะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนำปราศโมหะแน่

             ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่าความจริง ท่านผู้มีอายุ เหล่านั้น ย่อมเสพเฉพาะเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าดงเป็นที่ไม่มีรูปอันรู้ได้ด้วยจักษุ ซึ่งคนทั้งหลายเห็นแล้วๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีเสียงอันรู้ได้ด้วยโสต ซึ่งคนทั้งหลายฟังแล้วๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีกลิ่นอันรู้ได้ด้วยฆานะ ซึ่งคนทั้งหลายดมแล้วๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีรสอันรู้ได้ด้วยชิวหา ซึ่งคนทั้งหลายลิ้มแล้วๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลยเป็นที่ไม่มีโผฏฐัพพะ อันรู้ได้ด้วยกาย ซึ่งคนทั้งหลายสัมผัสแล้วๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย นี้แลอาการและความเป็นไปของ ท่านผู้มีอายุทั้งหลายของพวกข้าพเจ้า ซึ่งเป็นเหตุให้พวกข้าพเจ้า กล่าวถึงท่านผู้มีอายุทั้งหลายได้อย่างนี้ว่า

             ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนำปราศราคะแน่ เป็นผู้ปราศจากโทสะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนำปราศโทสะแน่ เป็นผู้ปราศจากโมหะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนำปราศโมหะแน่

             ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่ ปริพาชก เจ้าลัทธิอื่นเหล่านั้น อย่างนี้เถิด

             [๘๓๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์คฤหบดีชาวบ้าน นครวินทะ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญ ทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย เปรียบเหมือนหงาย ของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีตาดีจักเห็นรูปทั้งหลายได้ ฉะนั้น พวกข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดม ผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำ พวกข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

จบ นครวินเทยยสูตร ที่ ๘



 





หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์