1
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๖๘-๔๘๒
๗ . ธนัญชานิสูตร
เรื่องธนัญชานิพราหมณ์ (พระสารีบุตรแสดงธรรม)
[๖๗๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์. สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร เที่ยวจาริกไปในทักขิณาคีรีชนบท พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่. ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาอยู่ในพระนครราชคฤห์ ได้เข้าไป หาท่านพระสารีบุตร ถึงทักขิณาคีรีชนบท ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการ ปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๖๗๓] ท่านพระสารีบุตร ได้ถามภิกษุนั้นว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงพระประชวร และยังทรงพระกำลังอยู่หรือ? ภิกษุนั้นกราบเรียนว่า พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงพระประชวร และยังทรงพระกำลังอยู่ ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ ก็ภิกษุสงฆ์ไม่ป่วยไข้ และยังมีกำลังอยู่หรือ?
ภิ. แม้ภิกษุสงฆ์ก็ไม่ป่วยไข้ และยังมีกำลังอยู่ ท่านผู้มีอายุ.
สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ธนัญชานิพราหมณ์ อยู่ที่ใกล้ประตูตัณฑุลปาละ ในพระนครราชคฤห์ นั้น เขาไม่ป่วยไข้ และยังมีกำลังอยู่หรือ?
ภิ. แม้ธนัญชานิพราหมณ์ ก็ไม่ป่วยไข้ และยังมีกำลังอยู่ ท่านผู้มีอายุ.
สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ธนัญชานิพราหมณ์ ยังเป็นผู้ไม่ประมาทหรือ?
ภิ. ที่ไหนได้ท่านผู้มีอายุ ธนัญชานิพราหมณ์ของเรา จะไม่ประมาท เขาอาศัยพระราชา เที่ยวปล้นพวกพราหมณ์ และคฤหบดี อาศัยพวกพราหมณ์ และคฤหบดีปล้นพระราชา ภรรยาของเขาผู้มีศรัทธา ซึ่งนำมาจากสกุลที่มีศรัทธา ทำกาละเสียแล้ว เขาได้หญิงอื่น มาเป็นภรรยา หาศรัทธามิได้ เขานำมาจากสกุลที่ไม่มีศรัทธา.
สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ เราได้ฟังว่าธนัญชานิพราหมณ์ เป็นผู้ประมาท เป็นอันได้ฟังชั่ว หนอทำไฉน เราจะพึงได้พบกับ ธนัญชานิพราหมณ์ บางครั้งบางคราว ทำไฉน จะพึงได้เจรจาปราศรัยกันสักน้อยหนึ่ง?
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร อยู่ในทักขิณาคิรีชนบทตามควรแล้ว จึงหลีกจาริก ไปทางพระนครราชคฤห์ เที่ยวจาริกไปโดยลำดับ ได้ถึงพระนครราชคฤห์แล้ว.
[๖๗๔] ได้ยินว่า สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทก นิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์. ครั้งนั้นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตร และจีวร เข้าไปยังพระนครราชคฤห์. สมัยนั้น ธนัญชานิพราหมณ์ ใช้คนให้รีดนมโคอยู่ที่ คอกโค ภายนอกพระนคร.
ท่านพระสารีบุตร เที่ยวบิณฑบาต ในพระนครราชคฤห์ ภายหลังภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปหาธนัญชานิพราหมณ์ถึงที่อยู่.
ธนัญชานิพราหมณ์ ได้เห็นท่านพระสารีบุตร กำลังมาแต่ไกล จึงเข้าไปหา ท่านพระสารีบุตร แล้วได้กล่าวว่า นิมนต์ดื่มน้ำนมสดทางนี้เถิด ท่านสารีบุตรท่าน ยังมีเวลา ฉันอาหาร.
สา. อย่าเลยพราหมณ์ วันนี้ฉันทำภัตตกิจเสร็จแล้ว ฉันจักพักกลางวัน ที่โคน ต้นไม้ โน้นท่านพึงมาในที่นั้น ธนัญชานิพราหมณ์ รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ครั้งนั้น ธนัญชานิพราหมณ์บริโภคอาหารเวลาเช้าเสร็จแล้ว ได้เข้าไปหาท่าน พระสารีบุตร ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.
2
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๖๘-๔๘๒การประพฤติไม่ชอบธรรม
[๖๗๕] ท่านพระสารีบุตรได้ถามว่า ดูกรธนัญชานิ ท่านเป็นผู้ไม่ประมาทหรือ? ธนัญชานิพราหมณ์ได้ตอบว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ที่ไหนข้าพเจ้าจะไม่ประมาท เพราะข้าพเจ้าต้องเลี้ยงมารดาบิดา ต้องเลี้ยงบุตรและภรรยา ต้องเลี้ยงพวกทาส กรรมกร และคนรับใช้ต้องทำกิจสำหรับมิตร และอำมาตย์ แก่มิตรและอำมาตย์ ต้องทำกิจ สำหรับ ญาติสาโลหิต แก่ญาติสาโลหิต ต้องทำกิจสำหรับแขกแก่แขก ต้องทำบุญ ที่ควรทำ แก่ปุพเปตชน ส่งไปให้ปุพเปตชนต้องทำการบวงสรวง แก่พวกเทวดา ต้องทำราชการ ให้แก่หลวง แม้กายนี้ก็ต้องให้อิ่มหนำต้องให้เจริญ.
[๖๗๖] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้น เป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบิดามารดา นายนิริยบาล จะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรม และประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนา หรือว่าเราเป็นผู้ประพฤติ ไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ขอนายนิริยบาล อย่างพึง ฉุดคร่า เราไปนรกเลย หรือมารดาบิดาของผู้นั้น จะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนาย นิริยบาล อย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย?
ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมากมาย นายนิริยบาล ก็พึงโยนลงในนรกจนได้.
[๖๗๗] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบุตร และภรรยา นายนิริยบาล จะพึงฉุดคร่าผู้นั้นไปนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติ ไม่ชอบธรรม และประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนา หรือหนอว่า เราประพฤติ ไม่ชอบธรรม เพราะเหตุแห่งบุตร และภรรยาขอนายนิริยบาล อย่างพึง ฉุดคร่าเราไปนรก เลย หรือว่าบุตร หรือภรรยาของผู้นั้น จะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบ ธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขา ไปนรกเลย?
ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมากมาย นายนิริยบาล ก็พึงโยนลงในนรกจนได้.
[๖๗๘] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจข้อความนั้น เป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งทาสกรรมกร และคน รับใช้ นายนิริยบาล จะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติ ไม่ชอบธรรม และประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือหนอว่า เราเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรมเพราะเหตุแห่งทาส กรรมกรและคนรับใช้ ขอนายนิริยบาล อย่างพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าพวกทาส กรรมกรและคนรับใช้ ของเขา จะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรมประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิริยบาล อย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย?
ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมากมาย นายนิริยบาล ก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.
[๖๗๙] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้น เป็นไฉน บุคคลบางคนใน โลกนี้ประพฤติ ไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ นายนิริยบาล จะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไ ม่ชอบธรรม และประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนา หรือหนอว่า เราเป็นผู้ประพฤติ ไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ ขอนายนิริยบาล อย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่ามิตรและอำมาตย์ของเขา พึงได้ตามความปรารถนา ว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิริยบาล อย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย?
ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมากมาย นายนิริยบาลก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.
[๖๘๐] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต นายนิริยบาล จะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรม และประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนา หรือหนอว่า เราประพฤติไม่ชอบ ธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต ขอนายนิริยบาล อย่าพึงฉุดคร่าเรา ไปนรกเลย หรือว่าญาติสาโลหิตของเขา จะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติ ไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลายขอนายนิริยบาล อย่าพึง ฉุดคร่า เขาไปนรกเลย?
ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้น จะคร่ำครวญมากมาย นายนิริยบาล ก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.
[๖๘๑] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความ ข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งแขก นายนิริยบาล จะพึงฉุดคร่าเขา ผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรม และประพฤติ ผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือหนอว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งแขก ขอนายนิริยบาล อย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าแขกของเขา จะพึงได้ตามความปรารถนา ว่าผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติ ผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิริยบาล อย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย?
ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมากมาย นายนิริยบาลก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.
[๖๘๒] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งปุพเปตชน นายนิริยบาล จะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติ ไม่ชอบธรรม และประพฤติ ผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนา หรือหนอว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งปุพเปตชน ขอนายนิริยบาล อย่าพึงฉุดคร่าเรา ไปนรก เลย หรือว่าปุพเปตชนของเขา จะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรก เลย?
ธ . ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมากมาย นายนิริยบาล ก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.
[๖๘๓] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเทวดา นายนิริยบาล จะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติ ไม่ชอบธรรม และประพฤติ ผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนา หรือหนอว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเทวดาขอนายนิริยบาล อย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าเทวดาของเขา จะพึงได้ตามความปรารถนา ว่าผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขา ไปนรกเลย?
ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้น จะคร่ำครวญมากมาย นายนิริยบาลก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.
[๖๘๔] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้น เป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งพระราชา นายนิริยบาล จะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้น ไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรม และประพฤติ ผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือหนอว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งพระราชา ขอนายนิริยบาล อย่างพึงฉุดคร่าเราไปนรก เลย หรือว่าพระราชาของผู้นั้น จะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขา ไปนรกเลย?
ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมากมาย นายนิริยบาลก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.
[๖๘๕] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งการเลี้ยงกาย เพราะเหตุ ทำนุบำรุงกายนายนิริยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติ ไม่ชอบธรรม และประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนา หรือหนอว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุการเลี้ยงกาย เพราะเหตุการทำนุ บำรุงกาย ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าชนเหล่าอื่นของเขา จะพึงไตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุ การเลี้ยงกาย เพราะเหตุทำนุบำรุงกาย ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขา ไปนรกเลย?
ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมากมาย นายนิริยบาลก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.
[๖๘๖] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติ ไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ไหนจะประเสริฐกว่ากัน?
ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ผู้ที่ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุ แห่งมารดาบิดา ไม่ประเสริฐ ส่วนผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ประเสริฐ ด้วยว่าการประพฤติชอบธรรม และการประพฤิ ถูกธรรม ประเสริฐกว่าการประพฤติไม่ชอบธรรมและการประพฤติผิดธรรม.
สา. ดูกรธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้ บุคคลอาจเลี้ยงมารดาบิดาได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอัน เป็นบุญ ได้ มีอยู่.
[๖๘๗] ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติ ไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบุตรและภรรยา กับบุคคลผู้ประพฤติ ชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุบุตรและภรรยา ไหนจะประเสริฐกว่ากัน?
ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบุตรและภรรยา ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งบุตรและภรรยา ประเสริฐ ด้วยว่า การประพฤติชอบธรรม และการประพฤติถูกธรรมประเสริฐกว่า การประพฤติไม่ชอบธรรม และการประพฤติผิดธรรม.
สา. ดูกรธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้ บุคคล อาจเลี้ยงบุตรและภรรยาได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทา อันเป็นบุญได้ มีอยู่.
[๖๘๘] ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติ ไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งพวกทาส กรรมกร และคนรับใช้ กับบุคคล ผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งพวกทาส กรรมกร และคนรับใช้ ไหนจะประเสริฐกว่ากัน?
ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งพวกทาส กรรมกรและคนรับใช้ ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติ ชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งพวกทาส กรรมกรและคนรับใช้ ประเสริฐ ด้วยว่า การประพฤติชอบธรรม และการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่า การประพฤติ ไม่ชอบธรรมและการประพฤติผิดธรรม.
สา. ดูกรธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้ บุคคลอาจเลี้ยงพวกทาส กรรมกรและคนรับใช้ได้ ไม่ต้องกระทำกรรมอันลามก และให้ ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.
[๖๘๙] ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติ ไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ กับบุคคลผู้ประพฤติ ชอบธรรม และประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ ไหนจะประเสริฐกว่ากัน?
ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ ประเสริฐ ด้วยว่า การประพฤติ ชอบธรรม และการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่า การประพฤติไม่ชอบธรรม และการประพฤติผิดธรรม.
สา. ดูกรธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคลอาจทำกรณียกิจ แก่มิตรและอำมาตย์ได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.
[๖๙๐] ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติ ไม่ชอบธรรมประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต กับบุคคลผู้ประพฤติ ชอบธรรม ประพฤติถูกธรรมเพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต ไหนจะประเสริฐกว่ากัน?
ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต ประเสริฐ ด้วยว่า การประพฤติชอบธรรม และการประพฤติถูกธรรมประเสริฐกว่า การประพฤติไม่ชอบธรรม และการประพฤติ ผิดธรรม.
สา. ดูกรธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้ บุคคล อาจทำกรณียกิจ แก่ญาติสาโลหิตได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติ ปฏิปทา อันเป็นบุญได้มีอยู่.
[๖๙๑] ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอ บธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งแขก กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติ ถูกธรรม เพราะเหตุแห่งแขก ไหนจะประเสริฐกว่ากัน?
ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งแขก ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม ประเสริฐด้วยว่า การประพฤติชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่าการ ประพฤติไม่ชอบธรรมและการประพฤติผิดธรรม.
สา. ดูกรธนัญชานิ การงานอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคล อาจทำกรณียกิจแก่แขกได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.
[๖๙๒] ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติ ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งปุพเปตชน กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่ง ปุพเปตชน ไหนจะประเสริฐกว่ากัน?
ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติ ไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งปุพเปตชน ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม ประเสริฐด้วยว่า การประพฤติชอบธรรม และการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่า การประพฤติ ไม่ชอบธรรมและการประพฤติผิดธรรม.
สา. ดูกรธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้ บุคคล อาจทำกรณียกิจแก่ปุพเปตชนได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทา อันเป็นบุญได้มีอยู่.
[๖๙๓] ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติ ไม่ชอบ ธรรมประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเทวดา กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งเทวดา ไหนจะประเสริฐกว่ากัน?
ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติ ไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเทวดา ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งเทวดา ประเสริฐ ด้วยว่า การประพฤติชอบธรรม และการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่าการประพฤติไม่ชอบธรรม และการประพฤติผิดธรรม
สา. ดูกรธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้ บุคคลอาจทำกรณียกิจแก่เทวดาได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทา อันเป็นบุญได้ มีอยู่.
[๖๙๔] ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติ ไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งพระราชา กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งพระราชา ไหนจะประเสริฐกว่ากัน?
ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งพระราชา ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งพระราชา ประเสริฐ ด้วยว่า การประพฤติชอบธรรม และการประพฤติ ถูกธรรม ประเสริฐกว่า การประพฤติไม่ชอบธรรม และการประพฤติผิดธรรม.
สา. ดูกรธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้ บุคคล อาจทำกรณียกิจ แห่งพระราชาได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทา อันเป็นบุญได้มีอยู่.
3
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๖๘-๔๘๒ การประพฤติชอบธรรมประเสริฐ
[๖๙๕] ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้น เป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤต ิไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุการเลี้ยงกาย เพราะเหตุทำนุบำรุงกาย กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุการเลี้ยงกาย เพราะเหตุการ ทำนุบำรุงกาย ไหนจะประเสริฐกว่ากัน?
ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติ ไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุการเลี้ยงกาย เพราะเหตุทำนุบำรุงกาย ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติ ชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุการเลี้ยงกาย เพราะเหตุทำนุบำรุงกาย ประเสริฐ ด้วยว่า การประพฤติชอบธรรม และการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่า การประพฤติ ไม่ชอบธรรม และการประพฤติผิดธรรม.
สา. ดูกรธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้ บุคคลอาจเลี้ยงกาย ทำนุบำรุงกายได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทา อันเป็นบุญได้มีอยู่.
ครั้งนั้นแล ธนัญชานิพราหมณ์ ชื่นชมอนุโมทนา ภาษิตของท่านพระสารีบุตร ลุกจาก อาสนะ หลีกไปแล้ว.
[๖๙๖] ครั้นสมัยต่อมา ธนัญชานิพราหมณ์ เป็นผู้อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก. จึงจึงเรียกบุรุษคนหนึ่งมาว่า บุรุษผู้เจริญ มานี่เถิดท่าน ท่านจง เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงที่ประทับ จงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคม พระบาทของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า และจงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ แล้วจงไหว้เท้าพระสารีบุตร ตามคำ ของเราว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาไหว้ เท้าท่าน พระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และจงเรียนท่านอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า ขอโอกาส ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของ ธนัญชานิ พราหมณ์เถิด.
[๖๙๗] บุรุษนั้นรับคำ ธนัญชานิพราหมณ์แล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แล้วได้กราบทูล ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคม พระบาทของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า แล้วได้ เข้าไปหาท่าน พระสารีบุตรถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระสารีบุตรแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง. แล้วได้เรียน ท่านพระสารีบุตรว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาไหว้เท้า ของท่านพระสารีบุตร ด้วยเศียรเกล้า และสั่งมาอย่างนี้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอ โอกาส ขอท่าน พระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ ของธนัญชานิ พราหมณ์เถิด ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์ด้วยอาการดุษณีภาพ.
4
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๖๘-๔๘๒
พระสารีบุตรเข้าไปเยี่ยมธนัญชานิพราหมณ์
[๖๙๘] ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปยัง นิเวศน์ ของธนัญชานิพราหมณ์ แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย. ได้ถามธนัญชานิ พราหมณ์ว่า ดูกรธนัญชานิท่านยังพอทนได้หรือ พอจะยังชีวิตให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนา ค่อยถอยลงไม่เจริญขึ้นหรือ อาการปรากฏค่อยคลายไม่ทวีขึ้นหรือ?
[๖๙๙] ธนัญชานิพราหมณ์กราบเรียนว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ข้าพเจ้าทน ไม่ไหว จะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพเจ้ากล้านัก เจริญขึ้นไม่ถอยเลย ปรากฏอาการทวียิ่งขึ้น ไม่ลดถอย ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษ มีกำลัง เอาเหล็กแหลมคมกดศีรษะ ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้นแล ลมเสียดแทงศีรษะ กล้านัก
ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ข้าพเจ้าทนไม่ไหว จะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนา ของข้าพเจ้ากล้านัก เจริญขึ้น ไม่ถอยเลย ปรากฏอาการทวียิ่งขึ้น ไม่ลดถอย เปรียบเหมือนบุรุษ มีกำลังเอาเส้นเชือกที่เขม็ง มัดรัดศีรษะฉันใด เวทนาในศีรษะ ของข้าพเจ้าก็เหลือทนฉันนั้น ข้าพเจ้าทนไม่ไหว จะยังชีวิตให้เป็นไป ไม่ได้ ทุกขเวทนา ของข้าพเจ้ากล้านัก เจริญขึ้น ไม่ถอยเลย ปรากฏอาการทวีขึ้น ไม่ลดถอย
ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร เปรียบเหมือนนายโคฆาต หรือลูกมือนายโคฆาต คนขยัน เอามีดสำหรับเชือดเนื้อโค อันคมมาเชือดท้องฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น ลมเสียดท้อง กล้านัก ข้าพเจ้าทนไม่ไหวจะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนา ของข้าพเจ้ากล้านัก เจริญยิ่งขึ้น ไม่ถอยเลย ปรากฏอาการทวีขึ้น ไม่ลดถอย
ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังสองคน ช่วยกันจับบุรุษ มีกำลัง น้อยกว่า คนละแขน รมย่างไว้ที่หลุมถ่านเพลิง ฉันใด ในกายของข้าพเจ้า ก็ร้อน เหมือนกัน ฉันนั้น ข้าพเจ้าทนไม่ไหว จะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนา ของข้าพเจ้ากล้านัก ทวีขึ้นไม่ถอยเลย ปรากฏอาการทวีขึ้น ไม่ลดถอย.
5
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๖๘-๔๘๒
ว่าด้วยทุคติ-สุคติภูมิ
[๗๐๐] สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน นรกกับกำเนิด สัตว์ดิรัจฉาน ไหนจะดีกว่ากัน?
ธ. กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานดีกว่านรก ท่านพระสารีบุตร.
สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน กับปิตติวิสัยไหนจะดีกว่ากัน?
ธ. ปิตติวิสัยดีกว่ากำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ท่านพระสารีบุตร.
สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน ปิตติวิสัยกับมนุษย์ ไหนจะ ดีกว่ากัน?
ธ. มนุษย์ดีกว่าปิตติวิสัย ท่านพระสารีบุตร.
สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน มนุษย์กับเทวดา ชั้นจาตุม มหาราชไหนจะดีกว่ากัน?
ธ. เทวดาชั้นจาตุมมหาราชดีกว่ามนุษย์ ท่านพระสารีบุตร.
สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นจาตุม มหาราช กับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ไหนจะดีกว่ากัน?
ธ. เทวดาชั้นดาวดึงส์ดีกว่าเทวดาชั้นจาตุมมหาราช ท่านพระสารีบุตร.
สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นดาวดึงส์ กับเทวดา ชั้นยามา ไหนจะดีกว่ากัน?
ธ. เทวดาชั้นยามาดีกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ท่านพระสารีบุตร.
สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นยามากับ เทวดาชั้น ดุสิต ไหนจะดีกว่ากัน?
ธ. เทวดาชั้นดุสิตดีกว่าเทวดาชั้นยามา ท่านพระสารีบุตร.
สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นดุสิตกับ เทวดาชั้นนิมมานรดี ไหนจะดีกว่ากัน?
ธ. เทวดาชั้นนิมมานรดีดีกว่าเทวดาชั้นดุสิต ท่านพระสารีบุตร.
สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นนิมมานรดี กับ เทวดา ชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ไหนจะดีกว่ากัน?
ธ. เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดีดีกว่าเทวดาชั้นนิมมานรดี ท่านพระสารีบุตร.
สา. ดูกรธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นปรนิม มิตวสวัสดี กับพรหมโลก ไหนจะดีกว่ากัน?
ธ. ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า พรหมโลก ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า พรหมโลก
หรือ?
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรมีความดำริว่า พราหมณ์เหล่านี้ น้อมใจไปใน พรหมโลก ถ้ากระไร เราพึงแสดงทางเพื่อความเป็นสหายกับพรหม แก่ธนัญชานิ พราหมณ์เถิด ดังนี้ แล้วจึงกล่าวว่า ดูกรธนัญชานิ เราจักแสดงทาง เพื่อความเป็น สหายกับพรหม ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดีเราจักกล่าว. ธนัญชานิพราหมณ์รับคำ ท่านพระสารีบุตรแล้ว
6
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๖๘-๔๘๒
พรหมวิหาร ๔ การแผ่เมตตา
[๗๐๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรธนัญชานิ ก็ทางเพื่อความเป็น สหายกับ พรหมเป็นไฉน ดูกรธนัญชานิ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วย เมตตา แผ่ไปสู่ ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวางแผ่ไปตลอดโลกทั่วสัตว์ทุกเหล่า เพื่อประโยชน์แก่ สัตว์ทั่วหน้า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นทางเพื่อความ เป็นสหายกับพรหม
ดูกรธนัญชานิ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยกรุณา ... มีใจ ประกอบด้วย มุทิตา ... มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่. ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอด โลก ทั่วสัตว์ ทุกเหล่า เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั่วหน้า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบ ด้วยอุเบกขา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน อยู่นี้แล เป็นทางเพื่อความเป็นสหายกับพรหม.
ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงถวายบังคม พระบาทของ พระผู้มี พระภาค ด้วยเศียรเกล้า ตามคำของข้าพเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิ พราหมณ์ป่วย ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคมพระบาท ของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า.
[๗๐๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ได้ประดิษฐานธนัญชานิพราหมณ์ ไว้ในพรหมโลกชั้นต่ำ ในเมื่อยังมีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นได้ แล้วลุกจากอาสนะ หลีกไป. ทันใดนั้น เมื่อท่านพระสารีบุตรหลีกไปไม่นาน ธนัญชานิพราหมณ์ทำกาละ แล้ว ไปบังเกิดยังพรหมโลก.
ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรนี้ ได้ประดิษฐาน ธนัญชานิพราหมณ์ ไว้ในพรหมโลกชั้นต่ำ ในเมื่อยังมีกิจ ที่จะพึงทำ ให้ยิ่งขึ้นได้ แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.
[๗๐๓] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาถวาย บังคมพระบาทของ พระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร ทำไมเธอจึงประดิษฐาน ธนัญชานิ พราหมณ์ ไว้ในพรหมโลกชั้นต่ำ ในเมื่อมีกิจอันจะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไปได้ แล้วลุกจากอาสนะ หลีกไปเล่า?
สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า พราหมณ์ เหล่านี้น้อมใจไปในพรหมโลก ถ้ากระไรเราพึงแสดงทาง (การแผ่เมตตา-พรหมวิหาร๔) เพื่อความเป็นสหายกับพรหมแก่ ธนัญชานิพราหมณ์เถิด ดังนี้ พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรสารีบุตร ธนัญชานิพราหมณ์ทำกาละ ไปบังเกิดในพรหมโลกแล้ว ฉะนี้แล. |