พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๖๕-๖๘
๕. อวิชชาปัจจยสูตรที่ ๑
[๑๒๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
[๑๒๙] เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชรามรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้ เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุ ผู้ใดพึงกล่าวว่า ชรามรณะ เป็นไฉน และชรามรณะนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่าชรามรณะเป็นอย่างอื่น และชรา มรณะนี้ เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้นมีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างแต่ พยัญชนะ เท่านั้น ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่า ชีพก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี หรือว่า เมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่งสรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ
[๑๓๐] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาติเป็นไฉน และชาตินี้ เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุผู้ใดพึงกล่าวว่า ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้ เป็นของ ผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างแต่พยัญชนะเท่านั้น ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี หรือว่าเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุ ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะภพ เป็นปัจจัยจึงมีชาติ
[๑๓๑] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภพเป็นไฉน และภพนี้ เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูก ดูกรภิกษุผู้ใดพึงกล่าวว่า ภพเป็นไฉน และภพนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า ภพเป็นอย่างอื่น และภพนี้เป็นของ ผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี หรือเมื่อมี ทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุดทั้งสองนั้น ดังนี้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ... เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ... เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ... เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ... เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ... เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ... เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ... เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ...
[๑๓๒] ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สังขารเป็นไฉน และ สังขารนี้เป็นของใคร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตั้งปัญหายังไม่ถูกดูกรภิกษุ ผู้ใดพึง กล่าวว่า สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร หรือพึงกล่าวว่า สังขารเป็นอย่างอื่น และสังขารนี้เป็นของผู้อื่น คำทั้งสองของผู้นั้น มีเนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่ พยัญชนะเท่านั้น ดูกรภิกษุ เมื่อมีทิฐิว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ความอยู่ประพฤติ พรหมจรย์ย่อมไม่มี หรือเมื่อมีทิฐิว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ความอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ ย่อมไม่มี ดูกรภิกษุ ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่ข้องแวะส่วนสุด ทั้งสองนั้นดังนี้ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
[๑๓๓] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า ชราและมรณะเป็นไฉน และชรามรณะนี้เป็นของใคร หรือว่าชรามรณะ เป็นอย่างอื่น และชรามรณะเป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพ อย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะ อวิชชา ดับ ด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ
[๑๓๔] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า ชาติเป็นไฉน และชาตินี้เป็นของใคร หรือว่าชาติเป็นอย่างอื่น และชาตินี้ เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิ เหล่านั้น ทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้น ละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาล ยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับ ด้วยสำรอก โดยไม่มีเหลือ
[๑๓๕] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า ภพเป็นไฉน และภพนี้เป็นของใคร หรือว่าภพเป็นอย่างอื่น และภพนี้ เป็นของผู้อื่น ว่าชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ทิฐิ เหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดังตาล ยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไป เป็นธรรมดา เพราะอวิชชาดับ ด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ
... อุปาทานเป็นไฉน ...ตัณหาเป็นไฉน ... เวทนาเป็นไฉน ... ผัสสะเป็นไฉน ... สฬายตนะ เป็นไฉน ...นามรูปเป็นไฉน ... วิญญาณเป็นไฉน ...
[๑๓๖] ดูกรภิกษุ ทิฐิไม่ว่าชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เป็นข้าศึก อันบุคคลเสพผิด ส่ายหาไปว่า สังขารเป็นไฉน และสังขารนี้เป็นของใคร หรือว่าสังขารเป็นอย่างอื่น และสังขารนี้เป็นของผู้อื่นว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระ อย่างหนึ่ง ทิฐิเหล่านั้นทั้งสิ้น อันอริยสาวกนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็น ดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะ อวิชชาดับ ด้วย สำรอกโดยไม่เหลือ
จบ สูตรที่ ๕ |