เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

พาลปัณฑิตสูตร (ความแตกต่างระหว่างกายของบันฑิตกับกายของคนพาล) 1866
  พาลปัณฑิตสูตร (กายของบันฑิต กับ กายของคนพาล)

กายนี้ของคนพาล ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบด้วยตัณหา อวิชชานั้นคนพาล ยังละไม่ได้ และตัณหายังไม่สิ้นไป เพราะคนพาไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์ เมื่อตายไปคนพาลย่อมเข้าถึงกาย เมื่อเขาเข้าถึงกาย ชื่อว่า ยังไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ ..เรากล่าวว่า ยังไม่พ้นไปจากทุกข์

กายนี้ของบัณฑิต ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบด้วยตัณหา อวิชชานั้น บัณฑิต ละได้แล้ว และตัณหา สิ้นไปแล้ว เพราะบัณฑิต ได้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์ เมื่อตายไปบัณฑิตย่อมไม่เข้าถึงกาย เมื่อเขาไม่เข้าถึงกาย ชื่อว่า ย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ เรากล่าวว่า ย่อมพ้นจากทุกข์

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๓-๒๔

๙. พาลปัณฑิตสูตร (ความแตกต่างระหว่างบันฑิตกับคนพาล)

             [๕๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

              ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้ของคนพาล ผู้อันอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ประกอบด้วย ตัณหา เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ กายนี้ด้วย นามรูปในภายนอกด้วย ย่อมมีด้วยประการดังนี้

              เพราะอาศัยกายและนามรูป ทั้งสองนี้ จึงเกิดผัสสะ สฬายตนะ ซึ่งทั้งสอง อย่างนั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องคนพาล เป็นเหตุให้เสวยสุขและทุกข์ กายนี้ ของบัณฑิต ผู้อันอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ประกอบด้วย ตัณหา เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ กายนี้ด้วย นามรูปในภายนอกด้วย ย่อมมีด้วยประการดังนี้ เพราะอาศัยกาย และนามรูป ทั้งสองนี้ จึงเกิดผัสสะ สฬายตนะ ซึ่งทั้งสองอย่างนั้นหรือ แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ถูกต้องบัณฑิต เป็นเหตุให้เสวยสุขและทุกข์

             [๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนั้น จะแปลกกันอย่างไร จะมีอธิบาย อย่างไร จะต่างกันอย่างไร ระหว่างบัณฑิตกับพาล พวกภิกษุกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ธรรมของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นเดิม มีพระผู้มีพระภาค เป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค เป็นที่พึ่งอาศัย ขอประทานพระวโรกาส เนื้อความแห่ง พระภาษิต นี้ แจ่มแจ้งแก่พระผู้มีพระภาคพระองค์เดียว ภิกษุทั้งหลายได้ฟังแต่ พระผู้มี พระภาคแล้ว จักทรงจำไว้

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นพวกเธอจงฟังจงใส่ใจ ให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว

             [๕๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้ของคนพาล ผู้ถูก อวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบแล้วด้วยตัณหาใด เกิดขึ้นแล้ว อวิชชานั้นคนพาล ยังละไม่ได้ และตัณหานั้นยังไม่สิ้นไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนพาล ไม่ได้ประพฤติ พรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เหตุนั้น เมื่อตายไปคนพาลย่อมเข้าถึงกาย เมื่อเขาเข้าถึงกายชื่อว่า ยังไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสก ปริเทวทุกขโทมนัส และ อุปายาส เรากล่าวว่า ยังไม่พ้นไปจากทุกข์ กายนี้ของบัณฑิต ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบด้วยตัณหาใด เกิดขึ้นแล้ว อวิชชานั้นบัณฑิตละได้แล้ว และตัณหานั้น สิ้นไปแล้ว

             ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าบัณฑิต ได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบ เหตุนั้น เมื่อตายไป บัณฑิตย่อมไม่เข้าถึงกาย เมื่อเขาไม่เข้าถึงกาย ชื่อว่า ย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะโสกปริเทว ทุกขโทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมพ้น จากทุกข์ อันนี้เป็นความแปลกกัน อันนี้เป็นอธิบาย อันนี้เป็นความต่างกันของบัณฑิต กับคนพาล กล่าวคือการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

จบสูตรที่ ๙

 



หนังสือพุทธวจน ธรรมะของพระศาสดา
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์