เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

รวมพระสูตรแห่งยักขสังยุต ๑๒ สูตร 1863
  (โดยย่อ)
1. อินทกยักษ์ ทูลถามพระพุทธเจ้า ..รูปหาใช่ชีพไม่ สัตว์นี้ จะประสพ ร่างกายนี้ได้อย่างไรหนอ ..
2. ยักษ์มีชื่อว่า สักกะ การสั่งสอนคนอื่นนั้น ไม่เหมาะแก่สมณะเช่นท่านผู้ละกิเลสได้ทั้งหมด
3. ยักษ์ชื่อขระ ได้ถาม พ. ท่านกลัวเราไหม...เราไม่กลัวท่านเลย แต่สัมผัสของท่านเลวทราม
4. ยักษ์ชื่อมณีภัท..กล่าวคาถา ความเจริญย่อมมีแก่ คนมีสติ ทุกเมื่อ คนมีสติย่อมได้ความสุข
5. บุตรของอุบาสิกาคนหนึ่ง ชื่อสานุ ถูกยักษ์เข้าสิง
6. นางยักษิณี ปลอบบุตรน้อยว่า อย่าอึกทึกไป ภิกษุกำลังกล่าวบทพระธรรมอยู่
7. นางยักษิณีผู้เป็นมารดาของปุนัพพสุ ปลอบบุตรน้อยว่านิ่งเสีย แม่จะฟังธรรมของพระพุทธเจ้า
8. ยักษ์ชื่อสีวกะไม่ปรากฏร่างได้ส่งเสียงให้ อนาถบิณฑิกคฤหบดี ได้ยิน จนตกใจกลัว
9. ยักษ์ผู้เลื่อมใส ยิ่งในสุกกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถา..(1)
10. ยักษ์ผู้เลื่อมใส ยิ่งในสุกกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถา..(2)
11. ยักษ์ผู้เลื่อมใส ยิ่งในสุกกาภิกษุณีได้ภาษิตคาถา..(3)
12. อาฬวกยักษ์เข้าหา พ. กล่าวว่าท่านจงออกมา เมื่อ พ.ออกมาแล้ว ยักษ์กล่าวว่าท่านจงเข้าไป

รวมพระสูตรแห่งยักขสังยุต ๑๒ สูตร
อินทกสูตรที่ ๑
สักกสูตรที่ ๒
สูจิโลมสูตรที่ ๓
มณิภัทสูตรที่ ๔
สานุสูตรที่ ๕
ปิยังกรสูตรที่ ๖
ปุนัพพสุสูตรที่ ๗
สุทัตตสูตรที่ ๘
ปฐมสุกกาสูตรที่ ๙
ทุติยสุกกาสูตรที่ ๑๐
จีราสูตรที่ ๑๑
อาฬวกสูตรที่ ๑๒

ยักขสังยุตต์ (เรื่องยักษ์) ทั้ง 12 พระสูตร พิจารณาแล้วน่าจะเป็นคำแต่งใหม่ ตัวอย่างเช่นสูตรที่ ๑
" รูปนี้เป็นกลละ ก่อนจากกลละ เป็นอัพพุทะ จากอัพพุทะ เกิดเป็นเปสิ จากเปสิเกิดเป็นฆนะ จากฆนะเกิดเป็น ๕ ปุ่ม.." คำเหล่านี้ไม่พบในพระสูตรหลักของพระศาสดา พบในอรรถกถา ซึ่งอธิบายถึง กระดูกและก้อนเนื้อของสัตว์นั้นจะมาแต่ไหน เป็นการอธิบายขยายความว่า อวัยวะ ต่างๆของกายสัตว์นั้น ก่อตัวขึ้นมาได้อย่างไร

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 

           

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๗๖ - ๒๘๙
ยักขสังยุตต์

อินทกสูตรที่ ๑

           [๘๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่บนภูเขาอินทกูฏ ซึ่ง อินทกยักษ์ ครอบครอง เขตกรุงราชคฤห์

           [๘๐๒] ครั้งนั้นแล อินทกยักษ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลด้วยคาถาว่า "[ถ้า] ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่า รูปหาใช่ชีพไม่ สัตว์นี้ จะประสพ ร่างกายนี้ได้อย่างไรหนอ กระดูกและก้อนเนื้อ จะมาแต่ไหน สัตว์นี้จะติดอยู่ ในครรภ์ ได้อย่างไร"

           [๘๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "รูปนี้เป็นกลละ ก่อนจากกลละ เป็นอัพพุทะ จากอัพพุทะ เกิดเป็นเปสิ จากเปสิเกิดเป็นฆนะ จากฆนะเกิดเป็น ๕ ปุ่ม (ปัญจสาขา) ต่อจากนั้น มีผมขน และเล็บ (เป็นต้น) เกิดขึ้น มารดาของสัตว์ ในครรภ์บริโภค ข้าวน้ำ โภชนาหารอย่างใด สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดา ก็ยัง อัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารอย่างนั้น ในครรภ์นั้น"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๖ - ๒๘๗

กกสูตรที่ ๒

           [๘๐๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่บนภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์

           [๘๐๕] ครั้งนั้นแล ยักษ์มีชื่อว่า สักกะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลด้วยคาถาว่า "การสั่งสอนคนอื่นนั้น ไม่เหมาะแก่สมณะเช่นท่าน ผู้ละ กิเลสได้ทั้งหมด ผู้พ้นจากไตรภพ"

           [๘๐๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ดูกรสักกะ ธรรมเครื่องอยู่ร่วมกัน ย่อมเกิด ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คนมีปัญญาไม่ควรที่จะ ไหวตามเหตุนั้นด้วยใจ ถ้าคนมีใจ ผ่องใส แล้วสั่งสอนคนอื่น บุคคลนั้นย่อมไม่เป็นผู้พัวพันด้วยเหตุนั้น นอกจากจะ อนุเคราะห์เอ็นดู"

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๗- ๒๘๘

สูจิโลมสูตรที่ ๓

           [๘๐๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับบนเตียง ชนิดมีเท้าตรึงติดกับแม่แคร่ อันเป็นที่ครอบครอง ของสูจิโลมยักษ์ เขตบ้านคยา

           สมัยนั้นแล ยักษ์ชื่อขระ และ ยักษ์ชื่อสูจิโลมะ เดินผ่านเข้าไปไม่ไกล พระผู้มีพระภาค

           ครั้งนั้นแล ยักษ์ชื่อขระได้พูดกับสูจิโลมยักษ์ว่า นั่นสมณะ

           นั่นไม่ใช่สมณะ เป็นสมณะน้อย แต่จะเป็นสมณะ หรือสมณะน้อยเราพอจะรู้ได้

           [๘๐๘] ครั้งนั้นแล สูจิโลมยักษ์ได้เข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาค ยังที่ประทับ ครั้นแล้วได้เข้าไปเหนี่ยวพระกายของพระองค์

           พระผู้มีพระภาค ทรงกระเถิบถอยพระกายไปเล็กน้อย ฯ ครั้งนั้นแล สูจิโลมยักษ์ ได้ถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านกลัวเราไหมสมณะ อาวุโส เราไม่กลัวท่านเลย แต่สัมผัส ของท่านเลวทราม

           สมณะ เราจักถามปัญหากะท่าน ถ้าท่านไม่กล่าวแก้แก่เรา เราจักทำจิต ของท่าน ให้พลุ่งพล่าน หรือจักฉีกหัวใจของท่าน หรือจักจับที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปฝั่งโน้น แห่งแม่น้ำคงคา

           อาวุโส เราไม่เห็นใครเลยในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์พ ร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะพึงทำจิตของเรา ให้พลุ่งพล่าน หรือฉีกหัวใจเรา หรือจับเราที่เท้า แล้วเหวี่ยงไปฝั่งโน้น แห่งแม่น้ำคงคาได้ อาวุโส เอาเถอะ ท่านจงถามตามที่ท่านจำนงเถิด

           [๘๐๙] สูจิโลมยักษ์ จึงถามว่า ราคะแลโทสะ มีอะไรเป็นเหตุ ความไม่ยินดี ความยินดี และความสยดสยอง เกิดแต่อะไร ความตรึกในใจเกิดแต่อะไร แล้วดักจิต ไว้ได้ เหมือนพวก เด็กดักกา ฉะนั้น

           [๘๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ราคะแลโทสะมีอัตภาพนี้เป็นเหตุ ความไม่ ยินดี ความยินดี และความสยดสยองเกิดแต่ อัตภาพนี้ ความตรึกในใจ เกิดแต่อัตภาพนี้ แล้ว ดักจิตไว้ได้ เหมือนพวกเด็กดักกา ฉะนั้น

           อกุศลวิตกเป็นอันมาก เกิดแต่ความเยื่อใย คือตัณหา เกิด ขึ้นในตนแล้ว แผ่ซ่าน ไปในวัตถุกามทั้งหลาย เหมือนย่านไทร เกิดแต่ลำต้นไทรแล้ว แผ่ซ่านไปในป่า ฉะนั้น

           ชนเหล่าใดย่อมรู้ อัตภาพนั้นว่า เกิดแต่สิ่งใด ชนเหล่านั้น ย่อมบรรเทาเหตุเกิด นั้น เสียได้ ดูกรยักษ์ ท่านจงฟัง ชน เหล่านั้นย่อมข้ามห้วงกิเลสนี้ ซึ่งข้ามได้ยาก และ
ไม่เคยข้าม เพื่อความไม่มีภพอีกต่อไป
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๘ - ๒๘๙

มณิภัททสูตรที่ ๔

           [๘๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่เจดีย์ชื่อมณิมาฬกะ อันเป็น ที่ครอบครองของ ยักษ์ชื่อมณีภัท ในแคว้นมคธ

           [๘๑๒] ครั้งนั้นแล ยักษ์ชื่อมณิภัททะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ความเจริญย่อมมีแก่ คนมีสติ ทุกเมื่อ คนมีสติย่อมได้ความสุข ความดีย่อมมีแก่ คนมีสติเป็นนิตย์ และคนมีสติ ย่อมหลุดพ้น จากเวร

           พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ความเจริญย่อมมีแก่คนมีสติทุกเมื่อ คนมีสติ ย่อมได้ ความสุข ความดีย่อมมีแก่คนมีสติเป็นนิตย์ แต่คนมีสติยังไม่หลุดพ้น จากเวร

           [๘๑๓] แต่ผู้ใดมีใจยินดีในความไม่เบียดเบียนตลอดวันและคืน ทั้งหมด และ เป็นผู้มีส่วนแห่งเมตตา ในสรรพสัตว์ ผู้นั้นย่อม ไม่มีเวรกับใครๆ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๙ - ๒๙๐

สานุสูตรที่ ๕

           [๘๑๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเชตวันอารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตเมืองสาวัตถี

           สมัยนั้นแล บุตรของอุบาสิกาคนหนึ่ง ชื่อสานุ ถูกยักษ์เข้าสิง

           [๘๑๕] ครั้งนั้นแล อุบาสิกานั้นได้ปริเวทนาการ กล่าวคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า ฉันได้สดับต่อพระอรหันต์ทั้งหลายว่า ชนเหล่าใดเข้าอยู่ อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการด้วยดี ตลอดดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์ ทั้งตลอดปาริหาริกปักษ์ ประพฤติ พรหมจรรย์อยู่ ยักษ์ทั้งหลาย ย่อมไม่เล่นกับชนเหล่านั้น บัดนี้ ฉันเห็นในวันนี้ ยักษ์เล่นกับสามเณรสานุ

           [๘๑๖] ยักษ์กล่าวว่า ท่านได้สดับต่อพระอรหันต์ทั้งหลายว่า ชนเหล่าใดเข้าอยู่ อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์ ทั้งตลอดปาริหาริกปักษ์ ประพฤติ พรหมจรรย์อยู่ ยักษ์ทั้งหลาย ย่อมไม่เล่นกับชน เหล่านั้น เป็น การชอบ ท่านพึงบอกสานุผู้ฟื้นขึ้นแล้วว่า ยักษ์สั่งคำนี้ไว้ว่า ท่านอย่าได้ กระทำกรรมอันลามก ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ถ้าท่าน จักกระทำหรือกำลังกระทำกรรม อันลามกไซร้ ถึงท่านจะเหาะ หนีไปก็ไม่พ้นจากทุกข์

           [๘๑๗] สามเณรสานุฟื้นขึ้นแล้วกล่าวว่า โยม ญาติ และมิตรทั้งหลาย ย่อม ร้องไห้ ถึงคนที่ตายแล้ว หรือยังเป็นอยู่แต่หายไป โยมยังเห็นฉันเป็นอยู่ ไฉนเหตุไร โยมจึงร้องไห้ถึงฉัน

           [๘๑๘] อุบาสิกากล่าวว่า ลูกเอ๋ย ญาติและมิตรทั้งหลาย ย่อมร้องไห้ถึงคนที่ ตายแล้ว หรือยังเป็นอยู่แต่หายไป แต่คนใดละกามทั้งหลายแล้วจะ กลับมาในกามนี้อีก ลูกรัก ญาติและมิตรทั้งหลายย่อมร้องไห้ ถึงคนนั้น เพราะเขาเป็นอยู่ต่อไปอีก ก็เหมือน ตายแล้ว แน่พ่อ เรายกท่านขึ้นจากเถ้ารึงที่ยังร้อนระอุแล้ว ท่านอยากจะตกลง ไปสู่ เถ้ารึงอีก แน่พ่อ เรายกท่านขึ้นจากเหวแล้ว ท่านอยาก จะตกลงไปสู่เหวอีก เราจะโพนทะนา แก่ใครเล่าว่า ขอท่าน จงช่วยกัน ขอความเจริญ จงมีแก่ท่าน ประดุจ สิ่งของที่ขน ออกแล้วจากเรือนที่ไฟไหม้ แต่ท่านอยากจะเผามันเสียอีก

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๙๐ - ๒๙๑

ปิยังกรสูตรที่ ๖

           [๘๑๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธ อยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี

           สมัยนั้นแล ท่านพระอนุรุทธ ลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี กล่าวบทแห่ง พระธรรมอยู่

           [๘๒๐] ครั้งนั้นแล นางยักษิณี ผู้เป็นมารดา ของปิยังกระ ปลอบบุตรน้อย อย่างนี้ ว่า ปิยังกระ อย่าอึกทึกไป ภิกษุกำลังกล่าวบทพระธรรมอยู่ อนึ่ง เรารู้แจ้งบทพระธรรม แล้วปฏิบัติ ข้อนั้นจะพึงมีเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา

           [๘๒๑] เราสำรวมในเหล่าสัตว์มีปราณ เราไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ เราศึกษา ทำตนให้เป็นผู้มีศีล ดีนั่นแหละ เราจะพ้นจาก กำเนิดปีศาจ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๙๑ - ๒๙๒

ปุนัพพสุสูตรที่ ๗

           [๘๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี

           สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทานให้ อาจหาญ ให้รื่นเริงอยู่ด้วยธรรมีกถา อันปฏิสังยุตด้วยพระนิพพาน

           ภิกษุเหล่านั้นตั้งใจมนสิการ ประมวลไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงสดับพระธรรม

           [๘๒๓] ครั้งนั้นแล นางยักษิณีผู้เป็นมารดา ของปุนัพพสุ ปลอบบุตรน้อย อย่างนี้ว่า นิ่งเสียเถิดลูกอุตรา นิ่งเสียเถิดลูกปุนัพพสุ จนกว่าแม่จะฟัง ธรรมของ พระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ ผู้เป็นพระศาสดาจบ พระผู้ มีพระภาคตรัสนิพพาน อันเป็นเครื่อง เปลื้องตนเสีย จากกิเลสเครื่องร้อยกรองทั้งปวง เวลาที่ปรารถนาในธรรมนั้น จะล่วงเลย แม่ ไปเสีย ลูกของตนเป็นที่รักในโลก ผัวของตน เป็นที่รักในโลก แต่ความปรารถนา ในธรรมนั้น เป็นที่รัก ของแม่ยิ่งกว่าลูกและผัวนั้น เพราะลูกหรือผัวที่รัก พึงปลด เปลื้อง จากทุกข์ไม่ได้ เหมือนการฟังธรรมย่อมปลดเปลื้อง เหล่าสัตว์จากทุกข์ได้ ในเมื่อโลก อันทุกข์วงล้อมแล้ว ประกอบด้วยชราและมรณะ แม่ปรารถนาจะฟังธรรม ที่ พระพุทธเจ้า ตรัสรู้ ด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เพื่อพ้นจากชราและ มรณะจงนิ่งเสียเถิดลูกปุนัพพสุ

           [๘๒๔] ปุนัพพสุพูดว่า แม่จ๋า ฉันจักไม่พูด อุตราน้องสาวของฉันก็จักเป็นผู้นิ่ง เชิญแม่ฟังธรรมอย่างเดียว การฟังพระสัทธรร มนำความสุข มาให้ แม่จ๋า เราไม่รู้ พระสัทธรรม จึงได้เที่ยวไปลำบาก พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ เป็นผู้ทำความสว่างไสว แก่เทวดาและ มนุษย์ผู้ลุ่มหลง มีพระสรีระครั้งสุดท้าย มีพระจักษุ แสดง ธรรมอยู่

           [๘๒๕] ยักษิณีพูดว่า น่าชื่นชมนัก ลูกผู้นอนบนอกของแม่ เป็นคนฉลาด ลูกของแม่ ย่อมรักใคร่พระธรรมอันบริสุทธิ์ ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ปุนัพพสุเจ้า จงมีความสุขเถิด วันนี้แม่เป็นผู้ย่างขึ้นไปในพระ ศาสนา แม่และเจ้าเห็นอริยสัจแล้ว แม้แม่อุตราก็จงฟังแม่

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๙๒ - ๒๙๕

สุทัตตสูตรที่ ๘

           [๘๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับในสีตวัน เขตกรุงราชคฤห์

           สมัยนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดี ไปถึงกรุงราชคฤห์ด้วยกรณียกิจบางอย่าง

           อนาถบิณฑิกคฤหบดีได้สดับว่า เขาลือกันว่าพระพุทธเจ้า เสด็จอุบัติแล้วในโลก จึงในขณะนั้นเอง ปรารถนาจะเข้าเฝ้า พระผู้มีพระภาค

           ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ได้ดำริว่า วันนี้เป็นกาลไม่ควร เพื่อจะ เข้าเฝ้า พระผู้มีพระภาค พรุ่งนี้เถิด เราจึงจักเข้าเฝ้าท่านคฤหบดี นอนรำพึงถึง พระพุทธเจ้า สำคัญว่าสว่างแล้วลุกขึ้นในราตรีถึง ๓ ครั้ง

           ลำดับนั้น ท่านคฤหบดีเดินไปทางประตูป่าช้า พวกอมนุษย์เปิดประตูให้

           [๘๒๗] ครั้นเมื่ออนาถบิณฑิกคฤหบดี ออกจากเมืองไป แสงสว่างก็อันตรธาน ไป ความมืดปรากฏขึ้น ความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้าบังเกิดขึ้น ท่านคฤหบดี จึงใคร่ที่จะกลับเสียจากที่นั้น

           ครั้งนั้น ยักษ์ชื่อสีวกะ ไม่ปรากฏร่างได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง รถเทียมด้วยม้าอัสดรแสนหนึ่ง หญิงสาวที่สอดสวมแก้วมณี และกุณฑล แสนหนึ่ง ย่อมไม่ ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันจำแนกแล้ว ๑๖ ครั้ง แห่งการยกย่าง เท้าไป ก้าวหนึ่ง ท่านจงก้าวหน้าไปเถิดคฤหบดี ท่านจงก้าว หน้าไปเถิดคฤหบดี การก้าวหน้า ไปของท่านประเสริฐ การ ถอยหลังไม่ประเสริฐเลย

           ครั้งนั้นแล ความมืดได้หายไป แสงสว่างปรากฏขึ้นแก่ท่าน อนาถบิณฑิก คฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป

           [๘๒๘] แม้ครั้งที่ ๒ แสงสว่างหายไป ความมืดปรากฏขึ้นแก่ท่าน อนาถบิณฑิก คฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าบังเกิดขึ้น ท่านคฤหบดี จึงใคร่ ที่จะกลับเสียจากที่นั้นอีก

           แม้ครั้งที่ ๒ ยักษ์ชื่อสิวกะ ไม่ปรากฏร่างได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง ฯลฯ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันจำแนกแล้ว ๑๖ ครั้ง แห่งการยกย่างเท้า ไปก้าวหนึ่ง ท่านจงก้าวหน้าไปเถิดคฤหบดี ท่านจงก้าวหน้าไปเถิดคฤหบดี การก้าวหน้าไป ของท่านประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐ เลย

           ครั้งนั้นแล ความมืดได้หายไป แสงสว่างปรากฏขึ้น แก่ท่านอนาถ บิณฑิก คฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป

           [๘๒๙] แม้ครั้งที่ ๓ แสงสว่างหายไป ความมืดปรากฏขึ้น แก่ท่านอนาถบิณฑิก คฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้า บังเกิดขึ้น ท่านคฤหบดี จึงใคร่ที่จะกลับเสียจากที่นั้นอีก

           แม้ครั้งที่ ๓ ยักษ์ชื่อสิวกะ ไม่ปรากฏร่างได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง ฯลฯ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันจำแนกแล้ว ๑๖ ครั้ง แห่งการยกย่างเท้า ไปก้าวหนึ่ง ท่านจงก้าวหน้าไปเถิดคฤหบดี ท่านจงก้าวหน้าไปเถิดคฤหบดี การก้าวหน้า ไปของท่านประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริ เลย

           ครั้งนั้นแล ความมืดได้หายไป แสงสว่างได้ปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิก คฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้า ก็ระงับไป

           [๘๓๐] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดี เดินเข้าไปถึงสีตวัน

           สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จ ลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี เสด็จจงกรม อยู่ในที่แจ้ง พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็น อนาถบิณฑิกคฤหบดีผู้มาแต่ไกลครั้นแล้ว เสด็จลงจากที่จงกรม ประทับบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสเรียกอนาถ บิณฑิก คฤหบดีว่า มานี่เถิดสุทัตตะ

           ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีคิดว่า พระผู้มีพระภาค ทรงทักเราโดยชื่อ จึงหมอบลงแทบพระบาท ของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้าในที่นั้นเอง แล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ พระองค์ประทับอยู่เป็นสุข หรือพระเจ้าข้า

           [๘๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ผู้ดับกิเลสเสียได้แล้ว ไม่ติดอยู่ ในกามทั้งหลาย เป็น ผู้เย็น ปราศจากอุปธิ ย่อมอยู่เป็นสุขเสมอไป ผู้ที่ตัด ตัณหา เครื่องเกี่ยวข้องได้หมดแล้ว กำจัดความกระวนกระวาย ในใจเสียได้ เป็นผู้สงบอยู่เป็นสุข เพราะถึงสันติด้วยใจ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๙๕

ปฐมสุกกาสูตรที่ ๙

           [๘๓๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่ให้ เหยื่อ แก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์

           สมัยนั้นแล ภิกษุณีชื่อสุกกา อันบริษัทใหญ่ แวดล้อมแสดงธรรมอยู่

           [๘๓๓] ครั้งนั้นแล ยักษ์ผู้เลื่อมใส ยิ่งในสุกกาภิกษุณี จากถนนนี้ ไปยังถนน โน้น จากตรอกนี้ ไปยังตรอกโน้น ในกรุงราชคฤห์ ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า

           มนุษย์ทั้งหลาย ในกรุงราชคฤห์ ไม่เข้าไปนั่งใกล้ สุกกาภิกษุณี ผู้แสดง อมตบท อยู่ มัวทำอะไรกัน เป็นผู้ประดุจดื่มน้ำผึ้ง หอมแล้ว ก็นอน ก็แล อมต บทนั้น ใครจะ คัดค้าน ไม่ได้ เป็นของ ไม่ได้เจือปรุง แต่มีโอชา ผู้มีปัญญาคงได้ดื่มอมตธรรม เหมือนคนเดินทาง ได้ดื่มน้ำฝน ฉะนั้น

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๙๕ - ๒๙๖

ทุติยสุกกาสูตรที่ ๑๐

           [๘๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่ให้ เหยื่อ แก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์

           สมัยนั้นแล อุบาสกคนหนึ่ง ได้ถวายโภชนาหาร แก่สุกกาภิกษุณี

           [๘๓๕] ครั้งนั้นแล ยักษ์ผู้เลื่อมใสยิ่งในสุกกาภิกษุณีจากถนนนี้ ไปยังถนนโน้น จากตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในพระนครราชคฤห์ ได้ภาษิตคาถานี้ ในเวลานั้นว่า

           อุบาสก ผู้ได้ถวายโภชนะแก่สุกกาภิกษุณี ผู้หลุดพ้นจากกิเลส เครื่องร้อยกรอง ทั้งปวง เป็นคนมีปัญญาแท้ ประสพบุญ มากหนอ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๙๖

จีราสูตรที่ ๑๑

           [๘๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่ ให้เหยื่อ แก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์

           สมัยนั้นแล อุบาสกคนหนึ่งได้ถวายจีวรแก่จิราภิกษุณี

           [๘๓๗] ครั้งนั้น ยักษ์ผู้เลื่อมใสยิ่ง ในจิราภิกษุณี จากถนนนี้ไปยังถนนโน้น จากตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในพระนครราชคฤห์ ได้ภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า

           อุบาสกผู้ได้ถวายจีวร แก่จีราภิกษุณี ผู้หลุดพ้นจากกิเลสเครื่อง ประกอบทั้งปวง เป็นคนมีปัญญาแท้ ประสพบุญมากหนอ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๙๖ - ๒๙๙

อาฬวกสูตรที่ ๑๒

           [๘๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ เขตเมืองอาฬวี

           ครั้งนั้นแล อาฬวกยักษ์ เข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้กล่าวว่า ท่านจงออกมาสมณะ

           พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีแล้วผู้มีอายุ แล้วก็เสด็จออกมา ยักษ์กล่าวว่า ท่านจงเข้าไป สมณะ

           พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีแล้วผู้มีอายุ แล้วก็เสด็จเข้าไป

           แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ อาฬวกยักษ์ได้กล่าวว่า ฯลฯ พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ฯลฯ

           [๘๓๙] ครั้นครั้งที่ ๔ อาฬวกยักษ์ได้กล่าวว่า ท่านจงออกมา สมณะ

           พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ผู้มีอายุ เราจักไม่ออกไปละท่านจะทำอะไรก็จงทำเถิด

           สมณะ เราจักถามปัญหากะท่าน ถ้าท่านพยากรณ์แก่เราไม่ได้ เราจักทำจิต ของท่าน ให้ฟุ้งซ่าน หรือฉีกหัวใจของท่าน หรือจักจับที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปยังแม่น้ำ คงคาฝั่งโน้น

           อาวุโส เราไม่เห็นใครเลยในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่ สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ที่จะพึงทำจิตของเราให้ฟุ้งซ่านได้ หรือขยี้หัวใจของเรา หรือจับเราที่เท้า แล้วเหวี่ยงไปยังแม่น้ำคงคา ฝั่งโน้น เอาเถิด อาวุโส เชิญถามปัญหาตามที่ท่านจำนงเถิด

           [๘๔๐] อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า อะไรหนอ เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจ อันประเสริฐ ของคนใน โลกนี้ อะไรหนอที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ความสุขมาให้ อะไรหนอเป็นรส อันล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์ ทั้งหลายกล่าวชีวิต ของผู้ที่เป็นอยู่อย่างไร ว่าประเสริฐสุด

           [๘๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ศรัทธาเป็นทรัพย์ อันประเสริฐของคน ในโลกนี้ ธรรมอัน บุคคลประพฤติดีแล้ว นำความสุขมาให้ ความสัตย์แลเป็น รสอัน ล้ำเลิศ กว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวชีวิตของ ผู้ที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา ว่าประเสริฐสุด

           [๘๔๒] อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า คนข้ามโอฆะได้อย่างไรหนอ ข้ามอรรณพ ได้อย่างไร ล่วง ทุกข์ได้อย่างไร บริสุทธิ์ได้อย่างไร

           [๘๔๓] พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า คนข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา ข้ามอรรณพ ได้ด้วยความไม่ ประมาท ล่วงทุกข์ได้ ด้วยความเพียร บริสุทธิ์ได้ด้วย ปัญญา

           [๘๔๔] อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า คนได้ปัญญาอย่างไรหนอ ทำอย่างไรจึงจะหา ทรัพย์ได้ คนได้ ชื่อเสียงอย่างไรหนอ ทำอย่างไรจึงจะผูกมิตรไว้ได้ คน ละโลกนี้ไปสู่ โลกหน้า ทำอย่างไรจึงจะไม่เศร้าโศก

           [๘๔๕] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุคคลเชื่อธรรม ของพระอรหันต์ เพื่อบรรลุ นิพพาน ฟังอยู่ ด้วยดีย่อมได้ปัญญา เป็นผู้ไม่ประมาท มีวิจาร คนทำเหมาะ เจาะ ไม่ทอดธุระ เป็นผู้หมั่น ย่อมหาทรัพย์ได้ คนย่อม ได้ชื่อเสียงเพราะความสัตย์ ผู้ให้ย่อม ผูกมิตรไว้ได้ บุคคล ใดผู้อยู่ครองเรือน ประกอบด้วยศรัทธา มีธรรม ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ บุคคลนั้นแล ละโลกนี้ไป แล้วย่อมไม่เศร้าโศก เชิญท่านถาม สมณพราหมณ์เป็นอัน มากเหล่าอื่นดูซิว่า ในโลกนี้มีอะไรยิ่งไปกว่าสัจจะ ทมะ จาคะ และขันติ

           [๘๔๖] อาฬวกยักษ์กราบทูลว่า ทำไมหนอ ข้าพเจ้าจึงจะต้องถาม สมณพราหมณ์ เป็นอันมากใน บัดนี้ วันนี้ข้าพเจ้ารู้ชัดถึง สัมปรายิกประโยชน์ พระพุทธเจ้า เสด็จมาอยู่เมืองอาฬวี เพื่อประโยชน์แก่ข้าพเจ้าโดยแท้ วันนี้ข้าพเจ้ารู้ชัด ถึงทานที่ บุคคลให้ในที่ใดมีผลมาก ข้าพเจ้า จักเที่ยวจากบ้านไปสู่บ้าน จากบุรีไปสู่บุรี พลางนมัสการ พระสัมพุทธเจ้าและพระธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่ดี

จบยักขสังยุตบริบูรณ์

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

รวมพระสูตรแห่งยักขสังยุต ๑๒ สูตร คือ
อินทกสูตรที่ ๑ สักกสูตรที่ ๒ สูจิโลมสูตรที่ ๓ มณิภัทสูตรที่ ๔ สานุสูตรที่ ๕ ปิยังกรสูตรที่ ๖
ปุนัพพสุสูตรที่ ๗ สุทัตตสูตรที่ ๘ สุกกาสูตร ๒ สูตร จีราสูตร ๑ อาฬวกสูตร ๑ รวม ๑๒ สูตร

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

 

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์