พระไตรปิฎก [ฉบับมหาจุฬาฯ] เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๖
กัปปสูตร (ว่าด้วยกัป)
[๑๕๖] ภิกษุทั้งหลาย อสงไขยกัป ๔ ประการนี้
อสงไขยกัป ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ในเวลาที่ สังวัฏฏกัป๑ ดำเนินไป ไม่มีใครกำหนดนับได้ว่า จำนวนเท่านี้ หลายปี จำนวนเท่านี้ ๑๐๐ ปี จำนวนเท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือ จำนวนเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
๒. ในเวลาที่ สังวัฏฏฐายีกัป ๒ ดำเนินไป ไม่มีใครกำหนดนับได้ว่า จำนวนเท่านี้หลายปี จำนวนเท่านี้ ๑๐๐ ปี จำนวนเท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือจำนวนเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
๓. ในเวลาที่ วิวัฏฏกัป๑ ดำเนินไป ไม่มีใครกำหนดนับได้ว่า จำนวนเท่านี้หลายปี จำนวนเท่านี้ ๑๐๐ ปี จำนวนเท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือจำนวนเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
๔. ในเวลาที่ วิวัฏฏฐายีกัป๒ ดำเนินไป ไม่มีใครกำหนดนับได้ว่า จำนวนเท่านี้หลายปี จำนวนเท่านี้ ๑๐๐ ปี จำนวนเท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือจำนวนเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี
ภิกษุทั้งหลาย อสงไขยกัป ๔ ประการนี้แล
เชิงอรรถ :
๑ คำว่า สังวัฏฏะ แปลว่า ความเสื่อม ความพินาศ และคำว่า กัป แปลว่า กาลกำหนด ช่วง ระยะเวลา ยาวนานเหลือเกินที่กำหนดว่าโลก คือสกลจักรวาลประลัยครั้งหนึ่ง ดังนั้น
คำว่า สังวัฏฏกัป หมายถึง ช่วงระยะเวลาที่โลกเสื่อม มี ๓ อย่าง คือ
(๑) อาโปสังวัฏฏกัป (กัปที่เสื่อมเพราะน้ำ) หมายถึงกัปที่เสื่อม เพราะน้ำนับแต่ชั้น สุภกิณหพรหมลงมา
(๒) เตโชสังวัฏฏกัป (กัปที่เสื่อมเพราะไฟ) หมายถึงกัปที่ไฟไหม้ นับแต่ชั้น อาภัสสรพรหม ลงมา
(๓) วาโยสังวัฏฏกัป (กัปที่เสื่อมเพราะลม) หมายถึงกัปที่ลมพัดทำลาย
นับแต่ชั้น เวหัปผล พรหมลงมา หรือหมายถึงช่วงระยะเวลาที่เปลวไฟดับจนถึงมหาเมฆที่ให้กัปพินาศ
(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๕๖/๓๘๔, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๕๖-๑๕๘/๔๒๑, วิสุทฺธิ. ๒/๔๐๖/๕๕)
๒ สังวัฏฏฐายีกัป หมายถึงช่วงระยะเวลาที่โลกอยู่ถัดจากความเสื่อมไป หรือหมายถึง ตั้งแต่ เปลวไฟที่ให้กัป พินาศดับลงจนถึงมีมหาเมฆเต็ม บริบูรณ์ใน ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิจักรวาล (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๕๖-๑๕๘/๔๒๑,
วิสุทฺธิ. ๒/๔๐๖/๕๕)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ หน้า ๑๔๐
อสงไขยแห่งกัป ๔ (อินทรียวรรค)
[๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสงไขยแห่งกัป ๔ ประการนี้ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด(1) สังวัฏกัป ตั้งอยู่ เมื่อนั้น ใครๆ ก็ไม่อาจนับได้ว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปีเท่านี้พันปี หรือเท่านี้แสนปี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด(2) สังวัฏฏัฏฐายีกัป ตั้งอยู่ เมื่อนั้น ใครๆก็ไม่อาจ นับ ได้ว่าเท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือเท่านี้แสนปี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด(3) วิวัฏกัป ตั้งอยู่ เมื่อนั้น ใครๆ ไม่อาจนับได้ว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือเท่านี้แสนปี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด(4) วิวัฏฏัฏฐายีกัป ตั้งอยู่ เมื่อนั้น ใครๆ ไม่อาจนับ ได้ว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือเท่านี้แสนปี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสงไขยแห่งกัป ๔ ประการนี้แล
พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๖๐๓
ครั้งมีพระชาติเป็นอกิตติดาบส ๑
บารมีใด ๆ อันเราประพฤติสั่งสมแล้ว ในระยะกาลนับได้ สี่ อสงไขยแสนกัลป์ บารมีนั้นทั้งหมด เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณให้สุก บารมีที่เราประพฤติแล้วในภพน้อยใหญ่ ในกัลป์ก่อน ๆ นั้น จักงดไว้ก่อน จักกล่าวเฉพาะบารมีที่เรา ประพฤติในกัลป์นี้ ท่านจงฟังคำของเรา.
ในกาลใด เราเป็นดาบส นามว่า อกิตติ อาศัยอยู่ในป่าหลวงสงัดเงียบ ว่างจาก คนไปมา ในกาลนั้นด้วยอำนาจการบำเพ็ญตบะกรรมของเรา ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ยิ่งใน ไตรทิพย์ ได้ร้อนใจทนอยู่ไม่ได้แล้ว.๒ เธอแปลงเพศเป็นพราหมณ์ เข้ามาขออาหาร กะเรา.
เราเห็นพราหมณ์นั้น ยืนอยู่แทบประตูของเรา จึงให้ใบไม้ อันเรานำมาจากป่า ไม่มีมัน และไม่เค็ม๓ ไปทั้งหมด. ครั้งให้แล้ว ก็คว่ำภาชนะเก็บ และไม่ออกแสวงหา ใหม่ เข้าสู่บรรณศาลาแล้ว.
ในวันที่สอง และที่สาม พราหมณ์นั้นได้มาขอกะเราอีก. เรามิได้มีจิตหวั่นไหว ไปจากเดิม ไม่ได้อ่อนอกอ่อนใจ ได้ให้ไปหมดทั้งภาชนะอย่างเดียว กับวันก่อน.
ความทรุดโทรมแห่งผิวพรรณในสรีระของเรา จะมีเพราะเหตุอดอาหารนั้น ก็หาไม่ เราฆ่าเวลาเป็นวัน ๆ นั้นได้ด้วยความยินดี โดยสุขอันเกิดจากปีติ
๑. บาลี อกิตติจริยา จริยา. ขุ. ๓๓/๕๕๑/๑.
๒. นัยว่า ข่าวการบำเพ็ญตบะอย่างสูงสุดของใครก็ตาม ย่อมทราบถึงท้าวสักกะผู้มักระแวงอยู่ เสมอว่า จะมีใครบำเพ็ญตบะเพื่อหวังแย่งบัลลังก์ของตน.
๓. ดาบสนี้ ฉันใบหมากเม่าต้มเปล่า ๆ เป็นอาหาร เพื่อตัดความกังวลในเรื่องนี้.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้า ๑๓๔
ญาณ ๓
[๑๖๘] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลสอ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ บ้าง สามชาติบ้างสี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอด สังวัฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอด วิวัฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอด สังวัฏวิวัฏกัป เป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึง ชาติก่อนได้เป็นอันมากพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร
ดูกรภัททาลิ ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ในศาสนาของ พระศาสดา.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้า ๑๘๕
พยากรณ์วิชชา ๓
[๒๔๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้าทั้งหลายจะพยากรณ์อย่างไร จึงจะเป็น อันกล่าวตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ไม่ชื่อว่าตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำ ไม่จริง เป็นอันพยากรณ์ถูกสมควรแก่ธรรม อนึ่ง วาทะและอนุวาทะอันเป็นไปกับด้วย เหตุบางอย่าง จะไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้จะพึงติเตียนเล่า.
ดูกรวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะดังนี้แล เป็นอัน กล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่เป็นจริง ชื่อว่าพยากรณ์ถูก สมควร แก่ธรรมอนึ่ง วาทะและอนุวาทะอันเป็นไปกับด้วยเหตุบางอย่าง จะไม่มาถึงฐานะ ที่ผู้รู้พึงติเตียนเลย.
ดูกรวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติ บ้าง ยี่สิบชาติบ้างสามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติ บ้าง แสนชาติบ้างตลอด สังวัฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอด วิวัฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอด สังวัฏวิวัฏกัป เป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียง เท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก หน้า ๘๕
บุพเพนิวาสานุสติญาณ
[๘๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่เยี่ยม คือ พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมในฝ่าย บุพเพนิวาสานุสติญาณ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียร ที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆอาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการ โดยชอบแล้ว บรรลุเจโตสมาธิ
ที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน ได้หลาย ประการ คือตามระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติ บ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติ บ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้างสามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติ บ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติ บ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้างหลาย สังวัฏกัป บ้าง หลาย วิวัฏกัป บ้าง หลาย สังวัฎวิวัฏกัป บ้างว่า ในภพโน้น เราได้มีชื่ออย่าง นั้น มีโคตร อย่าง นั้น มีผิวพรรณ อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์ อย่างนั้นๆมีกำหนด อายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มี อาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาบังเกิดในภพนี้ ย่อมตามระลึก ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน ได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัตว์ทั้งหลายที่มีชาติ อันไม่อาจนับได้ด้วยวิธีคำนวณ หรือวิธีนับก็ยังมีอยู่ แม้ภพซึ่งเป็นที่ๆ เขาเคยอาศัยอยู่ คือรูปภพ อรูปภพ สัญญีภพ อสัญญีภพเนวสัญญีนาสัญญีภพ [ที่ไม่อาจนับได้] ก็ยังมี ย่อมตามระลึก ถึงขันธ์ ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการ ฉะนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญนี้เป็นธรรมที่เยี่ยม ในฝ่ายบุพเพนิวาสานุสติญาณ
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้า ๙๘
กำลังของตถาคต (๑๐ ประการ)
ดูกรสารีบุตร อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติ บ้าง ยี่สิบชาติบ้างสามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติ บ้าง แสนชาติบ้าง ตลอด สังวัฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอด วิวัฏกัป เป็นอันมากบ้าง ตลอด สังวัฏวิวัฏกัป เป็นอันมากบ้างว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณ อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุ
เพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้นแม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้นเสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ ตถาคตย่อม ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.
ดูกรสารีบุตร ข้อที่ตถาคตระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่ง บ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ตถาคตย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ นี้เป็นกำลังของตถาคตประการหนึ่ง ซึ่งตถาคต อาศัย แล้ว ปฏิญาณฐานะแห่งผู้องอาจ บันลือสีหนาทในบริษัท ยังพรหมจักรให้เป็นไป
|