เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

เหตุสะดุ้งกลัวการอยู่ในเสนาสนะป่า ๑๖ ประการ 1811
 


เหตุสะดุ้งกลัวการอยู่ในเสนาสนะป่า ๑๖ ประการ

“เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความดำริ ว่า ‘เสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และ ป่าทึบ อยู่ลำบาก ทำวิเวกได้ยาก ในการอยู่โดดเดี่ยว ก็อภิรมย์ได้ยาก ป่าทั้งหลายเห็นจะชักนำจิต ของภิกษุ ผู้ยังไม่ได้สมาธิ ให้หวาดหวั่น’ เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์ มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ไม่บริสุทธิ์ ย่อมประสบความกลัว และความขลาด อันเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่ง โทษ ของตน ๑๖ ประการ คือ

(๑) มีกายกรรม ไม่บริสุทธิ์
(๒) มีวจีกรรม ไม่บริสุทธิ์
(๓) มีมโนกรรม ไม่บริสุทธิ์
(๔) มีการเลี้ยงชีพ ไม่บริสุทธิ์
(๕) มีปกติเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีความกำหนัดกล้าในกามคุณ
(๖) มีจิตวิบัติและมีความดำริชั่วร้าย
(๗) การถูก ถีนมิทธะ กลุ้มรุม  
(๘) เป็นผู้ฟุ้งซ่านและมีจิตไม่สงบ
(๙) ความเคลือบแคลงสงสัย  
(๑๐) การยกตนข่มผู้อื่น
(๑๑) ความสะดุ้งกลัวและมักขลาด
(๑๒) ความปรารถนา ลาภสักการะและความสรรเสริญ
(๑๓) คือความเป็นผู้เกียจคร้าน ปราศจากความเพียร
(๑๔) ความเป็นผู้ ขาดสติสัมปชัญญะ
(๑๕) ความเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น และมีจิตดิ้นรนกวัดแกว่ง
(๑๖) ความเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 

พระไตรปิฎก[ฉบับมหาจุฬาฯ] เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๓ - ๔๔

เหตุสะดุ้งกลัวการอยู่ในเสนาสนะป่า ๑๖ ประการ

           [๓๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เมื่อก่อน เราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความดำริว่า ‘เสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ อยู่ลำบาก ทำวิเวกได้ยาก ในการอยู่โดดเดี่ยวก็อภิรมย์ได้ยาก ป่าทั้งหลายเห็นจะชักนำจิต ของภิกษุ ผู้ยังไม่ได้สมาธิ ให้หวาดหวั่น’ เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีกายกรรมไม่บริสุทธิ์ เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมประสบความกลัว และความขลาด อันเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งโทษของตน คือ มีกายกรรมไม่บริสุทธิ์

           ส่วนเรามิใช่เป็นผู้มีกายกรรมไม่บริสุทธิ์ เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้มีกายกรรมบริสุทธิ์ พระอริยะ๔- เหล่าใดมีกายกรรม บริสุทธิ์ เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้หนึ่งในบรรดา พระอริยะเหล่านั้น’ พราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่ง ความเป็นผู้มีกายกรรมบริสุทธิ์นั้นในตน จึงถึงความเป็นผู้มีความปลอดภัยอย่างยิ่งเพื่ออยู่ในป่า (๑)

           [๓๖] พราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เป็นผู้มีวจีกรรมไม่บริสุทธิ์ ฯลฯ มีมโนกรรมไม่บริสุทธิ์ ฯลฯ มีการเลี้ยงชีพ ไม่บริสุทธิ์ เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ สมณะ หรือ พราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมประสบความกลัว และความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งโทษของตน คือ มีการเลี้ยงชีพไม่บริสุทธิ์

           ส่วนเรามิใช่เป็นผู้มีการเลี้ยงชีพ ไม่บริสุทธิ์ เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้มีการเลี้ยงชีพบริสุทธิ์ พระอริยะเหล่าใดมีการเลี้ยงชีพ บริสุทธิ์ เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้หนึ่งในบรรดา พระอริยะเหล่านั้น’ พราหมณ์ เราเห็นชัด ซึ่งความเป็นผู้มีการเลี้ยงชีพบริสุทธิ์นั้นในตน จึงถึงความเป็นผู้ปลอดภัยอย่างยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า (๒-๓-๔)

           [๓๗] พราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง มีปกติเพ่งเล็ง อยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีความกำหนัดกล้า ในกามคุณ ทั้งหลาย เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ สมณะ หรือ พราหมณ์ผู้เจริญ เหล่านั้น ย่อมประสบความกลัวและความขลาด อันเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งโทษของตน คือ มีปกติเพ่งเล็ง อยากได้สิ่งของของผู้อื่น และมีความ กำหนัดกล้าในกามคุณทั้งหลาย

           ส่วนเรามิใช่เป็นผู้มีปกติ เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น ไม่มีความกำหนัด กล้า ในกามคุณทั้งหลาย เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ เรามิใช่เป็นผู้มีปกติ เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น พระอริยะเหล่าใดไม่มีปกติ เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบเราเป็นผู้หนึ่ง ในบรรดาพระอริยะเหล่านั้น’ พราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความ เป็นผู้ ไม่มีปกติ เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่นนั้นในตน จึงถึงความเป็น ผู้ปลอดภัย อย่างยิ่งเพื่ออยู่ในป่า (๕)

           [๓๘] พราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง มีจิตวิบัติ มีความดำริชั่วร้าย เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมประสบความกลัวและความขลาด อันเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งโทษของตน คือ มีจิตวิบัติและมีความดำริชั่วร้าย

           ส่วนเรามิใช่เป็นผู้มีจิตวิบัติ มิใช่มีความดำริชั่วร้าย เข้าอาศัยเสนาสนะ อันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้มีจิตเมตตา พระอริยะเหล่าใดมีจิตเมตตา เข้าอาศัยเสนาสนะ อันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้หนึ่ง ในบรรดาพระ อริยะ เหล่านั้น’ พราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่ง ความเป็นผู้มีจิตเมตตานั้นในตน จึงถึง ความเป็น ผู้ปลอดภัยอย่างยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า (๖)

           [๓๙] พราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ถูกถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) กลุ้มรุมแล้ว เข้าอาศัยเสนาสนะ อันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมประสบ ความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งโทษของตน คือ การถูก ถีนมิทธะ กลุ้มรุม

           ส่วนเรามิใช่เป็นผู้ถูกถีนมิทธะ กลุ้มรุม เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ พระอริยะเหล่าใด เป็นผู้ปราศจาก ถีนมิทธะ เข้าอาศัยเสนาสนะ อันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบเราเป็นผู้หนึ่ง ในบรรดาพระอริยะเหล่านั้น’ พราหมณ์ เราเห็นชัด ซึ่งความเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ นั้นในตน จึงถึงความเป็นผู้ปลอดภัยอย่างยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า (๗)

           [๔๐] พราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เป็นผู้ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบ เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและ ป่าทึบ สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมประสบความกลัว และความขลาด อันเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งโทษของตน คือ เป็นผู้ฟุ้งซ่านและมีจิตไม่สงบ

           ส่วนเรามิใช่เป็นผู้ฟุ้งซ่าน มิใช่มีจิตไม่สงบ เข้าอาศัยเสนาสนะ อันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้มีจิตสงบแล้ว พระอริยะเหล่าใดเป็นผู้มีจิตสงบ เข้าอาศัยเสนาสนะ อันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้หนึ่งในบรรดา พระอริยะเหล่านั้น’ พราหมณ์ เราเห็นชัด ซึ่งความเป็นผู้มีจิตสงบนั้นในตน จึงถึงความ เป็นผู้ ปลอดภัย อย่างยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า (๘)

           [๔๑] พราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เป็นผู้เคลือบแคลงสงสัย เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและ ป่าทึบสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เจริญ‘เหล่านั้น ย่อมประสบความกลัว และความขลาด อันเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งโทษของตน คือ ความเคลือบแคลงสงสัย

           ส่วนเรามิใช่เป็นผู้เคลือบแคลงสงสัย เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้ข้ามพ้นความเคลือบแคลงสงสัยแล้ว พระอริยะเหล่าใด เป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัย แล้วเข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้หนึ่งในบรรดาพระอริยะเหล่านั้น’พราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้ข้ามพ้น ความสงสัยนั้นในตน จึงถึงความเป็นผู้ปลอดภัยอย่างยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า (๙)

           [๔๒] พราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมประสบความกลัว และความขลาดอันเป็น อกุศล เพราะเหตุแห่งโทษของตน คือ การยกตนข่มผู้อื่น

           ส่วนเรามิใช่เป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ เราเป็นผู้ไม่ยกตนข่มผู้อื่น พระอริยะเหล่าใดเป็นผู้ไม่ยกตนข่มผู้อื่น เข้า อาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้หนึ่งในบรรดาพระอริยะ เหล่านั้น’ พราหมณ์ เราเห็นชัด ซึ่งความเป็นผู้ไม่ยกตนข่มผู้อื่นนั้นในตน จึงถึงความเป็นผู้ปลอดภัยอย่างยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า (๑๐)

           [๔๓] พราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ งเป็นผู้สะดุ้งกลัวและมักขลาด เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมประสบความกลัวและความขลาด อันเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งโทษของตน คือ ความสะดุ้งกลัวและมักขลาด

           ส่วนเรามิใช่เป็นผู้สะดุ้งกลัวและมักขลาด เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้ปราศจากความขนพองสยองเกล้า พระอริยะเหล่าใด เป็นผู้ปราศจากความขนพองสยองเกล้า เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ เราเป็นผู้หนึ่งในบรรดาพระอริยะเหล่านั้น’ พราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความ เป็นผู้ปราศจากความสะดุ้งกลัว นั้นในตน จึงถึงความเป็นผู้ปลอดภัยอย่างยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า (๑๑)

           [๔๔] พราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ปรารถนาลาภสักการะ และความสรรเสริญ เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมประสบความกลัว และความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งโทษของตน คือ ความปรารถนา ลาภสักการะและความสรรเสริญ

           ส่วนเรามิใช่เป็นผู้ปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญ เข้าอาศัย เสนาสนะ อันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย พระอริยะ เหล่าใด มีความปรารถนาน้อย เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้หนึ่งในบรรดาพระอริยะเหล่านั้น’ พราหมณ์ เราเห็นชัด ซึ่งความเป็นผู้มีความ ปรารถนาน้อยนั้นในตน จึงถึงความเป็นผู้ปลอดภัยอย่างยิ่งเพื่ออยู่ในป่า (๑๒)

           [๔๕] พราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เป็นผู้เกียจคร้าน ปราศจากความเพียร เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมประสบความกลัวแ ละความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งโทษของตน คือความเป็นผู้เกียจคร้าน ปราศจากความเพียร

           ส่วนเรามิใช่เป็นผู้เกียจคร้าน มิใช่ปราศจากความเพียร เข้าอาศัยเสนาสนะ อันเงียบ สงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้ปรารภความเพียร๑ พระอริยะเหล่าใด เป็นผู้ปรารภความเพียร เข้าอาศัยเสนาสนะ อันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้หนึ่งในบรรดาพระอริยะเหล่านั้น’ พราหมณ์ เราเห็นชัด ซึ่งความเป็นผู้ปรารภค วามเพียรนั้นในตน จึงถึงความเป็นผู้ปลอดภัยอย่างยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า (๑๓)

           [๔๖] พราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ขาดสติสัมปชัญญะ(ความระลึกได้และความรู้ตัว) เข้าอาศัยเสนาสนะ อันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมประสบ ความกลัว และความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งโทษของตน คือ ความเป็นผู้ ขาดสติสัมปชัญญะ

           ส่วนเรามิใช่ เป็นผู้ขาดสติสัมปชัญญะ เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้มีสติมั่นคง พระอริยะเหล่าใดเป็นผู้มีสติมั่นคง เข้าอาศัย เสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้หนึ่งในบรรดาพระอริยะเหล่านั้น ’พราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่ง ความเป็นผู้มีสติมั่นคงนั้นในตน จึงถึงความเป็นผู้ปลอดภัย อย่างยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า (๑๔)

           [๔๗] พราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่งมีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตดิ้นรนกวัดแกว่ง เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมประสบความกลัว และความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งโทษของตน คือ ความเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น และมีจิตดิ้นรนกวัดแกว่ง

           ส่วนเรามิใช่เป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตไม่ดิ้นรนกวัดแกว่ง เข้าอาศัยเสนาสนะ อันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิพระอริยะเหล่าใด เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้หนึ่งในบรรดาพระอริยะเหล่านั้น’ พราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้สมบูรณ์ ด้วยสมาธินั้นในตน จึงถึงความเป็นผู้ปลอดภัยอย่างยิ่งเพื่ออยู่ในป่า (๑๕)

           [๔๘] พราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่ง และป่าทึบ สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมประสบความกลัวและความขลาด อันเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งโทษของตน คือ ความเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา

           ส่วนเรามิใช่เป็นผู้โง่เขลาเบาปัญญา เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ ราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา พระอริยะเหล่าใดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วย ปัญญา เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้หนึ่ง ในบรรดาพระอริยะเหล่านั้น’

           พราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญานั้นในตน จึงถึงความ เป็นผู้ปลอดภัยอย่างยิ่งเพื่ออยู่ในป่า (๑๖)

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์