เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ปัญหาการไม่ตามศึกษาความสงัด (ธรรมทายาทสูตร) 1807
 
ปัญหาการไม่ตามศึกษาความสงัด (ธรรมทายาทสูตร)
เมื่อพระศาสดาเสร็จอยู่สงัดแล้ว แต่สาวกทั้งหลาย
1. สาวกไม่ศึกษาความสงัดตาม (พระศาสดา)
2. พระศาสดาตรัสถึง การละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายไม่ละธรรมเหล่านั้น
3. สาวกเป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสงัด
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 


 


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑๘

ปัญหาการไม่ตามศึกษาความสงัด (ธรรมทายาทสูตร)

           [๒๓] ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาค เสด็จหลีกไปไม่นาน ท่านพระสารีบุตร จึงเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น รับคำ ท่านพระสารีบุตรว่า ขอรับ ดังนี้.

            ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดา เสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลาย ย่อมไม่ศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลาย ย่อมศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุ เพียงเท่าไร?

           ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาแต่ที่ไกล ก็เพื่อ จะทราบเนื้อความแห่งภาษิตข้อนี้ ในสำนักท่านพระสารีบุตร พวกกระผมขอโอกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตข้อนี้ จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเท่านั้นเถิด ภิกษุทั้งหลาย ได้สดับ ต่อท่านพระสารีบุตรแล้วจักทรงจำไว้.

            ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกท่าน จงฟังจงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.

           [๒๔] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อ พระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลาย ย่อมไม่ศึกษาความสงัดตามด้วยเหตุ เพียงเท่าไรหนอ? ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสร็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ไม่ศึกษาความสงัดตาม คือ พระศาสดาตรัสถึง การละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายไม่ละธรรมเหล่านั้น เป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสงัด.

           บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้เถระอันวิญญูชน พึงติเตียนได้ ด้วยเหตุสามสถาน คือ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่หนึ่งนี้ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว พระสาวกทั้งหลาย ไม่ศึกษาความสงัดตาม อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ ด้วยสถาน ที่สองนี้ว่า พระศาสดาตรัสถึง การละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลาย ไม่ละธรรมเหล่านั้น อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ ด้วยสถานที่สามนี้ว่า สาวกทั้งหลายเป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสงัด. ภิกษุผู้เถระ อันวิญญูชนพึงติเตียน ด้วยเหตุสามสถานเหล่านี้.

           บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้มัชฌิมะ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ ด้วยเหตุ สามสถาน คืออันวิญญูชนพึงติเตียนได้

ด้วยสถานที่หนึ่งนี้ว่า
เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายไม่ศึกษาความ สงัดตาม อันวิญญูชนพึงติเตียนได้

ด้วยสถานที่สองนี้ว่า
พระศาสดาตรัสถึง การละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายไม่ละ ธรรมเหล่านั้น อันวิญญูชนพึงติเตียนได้

ด้วยสถานที่สามนี้ว่า
สาวกทั้งหลายเป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการ ท้อถอย ทอดธุระในความสงัด.

           ภิกษุผู้มัชฌิมะ อันวิญญูชน พึงติเตียนได้ ด้วยเหตุสามสถานเหล่านี้.

           บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้นวกะ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ ด้วยเหตุ สามสถาน คืออันวิญญูชนพึงติเตียนได้ ด้วยสถานที่หนึ่งนี้ว่า เมื่อพระศาสดา เสด็จ อยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายไม่ศึกษาความสงัดตาม อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ ด้วยสถานที่สองนี้ว่า พระศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายไม่ละธรรม เหล่านั้น อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ ด้วยสถานที่สามนี้ว่า สาวกทั้งหลายเป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสงัด. ภิกษุผู้นวกะอันวิญญูชน พึงติเตียนได้ ด้วยเหตุสามสถานเหล่านี้.

           ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลาย ชื่อว่า ไม่ศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์