พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ หน้า ๑๓
ว่าด้วยธรรม ๘ ประการ
(ธรรม ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
ธรรม ๘ ประการ ย่อมมีเพราะพระวินัยของพระสุคต
ธรรม ๘ ประการ ย่อมเกิดเพราะความปรากฏแห่งพระตถาคต
ธรรม ๘ ประการ ย่อมบริสุทธิ์เพราะวินัยของพระสุคต
อพรหมจรรย์ เป็นไฉน คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ
พรหมจรรย์ เป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้แลเป็น พรหมจรรย์ ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ นี้เป็นที่สุดของพรหมจรรย์
พรหมจารี เป็นไฉน คือ บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘
มิจฉัตตะ เป็นไฉน ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจมั่นผิด นี้เรียกว่า มิจฉัตตะ
สัมมัตตะ เป็นไฉน? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า สัมมัตตะ
อกุศลธรรม เป็นไฉน? ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจมั่น ผิด นี้เรียกว่า อกุศลธรรม
กุศลธรรมเป็นไฉน? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า กุศลธรรม
มิจฉาปฏิปทา เป็นไฉน? ความเห็นผิด ฯลฯ ความตั้งใจมั่นผิด นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา
สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน? ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา
................................................................................................................................
อสัตบุรุษ-สัตบุรุษ
อสัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีความเห็นผิด ดำริผิด เจรจาผิด ทำการงานผิด เลี้ยงชีพผิด พยายามผิด ระลึกผิด ตั้งใจมั่นผิด บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ
สัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความ เห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ
................................................................................................................................
อสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่า
อสัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าอสัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนใน โลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิด ดำริผิด เจรจาผิด ทำการงานผิด เลี้ยงชีพผิด พยายามผิด ระลึกผิด ตั้งใจมั่นผิด รู้ผิด พ้นผิด บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ
สัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าสัตบุรุษเป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจมั่นชอบ รู้ชอบ พ้นชอบ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าสัตบุรุษ
|