เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

วิหารสูตร ว่าด้วยปัจจัยแห่งเวทนา สูตร ๑-๒ ฉบับหลวง และ ฉบับมหาจุฬา 1795
 
ว่าด้วยปัจจัยแห่งเวทนา (ฉบับหลวง) สูตร ๑
ว่าด้วยปัจจัยแห่งเวทนา (ฉบับหลวง) สูตร ๒
ว่าด้วยปัจจัยแห่งเวทนา (ฉบับมหาจุฬา) สูตร ๑
ว่าด้วยปัจจัยแห่งเวทนา (ฉบับมหาจุฬา) สูตร ๒
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๒

วิหารสูตรที่ ๑
ว่าด้วยปัจจัยแห่งเวทนา (ฉบับหลวง)

          [๔๗] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ ตลอดกึ่งเดือน ใครๆไม่พึงเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปให้รูปเดียว ภิกษุทั้งหลายรับพระดำรัส ของพระผู้มี พระภาค แล้ว ในกึ่งเดือนนี้ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค นอกจากภิกษุ ผู้นำบิณฑบาตไปถวายรูปเดียว.

          [๔๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงออกจากที่หลีกเร้นโดยล่วงไป กึ่งเดือน นั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัสว่า

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแรกตรัสรู้ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันใด เราอยู่แล้วโดยส่วนแห่งวิหารธรรมอันนั้น เรารู้ชัดอย่างนี้ว่า เวทนาย่อมมี

เพราะความเห็นผิด เป็นปัจจัยบ้าง (มรรค๘ ข้อที่ ๑)
เพราะความเห็นชอบ เป็นปัจจัยบ้าง (ตรงกันข้าม)

เพราะความดำริผิด เป็นปัจจัยบ้าง (มรรค๘ ข้อที่๒)
เพราะความดำริชอบ เป็นปัจจัยบ้าง (ตรงกันข้าม)

เพราะเจรจาผิด เป็นปัจจัยบ้าง (มรรค๘ ข้อที่๓)
เพราะเจรจาชอบ เป็นปัจจัยบ้าง (ตรงกันข้าม)

เพราะการงานผิด เป็นปัจจัยบ้าง (มรรค๘ ข้อที่๔)
เพราะการงานชอบ เป็นปัจจัยบ้าง (ตรงกันข้าม)

เพราะเลี้ยงชีพผิด เป็นปัจจัยบ้าง (มรรค๘ ข้อที่๕)
เพราะเลี้ยงชีพชอบ เป็นปัจจัยบ้าง (ตรงกันข้าม)

เพราะพยายามผิด เป็นปัจจัยบ้าง (มรรค๘ ข้อที่ ๖)
เพราะพยายามชอบ เป็นปัจจัยบ้าง (ตรงกันข้าม)

เพราะความระลึกผิด เป็นปัจจัยบ้าง (มรรค๘ ข้อที่๗)
เพราะความระลึกชอบ เป็นปัจจัยบ้าง (ตรงกันข้าม)

เพราะความตั้งใจมั่นผิด เป็นปัจจัยบ้าง (มรรค๘ ข้อที่ ๘)
เพราะความตั้งใจมั่นชอบ เป็นปัจจัยบ้าง (ตรงกันข้าม)

เพราะฉันทะ เป็นปัจจัยบ้าง
เพราะวิตก เป็นปัจจัยบ้าง
เพราะสัญญา เป็นปัจจัยบ้าง
เพราะฉันทวิตก และสัญญา ยังไม่สงบ เป็นปัจจัยบ้าง
เพราะฉันทวิตกและสัญญา สงบ เป็นปัจจัยบ้าง

เพราะมีความพยายาม เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
และเมื่อถึงฐานะนั้นแล้วเป็นปัจจัยบ้าง
..........................................................................................

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๒


วิหารสูตรที่ ๒
ว่าด้วยปัจจัยแห่งเวทนา (ฉบับหลวง)

          [๔๙] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า เราปรารถนา จะหลีกเร้นอยู่ตลอด ๓ เดือน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาต ไปให้รูปเดียว ภิกษุทั้งหลายรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้วใน ๓ เดือนนี้ ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคนอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปถวายรูปเดียว

          [๕๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงออกจากที่หลีกเร้น โดยล่วงไป ๓ เดือน นั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแรกตรัสรู้ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรม อันใด เราอยู่แล้วโดย ส่วนแห่งวิหารธรรมอันนั้น เรารู้ชัดอย่างนี้ว่า เวทนาย่อมมี

เพราะความเห็นผิด เป็นปัจจัยบ้าง
เพราะความเห็นผิดสงบ เป็นปัจจัยบ้าง

เพราะความเห็นชอบ เป็นปัจจัยบ้าง
เพราะความเห็นชอบสงบ เป็นปัจจัยบ้าง ฯลฯ

เพราะความตั้งใจมั่นผิด เป็นปัจจัยบ้าง
เพราะความตั้งใจมั่นผิดสงบ เป็นปัจจัยบ้าง

เพราะความตั้งใจมั่นชอบ เป็นปัจจัยบ้าง
เพราะความตั้งใจมั่นชอบสงบ เป็นปัจจัยบ้าง

เพราะฉันทะ เป็นปัจจัยบ้าง
เพราะฉันทะสงบ เป็นปัจจัยบ้าง

เพราะวิตก เป็นปัจจัยบ้าง
เพราะวิตกสงบ เป็นปัจจัยบ้าง

เพราะสัญญา เป็นปัจจัยบ้าง
เพราะสัญญาสงบ เป็นปัจจัยบ้าง
เพราะฉันทวิตกและ สัญญายังไม่สงบ เป็นปัจจัยบ้าง
เพราะฉันทวิตกและ สัญญาสงบ เป็นปัจจัยบ้าง

เพราะมีความพยายาม เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
และเมื่อถึงฐานะนั้นแล้ว เป็นปัจจัยบ้าง.



สำนวนแปล ฉบับมหาจุฬา

พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬา เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๖


๑. ปฐมวิหารสูตร (สูตรที่ ๑)
ว่าด้วยวิหารธรรม (มหาจุฬา)


ครั้นครึ่งเดือนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย มาตรัสว่า

“ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแรกตรัสรู้ ได้อยู่ด้วยส่วน แห่งวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่) รู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘เพราะมิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัมมาทิฏฐิ เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
ฯลฯ
เพราะมิจฉาสมาธ ิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัมมาสมาธ ิเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะฉันทะ เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะวิตก เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัญญา เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมไม่สงบ เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมสงบ เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี

ความพยายามเพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่บรรลุ- มีอยู่
แต่เพราะเมื่อยังไม่ได้บรรลุ ฐานะ- นั้นเป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี”

@ ธรรมที่ยังไม่บรรลุ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (สํ.ม.อ. ๓/๑๑/๑๙๔)
@
ฐานะ ในที่นี้หมายถึงเหตุ (สํ.ม.อ. ๓/๑๑/๑๙๔
..........................................................................................

สำนวนแปล ฉบับมหาจุฬา
พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬา เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก หน้า ๑๗-๑๘

ว่าด้วยวิหารธรรม สูตรที่ ๒ (มหาจุฬา)

          [๑๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี “ภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นตลอด ๓ เดือน ใครๆ อย่าเข้าไป หาเรา ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ สนองพระดำรัสแล้ว ใน ๓ เดือนนี้ จึงไม่มีใครเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเลย ยกเว้นภิกษุผู้นำอาหารบิณฑบาตเข้าไปทูลถวายรูปเดียว

          ครั้น ๓ เดือนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว รับสั่ง เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแรกตรัสรู้ ได้อยู่ด้วยส่วนแห่ง วิหารธรรม รู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘เพราะมิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นธรรมสงบ เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัมมาทิฏฐิ เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นธรรมสงบ เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
ฯลฯ
เพราะมิจฉาสมาธิ เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะมิจฉาสมาธิเป็นธรรมสงบ เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัมมาสมาธิ เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัมมาสมาธิเป็นธรรมสงบ เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะฉันทะ เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะฉันทะเป็นธรรมสงบ เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะวิตก เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะวิตกเป็นธรรมสงบ เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัญญา เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะสัญญาเป็นธรรมสงบ เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมไม่สงบ เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี
เพราะฉันทะ วิตก และสัญญาเป็นธรรมสงบ เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี

ความพยายามเพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ มีอยู่ แต่เพราะเมื่อยังไม่ได้บรรลุ
ฐานะนั้น เป็นปัจจัย ความเสวยอารมณ์จึงมี”




 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์