เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

แม้พระพุทธองค์ก็ทรงสาธยายปฏิจจ (เกียรติสูงสุดของปฏิจจสมุปบาท) 1793
 
ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเสด็จประทับอยู่ในที่หลีกเร้นแห่งหนึ่งแล้ว ได้ทรงกล่าว ธรรมปริยายนี้ (ด้วยพระองค์เอง) ว่า

เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ
การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ นั่นคือผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
.........
.. ทรงสาธยายปฏิจจสายเกิดและสายดับ....

ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ยืนแอบฟังอยู่ ทรงทอดพระเนตรเห็นภิกษุ ผู้ยืนแอบฟัง ได้ตรัสคำนี้กะภิกษุนั้นว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอได้ยินธรรมปริยายนี้แล้ว มิใช่หรือ (ได้ยิน พระเจ้าข้า)
ดูก่อนภิกษุ เธอจงรับเอาธรรมปริยายนี้ไป
ดูก่อนภิกษุ เธอจงเล่าเรียนธรรมปริยายนี้
ดูก่อนภิกษุ เธอจงทรงไว้ ซึ่งธรรมปริยายนี้
ดูก่อนภิกษุ ธรรมปริยายนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ดังนี้ แล

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 

 


ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า
หน้า 807

แม้พระพุทธองค์ก็ทรงสาธยายปฏิจจ
(เกียรติสูงสุดของปฏิจจสมุปบาท)

ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเสด็จประทับอยู่ในที่หลีกเร้นแห่งหนึ่งแล้ว ได้ทรงกล่าว ธรรมปริยายนี้ (ตามลำพังพระองค์) ว่า

เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ (จักษุ+รูป+จักขุวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

เพราะอาศัยซึ่งโสตะด้วย ซึ่งเสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ (โสตะ+เสียง+โสตวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ...ฯลฯ... ...ฯลฯ...
(ในกรณีแห่งโสตะ ฆานะ ชิวหา และกายะ ตอนที่ละเปยยาลไว้เช่นนี้ทุกแห่ง หมายความว่ามีข้อความเต็มดุจในกรณีแห่งจักษุและกรณีแห่งมนะทุกตัวอักษร).

เพราะอาศัยซึ่งฆานะด้วย ซึ่งกลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิดฆานวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ฆานะ+กลิ่น+ฆานวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ...ฯลฯ... ...ฯลฯ...

เพราะอาศัยซึ่งชิวหาด้วย ซึ่งรสทั้งหลายด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ชิวหา+รส+ชิวหาวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ...ฯลฯ... ...ฯลฯ...

เพราะอาศัยซึ่งกายะด้วย ซึ่งโผฏฐัพพะทั้งหลายด้วย จึงเกิดกายวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (กายะ+โผฏฐัพพะ+กายวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี เวทนา ...ฯลฯ... ...ฯลฯ...

เพราะอาศัยซึ่งมนะด้วย ซึ่งธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วย จึงเกิดมโนวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (มนะ+ธัมมารมณ์+มโนวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมี อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้

--- (ปฏิปักขนัย) ---

เพราะอาศัยซึ่งจักษุด้วย ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่ง ธรรม ๓ ประการ (จักษุ+รูป+จักขุวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งตัณหานั้น นั่นแหละ จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

เพราะอาศัยซึ่งโสตะด้วย ซึ่งเสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (โสตะ+เสียง+โสตวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ...ฯลฯ... ...ฯลฯ... (ในกรณีแห่งโสตะ ฆานะ ชิวหา และกายะ ตอนที่ละเปยยาลไว้เช่นนี้ทุกแห่ง หมายความว่ามี ข้อความเต็ม ดุจในกรณีแห่งจักษุ และกรณีแห่งมนะทุกตัวอักษร)

เพราะอาศัยซึ่งฆานะด้วย ซึ่งกลิ่นทั้งหลายด้วย จึงเกิดฆานวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ฆานะ+กลิ่น+ฆานวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ...ฯลฯ... ...ฯลฯ...

เพราะอาศัยซึ่งชิวหาด้วย ซึ่งรสทั้งหลายด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ชิวหา+รส+ชิวหาวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ...ฯลฯ... ...ฯลฯ...

เพราะอาศัยซึ่งกายะด้วย ซึ่งโผฏฐัพพะทั้งหลายด้วย จึงเกิดกายวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (กายะ+โผฏฐัพพะ+กายวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ...ฯลฯ... ...ฯลฯ...

เพราะอาศัยซึ่งมนะด้วย ซึ่งธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วย จึงเกิดมโนวิญญาณ การประจวบ พร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (มนะ+ธัมมารมณ์+มโนวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งตัณหานั้น นั่นแหละ จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

สมัยนั้นแล ภิกษุองค์หนึ่ง ได้ยืนแอบฟังพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทอดพระเนตรเห็นภิกษุ ผู้ยืนแอบฟังนั้นแล้ว ได้ตรัสคำนี้กะภิกษุนั้นว่า
ดูก่อนภิกษุ เธอได้ยินธรรมปริยายนี้แล้ว มิใช่หรือ (ได้ยิน พระเจ้าข้า)

ดูก่อนภิกษุ เธอจงรับเอาธรรมปริยายนี้ไป
ดูก่อนภิกษุ เธอจงเล่าเรียนธรรมปริยายนี้
ดูก่อนภิกษุ เธอจงทรงไว้ ซึ่งธรรมปริยายนี้
ดูก่อนภิกษุ ธรรมปริยายนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ดังนี้ แล
...............................................................................................................................

หมายเหตุผู้รวบรวม
เรายังไม่เคยพบเลยว่า มีสูตรใดบ้าง นอกจากสูตรนี้ ที่พระพุทธองค์ ทรงนำเอาข้อความเรื่องปฏิจจสมุปบาทมาสาธยายเล่น ตามลำพัง พระองค์ เหมือนคน สมัยนี้ ฮัมเพลงบางเพลงเล่นอยู่คนเดียว เรื่องปฏิจจสมปบาท เป็นเรื่องที่มีเกียรติสูงสุด ด้วยเหตุผล

กล่าวคือ

ถึงกับทรงนำมาสาธยายเล่น ในยามว่าง ลำพังพระองค์ ๑
ทรงกำชับให้ภิกษุเล่าเรียน ๑
ทรงบัญญัติว่าเรื่องนี้เป็นอาทิพรหมจรรย์ ๑


ดังที่ปรากฏอยู่ในข้อความแห่งสูตรนี้แล้ว และทรงตีค่าเรื่องปฏิจจสมุปบาทเท่ากับ พระองค์เอง โดยตรัสว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็น ปฏิจจสมุปบาท (มหาหัตถิปโทปมสูตร ๑๒/๓๕๙/๓๔๖) ซึ่งเทียบกันได้กับพุทธภาษิต ในขันธวารวรรค สังยุตตนิกาย ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ผุ้ใดเห็นตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรม (๑๗/๑๔๗/๒๑๖)๑

ดังนั้นจึงถือว่า เรื่องปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องที่ มีเกียรติสูงสุด สมแก่การที่เป็นหัวใจของ พุทธศาสนา แต่กลับเป็นเรื่องที่มีผู้สนใจน้อยที่สุด ดังนั้นจึงนำเอา ข้อความแห่งสูตร ข้างบนนี้ มาอ้างไว้ ในหนังสือเล่มนี้ถึง ๕ แห่งด้วยกัน โดยหัวข้อว่า ทรงแนะนำ อย่างยิ่งให้ศึกษาเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท และว่า ปฏิจจสมุปบาท มีเมื่อมีการกระทบ ทางอายตนะ ตรัสว่า ปฏิจจสมุปบาท เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ทรงกำชับสาวก ให้เล่าเรียนปฏิจจสมุปบาท แม้พระพุทธองค์ก็ทรงสาธยายปฏิจจสมุปบาท

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์