เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

เกสีสูตร (การไม่สั่งสอนคือการฆ่าในวินัยของพระอริยะ) 1791
 
เกสีสูตร (การไม่สั่งสอนธรรมคือการฆ่าในวินัยของพระอริยะ)

ดูกรเกสี เราแล ย่อมฝึกบุรุษที่ควรฝึก
๑) ด้วยวิธีละม่อมบ้าง
๒) รุนแรงบ้าง
๓) ทั้งละม่อม ทั้งรุนแรงบ้าง

ดูกรเกสี ถ้าบุรุษที่ควรฝึกของเรา ไม่เข้าถึงการฝึก
ด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง
ด้วยวิธีทั้งละม่อม ทั้งรุนแรง
เราก็ฆ่าเขาเสียเลย
นี้เป็นการฆ่าอย่างดีในวินัยของพระอริยะ
(ไม่สั่งสอนธรรม)
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 

 


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๒-๑๓๔

เกสีสูตร
(การไม่สอนธรรมคือการฆ่าในวินัยของพระอริยะ)

          [๑๑๑] ครั้งนั้นแล สารถีผู้ฝึกม้าชื่อเกสี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสถามว่า

          ดูกรเกสี ท่านอันใครๆ ก็รู้กันดีแล้วว่าเป็นสารถีผู้ฝึกม้า ก็ท่านฝึกหัดม้า ที่ควรฝึกอย่างไร สารถีผู้ฝึกม้าชื่อเกสี กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ฝึกหัดม้า ที่ควรฝึกด้วยวิธีละม่อมบ้าง รุนแรงบ้าง ทั้งละม่อมทั้งรุนแรงบ้าง

          พ. ดูกรเกสี ถ้าม้าที่ควรฝึกของท่าน ไม่เข้าถึงการฝึกหัด ด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง ท่านจะทำอย่างไรกะมัน

          เก. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าม้าที่ควรฝึกของข้าพระองค์ ไม่เข้าถึงการฝึกหัด ด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง ก็ฆ่ามันเสียเลย ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะคิดว่าโทษมิใช่คุณอย่าได้มีแก่สกุลอาจารย์ของเราเลย

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเป็นสารถีฝึกบุรุษชั้นเยี่ยม ก็พระผู้มีพระภาค ทรงฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างไร

          พ. ดูกรเกสี เราแล ย่อมฝึกบุรุษที่ควรฝึกด้วยวิธีละม่อมบ้าง รุนแรงบ้าง ทั้งละม่อม ทั้งรุนแรงบ้าง

          ดูกรเกสี ในวิธีทั้ง ๓ นั้น การฝึกดังต่อไปนี้ เป็นวิธีละม่อม คือ
กายสุจริต เป็นดังนี้
วิบากแห่งกายสุจริต เป็นดังนี้
วจีสุจริต เป็นดังนี้
วิบากแห่งวจีสุจริต เป็นดังนี้
มโนสุจริต เป็นดังนี้
วิบากแห่งมโนสุจริต เป็นดังนี้
เทวดา เป็นดังนี้
มนุษย์ เป็นดังนี้

          การฝึกดังต่อไปนี้เป็นวิธีรุนแรง คือ
กายทุจริต เป็นดังนี้
วิบากแห่งกายทุจริต เป็นดังนี้
วจีทุจริต เป็นดังนี้
วิบากแห่งวจีทุจริต เป็นดังนี้
มโนทุจริต เป็นดังนี้
วิบากแห่งมโนทุจริต เป็นดังนี้
นรก เป็นดังนี้
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เป็นดังนี้
ปิตติวิสัย เป็นดังนี้

          การฝึกดังต่อไปนี้ เป็นวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง คือ
กายสุจริต เป็นดังนี้ วิบากแห่งกายสุจริต เป็นดังนี้
กายทุจริต เป็นดังนี้ วิบากแห่งกายทุจริต เป็นดังนี้

วจีสุจริต เป็นดังนี้ วิบากแห่งวจีสุจริต เป็นดังนี้
วจีทุจริต เป็นดังนี้ วิบากแห่งวจีทุจริต เป็นดังนี้

มโนสุจริต เป็นดังนี้ วิบากแห่งมโนสุจริต เป็นดังนี้
มโนทุจริต เป็นดังนี้ วิบากแห่งมโนทุจริตเป็นดังนี้

เทวดา เป็นดังนี้ มนุษย์ เป็นดังนี้ นรก เป็นดังนี้
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เป็นดังนี้ ปิตติวิสัย เป็นดังนี้

          เก. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุรุษที่ควรฝึกของพระองค์ ไม่เข้าถึงการฝึก ด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง พระผู้มีพระภาค จะทำอย่างไรกะเขา

          พ. ดูกรเกสี ถ้าบุรุษที่ควรฝึกของเรา ไม่เข้าถึงการฝึกด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง เราก็ฆ่าเขาเสียเลย

          เก. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปาณาติบาตไม่สมควรแก่พระผู้มีพระภาคเลย ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนพระผู้มีพระภาคจึงตรัสอย่างนี้ว่า ฆ่าเขาเสีย

          พ. จริง เกสี ปาณาติบาตไม่สมควรแก่ตถาคต ก็แต่ว่าบุรุษที่ควรฝึกใด ย่อมไม่เข้าถึงการฝึก ด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง ตถาคตไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝึกนั้นว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน แม้พรหมจารี ผู้เป็นวิญญูชน ก็ย่อมไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน

          ดูกรเกสี ข้อที่ตถาคต ไม่สำคัญบุรุษ ที่ควรฝึกว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน แม้ สพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลาย ก็ไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน นี้ เป็นการฆ่าอย่างดีในวินัยของพระอริยะ

          เก. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่พระตถาคตไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝึกว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน แม้สพรหมจารีผู้วิญญูชน ก็ไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอนนั้น เป็นการฆ่าอย่างดีแน่นอน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ แจ่มแจ้งนัก

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนักพระผู้มีพระภาค ทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และ พระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

 

 

 

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์