เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ปฏิจจสมุปบาทที่ยิ่งกว่า ปฏิจจสมุปบาท (มี ๒๔ อาการ) 1789
 
เปรียบเหมือนเมื่อฝนหนัก ๆ ตกลงบนภูเขา
น้ำฝนนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมทำซอกเขา ซอกผา และลำห้วยทั้งหลาย ให้เต็ม
ครั้นซอกเขาซอกผาและลำห้วยทั้งหลาย เต็มแล้ว ย่อมทำบึงน้อยทั้งหลาย ให้เต็ม
บึงน้อยทั้งหลาย เต็มแล้ว ย่อมทำบึง ใหญ่ทั้งหลาย ให้เต็ม
บึงใหญ่ทั้งหลาย เต็มแล้ว ย่อมทำแม่น้ำน้อยทั้งหลาย ให้เต็ม
แม่น้ำน้อยทั้งหลาย เต็มแล้ว ย่อมทำแม่น้ำใหญ่ทั้งหลายให้เต็ม
แม่น้ำใหญ่ทั้งหลาย เต็มแล้ว ย่อมทำมหาสมุทรให้เต็ม นี้ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันเดียวกันนั้นแล คือ
สังขารทั้งหลาย ชื่อว่ามีอวิชชาเป็น ที่เข้าไปตั้งอาศัย
วิญญาณ ชื่อว่ามีสังขารเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
นามรูป ชื่อว่ามีวิญญาณ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
สฬายตนะ ชื่อว่ามีนามรูปเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ผัสสะ ชื่อว่ามีสฬายตนะ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
เวทนา ชื่อว่ามีผัสสะเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ตัณหา ชื่อว่ามีสฬายตนะ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
อุปาทาน ชื่อว่ามีตัณหาเข้าไปตั้งอาศัย
ภพ ชื่อว่ามีอุปาทานเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ชาติ ชื่อว่ามีภพ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ทุกข์ ชื่อว่ามีชาติเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
.....

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 

 


ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า 615


ปฏิจจสมุปบาทที่ยิ่งกว่า ปฏิจจสมุปบาท (มี ๒๔ อาการ)


         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย สำหรับ บุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิใช่ สำหรับบุคคลผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่.

         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีแก่บุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งอะไรเล่า?

         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีแก่บุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ว่า
รูป คืออย่างนี้ๆ เหตุให้เกิดรูป คืออย่างนี้ๆ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งรูป คืออย่างนี้ๆ และว่า เวทนา คืออย่างนี้ๆ เหตุให้เกิดเวทนา คืออย่างนี้ ๆ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งเวทนา คือ อย่างนี้ๆ และว่า
สัญญา คืออย่างนี้ๆ เหตุให้เกิด สัญญา คือย่างนี้ๆ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งสัญญา คือ อย่างนี้ ๆ และว่า
สังขารทั้งหลาย คืออย่างนี้ๆ เหตุให้เกิดสังขารทั้งหลาย คืออย่างนี้ๆ ความไม่ตั้งอยู่ ได้ แห่งสังขารทั้งหลาย คืออย่างนี้ๆ และว่า
วิญญาณ คืออย่างนี้ๆ เหตุให้เกิดวิญญาณ คืออย่างนี้ๆ ความไม่ตั้งอยู่ได้แห่งวิญญาณ คืออย่างนี้ๆดังนี้

         ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีแก่บุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ ๆ แล

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายมีอยู่ ญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะ นั้นย่อมมี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวญาณ แม้นั้นว่า เป็นญาณมีที่เข้าไปตั้ง อาศัย หาใช่ไม่มีที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่.

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของญาณในความ สิ้นไป คำตอบพึงมีว่า วิมุตติ คือ ธรรมเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของญาณในความสิ้นไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้วิมุตติ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัยหาใช่เป็นธรรม ไม่มีที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่

(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปอาศัยของ วิมุตติ
คำตอบ พึงมีว่า วิราคะ คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของวิมุตติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้วิราคะ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่.

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปอาศัยของ วิราคะ
คำตอบ พึงมีว่า นิพพิทา คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของวิราคะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้นิพพิทา ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่.

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของนิพพิทา
คำตอบ พิงมีว่า ยถาภูต ญาณทัสสทะ คือธรรมเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของนิพพิทา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้ยถาภูต ทัสสนะ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัยหาใช่ เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไปตั้งอาศัยไม่.

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของยถาตภูตญาณทัสสนะ
คำตอบ พึงมีว่า สมาธิ คือธรรมเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของยถาภูตญาณทัสสนะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าแม้สมาธิ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่

(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ สมาธิ
คำตอบ พึงมีว่า สุข คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของสมาธิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าแม้สุข ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไปตั้งอาศัยไม่

(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ สุข
คำตอบ พึงมีว่า ปัสสัทธิ คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของสุข
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้ปัสสัทธิ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่

(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ ปัสสัทธิ
คำตอบ พึงมีว่า ปีติ คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของปัสสัทธิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่า แม้ปีติ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไปตั้งอาศัยไม่

(๑๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ ปีติ
คำตอบ พึงมีว่าปราโมทย์ คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของปีติ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้ปราโมทย์ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่

(๑๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ ปราโมทย์
คำตอบพึงมีว่าสัทธา คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของปราโมทย์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้สัทธา ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มีที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่

(๑๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ สัทธา
คำตอบ พึงมีว่า ทุกข์ คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของสัทธา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้ทุกข์ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่

(๑๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ ทุกข์
คำตอบ พึงมีว่า ชาติ คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของทุกข์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้ชาติ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่

(๑๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ ชาติ
คำตอบ พึงมีว่า ภพ คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของชาติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่า แม้ภพ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มีที่เข้าไปตั้งอาศัยไม่

(๑๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ ภพ
คำตอบ พึงมีว่า อุปาทาน คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของภพ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้อุปาทาน ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่

(๑๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ อุปาทาน
คำตอบ พึงมีว่า ตัณหา คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของอุปาทาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้ตัณหาก็เป็นธรรมมีที่ เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่.

(๑๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ ตัณหา
คำตอบ
พึงมีว่า เวทนา คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของตัณหา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่า แม้เวทนา ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มีที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่

(๑๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ เวทนา
คำตอบ พึงมีว่า ผัสสะ คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่า แม้ผัสสะ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรมไม่มี ที่เข้าไปตั้งอาศัยไม่

(๑๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ ผัสสะ
คำตอบ พึงมีว่า สฬายตนะ คือธรรมเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของผัสสะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้สฬายตนะ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรม ไม่มีที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่

(๒๐) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ สฬายตนะ
คำตอบ พึงมีว่า นามรูป คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของสฬายตนะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้นามรูป ก็เป็นธรรม มีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรม ไม่มีที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่

(๒๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ นามรูป
คำตอบ พึงมีว่า วิญญาณ คือธรรม เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของนามรูป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้วิญญาณ ก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรม ไม่มีที่เข้าไป ตั้งอาศัยไม่

(๒๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ วิญญาณ
คำตอบ พึงมีว่า สังขาร ทั้งหลาย คือธรรมเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของวิญญาณ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้สังขารทั้งหลายก็เป็นธรรมมีที่เข้าไปตั้งอาศัย หาใช่เป็นธรรม ไม่มีที่เข้าไปตั้งอาศัยไม่

(๒๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของ สังขารทั้งหลาย
คำตอบ พึงมีว่า อวิชชา คือธรรมเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยของสังขารทั้งหลาย.

[เมื่อนับความสิ้นอาสวะเข้าด้วย ก็เป็น ๒๔ พอดี ]

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้แล

สังขารทั้งหลาย ชื่อว่ามี อวิชชา เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
วิญญาณ ชื่อว่ามี สังขาร เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
นามรูป ชื่อว่ามี วิญญาณ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
สฬายตนะ ชื่อว่ามี นามรูป เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ผัสสะ ชื่อว่ามี สฬายตนะ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
เวทนา ชื่อว่ามี ผัสสะ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ตัณหา ชื่อว่ามี เวทนา เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
อุปาทาน ชื่อว่ามี ตัณหา เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ภพ ชื่อว่ามี อุปาทาน เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ชาติ ชื่อว่ามี ภพ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ทุกข์
ชื่อว่ามี ชาติ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
สัทธา ชื่อว่ามี ทุกข์ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ปราโมทย์ ชื่อว่ามี สัทธา เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ปีติ ชื่อว่ามี ปราโมทย์ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ปัสสทธิ ชื่อว่ามี ปีติ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
สุข ชื่อว่ามี ปัสสัทธิ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
สมาธิ ชื่อว่ามี สุข เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามี สมาธิ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
นิพพิทา ชื่อว่ามี ยถาภูตญาณทัสสนะ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
วิราคะ ชื่อว่ามี นิพพิทา เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
วิมุตติ ชื่อว่ามี วิราคะ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ญาณในความสิ้นไป ชื่อว่า วิมุตติ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนหนัก ๆ ตกลงบนภูเขา
น้ำฝนนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมทำซอกเขา ซอกผา และลำห้วยทั้งหลาย ให้เต็ม
ครั้นซอกเขาซอกผา และลำห้วยทั้งหลาย เต็มแล้ว ย่อมทำบึงน้อยทั้งหลาย ให้เต็ม
บึงน้อยทั้งหลาย เต็มแล้ว ย่อมทำบึง ใหญ่ทั้งหลาย ให้เต็ม
บึงใหญ่ทั้งหลาย เต็มแล้ว ย่อมทำแม่น้ำน้อยทั้งหลาย ให้เต็ม
แม่น้ำน้อยทั้งหลาย เต็มแล้ว ย่อมทำแม่น้ำใหญ่ทั้งหลายให้เต็ม
แม่น้ำใหญ่ทั้งหลาย เต็มแล้ว ย่อมทำมหาสมุทรให้เต็ม นี้ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันเดียวกันนั้นแล คือ
สังขารทั้งหลาย ชื่อว่ามีอวิชชาเป็น ที่เข้าไปตั้งอาศัย
วิญญาณ ชื่อว่ามีสังขารเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
นามรูป ชื่อว่ามีวิญญาณ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
สฬายตนะ ชื่อว่ามีนามรูปเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ผัสสะ ชื่อว่ามีสฬายตนะ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
เวทนา ชื่อว่ามีผัสสะเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ตัณหา ชื่อว่ามีสฬายตนะ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
อุปาทาน ชื่อว่ามีตัณหาเข้าไปตั้งอาศัย
ภพ ชื่อว่ามีอุปาทานเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ชาติ ชื่อว่ามีภพ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ทุกข์
ชื่อว่ามีชาติเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
สัทธา ชื่อว่ามีทุกข์ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ปราโมทย์ ชื่อว่ามีสัทธาเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ปีติ ชื่อว่ามีปราโมทย์ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ปัสสัทธิ ชื่อว่ามีปีติเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
สุข ชื่อว่ามีปัสสัทธิเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
สมาธิ ชื่อว่ามีสุข เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ยถาภูตญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีสมาธิเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
นิพพิทา ชื่อว่ามียถาภูตญาณสัททนะ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
วิราคะ ชื่อว่ามีนิพพิทาเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
วิมุตติ ชื่อว่ามีวิราคะ เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย
ญาณในความสิ้นไป ชื่อว่ามีวิมุตติเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย ดังนี้ แล.

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์