เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

ภิกษุ ภิกษุณี สมัยพุทธกาล ที่ไม่อาจลาสิกขา (สึก) ด้วยเหตุดังนี้ 1782
  ภิกษุไม่อาจลาสิกขาได้ (สึก)
1.ภิกษุลักทรัพย์ตีราคาไม่ถึง ๕ มาสก (มูลค่าเล็กน้อย) ไม่ต้องปาราชิ(สึกออกมาเป็นคฤหัสถ์)
2.ภิกษุผู้กระทำให้มากซึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ จักลาสิกขาสึกออกเป็นคฤหัสถ์ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้
3.ภิกษุผู้เจริญ ผู้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ จักลาสิกขาออกมานั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 

 


1.

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑ วินัยปิฎก

เรื่องสัทธิวิหาริกพระทัฬหิกะเมืองสาคะ (ปาราชิกสิกขาบท)

            [๑๗๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระทัฬหิกะ ในเมือง สาคละ ถูกความกระสันบีบคั้นแล้ว ได้ลักผ้าโพกของชาวร้านไป แล้วได้กล่าวคำนี้ กะท่าน พระทัฬหิกะว่า กระผมไม่เป็นสมณะ จักลาสิกขา ขอรับ

            ท่านพระทัฬหิกะ ถามว่า คุณทำอะไรไว้

            ภิกษุนั้นสารภาพว่า ลักผ้าโพกของชาวร้าน ขอรับ

            ท่านพระทัฬหิกะให้นำผ้าโพกนั้นมา แล้วให้ชาวร้านตีราคา เมื่อตีราคา ผ้าโพกนั้น ราคาไม่ถึง ๕ มาสก ท่านพระทัฬหิกะชี้แจงเหตุผลว่า คุณไม่ต้องอาบัติ ปาราชิก ดังนี้ ภิกษุนั้นยินดียิ่งนักแล.

(ปาราชิก ๔ ลักทรัพย์ กรณี มีมูลค่า ตั้งแต่ ๕ มาสก หรือมากกว่า ต่ำกว่าไม่ต้องปาราชิก)



2.

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้า ๗๗


นทีสูตร
ไม่มีผู้สามารถให้ผู้เจริญอริยมรรคกลับเป็นคนเลวได้

            [๒๙๖] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ครั้งนั้น หมู่มหาชนพากันถือเอาจอบ และตะกร้ามาด้วยประสงค์ว่า พวกเราจักทำการทดแม่น้ำคงคานี้ให้ไหลกลับ ให้หลั่งกลับ ให้บ่ากลับ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน หมู่มหาชนนั้น จะพึงทำการทดแม่น้ำคงคาให้ไหลกลับ ให้หลั่งกลับ ให้บ่ากลับ ได้ละหรือ?

            ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่ได้ พระเจ้าข้า.?

            พ. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร.

            ภิ. เพราะแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศ ปราจีน การที่จะทำการทดแม่น้ำคงคาให้ไหลกลับ ให้หลั่งกลับ ให้บ่ากลับ มิใช่กระทำ ได้ง่าย แต่เป็นการแน่นอนว่า หมู่มหาชนพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากยากแค้น แม้ฉันใด.

            พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา มิตร สหาย หรือญาติสาโลหิต จะพึงเชื้อเชิญภิกษุผู้เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ผู้กระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ด้วยโภคะทั้งหลาย เพื่อนำไปตามใจว่า

            ดูกรบุรุษผู้เจริญ เชิญท่านมาเถิดท่านจะนุ่งห่มผ้ากาสายะเหล่านี้ทำไม? ท่านจะเป็นคนโล้นถือกระเบื้องเที่ยวไปทำไม? ท่านจงสึกมาบริโภคโภคะ และกระทำ บุญเถิด ภิกษุผู้เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ผู้กระทำให้มากซึ่ง อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นั้น จักลาสิกขาสึกออกเป็นคฤหัสถ์ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร?

            เพราะว่าจิตที่น้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก ตลอดกาลนาน นั้น จักสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้.

            [๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า?

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อม กระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.



3.

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก หน้า ๓๐๘

สลฬาคารสูตร
ภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐานไม่ลาสิกขา

            [๑๒๗๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ สลฬาคาร ใกล้พระนครสาวัตถี ณที่นั้นแล ท่านพระอนุรุทธะเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน เมื่อเป็นเช่นนั้นหมู่มหาชนถือเอาจอบและตะกร้ามา ด้วยประสงค์ว่า จักทดแม่น้ำคงคา ให้ไหลกลับ หลั่งกลับบ่ากลับ ดังนี้ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน หมู่มหาชนนั้นจะพึงทดน้ำคงคาให้ไหลกลับ หลั่งกลับ บ่ากลับ ได้บ้างหรือ?

            ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ไม่ได้ ขอรับ.

            อ. เพราะเหตุไร?

            ภิ. เพราะการที่จะทดแม่น้ำคงคาอันไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ให้ไหลกลับ หลั่งกลับ บ่ากลับ มิใช่กระทำให้ง่าย หมู่มหาชนนั้น จะพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่าแน่นอน.

            อ. ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้มีอายุทั้งหลาย พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา มิตรอมาตย์ ญาติหรือสาโลหิต จะพึงเชื้อเชิญภิกษุผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ ให้ยินดีด้วยโภคะว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ จงมาเถิด ท่านจะครองผ้ากาสาวะเหล่านี้ อยู่ทำไม ท่านจะเป็นผู้มีศีรษะโล้นมือถือกระเบื้องเที่ยวบิณฑบาตอยู่ทำไม นิมนต์ท่านสึกมาบริโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญเถิด ข้อที่ภิกษุผู้เจริญ ผู้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ จักลาสิกขาออกมานั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตที่น้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวกตลอดกาลนาน จักหวนสึก มิใช่ฐานะที่จะมีได้.

            [๑๒๘๐] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔อย่างไร? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างนี้แล.


 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์