1.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้า ๑๐๕
ภิกษุไม่คุ้มครองอินทรีย์ (สารีปุตตสูตร)
[๑๘๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาท่าน พระสารีบุตร ถึงที่อยู่ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก ถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ท่านผู้มีอายุสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นสัทธิวิหาริกของท่านลาสิกขาสึกเสียแล้ว
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุ
ผู้ที่ ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลาย
ไม่รู้ประมาณในโภชนะ
ไม่ประกอบความเพียร ย่อมเป็นเช่นนี้แหละ
ดูกรผู้มีอายุ ข้อที่ภิกษุไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณ ในโภชนะ ไม่ประกอบ ความเพียร จักประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ติดต่อกัน ไป จนตลอดชีวิตนั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
ดูกรผู้มีอายุ ข้อที่ภิกษุคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบ ความเพียรจักประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ติดต่อกันไป จนตลอดชีวิต นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้
2.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้า ๔
รักษาพรหมจรรย์ไว้ด้วยน้ำตา (สิกขสูตร)
[๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป ลาสิกขาสึกออกมาเป็น คฤหัสถ์ เธอย่อมถึงฐานะอันน่าติเตียน ซึ่งถูกกล่าวหาอันชอบแก่เหตุ ๕ ประการ ในปัจจุบัน ๕ ประการเป็นไฉน คือ ท่าน
๑) ไม่มีแม้ ศรัทธา ในกุศลธรรม
๒) ไม่มีแม้ หิริ ในกุศลธรรม
๓) ไม่มีแม้ โอตตัปปะ ในกุศลธรรม
๔) ไม่มีแม้ ความเพียร ในกุศลธรรม
๕) ไม่มีแม้ ปัญญา ในกุศลธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป ลาสิกขาสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ เธอย่อมถึง ฐานะอันน่าติเตียน ซึ่งถูกกล่าวหาอันชอบแก่เหตุ ๕ ประการนี้แลในปัจจุบัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป แม้มีทุกข์ โทมนัส มีหน้านองด้วย น้ำตา ร้องไห้อยู่ ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ เธอย่อมถึงฐานะอันน่า สรรเสริญ ที่ชอบแก่เหตุ ๕ ประการในปัจจุบัน๕ ประการเป็นไฉน คือ
๑)
เธอมีศรัทธา ในกุศลธรรม
๒)
มีหิริ ในกุศลธรรม
๓)
มีโอตตัปปะ ในกุศลธรรม
๔)
มีความเพียร ในกุศลธรรม
๕)
มีปัญญา ในกุศลธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป แม้มีทุกข์โทมนัส มีหน้านองด้วย น้ำตา ร้องไห้อยู่ ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ เธอย่อมถึงฐานะอันน่า สรรเสริญ ที่ชอบแก่เหตุ ๕ ประการนี้แลในปัจจุบัน
3.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้า ๓๕๒ - ๓๕๙
ภิกษุลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ด้วยเหตุ ๗ ประการ
(จิตตหัตถิสาริปุตตสูตร)
[๓๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน ใกล้เมือง พาราณสี ก็สมัยนั้น ภิกษุผู้เถระหลายรูป กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต นั่งประชุม สนทนา อภิธรรมกถากันอยู่ที่โรงกลม ได้ทราบว่า ในที่ประชุมนั้น ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร เมื่อพวกภิกษุผู้เถระกำลังสนทนาอภิธรรมกถากันอยู่ พูดสอดขึ้นในระหว่าง ลำดับนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้กล่าวกะท่าน พระจิตตหัตถิสารีบุตรว่า ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร เมื่อภิกษุผู้เถระ กล่าวสนทนา อภิธรรมกถากันอยู่ พูดสอดขึ้นในระหว่าง ขอท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร จงรอคอย จนกว่า ภิกษุผู้เถระสนทนากันให้จบเสียก่อน
เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวอย่างนี้แล พวกภิกษุผู้เป็นสหายของท่าน พระจิตตหัตถิสารีบุตร ได้กล่าวกับท่านมหาโกฏฐิตะว่า แม้ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ย่อมรุกรานท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร (เพราะว่า) ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตรเป็นบัณฑิต ย่อมสามารถกล่าวสนทนาอภิธรรมกถา กับพวกภิกษุผู้เถระได้ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ทราบวาระจิตของผู้อื่นพึงรู้ข้อนี้ได้ยาก
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย (1) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นดุจสงบเสงี่ยม เป็นดุจ อ่อนน้อม เป็นดุจ สงบเรียบร้อย ตลอดเวลาที่อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อน พรหมจรรย์ ผู้ดำรงอยู่ในฐานะ เป็นครูรูปใดรูปหนึ่งอยู่ แต่ว่าเมื่อใด เขาหลีกออกไปจาก พระศาสดา หลีกออกไปจากเพื่อนพรหมจรรย์ผู้ดำรงอยู่ในฐานะเป็นครู เมื่อนั้นเขาย่อม คลุกคลี ด้วยพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาพระราชามหาอมาตย์ ของ พระราชา พวกเดียรถีย์ พวกสาวกเดียรถีย์ อยู่ เมื่อเขาคลุกคลีอยู่ด้วยหมู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวม อินทรีย์ ชอบคุย ราคะย่อมรบกวนจิตเขา เขามีจิตถูกราคะรบกวน ย่อม ลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนโคที่เคยกินข้าวกล้า ถูกเขาผูกไว้ด้วย เชือก หรือขัง ไว้ ในคอก ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า โคที่เคยกินข้าวกล้าตัวนี้จักไม่ลง กินข้าวกล้า อีก ณ บัดนี้ ผู้นั้นพึงกล่าวโดยชอบหรือหนอ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวตอบว่า ดูกรอาวุโส ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้ คือโคที่เคยกินข้าวกล้าตัวนั้น พึงดึง เชือกขาด หรือแหกคอกแล้ว ลงไปกินข้าวกล้าอีกทีเดียว ฉันใด
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นดุจสงบ เสงี่ยม เป็นดุจ อ่อนน้อม เป็นดุจสงบเรียบร้อย ตลอดเวลาที่อาศัยพระศาสดา หรือ เพื่อน พรหมจรรย์ ผู้ดำรงอยู่ในฐานะเป็นครูรูปใดรูปหนึ่งอยู่ แต่ว่าเมื่อใด เขาหลีกไป จากพระศาสดา หรือหลีกออกไปจากเพื่อนพรหมจรรย์ ผู้ดำรงอยู่ในฐานะเป็นครู เมื่อนั้น เขาย่อมคลุกคลี ด้วย พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอมาตย์ของ พระราชาเดียรถีย์ พวกสาวกเดียรถีย์อยู่ เมื่อเขาคลุกคลีอยู่ด้วยหมู่ ปล่อยจิตไม่สำรวม อินทรีย์ ชอบคุยราคะย่อมรบกวนจิตเขา เขามีจิตถูกราคะรบกวน ย่อมลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย (2) อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัด จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เขากล่าวว่า เราได้ปฐมฌาน(แต่) คลุกคลีด้วยพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนฝนเม็ดใหญ่ (ลูกเห็บ) ตกลงที่ทางใหญ ่สี่แพร่ง พึงยังฝุ่นให้หายไป ปรากฏเป็นทางลื่น ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่าบัดนี้ ฝุ่นจัก ไม่ปรากฏ ที่ทางใหญ่สี่แพร่งโน้นอีก ผู้นั้นพึงกล่าวโดยชอบ หรือหนอ ดูกรอาวุโส ข้อนี้ไม่เป็น เช่นนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้ คือ มนุษย์หรือโคและสัตว์เลี้ยง พึงเหยียบย่ำ ที่ทางใหญ่ สี่แพร่ง แห่งโน้น หรือลมและแดดพึงแผดเผาให้แห้ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ฝุ่นพึงปรากฏอีกทีเดียว ฉันใด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคน ในโลกนี้ ก็ฉันนั้น เหมือนกัน สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ย่อมลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย (3) อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความ ผ่องใส แห่งจิต ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติ และ สุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เขาย่อมกล่าวว่า เราเป็นผู้ได้ ทุติยฌาน (แต่) ยังคลุกคลีด้วยพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนฝนเม็ดใหญ่ ตกลง ที่สระใหญ่ใกล้บ้านหรือนิคม พึงยังทั้งหอยกาบ และหอยโข่ง ทั้งก้อนกรวด และกระเบื้อง ให้หายไปผู้ใด พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บัดนี้ หอยกาบ หอยโข่ง ก้อนกรวด และกระเบื้อง จักไม่ปรากฏในสระโน้นอีก ผู้นั้นพึงกล่าว โดยชอบหรือหนอ
ดูกรอาวุโส ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้ คือ มนุษย์ หรือ โคและสัตว์เลี้ยง พึงดื่มที่สระแห่งโน้น หรือลมและแดดพึงแผดเผาให้แห้ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ทั้งหอยกาบ และหอยโข่ง ทั้งก้อนกรวดและกระเบื้อง พึงปรากฏได้ อีกทีเดียวฉันใด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ย่อม ลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย(4) อนึ่งบุคคลบางคนในโลกนี้ มีอุเบกขามีสติ สัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วย นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้า ทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เขาย่อมกล่าวว่า เราได้ ตติยฌาน (แต่) ยังคลุกคลีด้วย พวกภิกษุ ฯลฯ ลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย เปรียบเหมือนอาหาร ค้างคืน ไม่พึงชอบใจแก่บุรุษผู้บริโภค อาหารประณีต ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บัดนี้อาหารจักไม่ชอบใจแก่บุรุษชื่อโน้นอีก ผู้นั้นพึงกล่าว โดยชอบ หรือหนอ
ดูกรอาวุโส ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้นอาหารอื่น จักไม่ชอบใจแก่บุรุษ ผู้โน้นผู้บริโภค อาหาร ประณีต ตลอดเวลาที่โอชารสแห่งอาหารนั้น จักดำรงอยู่ในร่างกายของเขา แต่เมื่อใด โอชารสแห่งอาหารนั้นจักหมดไป เมื่อนั้น อาหารนั้นพึงเป็นที่ชอบใจเขาอีก ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีอุเบกขา เป็นผู้มี สติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ฯลฯ ย่อม ลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย (5) อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่ เขากล่าวว่าเราได้จตุตถฌาน (แต่ว่า) ยังคลุกคลีด้วย พวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือน ห้วงน้ำ ในที่ไม่ถูกลม ปราศจากคลื่น ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่าบัดนี้ คลื่นจักไม่มีปรากฏ ที่ห้วงน้ำแห่งโน้นอีก ผู้นั้นพึงกล่าวโดยชอบ หรือหนอ
ดูกรอาวุโส ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้ คือ ลมฝนที่แรงกล้า พึงพัด มาจาก ทิศตะวันออก ก็พึงพัดให้เกิดคลื่นขึ้นที่ห้วงน้ำแห่งนั้น ลมฝนที่แรงกล้า พึงพัด มาจาก ทิศตะวันตก ... จากทิศเหนือ ...จากทิศใต้ ก็พึงพัดให้เกิดคลื่นขึ้น ที่ห้วงน้ำ แห่งนั้น ฉันใด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุจตุตตฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่ เขากล่าวว่าเราได้จตุตถฌาน(แต่ว่า) ยังคลุกคลี ด้วย พวกภิกษุ ฯลฯ ย่อม ลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย (6) อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุเจโตสมาธิ อัน ไม่มี นิมิต เพราะ ไม่ใส่ใจ ถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ เขาย่อมกล่าวว่า เราได้เจโตสมาธิ อันไม่มี นิมิต แต่ยัง คลุกคลี ด้วยพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอมาตย์ ของพระราชา พวกเดียรถีย์ พวกสาวกเดียรถีย์ เมื่อเขาคลุกคลี ด้วยหมู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวม อินทรีย์ ชอบคุยอยู่ ราคะย่อมรบกวนจิตเขา เขามีจิต ถูกราคะ รบกวนแล้ว ย่อม ลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือน พระราชาหรือมหาอมาตย์ของพระราชา มีจตุรงคเสนา เดินทางไกล ไปพักแรมคืนอยู่ที่ป่าทึบแห่งหนึ่ง ในป่าทึบแห่งนั้น เสียง จักจั่นเรไร พึงหายไปเพราะเสียงช้าง เสียงม้าเสียงรถ เสียงพลเดินเท้า เสียงกึกก้อง แห่งกลอง บัณเฑาะว์ สังข์และพิณ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บัดนี้ ที่ป่าทึบแห่งโน้น เสียง จักจั่นเรไร จักไม่มีปรากฏอีก ผู้นั้นพึงกล่าวโดยชอบหรือหนอ ดูกรอาวุโส ข้อนี้ไม่เป็น เช่นนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้ คือ เมื่อใด พระราชาหรือมหาอมาตย์ของ พระราชา พ้นไปจากป่าทึบแห่งนั้น เมื่อนั้น เสียงจักจั่นเรไร พึงปรากฏได้อีกฉันใด
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย (7) บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันบรรลุ เจโตสมาธิ อันไม่มีนิมิต เพราะไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ เขากล่าวว่า เราได้ เจโตสมาธิ อันไม่มีนิมิต แล้ว แต่ยังคลุกคลีด้วยพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกา พระราชา มหาอมาตย์ ของพระราชา พวกเดียรถีย์ พวกสาวกเดียรถีย์อยู่ เมื่อเขา คลุกคลี ด้วยหมู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบคุยอยู่ ราคะย่อมรบกวนจิตเขา เขามีจิต ถูกราคะ รบกวนแล้ว ย่อม ลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์
สมัยต่อมา ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร ลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ ครั้งนั้น พวกภิกษุ ผู้เป็นสหายของบุรุษ ชื่อจิตตหัตถิสารีบุตร ได้เข้าไปหาท่านพระมหาโกฏฐิตะ ถึงที่อยู่ แล้วถามว่า ท่านพระมหาโกฏฐิตะได้กำหนดรู้ใจบุรุษ ชื่อจิตตหัตถิสารีบุตร ด้วยใจว่า บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตรเป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ๆ และจักลาสิกขาสึก มาเป็น คฤหัสถ์ หรือเทวดาทั้งหลายได้แจ้งเนื้อความนี้ว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตร เป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ๆ และ จักลาสิกขาสึกมาเป็น คฤหัสถ์ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ กล่าวว่า
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้กำหนดรู้ใจบุรุษ ชื่อจิตตหัตถิสารีบุตร ด้วยใจ ว่าเป็นผู้ได้ วิหารสมาบัติเหล่านี้ๆ และจักลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ แม้เทวดา ก็บอกเนื้อความนี้แก่ข้าพเจ้า ลำดับนั้น พวกภิกษุผู้เป็นสหายของบุรุษ ชื่อ จิตตหัตถิสารีบุตร ได้พากัน เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม แล้วนั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษชื่อ จิตตหัตถิสารีบุตร เป็นผู้ได้ วิหารสมาบัติ เหล่านี้ๆ และได้ ลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่นานนัก บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตร จักระลึกถึงคุณแห่งเนกขัมมะได้
ครั้งนั้น ไม่นานเท่าไร บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตร ก็ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้า กาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร หลีกออกจาก หมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตแน่วแน่ ไม่นานนัก ก็ได้ทำให้แจ้งซึ่งที่สุด แห่งพรหมจรรย์ อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบ ต้องการนั้น ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในปัจจุบันเทียว เข้าถึงอยู่ ได้ทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ ได้อยู่ จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้มีอีก ก็แหละท่าน พระจิตตหัตถิสารีบุตร ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย
4.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๐๐ - ๑๐๕
อัคคิขันธูปมสูตร (ภิกษุ 60 รูปลาสิกขาหลังฟังธรรม)
คำเตือนของพระพุทธเจ้าต่อภิกษุ... ภิกษุผู้ทุศีล มีธรรมลามก ไม่ใช่สมณะ
ทำให้ภิกษุ ๖๐ รูป ลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์
[๖๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุ สงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จดำเนินไปสู่ทางไกล ได้ทอดพระเนตรเห็นไฟ กองใหญ่ กำลังลุก รุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ในที่แห่งหนึ่ง จึงเสด็จแวะจากทางประทับนั่ง บนอาสนะ ที่ปูไว้ ใกล้โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นไฟกองใหญ่โน้น ที่กำลังลุกรุ่งโรจน์ โชติช่วงอยู่หรือไม่ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(คำเตือน ข้อ 1 เป็นทุศีล มีธรรมอันลามก ประพฤติน่ารังเกียจ.. คติ คือนรก)
(1) พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การเข้าไป นั่งกอด หรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ กับการเข้าไป นั่งกอด หรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์ หรือบุตรสาว คฤหบดี ผู้มีฝ่ามือ ฝ่าเท้า อ่อนนุ่ม
อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่บุคคลเข้าไปนั่งกอด หรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอันอ่อนนุ่มนี้ประเสริฐกว่า ส่วนการที่บุคคลเข้าไปนั่งกอด หรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลังลุกรุ่งโรจน์ โชติช่วงอยู่ เป็นทุกข์
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคล ผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติสกปรกน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณว่า ประพฤติพรหมจรรย์เน่าใน มีความกำหนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อเข้าไปนั่งกอด หรือ นอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์ หรือบุตรสาวคฤหบดีจะประเสริฐอย่างไร การเข้าไปนั่งกอด นอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ นี้ดีกว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย เพราะการเข้าไปกอดกองไฟ ใหญ่นั้น เป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไปไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการ เข้าไป กอดกองไฟใหญ่นั้น เป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก มีความ ประพฤติสกปรกน่ารังเกียจ ปกปิด กรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่า เป็น สมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณ ว่า ประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำหนัด กล้า เป็นดังหยากเยื่อ เข้าไปนั่งกอด หรือนอนกอด พระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์ หรือ บุตรสาวคฤหบดี ผู้มีฝ่ามือ ฝ่าเท้าอ่อนนุ่มนั้น ย่อมเป็นไป เพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานแก่เขา และผู้นั้น เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(คำเตือนข้อ2 ยินดีการกราบไหว้ ของกษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี.... คติ คือนรก)
(2) ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
การที่บุรุษ มีกำลัง เอาเชือกหนังอันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้างแล้วชักไปมา เชือกหนัง พึง บาดผิว บาดผิวแล้ว พึงบาดหนังบาดหนังแล้ว พึงบาดเนื้อ บาดเนื้อแล้ว พึงตัดเส้นเอ็น ตัดเส้นเอ็นแล้วพึงตัดกระดูก ตัดกระดูกแล้วหยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก กับการยินดี การกราบไหว้ แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ คฤหบดีมหาศาล
ไหนจะดีกว่ากัน
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีการกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่าการที่บุรุษผู้มีกำลัง เอาเชือกหนัง อันเหนียวแน่น พันแข้ง ทั้งสองข้างแล้วชักไปชักมา เชือกหนังพึงบาดผิว ฯลฯ หยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก นี้เป็นทุกข์
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีการกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ คฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษมีกำลังเอาเชือก หนัง อันเหนียวแน่น พันแข้ง ทั้งสองข้างแล้วชักไปชักมาเชือกหนัง พึงบาดผิว ฯลฯ หยุดอยู่ จดเยื่อในกระดูก นั้นดีกว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตายมีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้น เมื่อตายไปไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่ บุคคล ผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีการกราบไหว้แห่ง กษัตริย์ มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(คำเตือน ข้อ 3 ยินดีการอัญชลีกรรม..ของกษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี.... คติ คือนรก)
(3) ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
การที่บุรุษมีกำลัง เอาหอกอันคมชะโลมน้ำมันพุงใส่กลางอก กับการยินดีอัญชลีกรรม ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาลไหนจะดีกว่ากัน
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีอัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์ มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า ส่วนการที่บุรุษมีกำลังเอาหอกอันคม ชะโลม น้ำมัน พุ่งใส่กลางอก นี้เป็นทุกข์
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอ ทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีอัญชลีกรรม ของกษัตริย์ มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษ มีกำลัง เอาหอก อันคม ชะโลมน้ำมัน พุ่งใส่กลางอกนั้น ดีกว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุแต่ผู้นั้น เมื่อตายไป ไม่พึง เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่ บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีอัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์ มหาศาล หรือ คฤหบดีมหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไปย่อม เข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(คำเตือนข้อ 4 บริโภคจีวร ที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี..คติคือนรก)
(4) ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
การที่บุรุษ มีกำลังเอาแผ่นเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง นาบกายตัว กับ การบริโภคจีวร ที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ คฤหบดีมหาศาล
ไหนจะดีกว่ากัน
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์ มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง เอาแผ่น เหล็กแดง ไฟ กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว นี้เป็นทุกข์
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธาของ กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษ มีกำลัง เอาแผ่นเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว นี้ดีกว่า
ข้อนั้น เพราะเหตุไร
เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตายมีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่เขาเมื่อตายไป ไม่พึงเข้า ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกเพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อ ความฉิบหาย มิใช่ ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคล ผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ข้อ5 บริโภคบิณฑบาต ที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี.. คติ คือนรก)
(5) ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
การที่บุรุษมีกำลังเอาขอเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเกี่ยวปากอ้า ไว้แล้ว กรอกก้อนเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้าในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้น จะพึงไหม้ริมฝีปาก ไหม้ปาก ไหม้ลิ้น ไหม้คอ ไหม้อก ไหม้เรื่อยไปถึงไส้ใหญ่ไส้น้อย แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ กับการบริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์
มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล
ไหนจะดีกว่ากัน
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธาของ กษัตริย์ มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ คฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่าการที่บุรุษ มีกำลัง เอาขอเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์ โชติช่วง เกี่ยวปากอ้าไว้ แล้วกรอกก้อน เหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติ ช่วงเข้าในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้น จะพึงไหม้ ริมฝีปาก ... แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ นี้เป็นทุกข์
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาลพราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษ มีกำลัง เอาขอเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเกี่ยวปากอ้าไว้ แล้วกรอกก้อน เหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้าในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้น จะพึงไหม้ริมฝีปาก ... แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ นี้ดีกว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะผู้นั้นพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุแต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯเป็นดังหยากเยื่อ บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ข้อ 6 บริโภคเตียงตั่ง ที่เขาถวายด้วยศรัทธา..ของกษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี...คติ คือนรก)
(6) ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
การที่บุรุษผู้มีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วให้นั่งทับนอนทับบนเตียงเหล็ก หรือ ตั่งเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง กับการบริโภคเตียงตั่ง ที่เขาถวาย ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธาของ กษัตริย์ มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า ส่วนการที่บุรุษ ผู้มีกำลัง จับที่ศีรษะ หรือที่คอแล้ว ให้นั่งทับหรือนอนทับเตียงหรือตั่งเหล็กแดง ไฟกำลังลุก รุ่งโรจน์โชติช่วง นี้เป็นทุกข์
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษ ผู้มีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วให้นั่งทับหรือนอนทับเตียงหรือตั่งเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง นั้นดีกว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะผู้นั้นจะพึงเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้น เมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการ ที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธาข องกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อ ความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคล ผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(ข้อ 7 บริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธา..ของกษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี.... คติ คือนรก)
(7) ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
การที่บุรุษมีกำลัง จับมัดเอาเท้าขึ้นเอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุก รุ่งโรจน์โชติช่วง ผู้นั้นถูกไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำในหม้อเหล็กแดงนั้น บางครั้งลอยขึ้น ข้างบน บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวางๆ กับการบริโภควิหารที่เขาถวาย ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล
ไหนจะดีกว่ากัน
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธาของ กษัตริย์ มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษ มีกำลัง จับมัด เอาเท้าขึ้น เอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์ โชติช่วง ผู้นั้น ถูกไฟ เผาเดือด ดุจฟองน้ำ ในหม้อเหล็กแดงนั้น บางครั้งลอยขึ้น ข้างบน บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้ง ลอยไปขวางๆ นี้เป็นทุกข์
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษ มีกำลัง จับเอาเท้าขึ้น เอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดงไฟ กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง ถูกไฟเผาเดือด ดุจฟองน้ำ ในหม้อเหล็กแดงนั้นบางครั้งลอยขึ้นข้างบน บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้ง ลอยไปขวางๆ นี้ดีกว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะผู้นั้นพึงเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้น เมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่ บุคคล ผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์ มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(เพราะเหตุนั้นแล พึงพิจารณาเห็นประโยชน์ตน ควรทำให้สำเร็จ ด้วยความไม่ประมาท)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของชน เหล่าใด ปัจจัยของชนเหล่านั้น จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก และการบรรพชา ของเราทั้งหลาย จักไม่เป็นหมันมีผล มีกำไร
ดูกรภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล อนึ่ง เธอทั้งหลายพึงศึกษา อย่างนี้ว่า เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ตน ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์นั้น สำเร็จด้วยความไม่ประมาท เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ผู้อื่น ก็ควรแท้ทีเดียว ที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จ ด้วยความไม่ประมาท หรือเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ ทั้งสอง ก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์ ทั้งสองนั้น สำเร็จด้วยความไม่ประมาท
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว และเมื่อกำลังตรัสไวยากรณ ภาษิตนี้อยู่
- โลหิตร้อนพุ่งออกจากปากของภิกษุ ๖๐ รูป (พวกต้น)
- ภิกษุ ๖๐ รูป (พวกกลาง) ลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์
ด้วยกราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทำได้ยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทำได้แสนยาก
- อีก ๖๐ รูป จิตหลุดพ้นจากอาสวะ (สำเร็จอรหันต์) เพราะไม่ถือมั่น
|