เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

เครื่องตัดโวหาร ๘ ประการ โปตลิยสูตร ตรัสกับโปตลิยคฤหบดี 1667
  (โดยย่อ)

โปตลิยคฤหบดี เข้าพระผู้มีพระภาค (กล่าวถึงการดำเนินชีวิตของตนในปัจจุบัน)
ดูกรคฤหบดี อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ เชิญนั่งเถิด. โปตลิยคฤหบดี โกรธ น้อยใจ ว่าพระโคดม ตรัสเรียกเรา ด้วยคำว่า คฤหบดี. พระดำรัสที่พระองค์ ตรัสเรียกข้าพเจ้า ด้วยคำว่า คฤหบดีนั้น ไม่เหมาะไม่ควรเลย(โป. เข้าใจว่าตนเอง เป็นผู้สำเร็จแล้ว เห็นแจ้งแล้วจึงไม่ควรใช้คำว่า คฤหบดี)

พ. ดูกรคฤหบดี ก็อาการของท่าน เพศของท่าน เครื่องหมายของท่าน เหมือนคฤหบดี ทั้งนั้น
โป. ก็แต่ว่าการงานทั้งปวง ข้าพเจ้าห้ามเสียแล้ว โวหารทั้งปวง ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว

ดูกรคฤหบดี ก็การงานทั้งปวง ท่านห้ามเสียแล้ว โวหารทั้งปวง ท่านตัดขาดแล้ว อย่างไรเล่า?
1.สิ่งใดที่ข้าพเจ้ามี ทรัพย์ก็ดี ข้าวเปลือก เงินทองก็ดี ข้าพเจ้ามอบให้บุตรทั้งหลายหมดแล้ว
2.ข้าพเจ้ามีอาหารและเครื่อง นุ่งห่มเป็นอย่างยิ่งอยู่ (มีไว้เพื่อการยังชีพเท่านั้น)
3.การงานทั้งปวง ข้าพเจ้าห้ามเสียแล้ว โวหาร ทั้งปวง ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว (การตัดโวหารของ โปตลิยคฤหบดี ก็คือตัดขาดเรื่องทางโลกแล้ว เป็นผู้สมบูรณ์แล้ว สำเร็จกิจที่ทำสำหรับชีวิตนี้แล้ว)

----------------------------------------------------------------------

เครื่องตัดโวหาร (วิธีปฏิบัติการใช้ชีวิต) ตามแบบของพระพุทธเจ้า

ธรรม ๘ ประการที่พึงละ เพราะเป็นสังโยชน์ เป็นนิวรณ์
1) ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) พึงละด้วยการไม่ฆ่าสัตว์
2) อทินนาทาน (ลักทรัพย์) พึงละด้วยการถือเอาแต่ของที่เขาให้
3) มุสาวาท (พูดเท็จ) พึงละด้วยการไม่มุสาวาท
4) ปิสุณาวาจา (ส่อเสียด) พึงละด้วยการ ไม่กระทำปิสุณาวาจา
5) ความโลภด้วยความกำหนัด(โลภ) พึงละด้วยการไม่กำหนัด
6) ความโกรธด้วยการนินทา(โกรธ) พึงละด้วยการไม่นินทา
7) ความคับแค้นด้วยความโกรธ (หลง) พึงละด้วยการไม้คับแค้น
8) ความดูหมิ่นท่าน พึงละด้วยการไม่ดูหมิ่น

เพราะเหตุแห่งธรรม ๘ ประการ
เป็นปัจจัย
- เป็นตัว สังโยชน์
- เป็นตัว นิวรณ์
เมื่อตายไป ทุคติ เป็นอันหวังได้
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก (สุตตันตปิฎก)
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman

 

 


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๐-๔๑.

๔. โปตลิยสูตร เรื่องโปตลิยคฤหบดี
เครื่องตัดโวหาร ๘ ประการ

          [๓๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เสด็จประทับอยู่ในอังคุตตราปชนบท ในนิคม ของชาว อังคุตตราปะ ชื่อว่าอาปณะ.

          ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือ บาตร และจีวร เสด็จ เข้าไปบิณฑบาต ยังอาปณนิคม. ครั้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาตใน อาปณนิคม แล้ว ภายหลังภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว เสด็จเข้าไปยังไพรสณฑ์ แห่งหนึ่ง เพื่อทรงพักกลางวัน เสด็จถึง ไพรสณฑ์นั้นแล้ว ประทับนั่งพักกลางวัน ณ โคนไม้ ต้นหนึ่ง แม้โปตลิยคฤหบดี มีผ้านุ่งผ้าห่ม สมบูรณ์ ถือร่มสวมรองเท้า เดินเที่ยวไปมา เป็นการพักผ่อนอยู่ เข้าไปยังไพรสณฑ์นั้นแล้ว

          ครั้นถึงไพรสณฑ์ นั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัย กับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง.

          [๓๗] พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะโปตลิยคฤหบดีผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่งว่า ดูกรคฤหบดี อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ เชิญนั่งเถิด. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โปตลิยคฤหบดีโกรธ น้อยใจ ว่า พระสมณโคดม ตรัสเรียกเรา ด้วยคำว่า คฤหบดี แล้วได้นิ่งเสีย.

           พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะ โปตลิยคฤหบดี ครั้งที่ ๒ ว่า ดูกรคฤหบดี อาสนะ มีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ เชิญนั่งเถิด. โปตลิยคฤหบดีโกรธ น้อยใจว่า พระสมณโคดม ตรัสเรียกเราด้วยคำว่า คฤหบดี ได้นิ่งเสียเป็นครั้งที่ ๒.

          พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะโปตลิยคฤหบดีเป็น ครั้งที่ ๓ ว่า ดูกรคฤหบดี อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์ เชิญนั่งเถิด. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โปตลิยคฤหบดี โกรธ น้อยใจว่า พระสมณโคดม ตรัสเรียกเราด้วยคำว่า คฤหบดี แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม พระดำรัสที่พระองค์ ตรัสเรียก ข้าพเจ้า ด้วยคำว่า คฤหบดีนั้น ไม่เหมาะไม่ควรเลย.

          พ. ดูกรคฤหบดี ก็อาการของท่าน เพศของท่าน เครื่องหมายของท่าน เหล่านั้น เหมือนคฤหบดี ทั้งนั้น.

          โป. จริงเช่นนั้น ท่านพระโคดม ก็แต่ว่าการงานทั้งปวง ข้าพเจ้าห้ามเสียแล้ว โวหารทั้งปวง ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว.

          ดูกรคฤหบดี ก็การงานทั้งปวง ท่านห้ามเสียแล้ว โวหารทั้งปวง ท่าน ตัดขาดแล้ว อย่างไรเล่า?

          ท่านพระโคดม ขอประทานโอกาส สิ่งใดของข้าพเจ้าที่มี เป็นทรัพย์ก็ดี เป็นข้าวเปลือกก็ดี เป็นเงินก็ดี เป็นทองก็ดี สิ่งนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้ามอบให้เป็นมฤดก แก่บุตรทั้งหลาย ข้าพเจ้ามิได้สอน มิได้ว่าเขาในสิ่งนั้นๆ ข้าพเจ้ามีอาหารและเครื่อง นุ่งห่มเป็นอย่างยิ่งอยู่ ท่านพระโคดม การงานทั้งปวงข้าพเจ้าห้ามเสียแล้ว โวหาร ทั้งปวง ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้แล.

(นัยยะนี้ก็คือตัดขาดเรื่องทางโลกแล้ว เป็นผู้สมบูรณ์แล้ว สำเร็จกิจที่ทำสำหรับชีวิตนี้แล้ว)

          ดูกรคฤหบดี ท่านกล่าวการตัดขาดโวหาร เป็นอย่างหนึ่ง ส่วนการตัดขาด โวหารในวินัย ของพระอริยะ เป็นอีกอย่างหนึ่ง.

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะอย่างไรเล่า ดีละ พระองค์ผู้เจริญ การตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ มีอยู่ ด้วยประการใด ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า ด้วยประการนั้นเถิด.

           ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. โปตลิยคฤหบดี ทูลรับ พระผู้มีพระภาค แล้ว.

เครื่องตัดโวหาร ๘ ประการ

          [๓๘] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรคฤหบดี ธรรม ๘ ประการนี้ย่อมเป็นไป เพื่อตัดขาดโวหาร ในวินัยของพระอริยะ

๘ ประการเป็นไฉน? คือ

1) ปาณาติบาต พึงละได้ เพราะอาศัย การไม่ฆ่าสัตว์
2) อทินนาทาน พึงละได้ เพราะอาศัยการถือเอาแต่ของที่เขาให้
3) มุสาวาท พึงละได้ เพราะอาศัยวาจาสัตย์
4) ปิสุณาวาจา พึงละได้ เพราะอาศัยวาจาไม่ส่อเสียด
5) ความโลภด้วยสามารถความกำหนัด พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่โลภ ด้วยสามารถ ความกำหนัด
6) ความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา พึงละได้ เพราะความไม่โกรธด้วยสามารถ แห่งการนินทา
7) ความคับแค้นด้วยความสามารถแห่งความโกรธ พึงละได้เพราะอาศัยความ ไม่คับแค้น ด้วยสามารถความโกรธ
8) ความดูหมิ่นท่าน พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่ดูหมิ่นท่าน

          ดูกรคฤหบดี ธรรม ๘ ประการนี้แล เรากล่าวโดยย่อยังมิได้จำแนกโดยพิสดาร ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ.

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรม ๘ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อ มิได้ทรงจำแนกโดยพิสดาร ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ ดีละ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค ทรงอาศัยความกรุณาจำแนกธรรม ๘ ประการนี้ โดยพิสดารแก่ข้าพเจ้าเถิด.

          ดูกรคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

          โปตลิยคฤหบดี ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

          [๓๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรคฤหบดี ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า (1) ปาณาติบาต พึงละได้ เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์ เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร? ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงทำปาณาติบาต เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น อนึ่ง เราพึงทำปาณาติบาต แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้เพราะปาณาติบาต เป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้ เพราะปาณาติบาต
1) ปาณาติบาต
2) อทินนาทาน
3) มุสาวาท
4) ปิสุณาวาจา
5) ความโลภด้วยสามารถความกำหนัด
6) ความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา
7) ความคับแค้นด้วยความสามารถแห่งความโกรธ
8) ความดูหมิ่นท่าน
เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย ปาณาติบาตนี้นั่นแหละ เป็นตัว สังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์ อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวาย เหล่าใด พึงเกิดขึ้น เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลงดเว้นจากปาณาติบาตแล้ว อาสวะที่เป็นเหตุ คับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่กล่าวดังนี้ว่า ปาณาติบาต พึงละได้ เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์ เรากล่าว เพราะอาศัยข้อนี้.

          [๔๐] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า (2) อทินนาทาน พึงละได้ เพราะอาศัย การถือเอา แต่ของที่เขาให้ เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร? ดูกรคฤหบดี อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงถือเอาของที่เขามิได้ให้ เพราะเหตุแห่ง สังโยชน์ เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ เหล่านั้น อนึ่ง เราพึงถือเอา ของที่เขา มิได้ให้ แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะอทินนาทาน เป็นปัจจัย วิญญูชน พิจารณา แล้ว พึงติเตียนได้ เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัยเมื่อตายไป ทุคติ เป็นอัน หวังได้ เพราะ อทินนาทาน เป็นปัจจัย อทินนาทานนี้นั้นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัว นิวรณ์ อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้น เพราะ อทินนาทาน เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลงดเว้นจากอทินนาทานแล้ว อาสวะ ที่เป็น เหตุ คับแค้น และ กระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า อทินนาทาน พึงละได้ เพราะอาศัย การถือเอาแต่ของที่เขาให้ เรากล่าว เพราะอาศัยข้อนี้

          [๔๑] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า (3) มุสาวาท พึงละได้ เพราะอาศัยวาจาสัตย์ เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร? ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา เห็นดังนี้ว่า เราพึงกล่าวมุสาเพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัด สังโยชน์เหล่านั้น อนึ่ง เราพึงกล่าวมุสาแม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะมุสาวาท เป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้ เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย มุสาวาทนี้นั่นแหละเป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์ อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวาย เหล่าใดพึงเกิดขึ้น เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลเว้นจากมุสาวาทแล้ว อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และ กระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า มุสาพึงละได้ เพราะอาศัย วาจาสัตย์ เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้

          [๔๒] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า (4) ปิสุณาวาจาพึงละได้ เพราะอาศัยวาจา ไม่ส่อเสียด เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร? ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงกล่าววาจาส่อเสียด เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ เหล่านั้น อนึ่ง เราพึงกล่าววาจาส่อเสียด แม้ตนเอง พึงติเตียนตนได้ เพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้ เพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะวาจาส่อเสียด เป็นปัจจัย ปิสุณาวาจานี้นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์ อนึ่ง อาสวะ ที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้นเพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย เมื่อบุคคล งดเว้นจากวาจาส่อเสียดแล้ว อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวาย เหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ปิสุณาวาจาพึงละได้ เพราะอาศัยวาจา ไม่ส่อเสียด เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

          [๔๓] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า (5) ความโลภด้วยสามารถความกำหนัด พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่โลภด้วยสามารถความกำหนัด เรากล่าวเพราะ อาศัยอะไร?
           ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงมี ความโลภ ด้วยสามารถความกำหนัด เพราะเหตุสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น อนึ่ง เราพึงมีความโลภด้วยสามารถความกำหนัด แม้ตนเอง พึงติเตียนตนได้ เพราะความโลภ ด้วยสามารถแห่งความกำหนัดเป็นปัจจัย วิญญูชน พิจารณาแล้วพึงติเตียนได้ เพราะความโลภ ด้วยสามารถแห่งความกำหนัดเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะความโลภ ด้วยสามารถความกำหนัดเป็นปัจจัย ความโลภด้วยสามารถความกำหนัดนี้นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์ อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้นเพราะความโลภ ด้วยสามารถความกำหนัดเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่โลภด้วยสามารถความกำหนัด อาสวะที่เป็นเหตุ คับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความโลภด้วยสามารถ ความกำหนัด พึงละได้เพราะอาศัยความไม่โลภ ด้วยสามารถ ความกำหนัด เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

          [๔๔] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า (6) ความโกรธด้วยความสามารถ แห่งการ นินทา พึงละได้เพราะอาศัยความไม่โกรธด้วยสามารถ แห่งการนินทา คำนี้ เรากล่าว เพราะอาศัยอะไร? ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น ดังนี้ว่า เราพึงโกรธด้วยสามารถ แห่งการ นินทา เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น อนึ่งเราพึงโกรธ ด้วยสามารถแห่งการ นินทา แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะความโกรธ ด้วยสามารถ แห่งการนินทา เป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้ เพราะความโกรธ ด้วยสามารถ แห่งการ นินทา เป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะความโกรธ ด้วยสามารถ แห่งการนินทา เป็นปัจจัย ความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัว นิวรณ์ อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และ กระวนกระวาย เหล่าใด พึงเกิดขึ้น เพราะ ความโกรธ ด้วยสามารถแห่งการนินทา เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่โกรธด้วยสามารถ แห่งการ นินทา อาสวะ ที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวน กระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความโกรธ ด้วยสามารถ แห่งการ นินทา พึงละได้ เพราะอาศัย ความไม่โกรธ ด้วยสามารถแห่งการ นินทา เรากล่าว เพราะอาศัยข้อนี้.

          [๔๕] คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า (7) ความคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่คับแค้น ด้วยสามารถความโกรธ เรากล่าวเพราะ อาศัยอะไร? ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึง คับแค้น ด้วย สามารถความโกรธ เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ เหล่านั้น อนึ่ง เราพึงคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ แม้ตนเอง พึงติเตียนตนได้ เพราะความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธเป็นปัจจัย วิญญูชน พิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้ เพราะความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธ เป็น ปัจจัย ความ คับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธนี้ นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์ อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้น เพราะความ คับแค้น ด้วยสามารถความโกรธเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่คับแค้น ด้วยสามารถ ความโกรธ อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรา กล่าวดังนี้ว่า ความคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ พึงละได้ เพราะอาศัยความ ไม่คับแค้น ด้วยสามารถ ความโกรธ เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

          [๔๖] คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า (8) ความดูหมิ่นท่าน พึงละได้ เพราะอาศัย ความไม่ดูหมิ่นท่าน เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร? ดูกรคฤหบดี อริยสาวก ในธรรมวินัย นี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าเราพึงดูหมิ่นท่าน เพราะเหตุแห่ง สังโยชน์ เหล่าใด เราปฏิบัติ เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นอนึ่ง เราพึงดูหมิ่นท่าน แม้ตนเอง พึงติเตียนตนได้ เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้วพึง ติเตียน ตนได้ เพราะความ ดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะความ ดูหมิ่นท่าน เป็นปัจจัย ความดูหมิ่นท่านนี้นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุ คับแค้นและ กระวนกระวาย เหล่าใดพึงเกิดขึ้น เพราะความดูหมิ่น ท่าน เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่ดูหมิ่นท่าน อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น และกระวนกระวาย เหล่านั้น ย่อม ไม่มีคำ ที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความดูหมิ่นท่าน พึงละได้ เพราะอาศัยความ ไม่ดูหมิ่น ท่าน เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

          ดูกรคฤหบดี ธรรม ๘ ประการที่เรากล่าวโดยย่อ ไม่ได้จำแนกโดยพิสดาร ย่อมเป็นไปเพื่อละ เพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะนั้น เหล่านี้แล


          ดูกรคฤหบดี แต่เพียงเท่านี้จะได้ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่ง ทุกอย่าง โดยประการ ทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะหามิได้.

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ก็อย่างไรเล่า จึงจะได้ชื่อว่า เป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะมีด้วยประการใด ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า ด้วยประการนั้นเถิด.

          ดูกรคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว โปตลิยคฤหบดี ทูลรับ พระผู้มีพระภาคแล้ว.

 

 


 

 



 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์