เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

อริยญายธรรม เป็นอย่างไรเล่า 1764
  (ย่อ)
อริยญายธรรม ธรรมอันเป็นอริยะ เป็นคุณสมบัติของโสดาบัน
1. ระงับภัยเวร ๕ ประการได้แล้ว (ศีล ๕ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ สุรา)
2. ประกอบด้วยองค์ เครื่องบรรลุโสดาบัน ๔ ประการ
   - เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า
   - เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระธรรม
   - เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
3. เห็นแจ้ง แทงตลอด อริยญายธรรม ด้วยปัญญาแล้ว (เห็นปฏิจสายเกิด สายดับ)

ผู้ใดมีคุณสมบัติทั้ง 3 ข้อนี้ พึงพยากรณ์ตนเองว่า
   - เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิเปรตสิ้นแล้ว
   - มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว
   - เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ
   - มีความแน่นอน ที่จะสำเร็จสัมโพธิ ในวันข้างหน้า
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
 
สารบาญพระไตรปิฎก
เล่มที่ ๘-๓๓ (๒๕ เล่ม) ทุกพระสูตร
1. ฉบับหลวง
2. ฉบับมหาจุฬาฯ
3. อรรถกถาไทย
4. ฉบับภาษาบาลี
5. อรรถกถา-บาลี
6. Pali Roman (Roman Script)
7. Atthakatha PaliRoman
 

 

 


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก [ฉบับมหาจุฬาฯ] หน้าที่ ๒๑๒-๒๑๕


๒. ภยสูตร (ฉบับหลวงใช้คำว่า เวรสูตร)
ว่าด้วยภัยเวร

            [๙๒] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี ดังนี้ว่า

            คหบดี เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการได้แล้ว ประกอบด้วยองค์ เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ และเห็นแจ้ง แทงตลอด อริยญายธรรม ด้วยปัญญา แล้ว เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น เมื่อหวังอยู่พึงพยากรณ์ตนเองว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอน ที่จะสำเร็จสัมโพธิ ในวันข้างหน้า

อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ (ศีล5)

๑. บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย จึงประสพภัยเวรที่เป็นไปใน ปัจจุบัน บ้าง ในสัมปรายภพบ้าง เสวยทุกขโทมนัสทางใจบ้าง บุคคลผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ย่อมไม่ประสพภัยเวร ที่เป็นไปในปัจจุบัน ที่เป็นไปใน สัมปรายภพ ทั้งไม่ต้องเสวย ทุกข โทมนัสทางใจ บุคคลผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว ย่อมระงับภัยเวรนั้นได้ อย่างนี้
๒. บุคคลผู้ลักทรัพย์ ...
๓. บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ...
๔. บุคคลผู้พูดเท็จ ...
๕. บุคคลผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาท เพราะการเสพของมึนเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาทเป็นปัจจัย จึงประสพภัยเวร ที่เป็นไปในปัจจุบันบ้าง ในสัมปรายภพบ้าง ต้องเสวยทุกขโทมนัส ทางใจบ้าง บุคคลผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุ แห่งความประมาทแล้ว ย่อมไม่ประสพภัยเวรที่เป็นไปในปัจจุบัน ที่เป็นไปใน สัมปรายภพ ทั้งไม่ต้องเสวยทุกขโทมนัสทางใจ บุคคลผู้เว้นขาด จากการเสพของ มึนเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้ว ย่อมระงับภัยเวรนั้นได้ อย่างนี้อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการ เป็นอย่างนี้แล

            อริยสาวกประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ อะไรบ้าง คืออริยสาวก ในธรรมวินัยนี้

๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่าง ยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น พระผู้มีพระภาค”

๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า “พระธรรมเป็นธรรม ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”

๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ว่า “พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก”

๔. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะใคร่ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้ สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหา และทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกประกอบด้วยองค์ เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล

อริยสาวกนั้น เห็นแจ้งแทงตลอด อริยญายธรรม ด้วยปัญญา เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ พิจาณาเห็น อย่างนี้ว่า

“เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไปสิ่งนี้จึงดับไป คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาสจึงมี กองทุกข์ ทั้งมวลนี้ มีความเกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้

เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ มีความดับด้วยอาการอย่างนี้”

            อริยสาวกนั้นเห็นแจ้ง แทงตลอดอริยญายธรรม ด้วยปัญญา เป็นอย่างนี้แล เมื่อใด อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ ประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการนี้ และเห็นแจ้งแทงตลอดอริยญายธรรมนี้แล ด้วยปัญญาแล้ว เมื่อนั้น อริยสาวก นั้น เมื่อหวังอยู่พึงพยากรณ์ตนเองว่า ‘เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิด สัตว์ดิรัจฉาน สิ้นแล้ว มีภูมิแห่งเปรตสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ ในวันข้างหน้า’

ภยสูตรที่ ๒ จบ

 



 





พุทธวจน : ออนไลน์
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์