(ฉบับหลวง)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกหน้าที่ ๔๙๑-๕๐๓.
๙. สุภสูตร (ทรงโปรดสุภมาณพ)
กรรมฐาน กัมมัฏฐาน(บาลี กมฺมฏฺฐานํ) ฐานะการงานของคฤหัสถ์
[๗๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้น สุภมาณพโตเทยยบุตร อาศัยอยู่ใน นิเวศน์ของคฤหบดีผู้หนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ด้วยกรณียกิจบางอย่าง. ครั้งนั้น สุภมาณพโตเทยยบุตร ได้กล่าวกะคฤหบดี ที่ตนอาศัยอยู่ในนิเวศน์ของเขานั้นว่า ท่านคฤหบดี ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า พระนครสาวัตถี ไม่ว่างจากพระอรหันต์ ทั้งหลายเลย วันนี้เราจะพึงเข้าไปนั่งใกล้สมณะ หรือพราหมณ์ผู้ไหนหนอ?
คฤหบดีได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหาร เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ท่านจงเข้าไป นั่งใกล้ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นเถิด.
[๗๑๐] ลำดับนั้น สุภมาณพโตเทยยบุตรรับคำคฤหบดีนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลาย กล่าวกันอย่างนี้ว่า คฤหัสถ์เท่านั้นเป็นผู้ยินดี กุศลธรรม เครื่องนำออกไป จากทุกข์ บรรพชิตไม่เป็นผู้ยินดีกุศลธรรม เครื่องนำ ออกไปจากทุกข์ ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดม ตรัสว่าอย่างไร?
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาณพ ในเรื่องนี้เราแยกออกกล่าว เราไม่รวมกล่าว เราพรรณนาการปฏิบัติผิดของคฤหัสถ์ หรือของบรรพชิต ดูกรมาณพ จริงอยู่ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต ปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ไม่ยินดีกุศลธรรม เครื่องนำออกไปจากทุกข์ เพราะเหตุแห่ง อธิกรณ์ คือการปฏิบัติผิด ดูกรมาณพ เราพรรณนาการปฏิบัติชอบของคฤหัสถ์ หรือของ บรรพชิต จริงอยู่คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต ปฏิบัติชอบแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้ยินดีกุศลธรรม เครื่องนำออกไปจากทุกข์ เพราะเหตุแห่ง อธิกรณ์คือการปฏิบัติชอบ.
ฐานะการงานของคฤหัสถ์และบรรพชิต
[๗๑๑] สุ. ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ว่า ฐานะแห่ง การงานของฆราวาส มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก ย่อมมีผลมาก (ส่วน) ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชา มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อยย่อมมีผลน้อย ในเรื่องนี้ท่านพระโคดมตรัสว่าอย่างไร?
พ. ดูกรมาณพ แม้ในเรื่องนี้ เราก็แยกออกกล่าว เราไม่รวมกล่าว
ดูกรมาณพ
ฐานะแห่งการงาน ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อวิบัติ มีผลน้อย มีอยู่
ฐานะแห่งการงาน ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อเป็นสมบัติ มีผลมาก มีอยู่
ฐานะแห่งการงาน ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อวิบัติ มีผลน้อย มีอยู่
ฐานะแห่งการงาน ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อเป็นสมบัติ มีผลมาก มีอยู่
[๗๑๒] ดูกรมาณพ ฐานะแห่งการงาน ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย เป็นไฉน
ดูกรมาณพ ฐานะแห่ง การงาน คือ การไถที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อ วิบัติ ย่อมมีผลน้อย.
ส่วนฐานะแห่งการงาน ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการ เริ่มมาก เมื่อเป็นสมบัติย่อมมีผลมาก เป็นไฉน ฐานะแห่งการงาน คือ การไถนั่นแล ที่มีความต้องการมาก มีกิจมากมีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมี ผลมาก.
อนึ่ง ฐานะแห่งการงาน ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการ เริ่มน้อย เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย เป็นไฉน ฐานะแห่งการงาน คือ การค้าขาย ที่มีความ ต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย.
ส่วน ฐานะแห่งการงาน ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อยมีอธิกรณ์น้อย มีการ เริ่มน้อย เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก เป็นไฉน ฐานะแห่งการงาน คือการค้าขาย นั่นแล ที่มีความต้องการน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีกิจน้อย มีความเริ่มน้อย เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก.
[๗๑๓] ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนฐานะ คือกสิกรรม ที่มีความต้องการมาก มีกิจมากมี อธิกรณ์มาก มีความเริ่มมาก เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย ฉันใด ฐานะแห่ง การงาน ของฆราวาส ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย.
ฐานะคือกสิกรรม นั่นแล ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก ฉันใด ฐานะแห่งการงาน ของฆราวาส ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก.
การงานคือการค้าขาย ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการ เริ่มน้อยเมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย ฉันใด ฐานะแห่งการงาน ฝ่ายบรรพชา ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ที่มีความต้องการ น้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย.
ฐานะแห่งการงาน คือการค้าขายนั่นแล ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อยเมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก ฉันใด ฐานะแห่งการงาน ฝ่ายบรรพชา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก.
บาลีอักษรไทย
(คำว่า กัมมัฏฐาน : กรรมฐาน พบในบาลีอักษรไทยเพียงพระสูตรเดียว)
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ ภาษาบาลี อักษรไทย
พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ สุตฺต. ม. มชฺฌิมปณฺณาสกํ
สุภสุตฺตํ
ว่าด้วย กมฺมฏฺฐานํ : กัมมัฏฐาน : กรรมฐาน
[๗๑๑] พฺราหฺมณา โภ โคตม เอวมาหํสุ มหตฺถมิทํ มหากิจฺจํ
มหาธิกรณํ มหาสมารมฺภํ ฆราวาสกมฺมฏฺฐานํ มหปฺผลํ โหติ
อปฺปตฺถมิทํ อปฺปกิจฺจํ อปฺปาธิกรณํ อปฺปสมารมฺภํ ปพฺพชฺชา-
กมฺมฏฺฐานํ อปฺปปฺผลํ โหตีติ อิธ ภวํ โคตโม กิมาหาติ ฯ
{๗๑๑.๑} เอตฺถปิ โข อหํ มาณว วิภชวาโท นาหเมตฺถ เอกํสวาโท
อตฺถิ มาณว กมฺมฏฺฐานํ มหตฺถํ มหากิจฺจํ มหาธิกรณํ มหาสมารมฺภํ
วิปชฺชมานํ อปฺปปฺผลํ โหติ อตฺถิ มาณว กมฺมฏฺฐานํ มหตฺถํ มหากิจฺจํ
มหาธิกรณํ มหาสมารมฺภํ สมฺปชฺชมานํ มหปฺผลํ โหติ อตฺถิ มาณว
กมฺมฏฺฐานํ อปฺปตฺถํ อปฺปกิจฺจํ อปฺปาธิกรณํ อปฺปสมารมฺภํ วิปชฺชมานํ
อปฺปปฺผลํ โหติ อตฺถิ มาณว กมฺมฏฺฐานํ อปฺปตฺถํ อปฺปกิจฺจํ อปฺปาธิกรณํ
อปฺปสมารมฺภํ สมฺปชฺชมานํ มหปฺผลํ โหติ ฯ
[๗๑๒] กตมํ ๑- มาณว กมฺมฏฺฐานํ มหตฺถํ มหากิจฺจํ มหาธิกรณํ
มหาสมารมฺภํ วิปชฺชมานํ อปฺปปฺผลํ โหติ กสิ โข มาณว กมฺมฏฺฐานํ
มหตฺถํ มหากิจฺจํ มหาธิกรณํ มหาสมารมฺภํ วิปชฺชมานํ
@เชิงอรรถ: ๑ ยุ. กตมญฺจ ฯ
อปฺปปฺผลํ โหติ ฯ กตมญฺจ มาณว กมฺมฏฺฐานํ มหตฺถํ มหากิจฺจํ
มหาธิกรณํ มหาสมารมฺภํ สมฺปชฺชมานํ มหปฺผลํ โหติ กสิเยว
โข มาณว กมฺมฏฺฐานํ มหตฺถํ มหากิจฺจํ มหาธิกรณํ มหาสมารมฺภํ
สมฺปชฺชมานํ มหปฺผลํ โหติ ฯ กตมญฺจ มาณว กมฺมฏฺฐานํ
อปฺปตฺถํ อปฺปกิจฺจํ อปฺปาธิกรณํ อปฺปสมารมฺภํ วิปชฺชมานํ อปฺปปฺผลํ
โหติ วนิชฺชา โข มาณว กมฺมฏฺฐานํ อปฺปตฺถํ อปฺปกิจฺจํ อปฺปาธิกรณํ
อปฺปสมารมฺภํ วิปชฺชมานํ อปฺปปฺผลํ โหติ ฯ กตมญฺจ มาณว
กมฺมฏฺฐานํ อปฺปตฺถํ อปฺปกิจฺจํ อปฺปาธิกรณํ อปฺปสมารมฺภํ
สมฺปชฺชมานํ มหปฺผลํ โหติ วนิชฺชาเยว โข มาณว กมฺมฏฺฐานํ
อปฺปตฺถํ อปฺปกิจฺจํ อปฺปาธิกรณํ อปฺปสมารมฺภํ สมฺปชฺชมานํ
มหปฺผลํ โหติ ฯ
[๗๑๓] เสยฺยถาปิ มาณว กสิกมฺมฏฺฐานํ มหตฺถํ มหากิจฺจํ
มหาธิกรณํ มหาสมารมฺภํ วิปชฺชมานํ อปฺปปฺผลํ โหติ เอวเมว
โข มาณว ฆราวาสกมฺมฏฺฐานํ มหตฺถํ มหากิจฺจํ มหาธิกรณํ
มหาสมารมฺภํ วิปชฺชมานํ อปฺปปฺผลํ โหติ ฯ เสยฺยถาปิ มาณว
กสิเยว กมฺมฏฺฐานํ มหตฺถํ มหากิจฺจํ มหาธิกรณํ มหาสมารมฺภํ
สมฺปชฺชมานํ มหปฺผลํ โหติ เอวเมว โข มาณว ฆราวาสกมฺมฏฺฐานํ
มหตฺถํ มหากิจฺจํ มหาธิกรณํ มหาสมารมฺภํ สมฺปชฺชมานํ
มหปฺผลํ โหติ ฯ เสยฺยถาปิ มาณว วนิชฺชากมฺมฏฺฐานํ อปฺปตฺถํ
อปฺปกิจฺจํ อปฺปาธิกรณํ อปฺปสมารมฺภํ วิปชฺชมานํ อปฺปปฺผลํ โหติ
เอวเมว โข มาณว ปพฺพชฺชากมฺมฏฺฐานํ อปฺปตฺถํ อปฺปกิจฺจํ
อปฺปาธิกรณํ อปฺปสมารมฺภํ วิปชฺชมานํ อปฺปปฺผลํ โหติ ฯ เสยฺยถาปิ
มาณว วนิชฺชาเยว กมฺมฏฺฐานํ อปฺปตฺถํ อปฺปกิจฺจํ อปฺปาธิกรณํ
อปฺปสมารมฺภํ สมฺปชฺชมานํ มหปฺผลํ โหติ เอวเมว โข มาณว
ปพฺพชฺชากมฺมฏฺฐานํ อปฺปตฺถํ อปฺปกิจฺจํ อปฺปาธิกรณํ อปฺปสมารมฺภํ
สมฺปชฺชมานํ มหปฺผลํ โหตีติ ฯ |
[ฉบับมหาจุฬาฯ]
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก[ฉบับมหาจุฬาฯ] หน้าที่ ๕๘๓-๕๙๘
๙. สุภสูตร
ฐานะการงานของคฤหัสถ์และบรรพชิต
สุภมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ว่า ‘ฐานะแห่งการงานของฆราวาส มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก มีผลมาก
(ส่วน) ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชิตมีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย และมีผลน้อย ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดม จะตรัสว่าอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มาณพ แม้ในเรื่องนี้ เราก็แยกกล่าว มิได้รวมกล่าว ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมากมีเรื่องมาก มีความเพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก ฐานะแห่งการงาน ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย ฐานะแห่งการงาน ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก
ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย เป็นอย่างไร
คือ ฐานะแห่งการงานคือการไถ ที่มีความต้องการ มาก มีกิจมาก มีเรื่องมากมีความเพียรมาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย
ส่วนฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก เป็นอย่างไร
คือ ฐานะแห่งการงานคือการไถนั่นแหละ ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก
ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย เป็นอย่างไร
คือ ฐานะแห่งการงานคือการค้าขาย ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย
ส่วนฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อยมีความเพียรน้อย เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก เป็นอย่างไร
คือ ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายนั่นแหละ ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อยมีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก
[๔๖๔] มาณพ
ฐานะแห่งการงานคือการไถ ที่มีความต้องการมาก มีกิจมากมีเรื่องมาก มีความเพียรมาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงานของฆราวาส ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย
ฐานะแห่งการงานคือการไถนั่นแหละ ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมากมีความเพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงานของฆราวาส ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก
ฐานะแห่งการงานคือการค้าขาย ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อยมีความเพียรน้อย เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชิต ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย ก็ฉันนั้นเหมือนกันเมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย
ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายนั่นแหละ ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชิต ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก
|